ทำเนียบเกียรติยศ มูลนิธิ มสวท.
(HALL OF FAME)
2.ทำเนียบบุคคลตัวอย่างภาคธุรกิจแห่งปี
4.ทำเนียบสุดยอดฝีมือโทรคมนาคมและไอซีทีเฉลิมพระเกียรติ
โครงการ"บุคคลคุณภาพแห่งปี 2024"(QUALITY PERSONS OF THE YEAR 2024)
ในปี พ.ศ. 2567 มูลนิธิ มสวท.จะจัดทำโครงการ “บุคคลคุณภาพแห่งปี 2024” (QUALITY PERSONS OF THE YEAR 2024) ขึ้น เพื่อประกาศเกียรติคุณและเป็นการยกย่องบุคคลที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต ทั้งชีวิตส่วนตัว ชีวิตการทำงาน และการอุทิศตนทำกิจกรรมเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติในด้านต่างๆ ซึ่งสมควรเป็นแบบอย่างที่ดีและควรค่าต่อการส่งเสริมเพื่อประกาศเชิดชูเกียรติยศแห่งความภาคภูมิใจ
โครงการมอบทุนการศึกษา
“ทุนเยาวชนคุณภาพแห่งปี 2024” (Quality Youths Scholarship of The Year 2024)
ในปี พ.ศ. 2567 มูลนิธิ มสวท.จะจัดกิจกรรมมอบทุนการศึกษา"ทุนเยาวชนคุณภาพแห่งปี 2024" (Quality Youths Scholoarship of The Year 2024) จำนวน 19 ทุน พร้อมใบประกาศเกียรติคุณเพื่อยกย่องและเชิดชูเกียรติให้เป็น "เยาวชนคุณภาพแห่งปี 2024" เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เยาชนรุ่นหลังได้เห็นคุณค่าของตนเองและการทำงานผลงานหรือกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์
วารสารฉบับพิเศษ
เนื่องในวาระครบรอบ 15 ปี ของการสถาปนามูลนิธิ มสวท. ในปีนี้มูลนิธิได้รับเกียรติเป็นอย่างสูงจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (นายเศรษฐา ทวีสิน), ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (นางสาวศุภมาส อิศรภักดี) ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ), ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (นายประเสริฐ จันทรรวงทอง) และนายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ (ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) ได้ให้เกียรติเขียนสารอวยพรมูลนิธิในวารสารฉบับพิเศษนี้
โครงการร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 27
เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2567 ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เพื่อบริจาคขวดพลาสติกใส PET ขนาด 1.5 ลิตร และ 5 ลิตร พร้อมภาชนะพลาสติกที่ใช้บรรจุอาหารเดลิเวอรี่ ขวดบรรจุเครื่องดื่มชนิดใสและชนิดขุ่น ถุงพลาสติกที่ใช้ใส่เครื่องดื่ม อาหาร หรือห่อหุ้มพัสดุ ที่ผ่านการใช้งานแล้ว หลอดกาแฟ แก้วน้ำ ช้อนส้อม และกล่องนม UHT กล่องข้าว จานโฟมใส่อาหารที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้เก็บรวบรวมแล้วนำมาทำความสะอาดในเบื้องต้น เพื่อให้ทางวัดได้นำไปรีไซเคิลใหม่เป็นผ้าจีวรนาโน, ชุด PPE, น้ำมันเชื้อเพลิง, กุฏิสงฆ์, อาคารเรียน, อิฐปูพื้น ฯลฯและได้ร่วมบริจาคเงินกับทางวัดเพื่อใช้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้สืบไป วัดจากแดงปัจจุบัน มีพระภิกษุประมาณ 68 รูป ซึ่งเป็นพระภิกษุชาวไทยและสามเณร มีพระเถระต่างชาติ 10 กว่ารูป ปกติทางวัดได้เปิดโครงการศึกษาพระไตรปิฎกให้กับพระภิกษุ นักบวช ฆราวาส อุบาสก และอุบาสิกา ทั้งชาวไทยและต่างชาติ (เอเชีย ยุโรป) รวมกว่า 400 รูป/คน ในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ อีกด้วย
จีวรนาโน (จีวรรีไซเคิล)
การผลิตจีวรรีไซเคิลจะใช้ขยะขวดพลาสติก PET ชนิดใส ขนาด 1.5 ลิตร จำนวน 15 ขวด ผลิตผ้าจีวรได้ จำนวน 1 ผืน หากผลิตผ้าไตรจีวร จำนวน 1 ชุด จะใช้ขวด PET จำนวน 60 ขวด ทั้งนี้ จีวรรีไซเคิลที่วัดจากแดง นับเป็นจีวรรีไซเคิลผืนแรกของประเทศไทย ที่ใช้นวัตกรรมแปรรูปเม็ดพลาสติกด้วยนาโนเทคโนโลยี ในกระบวนการผลิตเป็นเส้นใย เพื่อนำมาทอเป็นผืนผ้าบังสุกุลอย่างดี ส่วนการย้อมสีราชนิยม ก็เป็นไปตามพระวินัย ตามกิจของพระสงฆ์ มีทั้งผ้า 5 ขันฑ์ (ชิ้น) 9 ขันฑ์ (ชิ้น) และสังฆาฎิ 2 ชั้น ซึ่งการผลิตนี้เป็นไปตามหลักพุทธบัญญัติทุกประการ โครงการจีวรรีไซเคิล ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ ถือเป็นหนึ่งในโครงการ OUR Khung BangKachao ซึ่งมูลนิธิชัยพัฒนาได้ร่วมมือกับ 34 องค์กร ในการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สีเขียวของคุ้งบางกะเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ พร้อมทั้งพัฒนาวิถีชีวิตความเป็นอยู่และการเติบโตทางเศรษฐกิจของผู้คนในพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น
วัดจากแดงนอกเหนือจากจะเป็นศาสนสถานสำหรับประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนาแล้ว ทางวัดได้เปิดหลักสูตรอบรมพระปริยัติธรรมให้กับพระภิกษุสามเณร และพุทธบริษัททั่วไป ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ได้แก่ อังกฤษ สเปน โปรตุเกส อินโดนีเซีย ศรีลังกา พม่า จีน กัมพูชา ลาว เวียดนาม เป็นต้น พุทธศานิกชนสามารถร่วมอุปถัมภ์การเรียนพระปริยัติของพระภิกษุ สามเณร ได้ที่บัญชีธนาคารกสิกรไทย สาขาสำนักราษฎร์บูรณะ ชื่อบัญชี สำนักศาสนศึกษาวัดจากแดง เลขที่บัญชี 083 377873-0 ปัจจุบันทางวัดกำลังจัดทำโครงการก่อสร้างอาคารเรียนพระไตรปิฎกจากวัสดุรีไซเคิล ซึ่งจะเป็นอาคารต้นแบบที่ส่งเสริมให้คนไทยหันมาใช้วัสดุในการก่อแบบรักษ์โลก (รายละเอียดโครงการในเบื้องต้นตามโปสเตอร์
นอกจากนี้ วัดจากแดงยังเป็นศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมให้กับนักเรียน นักศึกษา องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป ในการคัดแยกขยะ การแปรรูปเศษอาหาร การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ฯลฯ ซึ่งถือเป็นสถานที่ที่มีความพร้อมมากในการนำขยะพลาสติก โฟม กล่องนม UHT ที่ได้รับบริจาคไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลที่เหมาะสม เช่น ขวดพลาสติกใส PET นำไปทำเป็นผ้าจีวรนาโน (ฝีมือตัดเย็บจีวรโดยกลุ่มแม่บ้านในชุมชน) หรือชุด PPE สำหรับใช้ในสถานการณ์โควิด 19, กุฏิสงฆ์จากกล่องนม UHT ที่ช่วยลดอุณหภูมิความร้อนจากภายนอก, น้ำมันเชื้อเพลิงจากถุงพลาสติก หรือขวดพลาสติก, ก้อนอิฐ หรือเก้าอี้ม้านั่ง จากเม็ดโฟมผสมคอนกรีต เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีการที่ช่วยลดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณการทำลายระบบนิเวศ (Ecosystem) ช่วยลดภาวะโลกร้อน และยังเป็นการสร้างงานให้กับคนในชุมชนใกล้เคียงซึ่งมีทั้งคนแก่และคนพิการรวมอยู่ด้วย
การดำเนินโครงการร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อมครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 27
เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.2563 สืบเนื่องจากนโยบายของภาครัฐในการลดขยะพลาสติกที่กำลังเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมของไทย ประกอบกับในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประเทศไทย ภาครัฐได้ออกมาตรการต่างๆและขอให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ใช้นโยบาย Work from home เพื่อหยุดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงเป็นผลให้พฤติกรรมในการบริโภคของประชากรส่วนใหญ่เปลี่ยนไป ผู้คนในวัยทำงานและวัยกำลังศึกษานิยมสั่งซื้ออาหารและเครื่องดื่มแบบเดลิเวอรี่กันเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาขยะพลาสติกและโฟมเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ดร.ประสิทธิ์ และทีมงานจิตอาสา จึงได้ร่วมกันดำเนินการเก็บ รวบรวม และคัดแยกขยะขวดพลาสติก ภาชนะใส่อาหารและเครื่องดื่มที่ทำจากพลาสติก กล่องนม และกล่องโฟมที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน นำไปบริจาคที่วัดจากแดง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อเข้าสู่กระบวนกำจัดขยะที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และยังเป็นการทำให้ขยะเหล่านี้กลายเป็นผลผลิตใหม่ (Recycle) ที่นำกลับมาให้ใช้งานได้จริง ขยะพลาสติกจำพวกถุงพลาสติก ขวดพลาสติกขุ่น หลอดกาแฟ แก้วพลาสติก ที่ไม่สามารถนำมา recycle ได้อีก ก็จะนำไปเข้าสู่กระบวนการไพโรไลซิส (Pyrolysis) แปรรูปเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับใช้ในรถยนต์และเครื่องจักรกลทางการเกษตรของวัดจากแดง ช่วยลดค่าใช้จ่ายในเรื่องน้ำมันเชื้อเพลิง อีกทั้งยังเป็นการสร้างงานให้กับคนยากจน ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส (ส่วนใหญ่เป็นคนไทยและต่างชาติที่อาศัยอยู่ในบริเวณชุมชนใกล้เคียงวัดจากแดง ปัจจุบันมีประมาณ 30 คน
โครงการนี้แม้เป็นโครงการเล็กๆ แต่ให้คุณประโยชน์มหาศาลต่อสุขภาพและชีวิตของคน พืช และสัตว์ ในระยะยาว เพราะวิถีชีวิตคนในเมืองที่มีความเร่งรีบและต้องใช้ชีวิตแข่งกับเวลาอยู่ทุกวัน ย่อมเป็นเรื่องยากที่จะรณรงค์ให้ผู้คนในเมืองส่วนใหญ่ลดการใช้พลาสติกได้อย่างแท้จริง หากปล่อยให้ทางภาครัฐจัดการขยะพลาสติกเหล่านี้เองตามลำพัง ด้วยวิธีการทำลายแบบฝังกลบ (ใช้เวลาอีกยาวนานกว่าจะขยะพลาสติกจะย่อยสลาย) ซึ่งอาจทำให้เกิดการตกหล่นไปอุดตันในท่อระบายน้ำ หรือไปตกหล่นอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้เกิดแหล่งเพาะเชื้อโรค ขยะบางส่วนจะถูกกำจัดโดยวิธีที่ไม่ถูกต้อง เช่น เทกองรวมกัน การเผาในเตาแบบไม่มีระบบบำบัดมลพิษทางอากาศ การเผากำจัดกลางแจ้ง เป็นต้น สุดท้ายจะก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบนิเวศ (Ecosystem) และทำลายสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเรา เมื่อเวลาผ่านไปยาวนาน จะก่อให้เกิดธรรมชาติที่ผิดเพี้ยนไป ในที่สุดจะส่งผลกระทบทางลบต่อชีวิตสัตว์ พืช และมนุษย์ ให้ดำรงชีวิตได้อย่างลำบากมากขึ้น
ประธานมูลนิธิและทีมงานจิตอาสา จึงมีความตระหนักและเห็นคุณค่าการทำประโยชน์เพื่อสังคมในด้านสิ่งแวดล้อมว่าเป็นเรื่องที่จำเป็น โดยยืนหยัดที่จะทำต่อไป อย่างน้อยก็เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับหลายๆองค์กรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ได้มีแรงบันดาลใจในการทำความดีเพื่อสังคมและประเทศชาติอย่างไม่มีคำว่า สิ้นสุด เพราะสุดท้ายคนที่ได้รับประโยชน์ที่แท้จริงก็คือพวกเราทุกคน
หมายเหตุ สำหรับจิตอาสาท่านใดที่ประสงค์จะร่วมบริจาคขยะพลาสติกที่ใช้งานแล้ว กล่องนม ขวดพลาสติกที่ใส่เครื่องดื่ม จานโฟมใส่อาหาร หรือห่อผลไม้ ที่ทำความสะอาดในเบื้องต้นแล้ว (แห้งและสะอาด) สามารถจัดส่งพัสดุทางไปรษณีย์ไปที่ วัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ได้โดยตรง ทางวัดจากแดงมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลและเปิดรับบริจาคทุกวันไม่เว้นเสาร์อาทิตย์และวันหยุดราชการ
5) บุคคลคุณภาพแห่งปี 2024 ด้านเด็กและเยาวชน
ดร.ธาริษา วัฒนเกส (อายุ 75 ปี)
ประธานกรรมการ มูลนิธิสายเด็ก 1387
1. หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน
1. ประธานกรรมการ มูลนิธิสายเด็ก 1387
2. กรรมการกลาง มูลนิธิรามาธิบดี ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
3. กรรมการมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
4. ประธานกรรมการ มูลนิธิโรงเรียนบางกอกพัฒนา
5. กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
6. กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. ประวัติการศึกษา
· ปริญญาเอก เศรษฐศาสตร์กิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเคโอะ ประเทศญี่ปุ่น
· ปริญญาเอก เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา
· ปริญญาโท เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคโอะ ประเทศญี่ปุ่น
· ปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคโอะ ประเทศญี่ปุ่น
· Advanced Management Program (AMP), Harvard Business School สหรัฐอเมริกา
· Director Certification Program (DCP) 4/2000 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
· Driving Company Success with IT Governance (ITG) 3/2016 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
· IT Governance and Cyber Resilience Program (ITG) 13/2020 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
· ประกาศนียบัตร หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐ เอกชน และการเมือง (วปม.) รุ่นที่ 3 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
3. ประวัติการทำงาน
· พ.ศ. 2549-2553 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
· พ.ศ. 2549-2552 ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย
· พ.ศ. 2549-2553 ประธานคณะกรรมการนโยบายการเงิน
· พ.ศ. 2549-2553 ประธานคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน
· พ.ศ. 2549-2553 ประธานคณะกรรมการระบบการชำระเงิน
· พ.ศ. 2549-2553 กรรมการ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
· พ.ศ. 2549-2553 กรรมการ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
· พ.ศ. 2549-2553 กรรมการ คณะกรรมการบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
· พ.ศ. 2549-2560 กรรมการ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
· พ.ศ. 2554 ผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินภาคสถาบันการเงินของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
· พ.ศ. 2554-2560 กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
· พ.ศ. 2554-2560 Member, APD Advisory Group, Asia Pacific Department, IMF, Washington, D.C., U.S.A.
· พ.ศ. 2555-2560 กรรมการ Thailand Philharmonic Orchestra
· พ.ศ. 2555-2556 Member, International Advisory Panel, State Bank of Vietnam, Vietnam
· พ.ศ. 2556-2556 Member, World Bank-IMF Joint Committee on Remuneration of Executive Directors and Alternates
· พ.ศ. 2556-2557 Associate, Alliance for Financial Inclusion, Thailand
· พ.ศ. 2556-2561 Senior Advisor, Promontory Financial Group, Washington, D.C., U.S.A.
· พ.ศ. 2558-2558 Short-Term Consultant, World Bank Independent Evaluation Group
การดำรงตำแหน่งในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสังคม
· ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 กรรมการ สถาบันป๋วย อึ๊งภากรณ์
· ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 กรรมการ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
· ตั้งแต่ พ.ศ. 2553 กรรมการ มูลนิธิรามาธิบดี ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
· ตั้งแต่ พ.ศ. 2554 กรรมการ มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
· ตั้งแต่ พ.ศ. 2554 กรรมการ คณะกรรมการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต
· ตั้งแต่ พ.ศ. 2556 ที่ปรึกษาอาวุโส, Advisory Board, Central Banking Publication, U.K.
· ตั้งแต่ พ.ศ. 2556 กรรมการ ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการบรรษัทภิบาลและสรรหา กรรมการอิสระ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทในกลุ่ม
· ตั้งแต่ พ.ศ. 2558 ประธาน มูลนิธิสายเด็ก 1387
· ตั้งแต่ พ.ศ. 2559 กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
· ตั้งแต่ พ.ศ. 2559 อุปนายก สมาคมไทย-ญี่ปุ่น
· ตั้งแต่ พ.ศ. 2560 กรรมการ Mitsubishi UFJ Financial Group
· ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
· ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
· ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 ประธานกรรมการ มูลนิธิโรงเรียนบางกอกพัฒนา
4. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน
· ยืนตรง มองไกล ติดดิน
5. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน
· ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย โดยยึดนโยบายธำรงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือของธนาคารแห่งประเทศไทย ท่ามกลางความกดดันจากนักการเมือง
6. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ประเทศไทยมีนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยเก่งๆ แต่ยังมีความจำเป็นที่จะ ร่วมกันทำงานข้ามสถาบันให้มีความเข็มแข็งมากขึ้น และอยากเห็นการสื่อสาร / การสนับสนุน / การชักจูงในรูปแบบที่น่าสนใจเพื่อให้เด็กและเยาวชนเห็นว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัวที่น่าสนใจและหันมาศึกษาด้าน STEM มากขึ้น
· การให้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และวิทยาการใหม่ๆ เช่น Radiolab, Hidden Brain, ใดๆในโลกล้วนฟิสิกส์ น่าเสียดายที่รายการที่เป็นประโยชน์และสร้างความสนใจต่อวิทยาศาสตร์เช่นนี้กลับไม่มีพิธีกรอื่นมาดำเนินรายการ
7. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล
· ดร.ธาริษา วัฒนเกส ภายหลังจากเกษียณในตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว ท่านยังเสียสละอุทิศตนทำงานให้กับภาครัฐและองค์กรการกุศลสาธารณะอีกมากมาย หนึ่งในงานที่ท่านได้ทำมาร่วม 10 ปี คือ ในฐานะประธานมูลนิธิสายเด็ก 1387 ซึ่งเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์เพื่อคุ้มครองสิทธิเด็กตามสนธิสัญญาขององค์กรนานาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก เปิดให้บริการโทรฟรี 24 ชั่วโมง 365 วันตลอดปี เพื่อให้คำแนะนำปรึกษาในทุกๆเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเด็กและครอบครัว โดยเฉพาะด้านสิทธิเด็ก รวมถึงให้ความช่วยเหลือเด็กโดยการประสานงานกับภาครัฐและเอกชนที่รับผิดชอบเรื่องสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ทั้งนี้ มูลนิธิสายเด็ก 1387 เป็นหนึ่งในเครือข่ายองค์กร Child Helpline International ซึ่งมีสมาชิกกว่า 150 ประเทศ สำหรับงานหลักของมูลนิธิสายเด็ก 1387 นั้น นอกจากสายด่วน 1387 ที่มีผู้ใช้บริการประมาณ 150,000 สายต่อปีแล้ว มูลนิธิฯ ยังบริหาร "เดอะฮับ สายเด็ก" ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยความร่วมมือกับมูลนิธิเอกซอดัส ประเทศออสเตรเลียเมื่อ พ.ศ. 2554 ณ บริเวณใกล้เคียงสถานีรถไฟหัวลำโพง เพื่อเป็นแหล่งพักพิงของเด็กเร่ร่อนและเด็กด้อยโอกาสที่เดินทางมาจากทั่วประเทศ ไม่ให้ถูกล่อลวงไปในหนทางของมิจฉาชีพ และใช้เป็นสถานที่ฝึกอบรมทักษะด้านต่างๆให้เด็กและเยาวชนสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างมีคุณภาพ
· 99% ของเด็ก ๆ ที่มาใช้บริการของเดอะฮับ ต่างได้รับประสบการณ์ความรุนแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ เนื่องจากพวกเขามักถูกแกงค์ค้ายาเสพติดทำร้ายร่างกายหรือถูกกลุ่มค้าประเวณีล่วงละเมิดทางเพศ เด็กหลายคนต้องทนทุกข์ทรมานจากภาวะซึมเศร้า โดยมีเหตุจากการถูกทอดทิ้ง บางคนอาจจะหนีออกจากบ้านเองเพื่อหลบหนีจากความอึดอัดคับข้องใจ ไม่มีความสุข หรือบางคนก็ไม่มีทั้งครอบครัวและเพื่อนคอยดูแลเลย ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมามูลนิธิสายเด็ก 1387 ได้ให้ความช่วยเหลือเด็กๆ ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมากกว่า 1.2 ล้านคน ในทุกๆเดือนมีเด็กๆมากกว่า 1,000 คน ติดต่อขอความช่วยเหลือจากสายด่วน 1387 เพื่อรับความช่วยเหลือฉุกเฉินจากพี่ๆสายเด็ก 1387 พร้อมให้บริการออนไลน์ 24 ชั่วโมง ทุกวัน และทุกๆ 15 นาที จะมีเด็กติดต่อขอรับความช่วยเหลือ โดยให้บริการฟรี ไม่คิดค่าใช้จ่าย เช่น การให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ (แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ครูอาสา) การให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน การจัดการเคส และการช่วยเหลือทางกฎหมายถึงเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี มูลนิธิมีความมุ่งมั่นอยากเห็นสังคมที่ดีขึ้นมีปลอดภัย เด็กและเยาวชนมีความสุข และมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่น่าอยู่มากขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กๆ ในประเทศไทยเข้าถึงการคุ้มครอง เข้าถึงบริการสุขภาพ และบริการขั้นพื้นฐานและได้รับสวัสดิการ และสิทธิต่างๆ ที่ควรได้รับจากรัฐตามข้อตกลงที่รัฐบาลไทยยึดถือผ่านการให้สัตยาบันอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก
· นอกเหนือจากงานประธานมูลนิธิสายเด็ก 1387 ที่คอยช่วยเหลือเด็กที่ถูกรอนสิทธิที่ควรจะมีตามกฎบัตรสหประชาชาติแล้ว ดร.ธาริษา ยังเป็นกรรมการในมูลนิธิอื่นๆอีกหลายแห่ง ได้แก่ มูลนิธิรามาธิบดีในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี มูลนิธิโรงเรียนบางกอกพัฒนา เป็นต้น
8. ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ
8.1 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ
- พ.ศ. 2564 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
- พ.ศ. 2551 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
8.2 รางวัลเกียรติยศที่ได้รับ
- พ.ศ. 2544 ผู้นำดีเด่น ระดับบริหาร ธนาคารแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2549 งานวิจัยดีเด่นส่วนบุคคล เรื่อง "การเปิดเสรีและเสถียรภาพของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย" หลักสูตร วปม. รุ่นที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2548 - 2549 สถาบันป้องกันราชอาณาจักร
มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.)
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สถานที่ติดต่อ :
288/52 อาคารมูลนิธิ มสวท. ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220
Tel. +66(0) 2552-5200 Fax. +66(0) 2551-4422 Email : thaifstt@gmail.com
Copyright © 2008-2015 หากมีปัญหาในการรับชมกรุณาติดต่อ Webmaster ที่ admin@thaifstt.org