บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจการเงินและธนาคาร

 

 1. คุณวิทัย รัตนากร

(ผู้อำนวยการ ธนาคารออมสิน)

2. คุณขัตติยา อินทรวิชัย

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย)

3. คุณอดิศร สิงห์สัจจะ

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทวิน ไพน์ กรุ๊ป จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจเงินทุนและหลักทรัพย์

 

1. คุณนุสรา รุ่นเจริญ

(กรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน))

 

2. คุณณัฐพงศ์ ณ ระนอง

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบีเอสที จำกัด (มหาชน))

3. คุณสุรศักดิ์ บุณยะชัย

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เคพีเอ็ม จำกัด)

 

4. คุณรัศเมฆ ศรีเศรษฐี

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท สวัสดีช้อป จำกัด)

 

5. คุณจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา

(ผู้ก่อตั้งและประธานบริหารกลุ่ม บิทคับ (บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด)) 

 

 บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

1. คุณลดาวัลย์ ธนะธนิต

(ที่ปรึกษาทางด้านการเงินและอสังหาริมทรัพย์ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด)

 

2. คุณสิริลักษณ์ โกวิทจินดาชัย

(ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน))

 

3. คุณชวลิต ถนอมถิ่น

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไร้ท์ทันเน็ลลิ่ง จำกัด (มหาชน))

 

4. คุณพงศ์เทพ รัตนแสงสรวง

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พรอสเพอร์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน))

 

5. คุณวีระศักดิ์ วานิชวัฒน์

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีฆาก่อสร้าง จำกัด (มหาชน))

6. คุณศุภลักษณ์ จันทร์พิทักษ์

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บริทาเนีย จำกัด (มหาชน))

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจยานยนต์

 

1. คุณธานัท ธรรมพรหมกุล

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไลฟ์ มูฟวิ่ง จำกัด)

2. คุณวีรพลน์ เตชะผาสุขสันติ

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โชคนำชัย ออโต้เพรสซิ่ง จำกัด)

3. คุณอัครวัชร คงสิริกาญจน์

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท บี ออโต้ฮาวส์ จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต

 

1. คุณสมโพชน์ เกียรติไกรวัล

(ประธานที่ปรึกษา สำนักกรรมการผู้จัดการและสายงานตัวแทน บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน))

 

2. คุณอลิสา อารีพงษ์

(ประธานเจ้าหน้าที่สายงานพัฒนาและนำเสนอผลิตภัณฑ์ บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน))

3. คุณปัญญวัฒน์ โพธิ์ศรีทอง

(ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ฟิน อินชัวรันส์ โบรคเกอร์ จำกัด)

4. คุณฐิตาพร ธารากิจ

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยรี เซอร์วิสเซส จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

1. คุณวิโรจน์ ศิริรัตนรักษ์

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ เว็บ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน))

2. คุณสุธิดา มงคลสุธี

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน))

3. คุณสีหนาท ล่ำซำ

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด) 

4. คุณชลลักษณ์ มหาสุวีระชัย

(ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เบ็ตเตอร์บี มาร์เก็ตเพลส จำกัด)

5. คุณพงศ์สันต์ ตฤณธวัช

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท วี บิลด์ แอนด์ โอเปอร์เรต จำกัด)

6. คุณอัศวรรณ์ เรืองชู

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิสทรอนิกส์ จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์

 

1. คุณชัชพล ประสพโชค

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด(มหาชน))

 

2. คุณเกศกนก สอยโฮ้

(ประธาน บริษัท โฟร์ทเคม เทรดดิ้ง จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค

 

1. ดร.ฮาราลด์ ลิงค์

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด(มหาชน))

2. ดร.อุกฤษฏ์ อัษฎาธร

(กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยรุ่งเรืองพลังงาน จำกัด)

3. คุณโยธิน ดำเนินชาญวนิชย์

(กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ ซัพพลาย จำกัด (มหาชน))

4. คุณเศรษฐศิริ ศักดิ์สิทธิเสรีกุล

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โคลเวอร์ เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน))

5. คุณรัชตะ ฐิตยานุรักษ์

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชีย อินฟราสตรักเชอร์ แมเนจเม้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด)

6. คุณกิติชัย มะลิดา

(รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท ผลิตไฟฟ้า และน้ำเย็น จำกัด)

7. คุณชวาลา ตั้งอยู่ภูวดล

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นเนอร์ยี่ มาสเตอร์ จำกัด)

8. คุณตรีรัตน์ ศิริจันทโรภาส

(ประธานกรรมการบริหาร บริษัท นิว เอ็นเนอร์จี พลัส โซลูชั่นส์ จำกัด)

9. คุณณัฐพศิน เชฎฐ์อุดมลาภ

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจบริการเฉพาะกิจ

1. ศ.เกียรติคุณ นายแพทย์สมยศ คุณจักร

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยศการ เมดิคอล จำกัด)

2. นายแพทย์ระวีวัฒน์ มาศฉมาดล

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลมาสเตอร์พีช)

3. นายแพทย์พุทธพงศ์ เหลืองรัตน์

(กรรมการ บริษัท วี เอ็กคลูซีฟ กรุ๊ป จำกัด)

4. แพทย์หญิงณิชนิตา ถาวโรจน์

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟีนิกซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ 2017 จำกัด)

5. นายแพทย์วัชพล ธนมิตรามณี

(แพทย์ประจำคลินิก ด็อกเตอร์เมฆคลินิก)

6. นายแพทย์ณัฐพล วงศ์เกียรติขจร

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท วิสดอม เอสเทติก จำกัด)

7. นายแพทย์ณัทธร นฤปเวศม์

(ประธานกรรมการ คลินิกในเครือด็อกเตอร์สตอรี่กรุ๊ป)

8. นายแพทย์สิพกร เจินยุหะ

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท อัลทิม่า คลินิกเวชกรรม จำกัด)

9. แพทย์หญิงอรอุมา พันธ์อภิวัฒน์

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อรอุมา คลินิก จำกัด)

10. คุณนิว หาญภักดี

(กรรมการ บริษัท นิวเวลล์ ออดิท แอนด์ แทกซ์ แอคเคาท์ติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด)

11. คุณเพชร บุญวงษ์

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท รักษาความปลอดภัย วัน เซอร์วิส จำกัด)

12. คุณสรสิช เนตรนิล

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บุญนำพา (ประเทศไทย) จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจการเกษตร

 

1. คุณชัยพันธ์ ลิมปิวรรณ

(รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธุรกิจเมล็ดพันธ์ บริษัท เจียไต๋ จำกัด)

 

2. คุณอรรณพ อัครนิธิยานนท์

(ประธานกรรมการ บริษัท แสงทองสหฟาร์ม จำกัด)

 

3. แพทย์หญิงพิพิธพร หลิวจันทร์พัฒนา

(กรรมการ บริษัท ไทย เฮมพ์ เวลเนส จำกัด)

 

 บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม

 

1. คุณแดน ปฐมวาณิชย์

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน))

2. คุณยุพิน จันทร์จุฑามาศ

(ประธานเจ้าหน้าที่สายงานบัญชีและการเงิน บริษัท โนวา ออร์แกนิค จำกัด (มหาชน))

3. คุณอริสา อร่ามวัฒนานนท์

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิมเพิ้ล ฟู้ดส์ จำกัด)

4. คุณศุภณัฐ สัจจะรัตนกุล

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟู๊ด ซีเล็คชั่น จำกัด)

5. คุณวรรณนิศา ฉัตรอมรวงศ์

(กรรมการบริหารฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ซิตี้ เฟรช ฟรุ๊ต จำกัด)

6. คุณณรงค์ศักดิ์ ชื่นสุชน

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นซี โคโคนัท จำกัด)

7. ดร.บวร วิเชียรสินธุ์

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท วิชไชย์ กรุ๊ป จำกัด)

8. คุณกิตติพงษ์ สุขเคหา

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท แรบบิท เบสท์ ฟู๊ด จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์

 

1. ดร.วัชรพงษ์ พงษ์บริบูรณ์

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท ขาวละออเภสัช จำกัด)

2. คุณธนาตรัยฉัตร ภูโชคอนันต์

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อมาโด้ กรุ๊ป จำกัด)

3. คุณกร สุริยพันธุ์

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทพไทย โปรดัคท์ จำกัด)

4. เรืออากาศเอกหญิงวรรณษา วัฒนะเกษมนาถ

(ประธานผู้บริหาร บริษัท โบต้า พี เวิลด์ จำกัด)

5. คุณวรัตน์พล วรัทย์วรกุล

(ประธานกรรมการ บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด)

6. เภสัชกร ดร.ปัณณวิชญ์ โชติเตชธรรมมณี

(ประธานกรรมการ บริษัท ออกานิกส์ คอสเม่ จำกัด)

7. คุณทรัพย์ เกียรติฐิตินันท์

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท โบฟี่ จำกัด)

8. คุณพรพัชร์ชา ลือวงษ์วระกูล

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท นำทรัพย์ แลบอาทอรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด)

9. คุณวิรัช ฉัตรนิธิกุล

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท เซ้นท์คอทเทจกรุ๊ป จำกัด)

10. คุณสักก์พิพัฒน์ ประภาสิทธิ

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดีอาร์เจแอล กรุ๊ป จำกัด)

11. คุณนันทวรรณชยา ภาจิตประพันธ์

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เนเจอร์ เฮิร์บ อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้ง จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจของใช้ในครัวเรือนและสำนักงาน

1. คุณทีปกร โลจนะโกสินทร์

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทเครือ โลตัส เบดดิ้ง กรุ๊ป ประเทศไทย)

 

2. คุณอมรรัตน์ ลีลาวัฒนกุล

(ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ลัคกี้เฟลม จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจพาณิชย์

 

1. คุณไตรเทพ ศรีกาลรา

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โปรปลั๊กอิน จำกัด)

2. คุณพิมลวรรณ ชีวเกรียงไกร

(กรรมการบริหารฝ่ายการตลาด บริษัท ลอนดรี้บาร์ ไทย จำกัด)

3. ดร.จิตติมา ศีลประชาวงศ์

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรงพรเจริญการเกษตรและจักรกล จำกัด)

4. คุณกัลยา เตรียมวิทยา

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท บี คอนสตรั๊คชั่น แอนด์ แมททีเรียล จำกัด)

5. คุณธเนศ เสถียรพันธ์

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท วัชร มารีน จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจการแพทย์

 

1. คุณพักตร์นลิน บูลกุล

(ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด)

2. ดร.สิทธิวัตน์ กำกัดวงษ์

(ประธานกรรมการบริหาร โรงพยาบาลประชาพัฒน์)

3. นายแพทย์เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ

(ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เค.พี.เอ็น.ซีเนียร์ลิฟวิ่ง จำกัด)

4. คุณดนัย ประพันธ์สันติ

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอฟฟิโนม จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจวัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร

 

1. คุณสุนิสา จิระวุฒิกุล

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยูเรกา ดีไซน์ จำกัด (มหาชน))

2. คุณยศวัฒน์ เรืองรักษ์ลิขิต

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซานี่ ไทยแลนด์ จำกัด)

3. คุณวริน อิทธิโรจนกุล

(ประธานผู้บริหาร บริษัท ทีทีซี เพาเวอร์ทูลส์ จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจวัสดุก่อสร้าง

 

1. คุณธีรวัต อมรธาตรี

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกชีทเม็ททัล จำกัด (มหาชน))

2. ดร.วรรณศิริ ตั้งคารวคุณ

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ที เค เอส เคมิคอล (ประเทศไทย) จำกัด)

3. คุณชาญชัย รุ่งโรจน์ธนเจริญ

(ประธานกรรมการ บริษัท เอวาน่า อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด)

4. คุณสมพร ตันติวิวัฒน์กุล

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไต่เฮงสตีลเทรดดิ้ง จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์

 

1. คุณวราวุธ นาถประดิษฐ์

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน))

2. คุณกฤษ สีตองอ่อน

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีมัวร์ มารีน แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจบรรจุภัณฑ์

1. ดร.สมโภชน์ วัลยะเสวี

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สตาร์เฟล็กซ์ จำกัด (มหาชน))

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจแฟชั่น

1. คุณกรกนก สว่างรวมโชค

(ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ชู โกลบอล จำกัด)

2. คุณทักขศิษฎ์ จิตติวาณิชย์

(กรรมการบริหาร บริษัท ไอมาเน่ (ไทยแลนด์) จำกัด)

3. คุณคมสัน ศุภมิตร์

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอราวัณสิ่งทอ จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและสันทนาการ

1. คุณวีรพันธุ์ พงษ์วัฒนานุสรณ์

(ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เทวา โฮเทลล์ แอนด์ รีสอร์ทส์ จำกัด)

ทำเนียบเกียรติยศ (Hall of Fame)

เยาวชนคุณภาพแห่งปี 2021

 

 

 1.  นายณัชพล ไชยวาณิชย์ อายุ 23 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ สาขาทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดกรุงเทพมหานคร

 

 2. นายธนโชติ สรรพกิจ อายุ 20 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาRobotics and AI จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร

 

 3. นายภาณุพงศ์ ธนารักษ์วุฒิกร อายุ 20 ปี

 ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

 

 4. นางสาววนัชพร เพนเทศ อายุ 22 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขา เคมี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จังหวัดปทุมธานี

 

5. นางสาวพิชญ์พาณี บุญประดับ อายุ 20 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

 

 6. นายปฎิภาณ ใจอดทน อายุ 21 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาเคมี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จังหวัดกรุงเทพมหานคร

 7. นายวสุธร เชาวลิตถวิล อายุ 21 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จังหวัดกรุงเทพมหานคร

 

 8. นายจิตรภาณุ อาษากลาง อายุ 21 ปี

ปี ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา

 

 9. นางสาวทักษอร อักษรศิลป์ อายุ 22 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมระบบสมองกลฝังตัว มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี

 

 10. นางสาวญาติมา ภูรินพรัตน์ อายุ 21 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี

 

 11. นายอัครพันธ์ ทวีศักดิ์ อายุ 21 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร

 

12. นางสาวชญานิษฐ์ ก้างออนตา อายุ 22 ปี 

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จังหวัดเชียงราย

 

13. นางสาวไญยเซน ชนาชน อายุ 22 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จังหวัดกรุงเทพมหานคร

 

 14. นายกนกพล รอดบุญ อายุ 21 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาเมคคาทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดพัทลุง

 

 15. นายธิษณ์ธฤต สุนทรวาที อายุ 20 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จังหวัดนครปฐม

 

16. นายกิตติกร โนราช อายุ 29 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน จังหวัดเชียงใหม่

 

17. นางสาวทิพย์วรรณ ทองอันตัง อายุ 22 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จังหวัดสกลนคร

 

 18. นายพีรพัฒน์ จอมคีรี อายุ 22 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาเคมี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

 

19. นางสาวนิชดา กระจ่างพิศ อายุ 21 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ สาขาชีววิทยามหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา

 5)  บุคคลคุณภาพแห่งปี 2021 ด้านเด็กและเยาวชน

 

คุณจุลภควัฒน์ ศรีวรรณ (อายุ 36 ปี)

 สื่อมวลชนสายสังคมเพื่อเด็กและเยาวชน

 

1. หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน

 1. อุปนายกสมาคมศูนย์ข่าวเยาวชนไทย

 2. รองผู้อำนวยการศูนย์ข่าวเด็กและเยาวชนอาเซียน และผู้ก่อตั้งโครงการอบรมนักข่าวเด็กและเยาวชนใน 10 ประเทศ

 3. อนุกรรมการคณะอนุกรรมการสื่อประชาสัมพันธ์สื่อดิจิทัล วุฒิสภา

 4. อนุกรรมการคณะอนุกรรมาธิการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติและกิจกรรมพิเศษอันเป็นประโยชน์เพื่อสังคม วุฒิสภา

 5. ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการด้านการปราบปรามยาเสพติดและการบังคับใช้กฎหมาย สภาผู้แทนราษฎร

 6. ผู้ก่อตั้งโครงการศูนย์ข่าวนักเรียนกรุงเทพมหานคร-อาเซียน 10 ประเทศ เชื่อมเด็กไทยกับเด็ก 9 ประเทศอาเซียน

 7. ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ ข่าว 5 จี สถานีโทรทัศน์ กองทัพบก ช่อง 5

 8. กรรมการผู้จัดการบริษัท ฟิล์ม 96 จำกัด

 

2. ประวัติการศึกษา

 ·     ปริญาตรี คณะศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต

 ·     ปริญาโท คณะรัฐศาสตร์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

 ·     กำลังศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

 

3. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน

 ผมเริ่มทำกิจกรรมตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษา 5 เมื่อครั้งเป็นพิธีกร รายการจิ๋วแจ๋วเจาะโลก ช่อง 3” (เป็นรายการข่าวเด็ก ใช้เด็กเป็นพิธีกรรายงานข่าวแบบผู้ใหญ่ มีคนนั่งอ่านข่าวอยู่ในสตูดิโอ และมีนักข่าวเด็กเดินสายสัมภาษณ์บุคคลที่น่าสนใจทั้งเด็กและผู้ใหญ่ และทำสกู๊ปข่าว ออกอากาศประมาณ 15 นาที เริ่มออกอากาศครั้งแรกในปี .. 2532) ก็ทำกิจกรรมเพื่อสังคมมาโดยตลอดทั้งในและต่างประเทศ ตอนนี้มาเน้นกิจกรรมของเด็กและเยาวชนในประเทศอาเซียน รู้สึกสนุกและมีความสุขที่ได้ทำอะไรเพื่อคนอื่น การที่เราได้เห็นรอยยิ้มของคนอื่นผมว่าทำให้เราหายเหนื่อยและมีแรงที่จะทำความดีต่อไป

 

4. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน

รางวัลที่เป็นการการันตีในความมุ่งมั่น คือรางวัลชนะเลิศ International EMMY Award 2007 เมืองนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา จากผลการงานก่อตั้ง ศูนย์ข่าวเยาวชนไทย ที่จัดตั้งขึ้นในปี .. 2542 โดยได้นำเยาวชนมาฝึกทำข่าว สังเคราะห์ข่าว สร้างทักษะชีวิต เพื่อพัฒนาศักยภาพตั้งแต่ยังเด็ก โดยมีพื้นที่การทำงานครอบคลุมถึง 50 จังหวัดทั่วประเทศ และขยายเป็นศูนย์ข่าวเด็กและเยาวชนอาเซียน โดยมีโรงเรียนและมหาวิทยาลัยในประเทศอาเซียนร่วมทำกิจกรรม สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง

 

5. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไวมาก พัฒนาการทางด้านสื่อก็เปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยี มีทั้งความสะดวด รวดเร็ว เข้าถึงทุกคนได้ทุกที่ทุกเวลาทั่วโลก การสร้างสื่อที่สร้างสรรค์ ปลอดภัย และเป็นสื่อที่ดี เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนนั้น จำเป็นต้องเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้มีส่วนร่วม เพราะเด็กและเยาวชนนั้นเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสังคมที่น่าอยู่และการเปลี่ยนแปลงที่ดีในอนาคต

 

6. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล

คุณจุลภควัฒน์เริ่มต้นชีวิตการทำงานตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษา 5 ด้วยการเป็นพิธีกร ในรายการจิ๋วแจ่วแจ๋วเจาะโลกและในช่วงสมัยวัยรุ่นได้ออกค่ายอาสาสมัครมาแบบนับไม่ถ้วน เป็นประธานค่ายอาสา เริ่มรณรงค์ทำกิจกรรมเพื่อสังคมสนับสนุนและเล็งเห็นในปัญหาสิ่งแวดล้อม สังคม ชุมชน คนพิการ ซึ่งตนทำหมดทุกอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และที่สำคัญคือ การทำด้วยความเต็มใจ และยินดีเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ สัญญากับตัวเองรวมถึงสังคมไว้ว่าจะทำต่อไปจนกว่าจะหมดแรง 

 นอกจากงานด้านสังคมแล้ว คุณจุลภควัฒน์ก็ไม่ทิ้งงานด้านวงการบันเทิง โดยยังคงวนเวียนอยู่กับการทำรายการโทรทัศน์ โฆษณา จัดอีเว้นท์ เป็นผู้จัดละคร โดยละครที่ผลิตออกมามักจะเป็นละครที่สะท้อนสังคม จนได้รับฉายาว่าผู้จัดละครสายสังคม  คุณจุลภควัฒน์ เชื่อว่า การทำงานตั้งแต่วัยเด็ก ทำให้ตนเห็นโลกกว้าง มองอะไรได้อย่างก้าวหน้า และด้วยความที่ชอบช่วยเหลือสังคมมาตั้งแต่เด็กๆ ก็เลยทำกิจกรรมด้านสายสังคมมาตลอด ทำให้เห็นถึงความสำคัญในการใช้สื่อเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนเพื่อเป็นกระบอกเสียงและสะท้อนความต้องการของเด็กและเยาวชน  เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และการให้โอกาสเด็กนักแสดงรุ่นใหม่มาเล่นละครเกี่ยวกับสังคม จะทำให้เด็กคนนั้นเป็น Influencer เป็นผู้นำที่ดีกับสังคม ที่สามารถจะช่วยเหลือสังคมและเชิญชวนทุกคนมาทำความดีได้ต่อไป ด้วยแนวคิดที่ว่ายุคสมัยที่เปลี่ยนไป เยาวชนคนรุ่นใหม่ต้องมีส่วนร่วมในการทำสังคมให้น่าอยู่มากขึ้นให้ผู้ใหญ่หันมามองมากขึ้น

 วินาทีที่ตัดสินใจกับตัวเองแล้วว่า จะทำหน้าที่ของการเป็นนักกิจกรรมเพื่อสังคม ก็เจอบททดสอบและอุปสรรคมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ทุกคนยอมรับให้โอกาสเเด็กและเยาวชนทำสื่อซึ่งมีราคาต้นทุนที่สูงมาก ในสมัยนั้นการหาแหล่งทุนมาทำโครงการ ทำให้ต้องพิสูจน์ตัวเองอย่างหนักหน่วง ว่าสื่อเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน สามารถทำให้โลกเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าใช้สื่อแบบสร้างสรรค์และปลอดภัย หรือใช้สื่อในทางไม่ดี โลกปัจจุบันเทคโนโลยีมาไวมาก ถ้าเปลี่ยนอนาคตของชาติไม่ทัน เราจะเอาอะไรไปสู้ประเทศอื่นได้

 คุณจุลภควัฒน์ได้ผลิตผลงานในเชิงสร้างสรรค์สายสังคมเพื่อเด็กและเยาวชนไว้มากมาย อาทิเช่น

ปี 2542-2552 โครงการจัดตั้งศูนย์ข่าวเยาวชนไทยประจำโรงเรียน 32 จังหวัด กรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการ

 ปี 2547-ปัจจุบัน โครงการนักศึกษานิเทศศาสตร์สื่อสาร 5 ประเทศ (ไทย ญี่ปุ่น จีน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย) ร่วมกับคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 ปี 2553-2555 โครงการยุวฑูตดาราศาสตร์ ประเทศจีน ประเทศเกาหลีใต้ และฮ่องกง สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 ปี 2557 โครงการประกวดสื่อสิทธิเด็กอาเซียน และประชุมเด็กอาเซียนอย่างเป็นทางการคร้ังที่ 3  (ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ) โดยมีพระองค์เจ้าโสมสวลีฯเสด็จเป็นประธาน จัดโดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

 ปี 2558 โครงการจัดนิทรรศการและสื่อสารคดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (88 โรงเรียนรักในหลวง และ 3 โรงเรียนในประเทศอาเซียน) สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล

 ปี 2558 โครงการผลิตสื่อโทรทัศน์ 60 สตรีต้นแบบ ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท เนื่องในโอกาส 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

 ปี 2558-ปัจจุบัน โครงการศูนย์ข่าวเด็กและเยาวชนอาเซียน 10 ประเทศ โรงเรียนมัธยมศึกษาและมหาวิทยาลัย ใน 10 ประเทศอาเซียน

 ปี 2559-2562 โครงการศูนย์ข่าวนักเรียนกรุงเทพมหานคร-อาเซียน สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร และ 9 ประเทศอาเซียน

 ปี 2559-ปัจจุบัน โครงการสื่อเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยและโรงเรียนในเครือเจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ (.6)

 ปี 2561 ผู้ดำเนินการผลิต ละครส้ันเทิดพระเกียรติเพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เพื่อสร้างความตระหนักของสังคมในการอยู่ร่วมกันกับคนพิการอย่างเข้าใจและเท่าเทียม พร้อมทั้งส่งเสริมศักยภาพและสร้างกำลังใจให้กับคนพิการ จำนวน 9 เรื่อง เพื่อนำเสนอแบบอย่างที่ดีให้กับเยาวชนคนพิการและเยาวชนทั่วประเทศ จัดโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

 ปี 2562 ผู้ควบคุมการผลิตรายการ The BEST forever ทำดีเพื่อสังคม โดยมูลนิธิการจัดการเพื่อความมั่นคง (สวปอ.มส) ช่อง 5

 ปี 2562 ผู้ดำเนินการผลิตภาพยนตร์โฆษณารณรงค์ประชาสัมพันธ์ต่อต้านการค้ามนุษย์ ในกลุ่มประเทศ CLMT 4 ประเทศ (ลาว เมียนมา กัมพูชา ไทย) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

 ปี 2563 ผู้ควบคุมการผลิตสปอตรณรงค์หยุดการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน โดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

 ปี 2563-ปัจจุบัน โครงการนักข่าวเยาวชนต้านคอร์รัปชั่น ต้นแบบ 2 โรงเรียนในจังหวัดกรุงเทพฯ และนนทบุรี

 ปี 2564 โครงการนักข่าวเยาวชนรักประเทศไทย ต้นแบบ 14 จังหวัดภาคใต้

 ปี 2564 โครงการนักข่าวเยาวชนต้านทุจริต ต้นแบบ 13 อำเภอ จังหวัดขอนแก่น

และยังมีผลงานอื่นๆอีกมากมาย

 

7. ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

  รางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

 .. 2545 รางวัลเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ สาขาสื่อมวลชน เพื่อเด็กและเยาวชนที่ป้องกันปัญหาสังคม รางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร

 .. 2559 เข็มพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  เนื่องในงานวันเจ้าฟ้านักพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชนในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

 .. 2559 โล่ประกาศเกียรติคุณในฐานะองค์กรที่สนับสนุนการจัดเวทีวิชาการการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

 .. 2559 รางวัลผู้ประกอบการดีเด่นเพื่อสังคม จากองค์กรผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ประเทศสิงคโปร์

 .. 2560รางวัลบุคคลตัวอย่างแห่งปี 2560จัดโดยสำนักนายกรัฐมนตรี

 .. 2561 รางวัลพระราชทานโล่เกียรติคุณอาสาสมัครดีเด่น ที่มีกิจกรรมทางสังคมดีเด่นแห่งชาติจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เนื่องในโอกาสวันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ และวันอาสาสมัครไทย ประจำปี 2560 โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

 .. 2564 รางวัลบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชน สาขาสื่อมวลนเพื่อเด็กและเยาวชน ประจำปี 2564กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

และยังได้รับรางวัลอื่นๆอีกมากมาย

 

 4)  บุคคลคุณภาพแห่งปี 2021 ด้านสังคม

 

 ศาสตราจารย์ นพ.ดร.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์  (อายุ 71 ปี)

 แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาและนักวิจัยเพื่อสังคม

 

1. หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน

 1. นายกสภามหาวิทยาลัยทักษิณ

 2. กรรมการสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 3. ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

 4. ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ (วพส.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 5. ประธานมูลนิธิเพื่อการเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ชายแดนใต้

 6. ศาสตราจารย์ ระดับ 11 (ข้าราชการบำนาญ) สาขาระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 7. ประธานหลักสูตรระบาดวิทยานานาชาติ ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 2. ประวัติการศึกษา

 ·     แพทยศาสตรบัณฑิตจากคณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (.. 2517)

 ·     เศรษฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (.. 2532)

 ·     Med M.Med.Science (ระบาดวิทยา) University Of Newecastle, Australia (.. 2532)

 ·     Doctor of Philosophy (Ph.D.), University of Newcastle, Australia (.. 2541)

 

3. ประวัติการทำงาน

 1. รับราชการครั้งแรกที่สถานีอนามัยด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา

 2. อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จนเกษียณราชการเมื่อปี .. 2559

 3. ผู้ก่อตั้งหน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    4. ที่ปรึกษาองค์การอนามัยโรค ด้านระบาดวิทยาเจริญพันธุ์ (.. 2530-2533)

 5. ศาสตราจารย์รับเชิญมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์คุณหมิง ประเทศจีน (.. 2549-2552)

 6. ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ (วพส.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 7. ประธานมูลนิธิเพื่อการเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้

 8. ศาสตราจารย์ระดับ 11 (ข้าราชการบำนาญ) สาขาระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 9. นายกสภามหาวิทยาลัยทักษิณ และกรรมการสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

4. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน

 ·     เรียงลำดับในการทำงานร่วมกับผู้อื่น คืออุดมการณ์ งาน เงิน

 ·     สื่อสารด้านอุดมการณ์เพื่อชักจูงให้คนเห็นคุณค่าของงานที่จะทำ

 ·     จัดบริหารงานให้เป็นระบบ พัฒนาบุคลากร สถาบัน และ เครือข่าย ทำงานให้น่าสนใจ มีตรรกะ มีส่วนร่วม ได้ผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรม

 ·     จัดหาและจัดสรรทรัพยากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเงิน ให้เพียงพอ คล่องตัว โปร่งใส คุ้มค่า และ เป็นธรรม

 

5. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน

 ·     มีผลงานวิชาการด้านการวิจัยสาธารณสุขระหว่างประเทศตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติเป็นอันดับต้นๆของเอเซีย

 ·     ก่อตั้งหน่วยระบาดวิทยาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และทำงานต่อเนื่องจนเป็นหน่วยงานที่มีชื่อเสียงระหว่างประเทศ มีลูกศิษย์จาก 17 ประเทศ จบหลักสูตรปริญญาโทและเอกรวมกันกว่า 200 คน

 ·     ก่อตั้งมูลนิธิเพื่อการเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ชายแดนใต้ เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบและลดความขัดแย้งในพื้นที่

 ·     ติดตามวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์โควิด-19 ให้ข้อเสนอต่อประชาชนทั่วไป และรัฐบาลในการควบคุมโรค

 

6. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 ·     วิทยาศาสตร์เป็นกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ การเข้าถึงวิทยาศาสตร์ทำให้เข้าใจธรรมชาติอย่างแท้จริงและปรับตัวเข้ากับธรรมชาติได้อย่างเหมาะสม

 ·     เทคโนโลยีเป็นการประยุกต์วิทยาศาสตร์ สร้างประโยชน์แก่มนุษย์ ทำให้ปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

 ·     การที่จะทำให้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีไว้เพื่อการสร้างสรรสิ่งทีดีต่อมนุษย์และโลก ต้องอาศัยการควบคุมด้วยศีลธรรมซึ่งเป็นวิวัฒนาการทางสังคมของมนุษยชาติ

 

7. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล

 ·     มอบองค์ความรู้ รวมทั้งศีลธรรมเป็นวิวัฒนาการซับซ้อนของมนุษย์ เพื่อสนับสนุนคุณภาพในการดำรงชีพของมนุษย์เอง การจัดระบบของมนุษย์ทำให้เกิดสถาบันในการดูแลความสงบสุข การถ่ายทอดและพัฒนาความรู้ และการดำรงสุขภาพที่ดีของมนุษย์ การทำงานเพื่อมนุษย์ คือ การทำงานให้กับสถาบันเหล่านี้

 ·     .นพ.ดร.วีระศักดิ์ เป็นแพทย์และนักระบาดวิทยาที่มีความรอบรู้ทั้งด้านการวิจัยและการพัฒนาทำให้ใช้วิชาแพทยศาสตร์ที่ได้ร่ำเรียนมาสร้างประโยชน์ให้กับสังคมไทยอย่างต่อเนื่องกว่า 40 ปี ตั้งแต่การทำงานเป็นแพทย์บริการประชาชนในชนบท การเข้ารับราชการเป็นนักวิชาการในมหาวิทยาลัย ทำให้แวดวงวิชาการสาธารณสุขไทยได้รับความยอมรับอย่างกว้างขวางจากนานาชาติ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเซีย

 ·     ถือเป็นศาสตราจารย์แถวหน้าของมหาวิทยาลัยที่อุทิศตนเพื่อสังคมมาอย่างยาวนาน และยังรั้งตำแหน่งประธานมูลนิธิเพื่อการเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ท่านได้อุทิศตนอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาระบบสุขภาพทางด้านสังคม  เศรษฐกิจและเทคโนโลยี เพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ภาคใต้ เช่น การแก้ปัญหาโรคติดเชื้อต่าง ในภาคใต้ ได้แก่ บาดทะยักในเด็กแรกเกิด พยาธิปากขอ ตั้งแต่ปี .. 2525 โรคปอดบวม อุจจาระร่วง มาลาเรีย วัณโรค ไข้เลือดออก ไข้ชิคุนกุนยา พิษจากการปนเปื้อนจากสารตะกั่วและสารหนู นอกจากนี้เมื่อปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ปะทุขึ้น ท่านยังได้ใช้ความยอมรับทางวิชาการของตนระดมความร่วมมือข้ามวัฒนธรรม ติดตามช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุรุนแรง เพื่อฟื้นฟูสมรรถนะทางจิตใจและการงานให้กลับคืนสู่สังคมได้อย่างปกติ

 ·     ดำเนินการวิจัยเพื่อช่วยแก้ปัญหาด้านสุขภาพแก่ประชาชน เช่น ปัญหาแม่และเด็ก  ปัญหาฟันผุ  และโรคติดเชื้ออื่นๆ  นอกจากนี้ ยังจะทำการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคยาสูบ ยาเสพติด โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชกระท่อมซึ่งเป้นปัญหาพิเศษของภาคใต้  รวมถึงการนำวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยแก้ปัญหาความรุนแรงจากสถานการณ์ความขัดแย้งในภาคใต้อีกด้วย โดยหวังว่าผลงานวิจัยจะสามารถสนับสนุนการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้ในระยะยาว อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยเพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนด้านการพัฒนาสุขภาพประชาชนของประเทศในอนาคต

 

8. ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

 8.1 เครื่องราชอิสรยาภรณ์ที่ได้รับ

 ·     มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (5 ธันวาคม 2551)

 ·     มหาวชิรมงกุฏ (5 ธันวาคม 2547)

 

8.2 รางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

 ·     เมธีวิจัยอาวุโส ประจำปี 2539 สาขาระบาดวิทยา ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

 ·     นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2552 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

 ·     นักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2553 ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

 ·     อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2554  สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ของสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.)

 ·     บุคคลดีเด่นของชาติ ประจำปี 2557 สาขาพัฒนาสังคม ของคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี

 ·     อาจารย์ดีเด่น ประจำปี 2559 รางวัลกองทุนเอกิ้น เลาเกเซ่นอนุสรณ์

     ·     แพทย์ผู้มีผลงานดีเด่น รางวัลสมเด็จพระวันรัต ประจำปี 2560 ของแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

       และยังได้รับรางวัลและทุนวิจัยจากหน่วยงานสำคัญของประเทศอีกเป็นจำนวนมาก

 3) บุคคลคุณภาพแห่งปี 2021 ด้านสาธารณสุข

 

นายแพทย์สันต์ ใจยอดศิลป์ (อายุ 68 ปี)

 ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ หลอดเลือด และทรวงอก

 

1. หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน

 1. ผู้ก่อตั้งและประธานมูลนิธิสอนช่วยชีวิต (หลายสมัย)

 2. ที่ปรึกษามูลนิธิช่วยผ่าตัดหัวใจเด็ก

 3. ที่ปรึกษาอนุกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต ของสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

     4. ที่ปรึกษาโรงพยาบาลมวกเหล็ก .สระบุรี

 5. แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ครอบครัวที่ศูนย์ Well ness we care .มวกเหล็ก .สระบุรี

 

2. ประวัติการศึกษา

 ·     แพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  (รุ่นที่ 1)

 ·     วิชาชีพเวชกรรม (วว.) สาขาศัลยศาสตร์หัวใจหลอดเลือดทรวงอก (แพทยสภา)

 ·     วิชาชีพเวชกรรม (วว.) สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว (แพทยสภา)

 ·     Certificate at Cardiovascular and Thoracic Surgery Full Registor Training (Green lane Hospital, Auckland, Newzealand)

 ·     Cardiovascular and Thoracic Surgery visiting Fellow (Brigham and Women Hospital Harvard, Bostan, U.S.A.)

 

3. ประวัติการทำงาน

 ·        แพทย์ทั่วไป (หลังจบการศึกษาทำงานใช้ทุน) โรงพยาบาลปากพนัง .นครศรีธรรมราช  

 ·        หลังจากใช้ทุนครบก็เข้ารับการฝึกอบรมเป็นหมอผ่าตัดศัลยกรรมทรวงอก จบแล้วได้ทำงานเป็นศัลยแพทย์ที่โรงพยาบาลศูนย์สระบุรี .สระบุรี

 ·        เข้ารับการฝึกอบรมเป็นหมอผ่าตัดหัวใจที่ต่างประเทศ จบแล้วกลับมารับราชการเป็นศัลยแพทย์หัวใจที่โรงพยาบาลราชวิถี .กรุงเทพมหานคร (ประมาณ 20 ปี)

 ·       คณะอนุกรรมการสมาคมแพทย์โรคหัวใจของสหรัฐอเมริกา (American Heart Association; AHA)

 ·       กรรมการสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

 ·       ผู้ก่อตั้งและเป็นประธานมูลนิธิสอนช่วยชีวิต ตั้งแต่ปี .. 2544

 ·        บรรณาธิการตำราด้านโรคหัวใจและการช่วยชีวิต 3 เล่ม และผู้เขียนหนังสือสุขภาพ บทความทางวิชาการ ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์อีกมากมาย

 ·        ลาออกจากราชการ มาทำงานตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลพญาไท 2 .กรุงเทพมหานคร   (ประมาณ 6 ปี)

 ·        ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ประชาชื่น .กรุงเทพมหานคร (ประมาณ 2 ปี)

 ·        เริ่มงานแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ครอบครัว ปี .. 2552  มีหน้าที่สอนให้คนไข้ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ด้วยการ ออกกำลังกาย โภชนาการ การพักผ่อนที่พอเพียง และการจัดการความเครียดอย่างเป็นระบบ

 ·        เป็นวิทยากรรับเชิญ เขียนหนังสือ ทำรายการทีวี ทำวิดีโอเผยแพร่ทางยูทูป เขียนบทความและตอบคำถามในบล็อกเกอร์ส่วนตัว  https://drsant.com/ และ Facebook เพื่อให้ความรู้ด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแก่สาธารณชนในการดูแลสุขภาพของตนเอง

 ·        หัวหน้าศูนย์สุขภาพ Well ness we care center .มวกเหล็ก .สระบุรี (.. 2559 ปัจจุบัน)

 

 4. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน

 ทิ้งความยึดถือในตัวเองด้วยการสร้างสรรค์ประโยชน์ให้ชีวิตอื่นและให้โลก

 

5. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน

·     การเป็นศัลยแพทย์หัวใจ 20 ปี และได้เขียนตำราทางการแพทย์เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยวิกฤติโรคหัวใจและการช่วยชีวิตขั้นสูงไว้หลายเล่ม จากประสบการณ์ทำงานด้านผ่าตัดหัวใจแบบเปิดมา 20 ปี ให้กับผู้ป่วยมากกว่า 2,000 ราย และการสร้างมาตรฐานการช่วยชีวิตขึ้นในประเทศไทย

 ·     จุดเปลี่ยนในการรักษาของ นพ.สันต์ ซึ่งเป็นหมอผ่าตัดหัวใจที่มีชื่อเสียงในระดับประเทศ สืบเนื่องมาจากในวัย 55 ปี คุณหมอป่วยเป็นโรคหัวใจขาดเลือด ไขมันในเลือดสูง และความดันโลหิตสูง เมื่อตรวจหลอดเลือดก็พบว่าหลอดเลือดหัวใจตีบ แต่คุณหมอไม่เลือกวิธีรักษาด้วยการสวนหัวใจเพราะกลัวการทำบอลลูนและการผ่าตัดทำบายพาส เพราะจากประสบการณ์ 20 กว่าปี ที่ได้รักษาผู้ป่วยด้วยวิธีนี้ พบว่าผู้ป่วยมีโอกาสจะหายป่วย เสียชีวิต หรือต้องกลับมาผ่าตัดใหม่ในระยะยาว ดังนั้น คุณหมอจึงเริ่มหันมาหาวิธีพลิกผันโรคด้วยตนเอง โดยเริ่มค้นหาสาเหตุที่ทำให้คุณหมอป่วย ซึ่งพบว่าต้นเหตุมาจากอาหารและการดำเนินชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงตามแบบฝรั่ง รับประทานผักผลไม้น้อย ชอบดื่มเครื่องดื่มจำพวกน้ำอัดลมและกาแฟสำเร็จรูป ตลอดจนรับประทานขนมหวาน เบเกอรี่อยู่เป็นประจำ นอกจากนี้คุณหมอเองก็ทำงานหนักประกอบกับความเครียดและไม่มีเวลาออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายอ่อนแอ จนในที่สุดก็ป่วยด้วยโรคเรื้อรังหลายชนิดตามมา

 ·     เมื่อคุณหมอพบสาเหตุที่ทำให้ป่วย จึงได้พยายามปรับเปลี่ยนอาหาร ออกกำลังกาย ทานยาลดความดัน ไขมัน ฯลฯ และดูแลสุขภาพให้มากขึ้น แต่ก็ยังมีข้อจำกัดหลายประการที่ทำให้ไม่สามารถรักษาโรคที่เป็นอยู่ได้จนหายขาด ดังนั้น คุณหมอจึงตัดสินใจเลิกผ่าตัดหัวใจและเลิกทำงานบริหารโรงพยาบาล ต่อจากนั้นคุณหมอก็หันไปเรียนใหม่เพื่อเป็นหมอประจำครอบครัว และเริ่มต้นปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตใหม่  ทั้งในเรื่องของอาหารและชีวิตประจำวันโดยปฏิบัติเช่นนี้อยู่นานหลายปี ในช่วงนี้เองคุณหมอก็ได้มีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศโดยได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับเพื่อนหมอหลายๆท่าน ได้แลกเปลี่ยนความรู้ ศึกษาเพิ่มเติม และเจาะลึกงานวิจัยต่างๆ ทำให้ความคิดและความเข้าใจค่อยๆตกผลึกว่าแท้ที่จริงแล้วอาหารเนื้อสัตว์และการแปรรูปอาหารด้วยวิธีการต่างๆเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วย ซึ่งแตกต่างจากอาหารพืชตามธรรมชาติที่สามารถรักษาการเจ็บป่วยได้ นอกจากนี้คุณหมอเองก็ยังดูแลตัวเองในเรื่องของการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การออกกำลังกาย และการบริหารจัดการความเครียด เช่น การรำมวยจีน ฝึกโยคะ และการนั่งสมาธิ เป็นต้น ในที่สุดคุณหมอก็ทิ้งยาต่างๆไปหมด ทั้งยาความดัน ยาไขมัน และยาโรคหัวใจ เพราะตัวชี้วัดต่างๆมันปกติหมดแล้ว สุขภาพโดยรวมแข็งแรงกว่าเดิม และคุณภาพชีวิตดีขึ้นมาก

 ·     จากประสบการณ์ตรงที่คุณหมอเคยป่วยเป็นโรคหัวใจ จนในที่สุดสามารถที่จะพลิกผันโรคได้ด้วยตนเองโดยไม่ใช้ยาและการผ่าตัด คุณหมอจึงตั้งใจที่จะใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ภายหลังจากที่ได้สุขภาพดีกลับคืนมา ในการถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการป้องกันและพลิกผันโรคให้แก่บุคคลทั่วไป โดยการเขียนหนังสือ บทความ ทำรายการทีวี เป็นวิทยากรรับเชิญ และล่าสุดกับการสร้างศูนย์เวลเนสวีแคร์เซ็นเตอร์ขึ้นพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมสุขภาพให้กับผู้ป่วยและบุคคลทั่วไป นอกจากนี้คุณหมอยังมีบล็อคส่วนตัวไว้คอยตอบคำถามสุขภาพซึ่งมีผู้ติดตามอ่านบทความปีละไม่ต่ำกว่าสองล้านครั้ง

 ·      การเปิดแนวทางการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีใช้ชีวิต

 ·       การเผยแพร่ความรู้ให้ประชาชนป้องกันและพลิกผันโรคได้ด้วยตนเอง

 6. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 วงการแพทย์มีโอกาสพัฒนาอย่างก้าวกระโดด หากรับเอาเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารมาใช้อย่างจริงจัง

 

7. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล

 1. ร่วมก่อตั้งมูลนิธิช่วยผ่าตัดหัวใจเด็ก เพื่อหาเงินมาผ่าตัดเด็กยากไร้ที่หัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด  ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษามูลนิธิช่วยผ่าตัดหัวใจเด็ก

 2. กรรมการสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (หลายสมัย)

 3. ร่วมจัดทำมาตรฐานการช่วยชีวิตของประเทศไทยขึ้น ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาอนุกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต ของสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

 4. ผู้ก่อตั้งและเป็นประธานมูลนิธิสอนช่วยชีวิต (หลายสมัย) เพื่อสอนแพทย์พยาบาลและคนทั่วไป ซึ่งมูลนิธินี้ก็ยังทำงานขันแข็งอยู่ ปัจจุบันมีแพทย์จิตอาสารุ่นหลังรับช่วงไปทำต่อ

 5. หลังจากที่ นพ.สันต์ ลาออกจากราชการ ได้เป็นผู้ก่อตั้งศูนย์หัวใจขึ้นในภาคเอกชน ให้กับเครือโรงพยาบาลพญาไท โดยร่วมมือกับมหาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา

 6. ผู้จัดตั้งศูนย์หัวใจเพื่อผ่าตัดผู้ป่วยสามสิบบาทและประกันสังคม ที่ รพ.เกษมราษฎร์ประชาชื่น

 7. ผู้ให้ความรู้ทางการแพทย์เชิงดูแลตัวเองให้กับประชาชน หลังจากที่เลิกผ่าตัดหัวใจเลิกทำงานบริหารโรงพยาบาล ก็หันไปเรียนใหม่เพื่อเป็นหมอประจำครอบครัว จบแล้วมาทำงานสอนผู้ป่วยให้รู้จักดูแลตัวเอง โดยเขียนหนังสือ บทความทางวิชาการ วารสารทางการแพทย์ บทความให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการป้องกันก่อนที่จะป่วย โดยอัพเดทตามโรคภัยไข้เจ็บที่กำลังเป็นกระแสในปัจจุบัน ทั้งในรูปแบบสิ่งพิมพ์และผ่านช่องทางสื่อโซเชียลมีเดีย ได้แก่ การทำวิดีโอออกฉายทางยูทูป การตอบคำถามทางบล็อกส่วนตัว ที่มีคนอ่านไม่น้อยกว่าปีละ 2 ล้านครั้ง

 

8. ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

 8.1 ความภาคภูมิใจ

 ·     หลังจากที่เรียนจบแพทย์ นพ.สันต์ ได้ไปทำงานใช้ทุนที่ .ปากพนัง .นครศรีธรรมราช โดยได้เป็นผู้ร่วมสร้างโรงพยาบาลปากพนัง (โรงพยาบาลชุมชน ขนาด 30 เตียง) ขึ้นมาได้สำเร็จ ซึ่งเป็นการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวระหว่างชุมชนกับโรงพยาบาล โดยมี นพ.สันต์ เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้บริจาค ชุมชน และหน่วยงานภาครัฐ

 ·     นพ.สันต์ ได้เดินทางไปฝึกอบรมเฉพาะด้านการผ่าตัดหัวใจทรวงอกและหลอดเลือดที่ประเทศนิวซีแลนด์ และได้รับรางวัล Registrar’s Award, Green lane Hospital, Auckland, Newzealand

 ·     หลังจากที่ นพ.สันต์ กลับจากเมืองนอกแล้วได้รับราชการอยู่ที่โรงพยาบาลราชวิถี ทำผ่าตัดหัวใจบายพาสอยู่หลายปี แล้วก็ไปฝึกอบรมเพิ่มเติมที่เพรสบิไทเรียน ดัลลัส เท็กซัส อเมริกา และ Brigham and Women Hospital Harvard, Bostan, U.S.A. ก็เดินทางอยู่บ่อยครั้งระหว่าง เมืองดัลลัส บอสตันและกรุงเทพ ทั้งงานผ่าตัด งานสอน งานบรรยาย ทั้งในและต่างประเทศ พอกลับมาทำงานในเมืองไทย ได้พบผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจหยุดเต้น แล้วต้องปฏิบัติการช่วยชีวิต ก็ได้พบว่าระบบปฏิบัติการช่วยชีวิตของเมืองไทยไม่เป็นระบบเดียวกันทั้งประเทศ แพทย์ที่จบจากสถานศึกษาที่ต่างกัน พอมาเข้าทีมเดียวกันก็ไม่สามารถทำงานเข้าขากันได้ นพ.สันต์ จึงตั้งใจว่าจะต้องผลักดันให้มีมาตรฐานเรื่องนี้ขึ้นในเมืองไทยให้ได้ โดยเข้าไปทำงานเป็นกรรมการสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย และเป็นผู้ผลักดันให้มีการตั้งกรรมการร่วมระหว่างสมาคมกับกระทรวงสาธารณสุข และร่วมมือกับสมาคมหัวใจอเมริกัน โดย นพ.สันต์ เดินทางไปมาระหว่างเมืองดัลลัสและกรุงเทพอยู่หลายครั้ง ทำอยู่หลายปี จนการจัดทำมาตรฐานการช่วยชีวิตและระบบฝึกอบรมที่เหมือนกันทั้งประเทศเกิดขึ้นได้สำเร็จ มีตำราคู่มือมาตรฐานที่ นพ.สันต์ เป็นบรรณาธิการ ซึ่งพิมพ์ออกใช้แล้วหลายครั้ง งานนี้เป็นผลจากความร่วมแรงร่วมใจของแพทย์โรคหัวใจและวิสัญญีแพทย์ทั้งประเทศจำนวนมาก 

 ·     สร้างระบบผ่าตัดหัวใจเพื่อรักษาคนจนผ่านระบบประกันสังคมและสามสิบบาทในภาคเอกชน คือ เมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน การผ่าตัดหัวใจให้คนจนทำได้แต่ในโรงพยาบาลของรัฐ เพราะในภาคเอกชนมีต้นทุนสูงถึงสามแสนบาท ขณะที่ประกันสังคมจ่ายเพียงแสนเดียว แต่ถ้าพึ่งพาโรงพยาบาลรัฐเพียงอย่างเดียวจะทำไม่ทัน เพราะมีจำนวนคนไข้เข้าคิวรอผ่าตัดนานกว่าจะได้ผ่าก็ปีกว่าสองปี บ้างก็ถูกเลื่อนแล้วเลื่อนอีก ที่ต้องล้มหายตายจากไปก่อนก็มาก คุณหมอพยายามแก้ปัญหานี้โดยหาทางจัดตั้งระบบที่เรียกว่าองค์การมหาชนขึ้นมา เพื่อให้มีเงินมาจูงใจให้หมอทำงานนอกเวลาจะได้ผ่าตัดได้มากขึ้น แต่ก็ไม่สำเร็จเพราะเพื่อนร่วมอาชีพส่วนหนึ่งไม่เข้าใจ อีกส่วนหนึ่งไม่เชื่อว่าจะสามารถลดต้นทุนลงไปจนเหลือรายละหนึ่งแสนบาทได้ บ้างก็เชื่อว่าคิวรอผ่าตัด จนตายก็ทำไม่หมด อย่าไปพยายามเลย คุณหมอจึงตัดสินใจออกจากราชการมาจัดตั้งระบบนี้ในภาคเอกชน ตอนแรกมาตั้งศูนย์ที่ รพ.พญาไท โดยร่วมมือกับฮาร์วาร์ดเรียกว่าศูนย์หัวใจพญาไท-ฮาร์วาร์ด โดยสร้างคนและพัฒนาวิธีทำให้มีต้นทุนต่ำ โดยเรียนรู้จากเพื่อนที่ผ่าตัดหัวใจอยู่ที่อินเดีย เพราะที่นั่นหมอเขาเย็บต่อบายพาสหลอดเลือดหัวใจสามเส้นด้วยไหมเย็บเส้นเดียว คุณหมอทำงานที่ รพ.พญาไทอยู่หลายปีจน รพ.พญาไทหมดสัญญากับฮาร์วาร์ด คุณหมอจึงย้ายไปตั้งศูนย์ทำต่อที่ รพ.เกษมราษฎร์ประชาชื่น จนเมื่อสิบปีที่แล้ว รพ.เกษมราษฎร์ประชาชื่น สามารถผ่าตัดหัวใจให้คนจนได้ปีละ 700 ราย เป็นศูนย์หัวใจรักษาคนจนที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ของประเทศ ทำให้หลายสถาบันเข้าใจสิ่งที่คุณหมอพยายามจะทำ จึงได้จัดระบบผ่าตัดนอกเวลาขึ้นมา คิวรอผ่าตัดหัวใจที่ยาวเหยียดทั่วประเทศไทยจึงหมดลง

 

8.2 รางวัลและเกียรติยศที่เคยได้รับ

 · รางวัลเกียรติยศวันมหิดล คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

 2) บุคคลคุณภาพแห่งปี 2021 ด้านเทคโนโลยี

 

 ศาสตราจารย์ ดร. สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ (อายุ 69 ปี)

 ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการอบแห้งและพลังงานทดแทน

 

 1. หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน

 1. ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิศวกรรมศาสตร์ สำนักวิทยาศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเกษตร ราชบัณฑิตยสภา  

 2. ศาสตราจารย์ ระดับ 11 ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

 3. ดำรงตำแหน่งผู้บริหาร (อธิการบดี / รองอธิการบดี/ คณบดี) ของมหาวิทยาลัยหลายแห่ง

 4. กรรมการสภาของมหาวิทยาลัยหลายแห่ง

 5. กรรมการสภาวิชาการ และกรรมการพิจารณาตำแหน่งวิชาการในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงหลายแห่งทั่วประเทศ 

 6. กรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ (...)

 

2. ประวัติการศึกษา

 ·     ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 1 (วิศวกรรมเกษตร) มหาวิทยาลัยขอนแก่น (.. 2518)

 ·     ปริญญาโท Agricultural System Engineering and Management (AM.Eng) สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (.. 2520)

 ·     ปริญญาเอก Production and Processing of Vegetable Raw Materials (Dr.Ing.), Ecole Nationale Supe’rieur Agronomie de Toulouse (ENSAT) ประเทศฝรั่งเศส (.. 2525)

 

 3. ประวัติการทำงาน

 ·     คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (.. 2518-2521)

 ·     อาจารย์ คณะพลังงานและวัสดุ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) (.. 2525-2526)

 ·     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพลังงานและวัสดุ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (.. 2526-2529)

 ·     รองศาสตราจารย์ คณะพลังงานและวัสดุ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (.. 2529- 2535)

 ·     รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (.. 2535- 2538)

 ·     คณบดี คณะพลังงานและวัสดุ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (.. 2538-2539)

 ·     ศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (.. 2535-2540)

 ·     รักษาการผู้อำนวยการบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี (.. 2540-2541)

 ·     ศาสตราจารย์ ระดับ 11 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี .. 2540-ปัจจุบัน

 ·     รักษาการคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (.. 2544-2549)

 

4. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน

สอนให้นักศึกษาคิด วิเคราะห์ สร้างสรรค์ วิจัย ให้บรรลุเป้าหมายการใช้ประโยชน์จริง และเผยแพร่ผลงานวิจัยคุณภาพสูง

 

5. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน

 ·     ได้รับการแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิศวกรรมศาสตร์ สำนักวิทยาศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเกษตร ราชบัณฑิตยสภา เมื่อปี .. 2541-ปัจจุบัน

 ·     ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ ระดับ 11 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

 ·     การสร้างชื่อเสียงในเวทีระดับโลกด้วยการคว้ารางวัล นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2003 ขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO Science Prize 2003) ในสาขาพลังงานทดแทน โดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีอบแห้ง

 ·     ผู้มีผลงานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ตลอดการทำงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับการอ้างอิงมากที่สุด 2% แรกของโลกในสาขาวิจัย Food Science

 ·     ผู้บุกเบิกและสร้างผลงานวิจัยทางด้านพลังงานทดแทน โดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีการอบแห้ง เน้นที่เมล็ดพืชและอาหารรายแรกๆของประเทศไทย

 ·     .ดร.สมชาติ มีความคิดเห็นว่าองค์ประกอบที่ทำให้งานวิจัยสำเร็จหรือไม่ก็คือ ตัวนักวิจัยต้องสนใจงานวิจัยเป็นอันดับแรก จะต้องทุ่มเท ถ้าตั้งใจทำเรื่องหนึ่งบางทีอาจจะใช้เวลาถึง 10 ปี กว่าจะเห็นผล เรียกง่ายๆว่าอดทนนั่นเอง ประการต่อมา หน่วยงานต้นสังกัดต้องสนับสนุน ถ้าหน่วยงานต้นสังกัดมองว่างานวิจัยไม่สำคัญ และนักวิจัยก็ไม่มีโอกาส งานวิจัยก็ไม่เกิด สุดท้ายหน่วยงานให้ทุนวิจัย เช่น สกว. ก็มีส่วนช่วยให้นักวิจัยสามารถทุ่มเทเวลา ทำงานวิจัยได้เต็มที่ เรียกว่าหลายองค์ประกอบมีส่วนทำให้งานวิจัยประสบความสำเร็จได้ แต่ถ้าถามว่ามีปัญหาไหม ผมว่างานทุกอย่างมีปัญหา แต่ผมเองโชคดีที่ได้รับการสนับสนุนอย่างดี ได้เงินทำวิจัย และมีทีมวิจัยที่ดีมาก ซึ่งขณะนี้มีอาจารย์รุ่นหนุ่มสาวที่เข้ามาทำงานในกลุ่มงานวิจัยเทคโนโลยีการอบแห้ง และมีนักศึกษาระดับปริญญาโท ปริญญาเอกที่ให้ความสนใจมาเรียนในศาสตร์แขนงนี้ และที่สำคัญการที่มหาวิทยาลัยสามารถร่วมมือกับภาคเอกชนได้ ทำให้ในอนาคตงานวิจัยที่เอื้อประโยชน์กับภาคเอกชนจะมีมากกว่านี้

 ·     ข้อคิดสำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่ ผมว่างานวิจัยจะทำให้สำเร็จต้องอาศัยเวลา เพราะงานวิจัยต้องประกอบด้วยองค์ความรู้ที่จะพัฒนาขึ้นมา และการต่อยอดผลงานที่จะนำไปใช้งานจริงในภาคอุตสาหกรรม ทั้งสองสิ่งเป็นความจำเป็น ถ้าจะให้มีทั้ง 2 อย่างเกิดขึ้นคงไม่ใช้เวลาแค่ 1-2 ปี แต่อย่างน้อยคงต้อง 5 ปีขึ้นไป หรือ 10 กว่าปีแบบผม เพราะฉะนั้นนักวิจัยต้องทำใจ 1) ทำใจว่าถ้าอยากมีความก้าวหน้าในงานวิจัยท่านต้องใช้เวลาเป็น 10 ปี อย่าคิดว่าทำ 2 ปี แล้วจะได้งานวิจัยมาเลยมันคงลำบาก 2) ผมคิดว่านักวิจัยคงไม่มีรายได้สูงก็ต้องทำใจอีกเหมือนกัน ถ้าอยากจะรวยเป็นนักวิจัยที่มีผลงานดีๆก็คงจะยากสักนิด 3) สมัยนี้ทุกเรื่องเป็นสหวิทยาการ มันต้องมีความรู้จากหลากหลายสาขาวิชาเข้ามาช่วยกัน อย่างงานของผม วิศวกรฝ่ายเดียวคงทำไม่ได้ ต้องอาศัยความรู้ทางด้านเคมี เคมีกายภาพ คุณภาพผลิตภัณฑ์และผลิตผลทางเกษตร จึงจะทำให้งานวิจัยออกมาสมบูรณ์แบบ และมีผลงานออกมาถึงผู้ใช้ และเป็นที่ยอมรับได้ว่าผลิตภัณฑ์ดีและใช้งานได้ ดังนั้น ข้อสำคัญคือการทำงานเป็นทีม 4) ถ้าจะหวังผลงานเพื่อนำไปใช้งานในภาคอุตสาหกรรมได้จริง จะต้องจับมือกับภาคอุตสาหกรรมตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ใช่ให้นักวิจัยทำและค่อยไปนำเสนอสินค้า เพราะไม่อย่างนั้นอุตสาหกรรมอาจจะมองไม่เห็น ถ้าภาคเอกชนเข้ามาร่วมมือตั้งแต่แรก เขาจะได้เห็นผลงานไปพร้อมๆกับนักวิจัย ทำให้สามารถเอาผลงานไปใช้งานได้จริง

 

6. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 ·     นักวิจัยไทยต้องพัฒนาผลงานให้นำไปสู่การใช้ประโยชน์ได้จริง และต้องผลิตและเผยแพร่ผลงานวิจัยคุณภาพสูง

 ·     การเข้าสู่นักวิจัยอาชีพที่ทำงานด้านวิทยาศาสตร์ได้นั้น จำเป็นจะต้องทำงานวิจัยศึกษาค้นคว้าหาความจริง ค้นคว้าหาความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันนักวิจัยอาชีพเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ในสังคมไทย ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว หน่วยงานของรัฐบาลเองถ้าอยากจะพัฒนาประเทศไทยให้เป็นประเทศที่ตั้งบนพื้นฐาน สังคมฐานความรู้ เศรษฐกิจฐานความรู้ ต้องให้ความสำคัญกับวิทยาศาสตร์ให้มากกว่านี้ เพราะวิทยาศาสตร์เป็นปัจจัยหลักที่จะขับเคลื่อนประเทศให้เจริญก้าวหน้า แต่ปัจจุบันเด็กไทยกลับไม่ชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เพราะมองว่าเป็นเรื่องเข้าใจยาก กลับหันไปเรียนสายศิลปะมากขึ้น รัฐบาลต้องมองประเด็นปัญหานี้เริ่มตั้งแต่ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่ยังมีปัญหาขาดแคลนครูสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เมื่อหาครูสอนไม่ได้ ก็มักเอาครูที่ไม่ได้จบทางด้านนี้มาสอน แล้วผมก็มีคำถามว่ากระทรวงศึกษาธิการเองจะแก้ปัญหาอย่างไร อาจจะต้องเปิดอาชีพนี้ให้กว้างขึ้น โดยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าไปเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ได้ เพราะขณะนี้เข้าใจว่าพวกที่จบทางด้านนี้ไม่สามารถไปเป็นครูได้ หากไม่ได้ไปเรียนเพิ่มเติมวิชาชีพครู ถ้าอาชีพนี้เปิดกว้างมากขึ้น ก็จะช่วยให้ครูมีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้นและก็จะมีนักเรียนที่สนใจเรียนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์มากขึ้น เรียกว่าต้องหาคนที่รักในอาชีพนี้เข้าไปเป็นพี่เลี้ยง

 

7. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล

 .ดร.สมชาติ เป็นผู้หนึ่งที่มีประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถในด้านการวิจัยและพัฒนาการอบแห้งอาหารและวัสดุชีวภาพที่มีศักยภาพสูงสุดของประเทศไทย ในอดีตที่ผ่านมาท่านและทีมวิจัยมุ่งเน้นในการพัฒนาการอบแห้งอาหารและวัสดุชีวภาพต่างๆ ทั้งในแง่ของความสามารถในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง และในแง่ของการใช้พลังงาน อาทิ การพัฒนาขนมขบคี้ยวไร้น้ำมัน  กระบวนการผลิตข้าวนึ่ง  การอบแห้งผลไม้ เป็นต้น  ซึ่งนับว่าเป็นวิธีการเพิ่มมูลค่าให้กับอาหารและผลิตผลทางการเกษตรของประเทศ  อันจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผลิตผลดังกล่าวในระดับนานาชาติ

 .ดร.สมชาติ เป็นผู้ได้รับการจัดอันดับอยู่ในลำดับต้นๆของโลก ที่มีบทความทุกประเภทด้านการอบแห้ง จากฐานข้อมูล Scopus ( 21 ตค. 2564) จำนวนผลงานวิจัย 213 เรื่อง  มีจำนวนการอ้างอิงทั้งหมด 5,630 ครั้ง และมี h-index เท่ากับ 44  นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้เขียนหรือผู้เขียนร่วมในผลงานวิชาการต่างๆ ได้แก่ สิทธิบัตร 4 เรื่อง บทความวิจัยในวารสารไทย 150 เรื่อง หนังสือและหนังสือบางบท 18 เรื่อง/บท บทความวิจัยในที่ประชุมทางวิชาการกว่า 410 เรื่อง ท่านเป็นที่รู้จักกันดีทั้งในแวดวงสถาบันการศึกษาและในภาคอุตสาหกรรมเกษตร พลังงานทดแทนและนโยบายพลังงาน หนึ่งในผลงานวิจัยที่สร้างชื่อเสียงให้กับท่าน ได้แก่ การวิจัยและประดิษฐ์เครื่องอบแห้งข้าวเปลือกแบบฟลูอิไดซ์เบด ซึ่งได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนทั้งผู้ผลิตเครื่องจักรและโรงสีข้าว ซึ่งผลงานสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ต่อมาได้ใช้กันอย่างแพร่หลายในโรงสีข้าวในเมืองไทย และในอีกกว่า 10 ประเทศทั่วโลก สามารถช่วยลดความเสียหายจากข้าวเปลือกความชื้นสูงได้ปีละหลายร้อยล้านบาท  นอกจากนี้ท่านยังได้วิจัยและประดิษฐ์เตาเผาแกลบแบบไซโคลนเพื่อผลิตลมร้อน  สำหรับใช้ในการอบแห้งที่สามารถลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล จนมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมหลายประเภท จนได้รับรางวัลอันทรงเกียรติ UNESCO Science Prize ในปี .. 2546 จาก the United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO)

 

8. ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

 8.1 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ

 ·     มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (5 ธันวาคม .. 2546)

 ·     มหาวชิรมงกุฎ (5 ธันวาคม .. 2543)

 

8.2 รางวัลและเกียรติยศที่ได้รับ

     .. 2539 นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย สภาวิจัยแห่งชาติ

     .. 2539-2549 เมธีวิจัยอาวุโส สกว. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย) ครั้งที่ 1, 2 และ 3

     .. 2539 ศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น

     .. 2540 รางวัลที่ 1 สิ่งประดิษฐ์คิดค้นด้านเครื่องจักรกลเกษตร (เครื่องอบแห้งข้าวเปลือกแบบฟลูอิไดซ์เบดเคลื่อนย้ายได้) กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม

     .. 2540 สมาชิกก่อตั้งบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

     .. 2541 ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเกษตร ราชบัณฑิตยสภา

     .. 2543 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์

  .. 2546 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2003 ขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO Science Prize 2003) ในสาขาพลังงานทดแทน

     .. 2547 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและผู้สร้างสรรค์ผลงานวิศวกรรมเกษตร

     .. 2549 ทุนเครือข่ายวิจัย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

     .. 2551 รางวัล Ajinomoto Co. สำหรับ Innovation in Drying Research from IDS 2008

     .. 2552 รางวัลเครือข่ายวิจัย สกอ. ที่มีผลงานวิจัยดีเด่น

     .. 2552 รางวัล Arun S. Mujumdar in drying research outstanding service and exceptional quality mentorship of young researchers

     .. 2553 นักวิจัยแกนนำ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

     .. 2554 อาจารย์ดีเด่น ของที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) ประจำปี .. 2553

     .. 25549 ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น สกว.

     .. 2560 รางวัลนักวิจัยเกียรติยศ มจธ. (KMUTT Hall of Fame)

     .. 2561 PTIT (Petroleum Institute of Thailand) Distinguished Fellow Award

 

มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถานที่ติดต่อ :

288/52 อาคารมูลนิธิ มสวท. ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220

Tel. +66(0) 2552-5200 Fax. +66(0) 2551-4422 Email : thaifstt@gmail.com 

Copyright © 2008-2015 หากมีปัญหาในการรับชมกรุณาติดต่อ Webmaster ที่ admin@thaifstt.org