3)  บุคคลคุณภาพแห่งปี 2022 ด้านสาธารณสุข

 

  

ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์  (อายุ 64 ปี)

เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

 

1   หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน

1.  เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

2.  อธิการบดีวิทยาลัย วิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ (ววจ.)

3.  กรรมการสภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

4.  รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายการแพทย์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

5.  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์

 

2. ประวัติการศึกษา

พ.ศ. 2507 - 2519   โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2519 - 2521    คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2523              วิทยาศาสตร์บัณฑิตทางการแพทย์ {B.Sc.(Med)}

พ.ศ. 2525 - 2526    แพทยศาสตร์บัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล (MD)

Internship :     

พ.ศ. 2525 – 2526   แพทย์ Intern โรงพยาบาลศิริราช

Postgraduate Training :

พ.ศ. 2527             แพทย์ประจำบ้าน ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรอยัล บริสเบน, ออสเตรเลีย

พ.ศ. 2528             แพทย์ประจำบ้าน หน่วยอายุรกรรมที่ 4 โรงพยาบาลรอยัล บริสเบน, ออสเตรเลีย

    พ.ศ. 2529             แพทย์หน่วยโรคทางเดินหายใจและอายุรกรรม โรงพยาบาลรอยัล บริสเบน, ออสเตรเลีย

พ.ศ. 2530             แพทย์หน่วยโรคหัวใจ โรงพยาบาลรอยัล บริสเบน, ออสเตรเลีย

พ.ศ. 2531             แพทย์หน่วยโรคมะเร็ง โรงพยาบาลปรินซ์ชาร์ล (ก.ค. – ธ.ค. 2531)

พ.ศ. 2532 – 2534  แพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลปรินซ์ชาร์ล

พ.ศ. 2533            วุฒิบัตรความรู้ความชำนาญเฉพาะทางโรคหัวใจ (ออสเตรเลีย)

พ.ศ. 2535            วุฒิบัตรอายุรศาสตร์แห่งประเทศไทย

พ.ศ. 2536           วุฒิบัตรอายุรศาสตร์โรคหัวใจ

- Fellow Australian College of Physicians (FRACP)

- Fellow American College of Cardiology (FACC)

- Fellow Society for Cardiac Angiography and Intervention (FSCAI)

- Fellow American College of Angiology (FACA)

- Fellow The Cardiac Society of Australia and New Zealand (FCSANZ)

 

3. ประวัติการทำงาน

พ.ศ. 2563 – 2565 ประธานกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

พ.ศ. 2563           คณะกรรมการการแพทย์ระดับชาติ ด้านโรคมะเร็งระดับชาติ

พ.ศ. 2563           กรรมการคณะที่ปรึกษาด้านนผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในศูนย์บริหาร สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

พ.ศ. 2563           คณะกรรมการด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ กรณีโรคติดเชื้อโควิด-19

พ.ศ. 2563           คณะทำงานการสร้างเสริมสมรรถนะด้านการผลิตกำลังคนและให้บริการด้านรังสีรักษา

พ.ศ. 2560           กรรมการประจำวิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์

พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน  เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน   กรรมการสภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

พ.ศ. 2558 – ปัจจุบัน  รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายการแพทย์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

พ.ศ. 2557 – ปัจจุบัน  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์

พ.ศ. 2556           ที่ปรึกษาคณะแพทย์ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลสุขุมวิท

พ.ศ. 2556           กรรมการสภามหาวิทยาลัยสยาม

พ.ศ. 2555           กรรมการบริหาร : โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

พ.ศ. 2555           กรรมการบริหาร : วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พ.ศ.2555            ประธานฝ่ายเลขาธิการ : การจัดการประชุม APSC 2013 ของสมาคมแพทย์  โรคหัวใจ แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

พ.ศ 2551 -2553  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการบริหารโรงพยาบาลปิยะเวท

พ.ศ. 2549 -2551 รองประธานกรรมการบริหาร โรงพยาบาลปิยะเวท

พ.ศ. 2547 -2551 ประธานกรรมการบริษัท ภิษัช จำกัด

 

4. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน

ทำดีไว้แล้วก็จะดี

 

5. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน

·         พัฒนาโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ให้เป็นองค์กร ที่ทำประโยชน์ให้ประชาชน สังคมและประเทศ ให้เป็นไปตามพระปณิธานของศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จ พระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่ต้องการช่วยเหลือประชาชน  

 

6. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

·       วงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหลักพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาคน สังคม และประเทศชาติอย่างยิ่ง  

 

7. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล

7.1 ศาสตราจารย์ นพ.นิธิ มหานนท์ ได้เป็นผู้รับผิดชอบสานต่อการดำเนินงานให้เป็นไปตามพระปณิธานของ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ที่มุ่งมั่นให้ประชาชนชาวไทยมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นหน่วยงานของรัฐ มี พ.ร.บ. จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2559 ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี ซึ่งมี ศ.ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงดำรงตำแหน่งนายกสภาฯ และใช้งบประมาณของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ทั้งหมด การทำงานของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จึงถือเป็น "เครื่องมือสนับสนุน" รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุข โดยมีภารกิจหลักคือ ผลิตบัณฑิตและบุคลากรทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม และการสาธารณสุขในสาขาที่ขาดแคลนและจำเป็นต่อประเทศในอนาคต และให้บริการด้านการรักษาพยาบาลแก่ประชาชนทุกระดับ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้และผู้ด้อยโอกาสให้ได้รับการรักษาอย่างดีเยี่ยม  นอกจากนี้ยังมีภารกิจด้านการรักษาพยาบาลโดยมีโรงพยาบาลจุฬาภรณ์เป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ดำเนินการจัดสร้างอาคาร ‘ศูนย์การแพทย์จุฬาภรณ์เฉลิมพระเกียรติ’ เป็นสถานพยาบาลขนาด 50 เตียง ให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยโรคทั่วไปและโรคเฉพาะทาง เช่น ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด ศูนย์โรคกระดูกและข้อ และศูนย์จักษุ ซึ่งเปิดให้บริการแล้วตั้งแต่เดือน มกราคม 2561 และยังมีอีกหนึ่งศูนย์การแพทย์ระดับตติยภูมิ ขนาด 400 เตียง ซึ่งทูลกระหม่อมทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม “ศูนย์การแพทย์ภัทรมหาราชานุสรณ์” เพื่อถวายราชสดุดี และรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ศูนย์การแพทย์แห่งนี้จะแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก คือส่วนที่ให้บริการตรวจรักษาโรคทั่วไป และใช้เป็นสถานที่ฝึกงานดำเนินการเรียนการสอน และการวิจัยของนักศึกษาจากราชวิทยาลัยฯ

 

7.2 จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ต้น ปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา โดยในช่วงกลางเดือนมีนาคม 2563 มีการระบุสาเหตุจากกลุ่มการแพร่เชื้อจากหลายกลุ่ม ซึ่งกลุ่มใหญ่สุดเกิดขึ้นในการแข่งขันชกมวยไทย ณ สนามมวยเวทีลุมพินี เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2563 จนเป็นผลให้ภาครัฐออกมาตรการต่างๆ เพื่อคัดกรองและติดตามการสัมผัสของผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับท่าอากาศยานและผู้ป่วยที่มารักษาตัวที่โรงพยาบาลต่างๆ ภาครัฐยังได้ออกมาตรการต่างๆมากมาย ได้แก่ ให้ประชาชนทุกคนต้องสวมหน้ากากอนามัยเวลาออกนอกบ้าน กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือบ่อยๆ และดูแลสุขอนามัยในชีวิตประจำวัน เพื่อลดการสะสมของเชื้อโควิด-19 ที่สามารถแพร่กระจายเชื้อจากคนสู่คนผ่านฝอยละอองจากการไอ จาม น้ำมูก น้ำลาย เสมหะของผู้ป่วย รวมทั้งการสัมผัสพื้นผิวหรือุปกรณ์ที่ปนเปื้อนเชื้อ ซึ่งอัตราการแพร่กระจายเชื้อ เฉลี่ย 2 - 4 คน ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของประชากร สภาพสิ่งแวดล้อมที่มีการระบายอากาศไม่ดี หรือมีกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการฟุ้งกระจายของละอองฝอย รวมถึงการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน การรับประทานอาหารร่วมกัน, การออกมาตรการ Social Distancing “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” หยุดแพร่โรค ลดการระบาดของไวรัส COVID-19,  การนำ พ.ร.ก. สถานการณ์ฉุกเฉินออกมาใช้เพื่อห้ามจำหน่ายสุรา ชะลอการเดินทางข้ามจังหวัดของประชาชน กำหนดเวลาเปิดปิดห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร สนามแข่งขันต่างๆ โรงเรียนกวดวิชา สถานบริการและสถานบันเทิงต่างๆเป็นการชั่วคราว ฯลฯ, การขอความร่วมมือให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ทำงานที่บ้าน  (Work from Home), สถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนให้งดการเรียนการสอนในห้องเรียน โดยให้เรียนผ่านระบบออนไลน์ เป็นต้น

ช่วงกลางเดือนธันวาคม 2563 ได้พบการระบาดโควิด-19 รอบใหม่ที่จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งสงสัยว่ามาจากแรงงานต่างด้าวที่มีการลักลอบพาเข้าประเทศ และในเดือนเมษายน 2564 ก็ได้พบการระบาดใหม่โดยมีคลัสเตอร์ที่ย่านทองหล่อและนราธิวาส ทำให้ยอดสะสมของผู้ป่วยในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นและกระจายไปทั่วทุกภูมิภาคอย่างเป็นวงกว้าง ที่สำคัญเชื้อโควิด -19 ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ที่สามารถแพร่เชื้อสู่คนได้อย่างรวดเร็วและมีความรุนแรงมากขึ้น โอกาสเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19 ค่อนข้างสูง ซึ่งรัฐบาลในขณะนั้นจำเป็นต้องหาซื้อวัคซีนจากต่างประเทศอย่างเร่งด่วน เพื่อมายับยั้งและป้องกันการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19

รัฐบาลประกาศให้การฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็น “วาระแห่งชาติ” ตั้งเป้าหมายให้ประชาชนอย่างน้อย 50 ล้านคน จากทั้งหมด 70 ล้านคน ได้รับวัคซีนภายในปี พ.ศ. 2564 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ แต่ในช่วง ก.พ.-พ.ค.2564 มี “วัคซีนหลัก” อยู่ 2 ยี่ห้อกระจายฉีดให้คนไทย คือ วัคซีนโคโรนาแวคของบริษัทซิโนแวค นำเข้าโดยองค์การเภสัชกรรม (อภ.) 6 ล้านโดส และจะมาเพิ่มอีก 3 ล้านโดสในเดือน มิ.ย. และวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า นำเข้าโดยบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 117,000 โดส และนับจากเดือน มิ.ย. วัคซีนแอสตร้าฯ ที่ผลิตในไทยโดยบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด (SBS) จะทยอยส่งมอบวัคซีนจนครบ 61 ล้านโดส ซึ่งในทางปฏิบัติ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สามารถนำเข้าวัคซีนได้อย่างจำกัดและล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนเนื่องจากมีปัญหาที่ต้นทางผู้ผลิตและกระบวนการที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น กลุ่มเป้าหมายล็อตแรกที่กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดสรรวัคซีนของบริษัท ซิโนแวค (Sinovac) จำนวน 2 ล้านโดส ฉีดให้กับคนไทยในช่วงเดือน ก.พ.-พ.ค. 2564 จึงกระจุกตัวอยู่ที่ 5 กลุ่ม ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน, ประชาชนที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค, ประชาชนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป, เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด -19 ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย, ประชาชนทั่วไปและแรงงานในพื้นที่ระบาดโควิด-19 เท่านั้น

ปัญหาและอุปสรรคในกระบวนการติดต่อและนำเข้าวัคซีนจากบริษัทผู้ผลิตที่อยู่ในต่างประเทศนั้น มีขั้นตอนที่ยุ่งยากและซับซ้อนมาก อันดับแรกต้องได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้เป็นตัวแทนของรัฐบาลในการจัดหาวัคซีนทางเลือกก่อน ถึงจะไปติดต่อกับบริษัทผู้ผลิตวัคซีนได้ ซึ่งผู้ผลิตวัคซีนแต่ละบริษัทก็ตั้งเงื่อนไขต่างๆรวมถึงระยะเวลาในการส่งมอบที่ช้ามาก บางรายให้รอคิวไปอีก 1-2 ปี  เมื่อนำเข้าวัคซีนมาได้แล้ว ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการยื่นเอกสารขออนุญาตจาก อย. กระบวนการตรวจสอบคุณภาพ กระบวนการพิจารณาว่าจะจัดสรรวัคซีนให้กับใคร อย่างไร เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในสถานการณ์วิกฤติที่ขาดแคลนวัคซีนทั่วโลก อันดับสุดท้าย คือ กระบวนการกระจายสู่สถานพยาบาลที่ให้บริการฉีดวัคซีน ซึ่งต้องมีการวางแผนการฉีดวัคซีนด้วย เพราะวัคซีนจะต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสม และมีอายุในการเก็บรักษาไม่นานก็จะเสื่อมสภาพ

ศ.นพ. นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้เข้ามามีบทบาทในการนำเข้าวัคซีน “ซิโนฟาร์ม” ซึ่งเป็นวัคซีนทางเลือกยี่ห้อแรกของไทยในช่วงกลางปี พ.ศ. 2564 สาเหตุที่เลือกนำเข้าซิโนฟาร์ม ศ.นพ.นิธิ ตอบว่า “ง่าย ๆ เลย เลือกเพราะเป็นวัคซีนที่ได้รับการรับรองจาก WHO และจะเกิดความง่ายและสะดวกที่ อย. จะพิจารณา ประกอบกับเป็นวัคซีนที่เราพิจารณาว่าจะไปช่วยประเทศตรงจุดไหน มีบางองค์กรที่ไม่สามารถหยุดการดำเนินงานได้ เราเลยต้องการไปอุดช่องว่างตรงนี้ เพราะกระทรวงสาธารณสุขมีภาระหนักต้องฉีดให้ประชาชนที่เป็นปัจเจกอยู่แล้ว ไม่สามารถจัดให้จุดใดจุดหนึ่งครบ 100% เช่น โรงเรียนที่จะเปิดอยู่แล้ว เดี๋ยวเราจะไปแบ่งภายในว่าหน่วยไหน ลักษณะกิจการ/กิจกรรมใด เพราะเราจะช่วยเสริมการทำงานให้กับกระทรวงสาธารณสุข” โดยระยะแรกในช่วงกลางเดือน มิ.ย. 2564 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้นำเข้าวัคซีนจำนวน 1 ล้านโดส และได้จัดสรรให้กับองค์กรนิติบุคคลหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐ องค์กรการกุศลและหน่วยงานเอกชน ที่ได้ยื่นความประสงค์ขอรับการจัดสรรวัคซีนตัวเลือก “ซิโนฟาร์ม” ผ่านระบบออนไลน์ การพิจารณาจัดสรรในระยะแรกนั้น พิจารณาจากความสำคัญด้านความมั่นคงทางสังคม เศรษฐกิจ และความเหลื่อมล้ำ ระดับความเสี่ยงของโอกาสในการแพร่เชื้อให้กับสังคม และระดับความเสี่ยงโควิดบนพื้นที่ของทำเลที่ตั้งสถานประกอบการ และยังมีวัคซีนซิโนฟาร์มในส่วนที่องค์กรต่างๆได้ร่วมบริจาค 10% ให้กับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เพื่อนำไปฉีดให้กับประชาชนฟรีอีกด้วย ซึ่งเป็นการช่วยแก้ปัญหาวิกฤติวัคซีนของประเทศในช่วงนั้นได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ได้อย่างทันการณ์

 

8. ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

8.1 ความภาคภูมิใจ

·  ภูมิใจที่ได้ช่วยประชาชนในเรื่องวัคซีนในระยะแรกของการระบาด

·  ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ เมื่ออายุ 40 ปี   

8.2 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ

   พ.ศ. 2564 ประถมาภรณ์มงกุฏไทย  (ป.ม.)

   พ.ศ. 2544 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า

2)  บุคคลคุณภาพแห่งปี 2022 ด้านเทคโนโลยี

 

 

ดร. ศรีภูมิ ศุขเนตร  (อายุ 90 ปี)

นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

 

 

1.  หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน

       1. ผู้ก่อตั้งและนายกสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (คนแรก) และดำรงตำแหน่งถึง 4 สมัย

2. นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

3. กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ของราชรัฐโมนาโกประจำประเทศไทย

4. ประธานคณะที่ปรึกษากลุ่มบริษัทเบญจจินดา โฮลดิ้ง จำกัด

5. รองประธานกรรมการมูลนิธิศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก (APCD)

6. การก่อตั้งและเป็นนายก (คนแรก) ของสหพันธ์สมาคมเทคโนโลยีสารสนเทศ (Thai Federation for Information Technology หรือ TFIT) ซึ่งปัจจุบันได้โอนกิจการมาเป็น สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย

 

2. ประวัติการศึกษา

·  ปริญญาเอก คณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน (ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

·  ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันการไปรษณีย์ โทรคมนาคม

·  ปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ ประกาศนียบัตรการปกครองและการคลัง มหาวิทยาลัยปารีส

·  วิทยาลัยการไปรษณีย์โทรคมนาคมขั้นสูงแห่งชาติ ปารีส

·  วิทยาลัยการปกครองแหงชาติ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส

·  ประกาศนียบัตรการปกครองและการคลัง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปารีส

·  วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 15

·  หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง รุ่น 16 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

·  หลักสูตรการเมืองการปกครอง (ปปร. 25) สถาบันพระปกเกล้า

·  ประกาศนียบัตรหลักสูตร DCP 15/2002, Fn 2/2003 และ ACP 10/2005 CHM 8/03 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย

·  หลักสูตรนักบริหารระดับสูงเพื่อการสร้างชาติ (นสช.) รุ่นที่ 2 (พ.ศ. 2560)

·  หลักสูตร ภูมิพลังแผ่นดิน รุ่น 5 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2562)

 

3. ประวัติการทำงาน

ประวัติรับราชการ

·         กองตะวันออก กรมการเมือง กระทรวงการต่างประเทศ (พ.ศ. 2495-2496)

·         อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข (พ.ศ. 2515-2521)

·         อธิบดีกรมการบินพาณิชย์ (พ.ศ. 2525-2527)

·         ปลัดกระทรวงคมนาคม (พ.ศ. 2530-2534)

·         ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2534-2535)

ประวัติการทำงานด้านการเมือง

·         สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (พ.ศ. 2515-2516)

·         รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (สมัยรัฐบาล ศ. สัญญา ธรรมศักดิ์) (พ.ศ. 2517-2518)

·         สมาชิกวุฒิสภา (พ.ศ. 2531-2534)

·         ประธานคณะกรรมการธิการคมนาคม (พ.ศ. 2531-2534)

ประวัติการทำงานด้านงานรัฐวิสาหกิจ

·         กรรมการ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) (พ.ศ. 2510-2520)

·         กรรมการ ธนาคารออมสิน (พ.ศ. 2515-2520)

·         ประธานกรรมการ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) (พ.ศ. 2517 และ พ.ศ. 2530)

·         ประธานกรรมการ บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) (พ.ศ. 2517-2518)

·         ประธานกรรมการ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (รสพ.) (พ.ศ. 2518-2519)

·         กรรมการ องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อสมท.) (พ.ศ. 2520-2525)

·         ประธานกรรมการ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) (พ.ศ. 2521-2522 และ 2533-2534)

·         กรรมการ การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) (พ.ศ. 2525-2527)

·         กรรมการ บริษัทเดินอากาศไทย จำกัด (บดท.) (พ.ศ. 2525-2529)

·         กรรมการ บริษัทไทยเดินเรือทะเล จำกัด (บทด.) พ.ศ. (2528-2529)

·         ประธานกรรมการ การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) (พ.ศ. 2529-2534)

·         รองประธานกรรมการ บริษัทการบินไทย จำกัด (พ.ศ. 2530-2534)

ประวัติการทำงานในภาคเอกชนและสังคม

·         นายกสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (TCT) (พ.ศ. 2534-2542)

·         ประธานกรรมการ บริษัท ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือยูคอม (พ.ศ. 2535-2549) ก่อนที่ยูคอม จะแปรสภาพและเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) TAC ในปี พ.ศ. 2550

·         กรรมการบริหาร (รุ่นก่อตั้ง) ของ International Satellite Organization (INTELSAT) ณ กรุงวอชิงตันดีซี

·         กรรมการบริหารของบริษัทดาวเทียม IRADIUM ซึ่งจดทะเบียน ณ มลรัฐ Delaware, U.S.A.

·         กรรมการและรองประธาน สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)

·         กรรมการอิสระและประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท อาเชียนมารีน เซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน)

·         ประธานกรรมการ บริษัท โกษากร จำกัด

·         ผู้ก่อตั้งและนายก (คนแรก) ของสมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2540)

·         นายกสมาคม (คนแรก) ของสมาคมอุตสาหกรรมการบินแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2541) และ พ.ศ. 2540-2549

·         นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (พ.ศ. 2543- ปัจจุบัน)

·         กรรมการ สมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทย (TFIT) (พ.ศ. 2544-2562)

·         สมาชิกกิตติมศักดิ์ สมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทย (TFIT) (พ.ศ. 2562) ก่อนที่สมาคมฯ จะโอนกิจการเป็นสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2562

·         กรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช (พ.ศ. 2535-2560)

·         กงสุลกิตติมศักดิ์ ราชรัฐโมนาโกประจำประเทศไทย (พ.ศ. 2540)

·         ที่ปรึกษาพิเศษ (ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด การบริหาร และศิลปกรรม) คณะกรรมการบริหารศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) (พ.ศ. 2551-2562)

·         ประธาน (คนแรก) ของสมาคมคณะกงสุลกิตติมศักดิ์ (ประเทศไทย) HCAT (พ.ศ. 2554)

·         กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ราชรัฐโมนาโกประจำประเทศไทย (พ.ศ. 2556-ปัจจุบัน)

·         กรรมการ และรองประธาน มูลนิธิศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิกในพระอุปถัมภ์ของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (APCD) ระยะเวลา 10 ปี จนถึงปัจจุบัน

·         นายกสมาคม (คนแรก) ของสมาคมนักเรียนเก่าฝรั่งเศส

·         นายกสมาคมนักเรียนเก่าภาคพื้นยุโรปในพระบรมราชูปถัมภ์

·         ประธานชมรมสมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ Legion d’Honneur” จากประเทศฝรั่งเศส

 

4. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน

·      ทำราขการเพื่อรับใช้ชาติและประชาชน

·      ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน

·      ทำงานด้วยหลักการ : เรียบร้อย รวดเร็ว รอบรู้ เร่งรัด และริเริ่ม

 

5. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน

        5.1 ดร.ศรีภูมิ ศุขเนตร ได้มีส่วนร่วมทำงานในฐานะคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ ในกระบวนการให้ความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งหน่วยงาน การแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านกิจการสื่อสารและโทรคมนาคม ในช่วงเปลี่ยนผ่านของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการไปรษณีย์ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 ให้กับกระทรวงคมนาคม โดยลำดับการเปลี่ยนผ่านสรุปอย่างย่อ ได้ดังนี้

·      กรมไปรษณีย์โทรเลข ในช่วงปี  พ.ศ. 2490-2520 เป็นหน่วยงานระดับกรม อยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคม มีหน้าที่ดำเนินกิจการไปรษณีย์ โทรศัพท์ และโทรเลข ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 ได้โอนกิจการบริการโทรศัพท์ ไปเป็นของรัฐวิสาหกิจ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ต่อมา ในปี พ.ศ. 2545 ได้แปรรูปเป็น บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และได้เปลี่ยนชื่อในปี พ.ศ. 2548 เป็น บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

·      ในปี พ.ศ. 2519 ประเทศไทยได้มีการจัดตั้งการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจ ภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคม โดยได้โอนย้ายกิจการไปรษณีย์และโทรเลข จากกรมไปรษณีย์โทรเลขมาดำเนินการ โดยเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 กรมไปรษณีย์โทรเลข ในช่วงปี พ.ศ. 2520-2546 มีหน้าที่ดำเนินกิจการวิทยุสมัครเล่น และการบริหารความถี่วิทยุ ส่วนบริการไปรษณีย์และโทรเลข

·      ในปี พ.ศ. 2543 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 โดยมีการโอนกิจการของกรมไปรษณีย์โทรเลข (กิจการวิทยุสมัครเล่น และการบริหารความถี่วิทยุ) ไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กทช. ในขณะนั้น หรือสำนักงาน กสทช. ในปัจจุบัน) ยกเว้นกิจการไปรษณีย์  เป็นผลทำให้กรมไปรษณีย์โทรเลขต้องยุติการทำหน้าที่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ในปี พ.ศ.2547

·      ในปี พ.ศ. 2546 ได้มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ภายหลังจากที่มีการยกเลิกพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย โดยแยกกิจการไปรษณีย์และกิจการโทรคมนาคมออกจากกัน กิจการไปรษณีย์ได้จัดตั้งเป็นบริษัทใหม่ในชื่อ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด  ส่วนกิจการโทรคมนาคมได้มีการจัดตั้งเป็นบริษัทมหาชนจำกัดขึ้นในชื่อ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งทั้งสองหน่วยงานได้โอนย้ายมาอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ICT ส่วนบริการโทรเลข ซึ่งขึ้นกับบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ก็ได้ถูกยกเลิกให้บริการในปี พ.ศ. 2551

·      ในปี พ.ศ. 2559 กระทรวง ICT ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE)

·      ในปี พ.ศ. 2564 บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้มีการควบรวมกิจการกับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ National Telecom Public company Limited (NT)

5.2 ดร.ศรีภูมิ ศุขเนตร ได้มีส่วนร่วมทำงานในฐานะคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ ในกระบวนการพิจารณาหรือให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงกิจการเดินอากาศ อาทิเช่น

·      การเปิดน่านฟ้าของประเทศและการเดินอากาศ เพื่อรองรับธุรกิจด้านการท่องเที่ยวซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้หลักเข้าประเทศ

·      การจัดตั้งบริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)  BAFS เพื่อการจ่ายน้ำมันในสนามบินและการขนส่งทางท่อ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526

·      การจัดทำ พ.ร.บ. การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยให้เป็นรัฐวิสาหกิจ

5.3 ดร.ศรีภูมิ ศุขเนตร ได้มีส่วนร่วมทำงานในฐานะคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ ในกระบวนการพิจารณาหรือให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความขาดแคลนบริการโทรศัพท์และความล้าหลังในกิจการโทรคมนาคม อาทิเช่น

·      การเปิดให้ภาคเอกเอกชนได้เข้ามาลงทุนขยายกิจการโทรศัพท์ภายในประเทศ ด้วยวิธี Build-Transfer-Operate หรือ BOT

·      การริเริ่มโครงการสื่อสารดาวเทียมในประเทศไทย จนได้กลายเป็นประเทศแรกในภาคพื้นเอเชีย

·      การริเริ่มโครงการสื่อสารทางเคเบิ้ลใต้น้ำ ให้เข้ามาถึงประเทศไทยได้เป็นครั้งแรก

·      การริเริ่มโครงการวิทยุติดตามตัว (Paging System) วิทยุติดรถยนต์ (Radio Mobile Phone) วิทยุมือถือ (Cellular Mobile Phone)

·      การเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้ประเทศไทยก้าวทันโลกในยุคอนาล็อก และยุคดิจิทัล

·      การก่อตั้งและเป็นนายกสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย (คนแรก) และดำรงวาระจนครบ 4 สมัย พ.ศ. 2534-2542

·      การก่อตั้งและเป็นนายก (คนแรก) ของสมาคมอุตสาหกรรมการบินแห่งประเทศไทย

·      การก่อตั้งและเป็นนายก (คนแรก) ของสหพันธ์สมาคมเทคโนโลยีสารสนเทศ (Thai Federation for Information Technology หรือ TFIT ) ซึ่งปัจจุบันได้โอนกิจการมาเป็น สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย

 

6. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความสำคัญเป็นอย่างมากทั้งในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้นี้ ดังนั้น ประเทศไทยจะต้องปรับปรุงการศึกษาของเยาวชน ให้มุ่งไปในทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มากขึ้น เพื่อให้สามารถยกฐานะความเป็นอยู่ของชาวไทยให้ดีขึ้น และสามารถก้าวทันประเทศต่างๆที่ได้พัฒนาเลยเราไปไกลแล้ว

 

7. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล

7.1 เป็นกรรมการมูลนิธิสมเด็จพระยุพราช (รพร.) ประมาณ 25 ปี จนถึงปี พ.ศ. 2560 โดยรับหน้าที่เป็นรองประธานคณะทำงานจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติและจัดสวัสดิการ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่และกรรมการมูลนิธิสาขา ซึ่งมีหน้าที่ส่งเสริมขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชทั้ง 21 แห่ง รวมทั้งผู้ที่สนับสนุนและมีอุปการะคุณต่อ รพร. จัดการศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศให้แก่ผู้อำนวยการ รพร. และเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆเพื่อเพิ่มพูนความรู้และนำประสบการณ์มาใช้ในงานของ รพร. มากกว่า 30 ครั้ง

7.2 เป็นกรรมการมูลนิธิศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Asia Pacific Center for Development หรือ APCD) ประมาณ 10 ปี ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดฝึกอบรมอาชีพแก่คนพิการในย่านเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งขณะนี้ได้รับตำแหน่งเป็นรองประธานกรรมการมูลนิธิ ซึ่งอยู่ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

7.3 คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ ศ.ศ.ป. และได้ปฏิบัติหน้าที่ประมาณ 10 ปี จนถึงปีที่มีการเลือกตั้งและมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ พ.ศ. 2562

7.4 เป็นกรรมการ รองประธาน สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Directors Association หรือ IOD) ประมาณ 10 ปี

 

8. ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

8.1 ความภาคภูมิใจ

·      ได้รับพระราชทานดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พ.ศ. 2537

·      ได้รับการคัดเลือกเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลไทยดีเด่น จากสมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลไทย พ.ศ. 2553

·      ได้รับการคัดเลือกเป็นอัสสัมชนิกดีเด่นจากโรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก พ.ศ. 2536

·      ได้รับเข็มทองคำของมูลนิธิฯ จาก ฯพณฯ ธานินทร์ กรัยวิเชียร ประธานกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช เนื่องจากทำงานมีผลงานดีเด่นให้แก่มูลนิธิและโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชทั้ง 21 แห่ง

8.2 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

    พ.ศ. 2528 –เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)]

    พ.ศ. 2523 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)

    พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)

    พ.ศ. 2520 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)

    พ.ศ. 2520 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)

8.3 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

     พ.ศ. 2547 - เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้น 3 กอม็องเดอร์ “Commandeur de la Legion d’Honneur” จากประเทศฝรั่งเศส

     - เครื่องอิสริยาภรณ์ชั้น ออฟฟิเซเอร์ เดอลา เลยิอองดอนเนอร์ จากประเทศฝรั่งเศส

     - เครื่องอิสริยาภรณ์ชั้น เชอวาลิเอร์ เดอลา เลยิอองดอนเนอร์ จากประเทศฝรั่งเศส

 

 

 

1)  บุคคลคุณภาพแห่งปี 2022 ด้านวิทยาศาสตร์

 

ศาสตราจารย์ ดร.วิรุฬห์ สายคณิต (อายุ 82 ปี)

ปรมาจารย์ด้านฟิสิกส์ และผู้ผลักดันสาขาฟิสิกส์ของไทยไปสู่เวทีนานาชาติ

 

1.     หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน

1.      ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติ (พ.ศ. 2539 - 2540)

2.      ศาสตราจารย์ระดับ 11 ข้าราชการบำนาญ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

3.      นายกสมาคมฟิสิกส์ไทย (3 สมัย)

4.      กรรมการที่ปรึกษาคณะกรรมการสมาคมดาราศาสตร์ไทย ประจำปี พ.ศ. 2565 – 2566

 

2. ประวัติการศึกษา

·      วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) สาขาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ( พ.ศ. 2507)

·      วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต Ph.D. (Physics) Institute of Theoretical Physics Gothenburg, Sweden (พ.ศ. 2513)

· Post Doctoral University College Cardiff, U.K. ( พ.ศ. 2516)

 

3. ประวัติการทำงาน

·      พ.ศ. 2507-2543 อาจารย์ในสังกัดภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

·      พ.ศ. 2516 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

·      พ.ศ. 2519 รองศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

·      พ.ศ. 2522 ศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย      

·      พ.ศ. 2530 - 2534 คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย             

 

ตำแหน่งต่าง ๆ ทางการบริหาร งานวิชาการ และอื่น ๆ

·       พ.ศ. 2524- 2530 หัวหน้าหน่วยวิจัยฟิสิกส์สารกึ่งตัวนำ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

·       พ.ศ. 2527-2529 หัวหน้าโครงการร่วมมือทางสารกึ่งตัวนำระหว่างภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์      จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

·    พ.ศ. 2527-2530  หัวหน้าโครงการร่วมมือระหว่างประเทศ ระหว่างประเทศไทย ศรีลังกา และบังคลาเทศ ในการวิจัยฟิสิกส์สารกึ่งตัวนำ โดยได้รับการสนับสนุนจาก International Seminar in Physics ประเทศสวีเดน       

·   พ.ศ. 2530- 2534 หัวหน้าโครงการร่วมมือระหว่างภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยออตตาวา ประเทศแคนาดา      

·    พ.ศ. 2530-2540 หัวหน้าฟอรัมวิทยาศาสตร์ทฤษฎี ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ      

·    พ.ศ. 2532- 2535 หัวหน้าโครงการประสานงานการศึกษาและพัฒนาตัวนำยิ่งยวดอุณหภูมิสูงในประเทศไทยของ 6 สถาบัน ซึ่งสนับสนุนโดย STDB

·      นายกสมาคมฟิสิกส์ไทย (3 สมัยต่างวาระ) พ.ศ. 2528-2532 และ พ.ศ. 2537-2547      

·      พ.ศ. 2539-2540 เป็นผู้ดำเนินการก่อตั้งและผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติ                                                                             

·      พ.ศ. 2546-2549 หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านฟอรัมวิทยาศาสตร์ทฤษฎี ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

·      พ.ศ. 2550 นายกสมาคมฟิสิกส์อาเซียน  และกรรมการสภาวิทยาลัยเซนต์เทเรซาอินติ

·      พ.ศ. 2549-2554 ประธานกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์

·      พ.ศ. 2549-2553 คณะกรรมการบริหารสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)  

·      ผู้ชำนาญการประจำคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและพลังงานสภาผู้แทนราษฎร 2 สมัย

 

4. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน

ทุ่มเทความมานะพยายามศึกษาหาความรู้ทางฟิสิกส์ทฤษฎีอย่างเต็มที่ โดยไม่คำนึงถึงผลตอบแทน ไม่ว่าด้านชื่อเสียงหรือการเงิน แม้งานนั้นจะเป็นงานชิ้นเล็กๆ พยายามพัฒนาต่อไปในวงกว้าง สร้างเครือข่ายผู้ที่สนใจคล้ายๆกัน โดยให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกันเป็นทีม

 

5. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน

·      มีผลงานวิจัยและตำราเผยแพร่เป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการระดับชาติและนานาชาติ โดยได้รับการอ้างอิงในงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ เป็นจำนวนมากกว่า 100 ฉบับ มีส่วนผลักดันให้วงการฟิสิกส์ในประเทศไทยพัฒนาก้าวไกลทัดเทียมนานาประเทศ และเป็นที่รู้จักในแวดวงของนักวิชาการในต่างประเทศ

·   ผลงานที่สำคัญ ท่านเป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นคนแรกของไทย ประจำปี พ.ศ.2525 สาขาฟิสิกส์ ท่านเป็นผู้บุกเบิกนำเสนอทฤษฎีใหม่ (Quantum Theory) แบบฟายน์แมน (Feynmen) มาประยุกต์กับเรื่องของฟิสิกส์ของสภาวะของแข็ง (Condensed Matter Physics) โดยสามารถอธิบายถึงพฤติกรรมการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนในสิ่งแวดล้อม ที่ไร้ระเบียบ ซึ่งนำความเข้าใจถึงคุณสมบัติต่างๆ ของสสารจำพวกอสัณฐานกึ่งตัวนำ สารผลึกกึ่งตัวนำที่มีสิ่งเจือปนสูง ฯลฯ อันเป็นการก่อให้เกิดการวิวัฒนาการ ในวงการอิเล็กทรอนิกส์ เพราะสารเหล่านี้มีประโยชน์ในการผลิตแสงเลเซอร์ เซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น และท่านยังได้ทำการค้นคว้าเรื่องนี้ติดต่อกันนานกว่า 30 ปี จนสามารถสร้างผลงานนำทฤษฎีของฟายน์แมนมาประยุกต์กับปัญหา ของระบบที่ไร้ระเบียบ และนำเสนอทฤษฎีควอนตัม  แบบฟายน์แมนประยุกต์กับปัญหาต่าง ๆ ซึ่งงานวิจัยทั้ง 2 เรื่อง ถูกตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติที่มีชื่อเสียงหลายเล่ม และถูกนำไปใช้อ้างอิงในงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์นานาชาติเป็นจำนวนมาก

 

6. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความเกี่ยวพันกัน ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการพัฒนาทางเทคโนโลยีช่วยเกื้อหนุนให้เกิดการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ก้าวไกลยิ่งขึ้น ปัจจุบันและอนาคตความสำคัญของเทคโนโลยียิ่งมีมากขึ้นและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะปรับเปลี่ยนโลกสู่ยุคใหม่ จึงจำเป็นที่ภาครัฐและภาคเอกชนต้องระดมทรัพยากร พัฒนาวิชาการสองแขนงนี้ให้ก้าวหน้าควบคู่กันไป ปัจจุบันแม้ว่าประเทศจะมีนักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญกระจายอยู่ในสาขาต่าง ๆ มากขึ้น แต่ก็ยังนับว่าน้อยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ จึงต้องให้ความสำคัญในการสนับสนุนให้มีการพัฒนามากขึ้น ซึ่งจะทำให้ประเทศสามารถพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม มีความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ และสามารถลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างชาติ ซึ่งจะก่อให้เกิดคุณประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคมของประเทศ และมวลมนุษย์ชาติสืบไป

 

7. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล

·   ศาสตราจารย์ ดร. วิรุฬห์ สายคณิต เป็นผู้มีจิตใจและวิญญาณของนักวิทยาศาสตร์โดยแท้จริง นอกจากการอุทิศตนทำการศึกษาค้นคว้าอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา และทำการเผยแพร่ผลงานต่อวงวิชาการแล้ว ยังได้ทำการสอนและปลูกฝัง สร้างความสามารถให้นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ทั้งการสอนในหลักสูตร และการเป็นหัวหน้ากลุ่มงานวิจัย หรือผู้กระตุ้นส่งเสริมงานวิจัยในรูปแบบต่างๆ อีกทั้งเป็นผู้มีอัธยาศัยน่านิยม มีความสุภาพอ่อนน้อมถ่อมตน ในขณะเดียวกันก็สามารถแสดงความเป็นผู้นำทางวิชาการให้เป็นที่เลื่อมใสยอมรับ ทั้งนิสิต อาจารย์ และนักวิทยาศาสตร์อื่นๆ ตลอดจนยอมเสียสละในการผลักดันความก้าวหน้าทางวิชาการ โดยการรับหน้าที่นายกสมาคมฟิสิกส์ไทย และเข้าร่วมในกิจกรรมอื่นๆที่มีประโยชน์

·      ตลอดระยะเวลาที่รับราชการ 36 ปีในภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ศาสตราจารย์ ดร. วิรุฬห์ สายคณิต เป็นปรมาจารย์ผู้อุทิศแรงกาย แรงใจในการประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์อย่างเต็มกำลังความสามารถ เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญและเป็นผู้บุกเบิกศาสตร์ด้านฟิสิกส์สารกึ่งตัวนำ (semiconductor Physics)  จนเป็นที่ยอมรับและได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ประสานงานระหว่าง 5 สถาบันในโครงการวิจัยสารตัวนำยิ่งยวดที่อุณหภูมิสูง  เป็นผู้ดำเนินการก่อตั้งและดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงชินโครตรอนแห่งชาติ 

·      สมัยดำรงตำแหน่งหัวหน้าหน่วยวิจัยและศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้านฟอรัมวิทยาศาสตร์ทฤษฎี และคณบดีคณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ริเริ่มโครงการแลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยต่างๆในสหรัฐอเมริกา ยุโรปและเอเชีย ทำให้คณาจารย์ของคณะฯ ได้มีโอกาสไปเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ในต่างประเทศ  เกิดความหลากหลายของการพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยทั้งด้านวิจัย  ด้านวิชาการและด้านการบริการสังคม ตลอดจนสามารถส่งเสริมให้คณาจารย์มีจริยธรรม จรรยาบรรณในอาชีพ  

·      ภายหลังจากปี พ.ศ. 2543 ที่ท่านได้เกษียณอายุราชการแล้ว ท่านยังเสียสละอุทิศตนทำงานทั้งในหน่วยงานราชการ ภาครัฐ และเอกชน ตลอดจนสมาคมต่างๆ โดยดำรงตำแหน่งที่สำคัญได้แก่ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านฟอรัมวิทยาศาสตร์ทฤษฎี ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายกสมาคมฟิสิกส์อาเซียน  กรรมการสภาวิทยาลัยเซนต์เทเรซาอินติ ประธานกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ คณะกรรมการบริหารสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)  ผู้ชำนาญการประจำคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร 2 สมัย จึงได้มีส่วนอย่างยิ่งในการเสริมสร้างการศึกษาระดับอุดมศึกษาโดยรวมของประเทศ ให้เจริญก้าวหน้า เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างแรงจูงใจ ให้เกิดการนำศาสตร์ด้านฟิสิกส์ผนวกเข้ากับศาสตร์ด้านชีวเคมี ในการอธิบายกลไกต่างๆที่เกิดขึ้นในระดับเซลล์ ท่านยังทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านสาขาฟิสิกส์ ในกับหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษาหลายแห่ง รวมถึงเป็นผู้จัดฝึกอบรม สัมมนางานวิชาการเป็นประจำทุกปี ทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ  เพื่อกระตุ้นความรู้ใหม่ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในวงวิชาการแก่นักวิทยาศาสตร์ของไทย และท่านยังได้รับเลือกตั้งจากสมาชิกให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฟิสิกส์ไทย 3 สมัยต่างวาระอีกด้วย

 

8. ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

8.1 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ

·      มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) พ.ศ. 2539

·      นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ชั้นจตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.) พ.ศ. 2546

 

8.2 รางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

·      พ.ศ. 2518 รางวัลรัชดาภิเษกสมโภช ประเภทผลงานวิจัยดีเด่นจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากงานวิจัยชื่อ Paht Intergration Theory of Anharmonic Crystals

·      พ.ศ. 2522 รางวัลผลงานวิจัยดีเด่นของสภาวิจัยแห่งชาติ จากงานวิจัยชื่อ Electron Density of States in a Gaussian Random Rotential : Path integral Approach         

·      พ.ศ. 2522 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกอาวุโส (Senior Associate) ของ International Centre for Theoretical Physics เมือง Trieste ประเทศอิตาลี                                             

·      พ.ศ. 2525 ได้รับพระราชทานรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2525 ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์                                             

·      พ.ศ. 2528 ได้รับพระราชทาน ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประเภทวิชาการ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์                                                              

·      พ.ศ. 2529 ได้รับเลือกเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2529 ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ               

·      เมธีวิจัยอาวุโสรุ่นแรกของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

ได้รับทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย เมธีวิจัยอาวุโส สกว. สาขาฟิสิกส์ ประจำปี 2538 และ 2542                                            

 

 

วารสาร มสวท. ปีที่ ๑๕ เล่มที่ ๓ กรกฎาคม – กันยายน ๒๕๖๕

                                                                                                                                  สารบัญ

                                                                        หน้า

 

มูลนิธิ มสวท. เข้าร่วมพิธีวางพานพุ่มและถวายราชสักการะ               7

พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 4 (พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย)

โครงการทำบุญวัดตากฟ้า พระอารามหลวง จังหวัดนครสวรรค์           9

โครงการ ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม                                              13

บุคคลคุณภาพแห่งปี 2022                                                     20

เยาวชนคุณภาพแห่งปี 2022                                                   38

บุคคลตัวอย่างภาคธุรกิจแห่งปี 2022                                         42

 

ทำเนียบเกียรติยศ (Hall of Fame)

เยาวชนคุณภาพแห่งปี 2022

 

 

 1นางสาวณัฏฐณิชา ชิตเจริญ  อายุ 21 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร

 

 2.  นายอินทวัฒน์ อินพุมมา  อายุ 20 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดกรุงเทพมหานคร

  

 3นางสาวเกรซ คริสติน ริชาร์ดสัน อายุ 21 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

 

 4นางสาวสุขิตา ภูชะธง  อายุ 21 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวัสดุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร

  

 5นายกรดนัย เอี่ยมชีรางกูร  อายุ 21 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จังหวัดปทุมธานี

  

 6นางสาวพิมลรักษ์ แสวงสวัสดิ์  อายุ 21 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี

  

 7นายวันเจริญ อุปมัย  อายุ 21 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาการข้อมูลและนวัตกรรมซอฟต์แวร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี

 

 8นางสาวตัสนีม เจ๊ะแล๊ะ  อายุ 21 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร สาขาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จังหวัดยะลา

  

 9นางสาวรุ่งทิพย์ มาลัยพิศ  อายุ 22 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาชีววิทยา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา

 

 10นางสาวณิชากร ช่างย้อม  อายุ 21 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาเคมี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

 

 11นายเทวนาถ จันทร์ตรี  อายุ 19 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

 

 12นายธนาธิป ชนะศรี  อายุ 21 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

  

 13นางสาวนฤมล พวงทรัพย์  อายุ 21 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช

  

 14นางสาวอรศศิพัชร์ เกษมราช  อายุ 21 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จังหวัดกรุงเทพมหานคร

  

 15นายยศตรี วงศ์กิตติธร อายุ 21 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดขอนแก่น

 

 16นายศุภณัฐ มั่นเขตกร  อายุ 21 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา

  

 17นายธนธรณ์ จูมจันทา อายุ 22 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จังหวัดสกลนคร

  

 18นายตุลยวัติ จินาวงศ์  อายุ 21 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ สาขาจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา

  

 19นายประทีป บุญวงค์  อายุ 29 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมพลังงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จังหวัดเชียงราย

 

โครงการร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 12

เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2565  ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง .ทรงคนอง .พระประแดง .สมุทรปราการ  เพื่อบริจาคขวดพลาสติกใส PET ถุงพลาสติกใส ถาดโฟมใส่อาหาร กล่องนม UHT ที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้เก็บรวบรวมแล้วนำมาทำความสะอาดในเบื้องต้น (เพื่อให้ทางวัดได้นำไปรีไซเคิลใหม่เป็นผ้าจีวรนาโน,ชุด PPE, น้ำมันเชื้อเพลิง, กุฏิสงฆ์) และได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญกฐินสามัคคีประจำปี 2565 กับทางวัดด้วย (ปัจจุบันวัดจากแดงมีพระภิกษุบวชเรียน ประมาณ 60 รูป)

 

 

 

 

การดำเนินโครงการร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อมครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 12 (เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี .. 2563) สืบเนื่องมาจากนโยบายของภาครัฐในการลดขยะพลาสติกที่กำลังเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมของไทย ประกอบกับในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประเทศไทย ภาครัฐได้ออกมาตรการต่างๆและขอให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ใช้นโยบาย Work from home เพื่อหยุดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  จึงเป็นผลให้พฤติกรรมในการบริโภคของประชากรส่วนใหญ่เปลี่ยนไป ผู้คนในวัยทำงานและวัยกำลังศึกษานิยมสั่งซื้ออาหารและเครื่องดื่มแบบเดลิเวอรี่กันเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาขยะพลาสติกและโฟมเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว

 

 

 

 

 

วัดจากแดงนอกเหนือจากจะเป็นศาสนสถานสำหรับประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนาแล้ว ทางวัดยังเปิดหลักสูตรอบรมพระปริยัติธรรมให้กับพระภิกษุสามเณร และพุทธบริษัททั่วไป และยังเป็นศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมให้กับนักเรียน นักศึกษา องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป ในการคัดแยกขยะ การแปรรูปเศษอาหาร การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ฯลฯ  ซึ่งถือเป็นสถานที่ที่มีความพร้อมมากในการนำขยะพลาสติก โฟม กล่องนม UHT ที่ได้รับบริจาคไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลที่เหมาะสม เช่น ขวดพลาสติกใส PET นำไปทำเป็นผ้าจีวรนาโน (ฝีมือตัดเย็บจีวรโดยกลุ่มแม่บ้านในชุมชน) หรือชุด PPE สำหรับใช้งานของบุคลากรทางการแพทย์, กุฏิสงฆ์จากกล่องนม UHT, น้ำมันเชื้อเพลิงจากถุงพลาสติก หรือขวดพลาสติก เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีการที่ช่วยลดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณการทำลายระบบนิเวศ ช่วยลดภาวะโลกร้อน และยังเป็นการสร้างงานให้กับคนในชุมชนใกล้เคียงซึ่งมีทั้งคนแก่และคนพิการรวมอยู่ด้วย

 ดร.ประสิทธิ์ และทีมงานจิตอาสา จึงได้ร่วมกันดำเนินการเก็บ รวบรวม และคัดแยกขยะขวดพลาสติก ภาชนะใส่อาหารและเครื่องดื่มที่ทำจากพลาสติก กล่องนม และกล่องโฟมที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน นำไปบริจาคที่วัดจากแดง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อเข้าสู่กระบวนกำจัดขยะที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และยังเป็นการทำให้ขยะเหล่านี้กลายเป็นผลผลิตใหม่ (Recycle) ที่นำกลับมาให้ใช้งานได้จริง อีกทั้งยังเป็นการสร้างงานให้กับคนยากจนและด้อยโอกาสที่วัดจากแดงอีกด้วย

 

 

มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถานที่ติดต่อ :

288/52 อาคารมูลนิธิ มสวท. ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220

Tel. +66(0) 2552-5200 Fax. +66(0) 2551-4422 Email : thaifstt@gmail.com 

Copyright © 2008-2015 หากมีปัญหาในการรับชมกรุณาติดต่อ Webmaster ที่ admin@thaifstt.org