บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจการเงินและธนาคาร

  

1. คุณวิทัย รัตนากร

(ผู้อำนวยการ ธนาคารออมสิน)

 

2. คุณผยง ศรีวณิช

(กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน))

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจเงินทุนและหลักทรัพย์

 

 

 1. คุณไพบูลย์ นลินทรางกูร

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด)

 

 2. คุณภาวลิน ลิมธงชัย

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ จำกัด)

 

 3. คุณปริทัศน์ เพชรอำไพ

(รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน))

 

4. คุณเดิมพัน อยู่วิทยา

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แรพพิด แคปปิตอล จำกัด)

 

 5. คุณอิสระ วงศ์รุ่ง

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มีที่ มีเงิน จำกัด)

 

 6. คุณกฤษณ์ พันธ์รัตนมาลา

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท บัวหลวงเวนเจอร์ส จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

 

 

 1. คุณธรา รุ่งแสงสุวรรณ

(กรรมการผู้จัดการสายงานพาณิชย์ บริษัท ซิซซา กรุ๊ป จำกัด)

 

2. คุณนวภัสร์ ปัญญาสกุลวงศ์

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดอะ บางกอก เรสซิเดนซ์ 88 จำกัด)

 

 3. คุณนที พานิชชีวะ

(ประธานกรรมการ บริษัท ไพบูลย์ธุรกิจ จำกัด)

 

 4. คุณวันชัย รตินธร

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีทีซีแอล จำกัด (มหาชน))

 

 5. คุณสมศักดิ์ พินิจศักดิ์กุล

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาร์ต วิลล์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด)

 

6. ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน))

 

 7. คุณชัยวัฒน์ โกวิทจินดาชัย

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เบล็ส แอสเสท กรุ๊ป จำกัด (มหาชน))

 

 8. คุณสุรินทร์ สหชาติโภคานันท์

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บริทาเนีย จำกัด (มหาชน))

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจยานยนต์

 

1. คุณกาญจนา เหลารัตนา

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โพลีเน็ต จำกัด (มหาชน))

 

2. คุณพรรณี ซาเอกิ

(ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อาร์.อาร์.ดี ออโต้โมทีฟ (ประเทศไทย) จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต

 

 

1. คุณปวริศา ชุมวิกรานต์

(ประธานเจ้าหน้าที่ สายงานภาพลักษณ์และสื่อสารองค์กร บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน))

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

 

1. ดร.บดินทร์ เกษมเศรษฐ์

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน))

 

 2. คุณสริศราว์ ลิ่วเฉลิมวงศ์

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โกลบอล ไพร์ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด)

 

3. คุณวสวัตติ์ วสุธาสวัสดิ์

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เลมอน เอด (ประเทศไทย) จำกัด)

 

 4. ดร.ภาฝัน จิตต์มิตรภาพ

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท อะเฮดออล จำกัด)

 

5. คุณเด่นชัย วงศ์กิฬาเจริญ

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท คอมพิวเตอร์ดาต้าซิสเต็ม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด)

 

6. คุณตรัยคุณ ศรีหงส์

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กรีนมูนส์ จำกัด)

 

7. คุณจิตรพงษ์ ศรีสวัสดิสีโลดม

(กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้ง บริษัท เจไอที อินโนเทค จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค

 

 

1. คุณธรรมรัตน์ ประยูรสุข

(รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน))

 

2. คุณอธิป ตันติวรวงศ์

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด)

 

 3. คุณวลัยณัฐ ตรีวิศวเวทย์

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีทีดับบลิว จำกัด (มหาชน))

 

4. คุณธนวัฒน์ ลินจงสุบงกช

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนโชค น้ำมันพืช (2012) จำกัด)

 

5. คุณดำรงค์ ภูติภัทร์

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีจีซี เคทิส ไบโออินดัสเทรียล จำกัด)

 

6. คุณสมโภชน์ อาหุนัย

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน))

 

7. คุณมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน))

 

8. ดร.รสยา เธียรวรรณ

(ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่พัฒนาเทคโนโลยีและพลังงานใหม่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน))

 

9. คุณศาณินทร์ ตริยานนท์

(กรรมการ บริษัท น้ำมันพืชปทุม จำกัด)

 

10. คุณพงศ์นรินทร์ วนสุวรรณกุล

(ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ท่าฉาง กรีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน))

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจบริการเฉพาะกิจ

 

 

 1. นายแพทย์เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เค.พี.เอ็น.ซีเนียร์ โซลูชั่น จำกัด)

 

 2. คุณปณตพร ธนาธรณ์

(ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บิค คลีน จำกัด)

 

 3. คุณคงเกียรติ ฉัตรหิรัญทรัพย์

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บียอนด์ เทรนนิ่ง จำกัด)

 

4. คุณอภิชาติ ขันธวิธิ

(ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร บริษัท คิว เจ็น คอนซัลแทนท์ จำกัด)

 

5. คุณอิทธิชัย พูลวรลักษณ์

(ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ลอคบอกซ์ กรุ๊ป จำกัด)

 

6. นายแพทย์กัมพล โซ่เจริญธรรม

(ประธานผู้บริหาร บริษัท แอคมีเอสเธทิค จำกัด)

 

7. คุณศรัณย์วิศว์ ภักดีนอก

(กรรมการบริหารคิวช่าง บริษัท เน็กซเตอร์ ดิจิตอล แอนด์ โซลูชั่น จำกัด)

 

8. ดร.ทรงเกียรติ มธุพยนต์

(ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ สยาม อินฟรา จำกัด)

 

9. คุณจิรพัฒน์ ขำสุนทร

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยพาเวอร์ จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจการเกษตร

 

1. คุณอรพินทร์ พญาพิทักษ์สกุล

(ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทีเอชซีจี โฮลดิ้ง จำกัด)

 

2. คุณณธกฤษ เอี่ยมสกุล

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แพลททินัม ฟรุ๊ต จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม

 

1. คุณบุญส่ง สงวนวรพงศ์

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท วินแซนซ์ฟู้ดส์ จำกัด)

 

2. คุณศุภณัฐ สัจจะรัตนกุล

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดอะ ฟู้ด ซีเล็คชั่น กรุ๊ป จำกัด)

 

3. ดร.พัชร์ เอกปัญญาสกุล

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นิวทรีชั่น เอสซี จำกัด (มหาชน))

 

4. คุณพิมลรัตน์ รีพัฒนาวิจิตรกุล

(ประธานผู้บริหารทรัพยากรบุคคล บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน))

 

 5. คุณนิรมล พลพิพัฒนพงศ์

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปริ๊นเซส ฟูดส์ จำกัด)

 

 6. คุณวรงค์ ประยูรพงศ์

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด)

 

7. ดร.อุษณีย์ มหากิจศิริ ลีโอณีโอ

(ประธานกรรมการ บริษัท เคเอฟยู จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์

 

 

1. คุณดวงฤทัย โชติบูรณ์วงศ์

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็ม.เอส. บิวตี้ไลน์ จำกัด)

 

2. คุณชาญวิทย์ เขียวนาวาวงศ์ษา

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สกิน ลาบอราทอรี่ จำกัด)

 

3. คุณวัจนา รื่นพิทักษ์

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยัง เอจ คอร์ปอเรชั่น จำกัด)

 

4. ดร.ศิริพร อริยพุทธรัตน์

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท คินน์ เวิลด์ไวด์ จำกัด)

 

5. ดร.ปรียนันท์ มงคลสุริยะเดช

(ประธานกรรมการ บริษัท ได-เวลล์ กรุ๊ป จำกัด)

 

6. คุณอรประภา พรมรังฤทธิ์

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท เซนต์ บิวตี้ คอสเมติก (ประเทศไทย) จำกัด)

 

7. คุณพรชัย ปัทมินทร

(ประธานเจ้าหน้าที่ผู้บริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัท ดร.ซีบีดี จำกัด)

 

8. เภสัชกรณัฐพล ส่งพรประเสริฐ

(ประธานกรรมการบริหาร บริษัท คอสมิค คอนคอร์ด คอร์ปอเรชั่น จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจของใช้ในครัวเรือนและสำนักงาน

 

1. คุณกฤตนัน สนธิจิรวงศ์

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดอะ ซิกเนเจอร์ แบรนด์ จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจพาณิชย์

 

 1. คุณปิยวดี อนันตประกร

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท แปซิฟิค พ้อยท์ จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจการแพทย์

 

 

 1. คุณพิสิษฐ์ วรรณวิทยาภา

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พี ซี แอล โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน))

 

2. ผศ.ดร.นพ. พัฒนา เต็งอำนวย

(ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เซลแทค จำกัด)

 

 3. ดร.ฐิติพงศ์ นันทาภิวัฒน์

(ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง จำกัด)

 

4. นายแพทย์เศวต ศรีศิริ

(ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลพริ้นซ์ อุบลราชธานี)

  

 5. คุณนัทธี อินต๊ะเสน

(ประธานบริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัท พัลซ ไซเอนซ์ จำกัด)

 

6. นายแพทย์วิเชียร ศิวะพรพันธ์

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดีไวซ์อินโนเวชั่น จำกัด)

 

 7. นาวาอากาศตรีหญิง แพทย์หญิงสุรางคณา เตชะไพฑูรย์

(รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารเครือ โรงพยาบาลสมิติเวชและบีเอ็นเอช บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน))

 

8. คุณพรพิมล จิตใจฉ่ำ

(ประธานกรรมการบริหาร โรงพยาบาลกรุงไทย)

 

9. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ทวีสิน ตันประยูร

(ประธานปฏิบัติการด้านการแพทย์ โรงพยาบาล บำรุงราษฎร์)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจวัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร

 

1. คุณสถาพร เลี้ยงศิริกูล

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท มิสซิเบิล เทคโนโลยี จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจวัสดุก่อสร้าง

 

 

 1. คุณสิงหนาท บัตรสมบูรณ์

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซันเทคสตีลเวิคส์ จำกัด (มหาชน))

 

2. คุณลภัสรินทร์ ไกรวงษ์วณิชรุ่ง

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท ระยองไวร์ อินดัสตรีส์ จำกัด (มหาชน))

 

3. คุณปัญจมา เหล่าวิวัฒน์วงศ์

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท ร่วมพัฒน์เซรามิค จำกัด)

 

4. คุณศิรินทรา จิตตราวงศ์

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไมโครไฟเบอร์อุตสาหกรรม จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและสันทนาการ

 

 1. คุณชัยพัฒน์ ไพฑูรย์

(ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน))

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจแฟชั่น

 

1. คุณพีรพันธ์ วชิรคพรรณ

(ประธานบริหาร บริษัท เล่งหงษ์ คอมโมดิตีส์ จำกัด)

 

2. คุณกฤตเมธ ตั้งพิชญโพธิวัฒน์

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมคทูวิน โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน))

  

3. ดร.จักรพล จันทวิมล

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท นันยางมาร์เก็ตติ้ง จำกัด)

 

4. คุณไชยยศ รุ่งเจริญชัย

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บีซีแอล 2002 จำกัด)

 

 บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจบรรจุภัณฑ์

 

 

1. คุณวีรชัย มั่นสินธร

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท อุตสาหกรรมไทยบรรจุภัณฑ์ จำกัด (มหาชน))

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์

 

 

1. คุณวุฒยา หนุนภักดี

(ประธานบริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท แกทอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด)

  

2. คุณเกษแก้ว อิทธิกุล

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟาร์อีสท์ เฟมไลน์ ดีดีบี จำกัด (มหาชน))

 

5)  บุคคลคุณภาพแห่งปี 2023 ด้านเด็กและเยาวชน

 

  

นางสาววาสนา เก้านพรัตน์ (อายุ 56 ปี)

ผู้อุทิศตนเพื่อคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชน

 

1. หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน

 

        1. ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก

 

        2. ประธานเครือข่ายสิทธิเด็กประเทศไทย

 

        3. กรรมการและเลขานุการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก

 

        4. อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ

 

        5. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน แก้ไขและปราบปรามการค้ามนุษย์

 

        6. วิทยากรเผยแพร่ความรู้และพัฒนาทักษะให้เจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงาน

 

 

 

2. ประวัติการศึกษา

 

พ.ศ. 2534  ปริญญาตรีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

พ.ศ. 2544  ปริญญาโท คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

 

 

3. ประวัติการทำงาน

 

พ.ศ. 2534  นักกฎหมาย มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก

 

                หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองสิทธิเด็ก

 

                    ผู้อำนวยการฝ่ายคุ้มครองสิทธิเด็ก

 

พ.ศ. 2555  ประธานเครือข่ายสิทธิเด็กประเทศไทย (48 องค์กรสมาชิก)

 

                    ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก

 

                    กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก

 

 การทำงานร่วมกับองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม

 

·           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ 2 วาระ

 

·           อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบคุ้มครองเด็ก

 

·           อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการพัฒนาศักยภาพพนักงานเจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองเด็ก

 

·           อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการประเมินและติดตามผลการคุ้มครองเด็ก

 

·           อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการให้คำปรึกษาและพัฒนาการปฏิบัติงานสหวิชาชีพ

 

·           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

 

·           อนุกรรมการขับเคลื่อนกลไกการส่งต่อระดับชาติ  

 

·           อนุกรรมการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

 

·           ประธานคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญระดับชาติด้านการให้คำปรึกษาและช่วยเหลือผู้เสียหาย

 

·           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

 

 

 

4. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน

 

·      มีชีวิตที่สามารถช่วยเหลือเด็กให้สามารถเข้าถึงและได้รับสิทธิตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก

 

·      พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อสามารถริเริ่มงานใหม่ๆในการทำงานเพื่อเด็กและสังคม

 

·      พัฒนาศักยภาพให้บุคคลแวดล้อมเด็ก ได้แก่ ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน สามารถส่งเสริมพัฒนาและปกป้องคุ้มครองเด็ก

 

·      พัฒนาศักยภาพให้เจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องสามารถทำหน้าที่ในการช่วยเหลือคุ้มครองเด็ก

 

·      ส่งเสริมสนับสนุนคนรุ่นใหม่ให้มีความรู้ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีเพื่อเด็กสังคมและสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี

 

5. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน

 

  ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นที่ยอมรับจากผู้เกี่ยวข้องทำให้ได้รับโอกาสและความร่วมมือจากผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารในระดับนโยบายจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคประชาสังคมในการขับเคลื่อนงานที่เกี่ยวข้องกับเด็ก สังคม และกำลังดำดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมซึ่งมีความสำคัญต่อทุกชีวิต ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สัตว์ ต้นไม้ ฯลฯ

 

6. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความสำคัญต่อการยกระดับคุณภาพชีวิต  นักวิทยาศาสตร์ศึกษาวิจัยคิดค้นและพัฒนาในด้านต่างๆ ทั้งในเรื่องอาหาร ยา อาหารเสริมฯ เทคโนโลยีทางการแพทย์ การคิดค้นเครื่องมือในการตรวจรักษา  เทคโนโลยีเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย อุปกรณ์เครื่องใช้ที่สามารถอำนวยความสะดวกได้ดีกว่าในอดีต ขนาดเล็กประหยัดพลังงาน เทคโนโลยีการใช้พลังงานจากธรรมชาติ เช่น แสงแดด ลม เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เช่นการกำจัดขยะ การบำบัดน้ำเสีย การป้องกันแก้ไขมลพิษสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

 

นักวิทยาศาสตร์มีความรับผิดชอบเพราะการคิดค้นในเรื่องใดใช้เวลาในการคิดค้น ทดลองเพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งที่คิดค้นเป็นประโยชน์ แม้มีผลกระทบในทางลบก็จะระบุไว้ เช่น ยาบางชนิดมีผลข้างเคียง มีข้อห้ามไม่ให้รับประทานเกินขนาดและระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งในส่วนนี้มีความเห็นว่าการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจอาจไม่เพียงพอซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตประชาชน นอกจากนี้การคิดค้นทางวิทยาศาสตร์ในบางเรื่องเป็นประโยชน์ต่อผู้มีกำลังซื้อ ผู้มีรายได้น้อยอาจไม่ได้รับโอกาสจากวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีที่มีการคิดค้นใหม่ ดังนั้นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงควรได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากรัฐ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและสามารถได้รับประโยชน์จากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความก้าวหน้า มีความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่เคยเป็นประโยชน์อย่างมากในขณะหนึ่ง อาจจะมีสิ่งใหม่ที่เป็นประโยชน์มากกว่าและมีผลกระทบทางลบน้อยกว่าหรือไม่มีผลกระทบเลย ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องควรสื่อสารสร้างความเข้าใจให้ประชาชน  สิ่งใดที่เป็นอันตรายควรยกเลิกอย่างรวดเร็วและมีการติดตามว่ามีการบังคับใช้ในการยกเลิกอย่างจริงจังเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน นอกจากนี้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควรคิดค้นในสิ่งที่จะส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ไม่ใช่อยู่ในภาวะที่พึ่งพารัฐหรือผู้อื่น  

 

7. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล

 

คุณวาสนา เก้านพรัตน์ เริ่มทำงานที่มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กในตำแหน่งนักกฎหมาย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือคุ้มครองเด็ถูกกระทำความรุนแรง ถูกแสวงหาประโยชน์เป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ทั้งในรูปแบบถูกบังคับค้าประเวณีและบังคับใช้แรงงาน  ซึ่งเป็นทั้งเด็กไทยและเด็กต่างชาติ การช่วยเหลือคุ้มครองดำเนินการตามกระบวนการคุ้มครองเด็ก เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการตรวจสอบติดตาม การสืบค้นข้อเท็จจริง  การคุ้มครองสวัสดิภาพ  การฟื้นฟูเยียวยา การส่งเสริมพัฒนา การช่วยเหลือทางกฎหมาย การคืนสู่สังคม  โดยทำงานร่วมกับสหวิชาชีพซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม

 

 

ต่อมาทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายคุ้มครองสิทธิเด็กให้คำแนะนำและกำกับดูแลการทำงานของพนักงานเจ้าหน้าที่คุ้มครองเด็ก นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยาและนักกฎหมาย ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ระยะเวลากว่า 32 ปีที่ทำงานปกป้องคุ้มครองเด็ก  นอกจากการทำงานภายในหน่วยงานแล้วยังเสียสละอุทิศตน ให้คำปรึกษาบุคลากรในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสังคมอีกด้วย ที่สำคัญ ได้แก่

 

ภารกิจในการสนับสนุนการปกป้องคุ้มครองเด็ก เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ 2 วาระ ปัจจุบัน ยังเป็นอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ

 

ภารกิจสนับสนุนการป้องกัน แก้ไขและปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน แก้ไขและปราบปรามการค้ามนุษย์

 

ภารกิจในการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานคุ้มครองเด็ก และป้องกันและปราบการค้ามนุษย์ โดยนำความรู้และประสบการณ์ในการช่วยเหลือคุ้มครองเด็กที่ถูกกระทำความรุนแรงและผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ไปพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติเข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งขั้นตอนในกระบวนการช่วยเหลือคุ้มครองเด็ก นอกจากนี้ ยังมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรการคุ้มครองเด็ก และคู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ รวมถึงการส่งเสริมพัฒนาให้เจ้าหน้าที่และประชาชนในระดับตำบลมีความรู้และเข้าใจเรื่องการส่งเสริมพัฒนาและปกป้องคุ้มครองเด็ก

 

นอกจากนี้ ยังเป็นวิทยากรเผยแพร่ความรู้และพัฒนาทักษะให้เจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงาน โดยกระบวนการอบรมเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เข้าอบรม หัวข้อการฝึกอบรม ได้แก่

 

·      อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กโดยเชื่อมโยงกับกฎหมายและและมาตรการภายในประเทศ

 

·      อบรมพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546

 

·      อบรมพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550

 

·      อบรมพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551

 

·      อบรมผู้ปฏิบัติงานสหวิชาชีพและเครือข่ายในการคุ้มครองเด็ก

 

·      อบรมผู้ปฏิบัติงานสหวิชาชีพในการช่วยเหลือคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

 

·      การคุ้มครองเด็กในกระบวนการยุติธรรม

 

·      การพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานคุ้มครองเด็กระดับตำบล

 

 

          ในปี พ.ศ. 2555 เป็นผู้ริเริ่มหารือองค์กรต่างๆที่ทำงานด้านสิทธิเด็ก เพื่อจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคประชาสังคม ซึ่งทำงานด้านสิทธิเด็ก ต่อมามีได้มีการรวมตัวเป็นเครือข่ายสิทธิเด็กประเทศไทย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกัน ตลอดจนให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม ในการดำเนินงานให้เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (United Nations Convention on the Rights of the Child: UNCRC) พิธีสารเลือกรับ (Optional Protocols: OPs) ที่เกี่ยวข้องและตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และได้รับการยอมรับจากสมาชิกเครือข่ายสิทธิเด็กประเทศไทยกว่า 40 องค์กร และคุณวาสนาได้รับเลือกเป็นประธานเครือข่ายสิทธิเด็กประเทศไทย ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน

 

8. ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

 

รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ

 

·     ได้รับโล่รางวัลผู้เสียสละเพื่อสังคม ปี พ.ศ. 2566 โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์

 

·     ได้รับโล่เกียรติยศประจำปี พ.ศ. 2565 ประเภทศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

·     รางวัลบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นด้านส่งเสริม ปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ประจำปี พ.ศ. 2562 โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

 

·     รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2559 คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

·     ได้รับคัดเลือกเป็นบุคคลที่มีผลงานดีเด่นด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ประจำปี พ.ศ.2556 โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

·   ได้รับคัดเลือกเป็นนักสังคมสงเคราะห์ดีเด่น ประเภทผู้ปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ประจำปี พ.ศ.2551 โดยมูลนิธิศาสตราจารย์ปกรณ์ อังศุสิงห์

4)  บุคคลคุณภาพแห่งปี 2023 ด้านสังคม

 

  

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุริยเดว ทรีปาตี  (อายุ 59 ปี)

ผู้อำนวยการ ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)

 

1.    หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน

     1. ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)

    2.  อดีตผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหิดล 2 สมัย

    3.  กุมารแพทย์เฉพาะด้านเด็กและวัยรุ่น ประจำศูนย์แพทย์พัฒนา ในพระราชดำริ ในหลวง ร.9

    4.  กรรมการ ในคณะกรรมการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธ์ ทางการแพทย์ (กคทพ.) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

    5.  คณะอนุกรรมาธิการด้านคุณธรรมและจริยธรรม ในคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา

    6.  เลขาธิการร่วมในคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ

    7.   คณะอนุกรรมการเผยแพร่องค์ความรู้และปลูกจิตสำนึกเรื่องบ้านเมืองสุจริต ในคณะกรรมการบริหารโครงการเสริมสร้างบ้านเมืองสุจริต สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

    8.  ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อการพัฒนากำลังคนด้านอุตสาหกรรมบริการสุขภาพและบริการทางการแพทย์ (Medical and Wellness Industry Competency Board) สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)

 

2. ประวัติการศึกษา

พ.ศ. 2526 มัธยมศึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

         พ.ศ. 2532 แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

         พ.ศ. 2538 วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญ กุมารเวชกรรม ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

         พ.ศ. 2549 Certificate in Adolescent Medicine (ผู้เชี่ยวชาญด้านวัยรุ่น) UCSF รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

 

3. ประวัติการทำงาน

     ปัจจุบันทำงานดำรงตำแหน่ง

     พ.ศ. 2561-ปัจจุบัน  ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)

     พ.ศ. 2555-ปัจจุบัน  กุมารแพทย์เฉพาะด้านเด็กและวัยรุ่น ประจำศูนย์แพทย์พัฒนา ในพระราชดำริ ในหลวง ร.9

     พ.ศ. 2558-ปัจจุบัน  กรรมการ ในคณะกรรมการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธ์ทางการแพทย์ (กคทพ.) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

     พ.ศ. 2559-ปัจจุบัน  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพพ.) สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)

     พ.ศ. 2562-ปัจจุบัน คณะอนุกรรมการด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ

     พ.ศ. 2562-ปัจจุบัน คณะอนุกรรมาธิการด้านคุณธรรมและจริยธรรม ในคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา

     พ.ศ. 2562-ปัจจุบัน เลขาธิการร่วมในคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ

     พ.ศ. 2563-ปัจจุบัน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิทธิเด็กและสิทธิในการศึกษา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

     พ.ศ. 2564-ปัจจุบัน คณะที่ปรึกษา ผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

     พ.ศ. 2564-ปัจจุบัน คณะอนุกรรมการเผยแพร่องค์ความรู้และปลูกจิตสำนึกเรื่องบ้านเมืองสุจริต ในคณะกรรมการบริหารโครงการเสริมสร้างบ้านเมืองสุจริต สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

     พ.ศ. 2565-ปัจจุบัน คณะทำงานติดตามผลการดำเนินการและประสานงานความคืบหน้าเกี่ยวกับยุทธศาสตร์และแนวทางการสร้างคนดี คนเก่ง คนกล้า และโอกาสสู่สังคมเพื่อพัฒนาชาติไทยอย่างยั่งยืน ในคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา

     พ.ศ. 2565-ปัจจุบัน ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อการพัฒนากำลังคนด้านอุตสาหกรรมบริการสุขภาพและบริการทางการแพทย์ (Medical and Wellness Industry Competency Board) สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)

     พ.ศ. 2565-ปัจจุบัน คณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อจัดทำ Thailand Consensus Framework ด้านเกณฑ์จริยธรรม การจัดซื้อจัดหาและการส่งเสริมการขายยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ภายใต้โครงการ APEC Business Ethics for SMEs Initiative ในสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

     พ.ศ. 2565-ปัจจุบัน ประธานกรรมการ คณะกรรมการจริยธรรมประจำกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวในคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงาน กพ.

     พ.ศ. 2565-ปัจจุบัน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านศาสนา วัฒนธรรม และภูมิปัญญา ในคณะกรรมการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

     พ.ศ. 2565-ปัจจุบัน ที่ปรึกษาสมาคมนักเรียนเก่าเตรียมอุดมศึกษา ในพระบรมราชูปถัมภ์

     พ.ศ. 2565-ปัจจุบัน รองประธานอนุกรรมการสภาการศึกษา คณะที่ 8 คณะอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านคุณธรรมจริยธรรม จิตอาสาและสำนึกสาธารณะ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

     พ.ศ. 2566-ปัจจุบัน ผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการพัฒนาตัวชี้วัดปัญญาและคุณธรรม วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

     พ.ศ. 2566-ปัจจุบัน ที่ปรึกษา ในคณะกรรมการขับเคลื่อนเครือข่ายสันติวัฒนธรรม จังหวัดอุดรธานี

     พ.ศ. 2566-ปัจจุบัน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการขับเคลื่อนเขตพัฒนาพิเศษระเบียงสังคม (Social Capital Corridor) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

     พ.ศ. 2566-ปัจจุบัน ที่ปรึกษา อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

 

หน้าที่การงานในอดีต

     พ.ศ. 2550-2553 หัวหน้าหน่วยกุมารเวชศาสตร์สังคมและวัยรุ่น สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

     พ.ศ. 2543-2553 อาจารย์กุมารแพทย์ สถาบันร่วมผลิตแพทย์มหาวิทยาลัยรังสิต

     พ.ศ. 2550-2554 ผู้จัดการแผนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  โครงการวิจัยวิชาการสู่การขับเคลื่อนนโยบายและสังคมด้านเด็กและเยาวชนภายใต้กำกับของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

     พ.ศ. 2552 ที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการดูแลสุขภาพวัยรุ่น ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

     พ.ศ. 2553 คณะอนุกรรมาธิการด้านเด็กและเยาวชนในวุฒิสภา

     พ.ศ. 2554 ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์คณะกรรมาธิการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชนสตรีและผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสในวุฒิสภา

     พ.ศ. 2555-2556 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาวิชาชีพข่าววิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย

     พ.ศ. 2555-2559 ประธานคณะทำงานแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ

     พ.ศ. 2557 คณะกรรมการพิจารณาภาพยนต์และวีดีทัศน์ กระทรวงวัฒนธรรม

     พ.ศ. 2557 อนุกรรมการพิจารณาร่างแนวทางปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพวัยรุ่น  แพทยสภา

     พ.ศ. 2557 คณะอนุกรรมการพัฒนานโยบายและแผนพัฒนาเด็กและเยาวชน กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

    พ.ศ. 2558 คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ

    พ.ศ. 2553-2561 ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล (วาระสมัยที่ 2 ติดต่อกัน 8 ปี)

    พ.ศ. 2557-2561 กรรมการพิจารณาภาพยนต์และวีดีทัศน์

    พ.ศ. 2558-2561 อนุกรรมการขับเคลื่อนงานจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมอง สำนักงานบริการและพัฒนาองค์ความรู้ (BBL)

    พ.ศ. 2559-2562 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนในกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (พ.ศ 2558-2562)  คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยคณะรัฐมนตรี

    พ.ศ. 2560-2562 ประธานคณะทำงานจัดทำข้อเสนอการจัดตั้งศูนย์พัฒนาระบบวิจัย และนวัตกรรมด้านพฤติกรรมไทย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

    พ.ศ. 2560-2563 กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาการแพทย์และสาธารณสุข

    พ.ศ. 2559-2563 ประธานคณะทำงานมาตรฐานอาชีพสาขาอาชีพผู้ดูแลเด็ก สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)

    พ.ศ. 2559 กรรมการมูลนิธิรณรงค์ไม่สูบบุหรี่

    พ.ศ. 2560 คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฎิรูปการศึกษา (คณะอนุกรรมการเด็กเล็ก)

    พ.ศ. 2560-2562 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ

    พ.ศ. 2562 รองโฆษก กรรมาธิการวิสามัญ สร้างคนดี คนเก่งเพื่อสังคมที่ยั่งยืน วุฒิสภา

    พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน วิทยากรรับเชิญนานาชาติ  (International Speaker) ทั้งในภูมิภาคเอเชีย ยุโรป และอเมริกา

    พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน ผลิตผลงานวิชาการ หนังสือ และบทความ วารสาร paper ผลงานวิจัย เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย วัยรุ่น เยาวชน ครอบครัว สังคม คุณภาพชีวิต กฎหมายในการดูแล ฯลฯ อีกเป็นจำนวนมากตีพิมพ์ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ

 

ตำแหน่งวิชาการต่างประเทศ

 

I.   สมาชิกสมาคมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวัยรุ่น สหรัฐอเมริกา (Society for Adolescent Health and Medicine)

 

II. สมาชิกขององค์กรนานาชาติด้านวัยรุ่น สนับสนุนขององค์การอนามัยโลก (International Association for Adolescent Health)

 

III.   Regional advisory board Of International Epidemiological Association of South-East Asia region

 

IV.   Editorial Board of Indian Public Health Journal

 

V.  International Advisory Board of ACTA MEDICA INTERNATIONAL

 

VI.  Chairman of Scientific session. Child and Adolescent Health. In 11th South East Asia Regional Scientific meeting of the International Epidemiological Association. Pokhara, Nepal 2013.

 

VII.  Chairman of the Master class Adolescent Medicine. In the 3rd Global Congress for    Consensus in Pediatrics and Child Health. February 2014.

 

VIII.  Organizing secretary of the 12th Regional of SEARO International Epidemiological Association International Conference with 2nd Annual conference of The Journalist and Writers Foundation

 

IX.   Editorial Board Journal of Psychological research ; Bilingual Publishing Singapore

 

4. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน

 

ทำหน้าที่ทุกอย่างให้ดีที่สุด ตราบเท่าที่มีลมหายใจ โดยที่แม่สอนโดยการเป็นตัวอย่างต้นแบบทำให้ดูจนวินาทีสุดท้าย แม่สอนเสมอให้เคารพและปฏิบัติดีต่อ 3 แม่

 

          แม่ธรณี ในความหมายคือ ทำดีต่อโลก

 

          แม่ถิ่นกำเนิด หมายถึง ทำดีต่อสังคมไทย

 

          แม่ผู้ให้กำเนิด หมายถึง ทำดีต่อแม่ที่เป็นบุพการี

 

          ฉะนั้น งานที่ทำจึงเป็นงานที่สะท้อนต่อสังคมและแผ่นดินถิ่นกำเนิดเสมอมา

 

 

 

5. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน

 

·   ใช้ความเป็นแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านเด็ก เยาวชน ครอบครัว รวมทั้งงานด้านจิตวิทยา พัฒนาสังคมไทยที่เป็นผลงานชิ้นโบแดง เช่น เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ที่ผลักดันนมจืดในโรงเรียนทั่วประเทศ นมผงสูตรทารกที่ไม่มีการเติมน้ำตาล ป้องกันการติดหวาน

 

·   แกนนำในการผลักดัน พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ในฐานะกรรมการมูลนิธิรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ แกนนำผลักดัน พ.ร.บ.เด็กปฐมวัยฉบับแรกของไทย ในนามคณะอนุกรรมการปฏิรูปการศึกษา

 

·   ปัจจุบัน หัวหน้าคณะทำงานวิจัยดัชนีชี้วัดคุณธรรม และหัวหน้าคณะทำงานวิจัยทุนชีวิตเด็ก เยาวชนไทย ที่กลายเป็นยุทธศาสตร์ชาติ และตัวชี้วัดสำคัญของประเทศไทย

 

·   ความสำเร็จในอาชีพความเป็นกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ที่ช่วยงานสังคมประเทศด้านเด็ก เยาวชนตลอดมา จนได้รับโล่รางวัลเกียรติยศมากมาย รวมทั้งตำแหน่งทางวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ และศิษย์เก่าแพทย์จุฬาฯ ที่ยกย่องเป็นต้นแบบแห่งความสำเร็จ

 

 

 

6. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ ที่จะเกิดนวัตกรรมบนฐานงานวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอเพียงให้ทุกงานมุ่งเป้าบนการพัฒนาสังคมชุมชน และประเทศจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดมากกว่าการทำงานเพียงเพื่อตนเอง

 

 

 

7. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล

 

·    งานจิตอาสา เสถียรธรรมสถานเกือบ 30 ปี กับการทำให้เกิดโรงเรียนพ่อแม่

 

·   งานจิตอาสา ในมูลนิธิต่างๆ โดยเฉพาะด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว

 

·   พัฒนาระบบพี่เลี้ยงในชุมชนล้อมด้วยหลักจิตวิทยาเชิงบวกล้อมรอบ ม.มหิดล ศาลายา

 

·   พัฒนาระบบดูแลนักศึกษาทั้ง Campus Salaya  MU (Mahidol University) Friend แบบครบวงจร

 

·   จัดทำหลักสูตรต้นทุนชีวิต สร้างวัคซีนชีวิตด้วยพลังบวก Life Assets Positive Development ( เคยสร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยกับรางวัลนานาชาติ)  แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมอง Brain Based Learning ในวัยรุ่น ในกลุ่มอาชีวะ จัดทำหน่วยดูแลและพัฒนาเด็กและวัยรุ่นเคลื่อนที่ (Mobile Unit child and adolescent care and Development)

 

·   ก่อตั้งศูนย์พัฒนาเด็ก ได้เป็น certified body แห่งแรกของประเทศไทย และเตรียมก้าวสู่ ISO และมาตรฐาน กระทรวงสาธารณสุข

 

·   พัฒนาหลักสูตรสมเด็จย่าสำหรับเด็กปฐมวัย นับเป็นผลงานชิ้นโบวแดงอีกเรื่องที่ผมจะเก็บไว้ในความทรงจำชั่วชีวิต ที่สามารถกู้วิกฤติสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว จนสำเร็จแล้ว สถาบันแห่งชาติฯก้าวย่างสู่ความยั่งยืน

 

·   รางวัลส่วนตัวที่ได้รับหลายงาน แต่ ขอยกตัวอย่าง คือ ทูตสันติภาพ ( Ambassador of Peace) รางวัลคนดีศรีแผ่นดิน รางวัลระฆังทองคำ รางวัลพระกินรี รางวัลนานาชาติ International Chapter Recognition Award จากงานต้นทุนชีวิตเด็กและเยาวชนไทย จิตวิทยาพลังบวก ( ลิขสิทธิ์) เป็นต้น

 

 

นอกจากนั้นได้มีโอกาสทำหน้าที่ปกป้องประเทศ

 

·    ประเด็นการค้ามนุษย์ กรณีอุ้มบุญ  ในเวทีนานาชาติที่ตุรกี ในการประชุม International Family Policy at Istanbul Turkey

 

·   กรณีการชี้แจงในการประชุมทั่วโลก องค์การอาหารโลก กรณีนมผงสูตรต่อเนื่องไม่ให้เติมเพิ่มหวานเพื่อปกป้องเด็กไทย ในเวทีนานาชาติ International Codex meeting

 

8. ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

 8.1 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ

 

พ.ศ. 2560 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายประถมาภรณ์มงกุฎไทย

 8.2 รางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

 

พ.ศ. 2551  ข้าราชการดาวเด่น กรมการแพทย์ กระทรวง สาธารณสุข

 

พ.ศ. 2552  โล่บุคคลที่ให้การสนับสนุนงานด้านเยาวชนดีเด่น จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

 

พ.ศ. 2553  โล่ บุคคลดีเด่นและยอดเยี่ยมในการป้องกัน และส่งเสริมภูมิคุ้มกันด้านยาเสพติด จากฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล

 

พ.ศ. 2554  รางวัลเกียรติยศนานาชาติด้านวัยรุ่น International Chapter Adolescent Recognition Award (Northern Hemisphere 2011) ในการประชุมนานาชาติแพทย์ เฉพาะทางวัยรุ่น ณ กรุงซีแอทเทิล ประเทศสหรัฐอเมริกา

 

พ.ศ. 2554   ฑูตสันติภาพสากล (UPF)

 

พ.ศ. 2554 โล่ บุคคลดีเด่น ในงานสร้างคนสร้างชาติ ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์

 

พ.ศ. 2555 รางวัล คนดีศรีแผ่นดิน จาก ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย

 

พ.ศ. 2555 โล่ บุคคลตัวอย่างของแผ่นดิน ปี 2555 ด้านสร้างคุณประโยชน์ให้แผ่นดินด้านเยาวชนและครอบครัว จาก ฯพณฯ องคมนตรี

 

พ.ศ. 2555 เข็มพระราชทาน ด้านการพัฒนาเด็กและสตรีจาก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ

 

พ.ศ. 2556 บุคคลตัวอย่าง คนดี คิดดี สังคมดี ตามรอยพระยุคลบาท ประจำปี จากฯพณฯ องคมนตรี

 

พ.ศ. 2557 รางวัล ธรรมลักษณ์ศิลา ประจำปี 2557 เป็นบุคคลผู้ทำประโยชน์ต่อสังคม ประเทศชาติและศาสนาจากสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาปรินายก

 

พ.ศ. 2557 รองศาสตราจารย์ (Associate Professor) โดยสภามหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการพิจารณาวิธีพิเศษ (ข้ามจากอาจารย์ขึ้นเป็นรองศาสตราจารย์โดยตรง)

 

พ.ศ. 2558 โล่รางวัล และ Certificate จากสหประชาชาติ (ประจำประเทศไทย) ใน National Training on Youth Volunteerism and Empowerment Using Media Technology to Promote the Sustainable Water Campaign United Nations (Thailand)

 

พ.ศ. 2559 พนักงานมหาวิทยาลัยดีเด่นสายวิชาการ (ระดับรางวัลเดียวกับครุฑทองคำ) มหาวิทยาลัยมหิดล

 

พ.ศ. 2560 เครื่องหมายพลร่มสัมพันธ์กิตติมศักดิ์ หน่วยบัญชาการสงครมพิเศษ หลักสูตรบริหารจัดการความมั่นคงชั้นสูง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

 

พ.ศ. 2560 โล่รางวัลวิชาการดีเด่น พัฒนาความมั่นคงของมนุษย์เพื่อชุมชนเข้มแข็งด้วยหลักจิตวิทยาเชิงบวก (ทุนชีวิต) ในหลักสูตรบริหารความมั่นคงชั้นสูงของ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

 

พ.ศ. 2560 Plaque of Recognition. Key note speaker of Department of Education Philippines. From ECCD Council of Philippines

 

พ.ศ. 2561 โล่และเข็มชนาภิบาล สำหรับนักบริหารชั้นสูง จาก รองนายกรัฐมนตรี โดยสำนักงานคณะกรรมการปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ

 

พ.ศ. 2561 โล่ ผู้บริหารจิตสาธารณะดีเด่น จากมูลนิธิธรรมลักษณ์ศิลา  โดย ฯพณฯองคมนตรี ณ หอประชุมกองทัพอากาศ

 

พ.ศ. 2562 โล่ ผู้ใช้ประโยชน์สื่อสาธารณะระดับชาติ ประจำปี 2561โดย สภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย

 

พ.ศ. 2562 โล่เชิดชูเกียรติ บุคคลดีเด่นยอดเยี่ยมในด้านการป้องกันและสร้างเสริมภูมิคุ้มกันยาเสพติดโดยฯพณฯ นายกรัฐมนตรี จากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ

 

พ.ศ. 2562 พ่อตัวอย่างแห่งชาติ ประจำปี 2562 ผู้แทนพระองค์ ในหลวงรัชกาลที่ 10

 

พ.ศ. 2563 รางวัลสยามภูมิภักดิ์ เกียรติคุณแห่งความดี และความจงรักภักดีต่อแผ่นดิน โดยสมเด็จพระวันรัต กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร

 

พ.ศ. 2565 โล่ประกาศเกียรติคุณ บุคคลที่สนับสนุนการดำเนินงานของสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์

 

พ.ศ. 2566  ได้รับคัดเลือกเป็นนิสิตเก่าแพทย์จุฬาฯ ดีเด่น  กลุ่ม “รางวัลเชิดชูเกียรติแพทย์จุฬาฯ ต้นแบบแห่งความสำเร็จ” ในโอกาสครบรอบ 75 ปี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

         พ.ศ. 2566  รับโล่รางวัล “ผู้เสียสละ เพื่อสังคม” ด้านเด็กและเยาวชน จากกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

3)  บุคคลคุณภาพแห่งปี 2023 ด้านสาธารณสุข

 

  

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงสมศรี เผ่าสวัสดิ์ (อายุ 83 ปี)

นายกแพทยสภา

 

1   หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน

    1.  นายกแพทยสภา (แพทย์สตรีคนแรกและคนเดียว ในวาระครบ 56 ปี) พ.ศ. 2562-2563, 2564-2565, 25662567 (3 วาระ)

    2.  ผู้อำนวยการและกรรมการ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

    3.  ประธานมูลนิธิวชิรเวชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร

    4.  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ สาขาวิสัญญีวิทยาของกระทรวง

    5.  ประธานกรรมการพิจารณาคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญสาขาแพทยศาสตร์ (วิสัญญี)

    6.  อ.ก.ม. วิสามัญเพื่อประเมินผลทางวิชาการระดับศาสตราจารย์

    7.  ประธานกรรมการบริษัท สมิติเวชศรีราชา จำกัด

    8.  ประธานกรรมการบริษัท โรงพยาบาลกรุงเทพ-หาดใหญ่ จำกัด

    9.  ประธานกรรมการบริหารโรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์

   10.  อาจารย์พิเศษภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

   11.  อาจารย์พิเศษ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

2. ประวัติการศึกษา

 ·      พ.ศ. 2512  Dr. Med. (Anesthesiology) มหาวิทยาลัยฮัมบูร์ก เยอรมนี

 ·      พ.ศ. 2512 D.T.M. (Tropical Medicine) สถาบันโรคเขตร้อน มหาวิทยาลัยฮัมบูร์ก เยอรมนี

 ·      พ.ศ. 2514 อนุมัติบัตรผู้ชำนาญการวิสัญญีวิทยา แพทยสภา, ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย

 ·      พ.ศ. 2510 อนุมัติบัตรแสดงความรู้ความชำนาญ แพทยสภา, ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์อนุสาขาวิสัญญีวิทยาสำหรับผู้ป่วยแห่งประเทศไทยทางระบบประสาท       

 ·      พ.ศ. 2508 ประกาศนียบัตรการแพทย์ชั้นสูง คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (กุมารเวชศาสตร์)

 ·      พ.ศ. 2507 พ.บ.(แพทยศาสตร์บัณฑิต) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 ·      พ.ศ. 2502 เตรียมแพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

3. ประวัติการทำงาน

     1.  แพทย์ฝึกหัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (พ.ศ. 2507-2508)

    2.  แพทย์ประจำบ้านภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (พ.ศ. 2508-2509)

    3. แพทย์ประจำบ้านภาควิชาวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาล Eppendorf มหาวิทยาลัย Hamburg ประเทศเยอรมัน (พ.ศ. 2510-2512)

    4. อาจารย์แพทย์ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลพ.ศ. 2512-2521)

    5. รองศาสตราจารย์ ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2522-2530)

    6. าสตราจารย์ ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2530-2543)

    7. อาจารย์พิเศษ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต (พ.ศ. 2534-2542)

    8. อาจารย์พิเศษ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ. 2529-ปัจจุบัน)

    9. กรรมการร่างหลักสูตรวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสุรนารี (พ.ศ. 2537-2540)

   10. วิสัญญีแพทย์ที่ปรึกษาของโรงพยาบาลยาสูบ (พ.ศ. 2527-2542)

   11. วิสัญญีแพทย์ที่ปรึกษาของโรงพยาบาลหัวเฉียว (พ.ศ. 2526-2542)

   12. พนักงานมหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี (พ.ศ. 2544-2549)

   13. อาจารย์พิเศษภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี (พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน)

 

ดำรงตำแหน่งขององค์กรต่าง ๆ

 รัฐสภา

 1. ที่ปรึกษากรรมาธิการวิทยาศาสตร์สภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2547-2549)

 2. ที่ปรึกษากรรมาธิการพาณิชย์สภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2546-2547)

 3. ผู้ชำนาญการประจำคณะกรรมาธิการสาธารณสุขสภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2539-2542)

   แพทยสภา

   1. กรรมการแพทยสภา (พ.ศ. 2544-ปัจจุบัน)

   2. ประธานศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแพทยสภา (พ.ศ. 2546-2549, 2552-ปัจจุบัน)

   3. ประธานคณะกรรมการสอบสวน ชุดที่ 9 (ของแพทยสภา) (พ.ศ. 2546-ปัจจุบัน)

   4. กรรมการบริหารศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแพทยสภา (พ.ศ. 2544-2546)

   5. ประธานคณะกรรมการสอบเพื่ออนุมัติและวุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญ (พ.ศ. 2531-2543) สาขาวิสัญญีวิทยา

   6. กองบรรณาธิการแพทยสภาสาร (พ.ศ. 2533-2543)

   7. นายกแพทยสภา (แพทย์สตรีคนแรกและคนเดียวในวาระครบ 56 ปี) (พ.ศ. 25622563, 25642565, 25662567 (3 วาระ))

 

ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย

  1. ที่ปรึกษาราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2537-ปัจจุบัน)

   2. ประธานราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2533-2534)

   3. กรรมการราชวิทยาลัยฯ ในตำแหน่งอดีตประธานราชวิทยาลัย (พ.ศ. 2534-2536)

   4. กรรมการบริหารสมาคมวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2527-2532)

   5. กองบรรณาธิการวิสัญญีสาร (พ.ศ. 2537-2544)

   6. ประธานคณะกรรมการจัดการประชุมวิชาการวิสัญญีแพทย์นานาชาติ (พ.ศ. 2533-2537) ภาคพื้นอาเซียน ออสเตรเลเซียน ครั้งที่ 9 (9th AACA)

   7. ประธานคณะกรรมการจัดการประชุมวิชาการวิสัญญีวิทยาแห่งเอเชีย ครั้งที่ 10 (10th ACA)

   8. เป็นประธานกิตติมศักดิ์ คณะกรรมการจัดการประชุมวิชาการวิสัญญีวิทยาแห่งเอเชีย ครั้งที่ 15                   

 แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

  1. ผู้อำนวยการและกรรมการแพทยสมาคมฯ (พ.ศ. 2551-ปัจจุบัน)

  2. ที่ปรึกษาแพทยสมาคมฯ (พ.ศ. 2550-2551)

  3. นายกแพทยสมาคมฯ (แพทย์สตรีคนแรกและคนเดียวในรอบ 100 ปี) (พ.ศ. 2547-2549)

  4. ผู้รั้งตำแหน่งนายกแพทยสมาคมฯ (พ.ศ. 2545-2546)

  5. กรรมการบริหารแพทยสมาคมฯ (พ.ศ. 2541-2542)

  6. อนุกรรมการจัดประชุมวิชาการ (พ.ศ. 2537-2538)

  7. อนุกรรมการจัดประชุมวิชาการ (พ.ศ. 2532-2534)

  8. เป็นประธานการจัดประชุมวิชาการนานาชาติ The Confederation of Medical Association in Asia and Oceania (CMAAO) ครั้งที่ 25 ณ โรงแรมรอยัลคลีฟ พัทยา (พ.ศ. 2550)

 กระทรวงสาธารณสุข

 1. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ สาขาวิสัญญีวิทยาของกระทรวง (พ.ศ. 2536-ปัจจุบัน)

 2. คณะกรรมการอำนวยการตามแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ (พ.ศ. 2551-ปัจจุบัน)

 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

 1. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะกิจสาขาแพทยศาสตร์ (วิสัญญีวิทยา) (พ.ศ. 2540-2563)

 2. ประธานกรรมการพิจารณาคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญสาขาแพทยศาสตร์ (วิสัญญี) (พ.ศ. 2564-ปัจจุบัน)

 ทบวงมหาวิทยาลัย

 1.  อ.ก.ม.วิสามัญเพื่อประเมินผลทางวิชาการระดับศาสตราจารย์ (พ.ศ.2534, 2536, 2541,2543, 2545, 2546-ปัจจุบัน)

 2. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินผลงานทางวิชาการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 3. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินผลงานทางวิชาการของมหาวิทยาลัยขอนแก่น

 4. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินผลงานทางวิชาการของมหาวิทยาเชียงใหม่

 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

 1. กรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (พ.ศ. 2546-2554)

 2. ประธานคณะกรรมการสอบสวนชุดที่หนึ่ง (พ.ศ. 2546-2554)

 3. ประธานคณะกรรมการพิจารณาคดีอุทธรณ์ ชุดที่หนึ่ง (พ.ศ. 2546-2554)

 4. กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านหลักประกันสุขภาพ (พ.ศ. 2554-2561)  

 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 1. ประธานเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ (พ.ศ. 2548-2565)

 2. ประธานเครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ (พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน)

 3. ประธานสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่(พ.ศ. 2557-ปัจจุบัน)

 4. ประธานโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ (พ.ศ. 2557-ปัจจุบัน)

 5. ที่ปรึกษาเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ (พ.ศ. 2565-ปัจจุบัน)

สำนักงานประกันสังคม

 1.    อนุกรรมการแพทย์พิจารณาเรื่องร้องเรียนจากการบริการ (พ.ศ. 2549-2552)

 มหาวิทยาลัย

 1. กรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการศาสตราจารย์ (พ.ศ. 2534-ปัจจุบัน)

 2. กรรมการพิจารณารางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2534)

 3. กรรมการเฉพาะทางพิจารณาผลงานสาขาตำราของมหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2535, 2540, 2545, 2546)

 4. กรรมการผู้เชี่ยวชาญประเมินผลงานวิจัยดีเด่นของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (พ.ศ. 2535)

 5. กรรมการพิจารณาประเมินผลงานของผู้ชำนาญการวิสัญญีพยาบาล (พ.ศ. 2536-2542)

 6. กรรมการสอบแพทย์ประจำบ้านของบัณฑิตวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี (พ.ศ. 2527-2542)

 7. หัวหน้าภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี (พ.ศ. 2531-2539)

 8. กรรมการสภาอาจารย์รามาธิบดี (พ.ศ. 2521-2523)

 9. กรรมการคณะกรรมการห้องผ่าตัด (พ.ศ. 2522-2528)

 10. กรรมการ Certified Brain Death (พ.ศ. 2520-2522)

 11. กรรมการพิจารณาเพื่อตำแหน่งวิชาการ (พ.ศ. 2530-2535)

 12. กรรมการของคณะทำงานแผนพัฒนาระดับอุดมศึกษาระยะที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534)

 13. กรรมการอบรมวิชาการแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ครั้งที่ 9 (พ.ศ. 2528)

 14. กรรมการบริหารคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (พ.ศ. 2531-2539)

 15. กรรมการวิจัยคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (พ.ศ. 2531-2539)

 16. กรรมการประเมินผลและพัฒนาคุณภาพงานด้านการบริการ (พ.ศ. 2531-2539)

 17. กรรมการการศึกษา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (พ.ศ. 2531-2539)

 18. กรรมการประจำคณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา (พ.ศ. 2548-2551)

 19. ประธานกรรมการหลักสูตรมหาวิทยาลัยสยาม (พ.ศ. 2556-2560)

  ระดับองค์กรวิชาชีพแพทย์

  1. กรรมการพิจารณาโครงการวิจัยที่เสนอขอรับทุนจากสำนักงานกรรมการวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. 2535)

  2. ประธานกรรมการกลุ่มสถาบันฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง (พ.ศ. 2537-ปัจจุบัน)

3. ประธานกิตติมศักดิ์ชมรมศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย (International Association for the study of Pain Thai Chapter) (พ.ศ. 2540-ปัจจุบัน)

4. เลขาธิการชมรมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2533-2539)

5. ประธานคณะกรรมการจัดการประชุมวิชาการประจำปีของชมรมการศึกษา เรื่องความปวดแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2533-2539)

6. รองประธานสมาคมวิสัญญีแพทย์แห่งอาเซียน (CASA) (พ.ศ. 2532-2534)

7. กรรมการสมาคมวิสัญญีแพทย์แห่งอาเซียน (CASA) (พ.ศ. 2530-2532)

8. รองประธานสมาคมแพทย์ภาคพื้นเอเชียและคาบสมุทร (CMAAO) (พ.ศ. 2547-2550)

9. ประธานสมาคมแพทย์ภาคพื้นเอเชียและคาบสมุทร (CMAAO) (พ.ศ. 2551-2553)

10. สำนักเลขาธิการรัฐมนตรี แต่งตั้งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทำหน้าที่พิจารณาผลงาน ผู้สมควรได้รับการเสนอ ขอพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (พ.ศ. 2549)

11. สมาชิกกิตติมศักดิ์ ราชวิทยาลัยประสาทศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2547)

12. สมาชิกกิตติมศักดิ์ ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2565)

13. ประธานกรรมการบริษัท สมิติเวชศรีราชา จำกัด (พ.ศ. 2545-ปัจจุบัน)

14. ประธานกรรมการบริษัท โรงพยาบาลกรุงเทพ-หาดใหญ่ จำกัด (พ.ศ. 2551-ปัจจุบัน)

15. ประธานกรรมการบริหารโรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ (พ.ศ. 2554-ปัจจุบัน)

16. กรรมการบริหารบริษัทโรงพยาบาลเจ้าพระยา (พ.ศ. 2566)

 ตำแหน่งบริหารขององค์กรการกุศล

 1. ประธานมูลนิธิวชิรเวชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร (พ.ศ. 2561-ปัจจุบัน)

 2. เลขาธิการมูลนิธิวชิรเวชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร (พ.ศ. 2539-2561)

 3. ประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์คณะกรรมการจัดสร้างอาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี (พ.ศ. 2537 – 2540)

 4. กรรมการมูลนิธิสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ (พ.ศ. 2561 – ปัจจุบัน)

 

4. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน

    1. พยายามดำเนินการโดยยึดถือตามพระราชดำรัสของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย) ที่ได้สอนไว้ว่า “แพทย์ที่ดี” พึงมีคุณสมบัติ ดังนี้

         1.1)  เป็นแพทย์ที่มีความรู้วิชาแพทย์อย่างดีและทันสมัยตลอดชีวิต

         1.2)  เป็นแพทย์ที่มีจิตสำนึกเป็นนักวิทยาศาสตร์

         1.3)  เป็นแพทย์ที่รอบรู้หน้าที่แพทย์ ประเพณีของแพทย์และจรรยาแพหย์

         1.4)  เป็นแพทย์ที่มีคุณธรรมจริยธรรม และเสียสละเพื่อส่วนรวม

         1.5)  เป็นบุคคลที่รู้รอบและรอบรู้เรื่องต่างๆ นอกไปจากวิชาแพทย์

     2. ทำงานให้มีความสุขและได้คุณภาพ (ทั้งตนเองและผู้ร่วมงาน) ต้องให้เกียรติเพื่อนร่วมงาน

     3. ในเรื่องของการปฏิบัติงาน ธรรมะที่สามารถนำมาใช้ในประกอบการทำงานได้ดี อาทิเช่น

          – การครองตน อาจต้องใช้ “สังคหวัตถุ 4”

         – การครองคน อาจต้องใช้ “พรหมวิหาร 4”

         – การครองงาน อาจต้องใช้ “อิทธิบาท 4”

     4. คิดดี ทำดี มีความจริงใจ มักจะประสบความสำเร็จ

     5. ต้องรู้หน้าที่ของตนเองและจัดสรรเวลาให้ถูกต้อง

 

5. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน

คิดว่าอยู่มาจนปัจจุบันได้มีโอกาสทำตามหน้าที่ของตนเองได้ครบทุกด้าน คือ

         -    หน้าที่ต่อตนเอง ต้องรู้หน้าที่ของตนเองว่าจะต้องมีความรับผิดชอบออย่างไร

         -    หน้าที่ต่อครอบครัว ลูกทั้ง 5 คน ก็เป็นคนดี หลาน 6 คน ก็รับใช้สังคมได้เป็นอย่างดี

         -    หน้าที่ต่อสังคม ภูมิใจที่ได้มีโอกาสพัฒนาโครงการต่างๆมากมาย โดยได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะโครงการที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันโรคที่เกิดจากบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้า  ดูแลสนับสนุนให้มีการป้องกันมิให้ประชาชนเป็นโรคไต และกิจกรรมอื่นๆอีกหลายอย่างที่มิอาจกล่าวได้หมด ทำให้รู้สึกว่าทำให้จิตใจสบายมากที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น  

 

6. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

      วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเรื่องสำคัญมาก ดังพระราชดำรัสของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันด้วย ที่ได้ทรงรับสั่งไว้ และมีรายละเอียดในข้อหนึ่งของการจะเป็นแพทย์ที่ดีว่า “ต้องมีจิตสำนึกเป็นนักวิทยาศาสตร์” ตั้งแต่ปี พ.ศ.2470 ซึ่งเป็นสิ่งที่จะช่วยทำให้ประเทศพัฒนาไปในทุกๆด้าน

 

7. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล

     สมัยเป็นนายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อปี พ.ศ. 2547-2548 ได้ดำเนินโครงการไว้หลายอย่างและยังดำเนินการถึงปัจจุบันเป็นเวลา 18-19 ปีแล้ว และยังดำเนินการต่อมาจนปัจจุบันนี้ บรรจุเป็นวาระในการประชุมประจำเดือนของแพทยสมาคมฯ ทุกเดือน ได้แก่

โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน (บริหารความเสี่ยง)

           ได้ดำเนินการรับเรื่องร้องเรียนจากทั้งแพทย์และผู้ป่วยที่เดือนร้อนจากการรักษาพยาบาล ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 จนถึงปัจจุบัน โดยจัดหานิติกรมาช่วยดำเนินการรับฟังปัญหา และตนเองเข้าร่วมเจรจาไกล่เกลี่ยให้ความช่วยเหลือแก่ทั้ง 2 ฝ่าย ในแต่ละปี มีจำนวนปีละ 50-60 ราย

            โครงการแนะแนวนักศึกษาแพทย์และแพทย์ประจำบ้านในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม

            ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2547 โดยจัดให้มีการบรรยายและสอนให้แพทย์รู้ถึงการประกอบวิชาชีพด้วยมาตรฐานจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยจัดบรรยายให้กับนักศึกษาแพทย์และแพทย์ประจำบ้านของคณะแพทย์ต่างๆ ทั่วประเทศ ปีละ 16-20 สถาบัน เดินทางไปด้วยตนเอง พร้อมอาจารย์ท่านอื่น ครั้งละ 2-3 คน โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิไฟเซอร์ ประเทศไทย และยังดำเนินการอยู่จนถึงปัจจุบัน ทำให้คดีของแพทย์ที่เคยถูกฟ้องร้องเรื่องการประกอบวิชาชีพเวชกรรมลดลง

             โครงการประกันชีวิตให้แพทย์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

             ด้วยขณะนั้น ในปี พ.ศ. 2547 เหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีทีท่าว่าจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ การก่อเหตุในรูปแบบต่างๆ ทั้งการประกบยิง การซุ่มยิง การวางระเบิดแสวงเครื่องการเผาโรงเรียน ซึ่งเหตุการณ์ต่างๆ ทำให้มีทั้งผู้บาดเจ็บ และผู้เสียชีวิตมากมาย แพทย์ที่ทำงานอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่างก็เกิดความกลัว แต่ด้วยหน้าที่ความรับผิดชอบ และที่สำคัญยิ่งคือความเสียสละ ทำให้ไม่อาจทิ้งผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วย ไปได้ ยังคงต้องทำงานด้วยความหวาดกลัว ตนเองในฐานะแพทย์คนหนึ่ง ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงคิดที่จะช่วยแบ่งเบาความห่วงใยให้กับแพทย์เหล่านั้นด้วยการทำประกันชีวิตให้แก่แพทย์ที่ทำงานใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 236 คน อย่างน้อยหากเป็นอะไรไป ครอบครัวก็ไม่ลำบากยังมีที่พึ่ง

             โครงการรณรงค์เพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ มีความเป็นมา ดังนี้

             ในปี พ.ศ. 2547-2548 สมัยที่เป็นนายกแพทยสมาคมฯ ในวันที่ 4 ธันวาคม 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้ทรงรับสั่งปรารภถึงเยาวชนที่สูบบุหรี่ ทำให้สมองเสีย สุขภาพเสีย

              ในปี พ.ศ. 2548 วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม องค์การอนามัยโลกได้กำหนดประเด็นที่จะรณรงค์ในปีนี้ว่า Health Professionals and Tobacco Control ซึ่งทุกประเทศที่เป็นภาคีขององค์การอนามัยโลกต้องปฏิบัติตาม แต่ในขณะนั้นประเทศไทยเราไม่มีองค์กรวิชาชีพสุขภาพใดทำงานเรื่องบุหรี่ นพ.ศุภกร  บัวสาย ผู้จัดการ สสส. สมัยนั้น เคยเป็นลูกศิษย์สมัยอยู่คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ได้มาขอความช่วยเหลือให้แพทยสมาคมฯ ช่วยดำเนินการ    ในเรื่องนี้ให้ จึงรับมาและชวนองค์กรวิชาชีพสุขภาพสาขาต่างๆมาร่วมทำงานด้วย ทั้งหมด 23 องค์กร  จัดตั้งเป็น “เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่” และดำเนินงานมาจนปัจจุบันนี้เป็นเวลาถึง 18 ปีแล้ว ซึ่งตนเองได้รับรางวัลจาก World Health Organization (WHO) เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก ในฐานะบุคคลผู้มีผลงานด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบดีเด่น ประจำปี 2553

              ในปี พ.ศ. 2558 World Health Professional Alliance (WHPA) ซึ่งเป็นองค์กรที่เกิดจากการรวมตัวของแพทยสมาคมโลก สมาคมพยาบาลโลก สมาคมเภสัชกรโลก สมาคมทันตแพทย์โลก และสมาคมกายภาพบำบัดโลก มีสมาชิกมากกว่า 130 ประเทศ สมาชิก 26 ล้านคนทั่วโลก ได้พิจารณาตัดสินให้เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ ซึ่งตนเองเป็นประธานเครือข่าย ได้รับรางวัล WHPA Award ในปี ค.ศ.2015 ในฐานะที่เป็นองค์กรที่ทำงานร่วมกันของบุคคลากรวิชาชีพสุขภาพมากกว่า 3 องค์กรขึ้นไป เรามีถึง 21 องค์กร ในขณะนั้น (ปัจจุบันมี 23 องค์กร) ได้รับรางวัลเป็นปีแรกและประเทศแรก เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2558 ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยทาง WHPA จ่ายค่าเดินทางและค่าที่พักให้ไปรับรางวัลด้วย ปัจจุบันโครงการเหล่านี้ยังดำเนินการอยู่มีการประชุมร่วมกันทุกวันอังคารที่ 4 ของเดือน

             โครงการบุหรี่มีทั้งหมด 4 โครงการด้วยกัน เป็น 4 เครือข่าย เพื่อช่วยให้ประชาชนคนไทยมีสุขภาพที่ดี เพราะบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญอันดับต้นๆที่ทำให้ประชาชนเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และทุกโครงการยังดำเนินการอยู่จนถึงปัจจุบัน ได้แก่

              เครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ

              เครือข่ายวิชาชีพแพทย์ฯ ได้จัดตั้งขึ้นพร้อมกันกับเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ ซึ่ง ศ.เกียรติคุณ พญ. สมศรี เผ่าสวัสดิ์ เป็นประธานเครือข่ายเช่นกัน เครือข่ายวิชาชีพแพทย์ฯ เป็น 1 ใน 23 องค์กรของเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพฯ โดยมีแพทย์สาขาต่างๆจากหลายสถาบันมาร่วมมือกันเป็นคณะกรรมการ มีการประชุมทุกวันอังคารที่ 1 ของเดือน ดำเนินการให้ความรู้ และรักษาผู้ติดบุหรี่ โดยจัดตั้งเครือข่ายคลินิกฟ้าใสให้ตามโรงพยาบาลต่างๆ จำนวน 77 จังหวัดทั่วประเทศ ปัจจุบันมีสมาชิกคลินิกฟ้าใส (คลินิกช่วยเลิกบุหรี่) จำนวน 544 แห่งทั่วประเทศ โดยทางเครือข่ายวิชาชีพแพทย์ฯ จะจัดการฝึกอบรมให้ความรู้ วิธีการ และเทคนิค ในการช่วยเลิกบุหรี่แก่สมาชิกคลินิกฟ้าใส เพื่อให้สมาชิกทุกคลินิกร่วมกันช่วยเลิกบุหรี่ให้แก่ประชาชนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนเครื่องวัดปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในปอด และยาเลิกบุหรี่ ให้แก่สมาชิกคลินิกฟ้าใสจำนวน 544 แห่ง เพื่อช่วยเลิกบุหรี่ และช่วยฟื้นคืนสุขภาพของประชาชนให้กลับคืนมา

              ปี พ.ศ. 2552 ได้เป็นประธานการจัดทำ “แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการบำบัดรักษาโรคติดบุหรี่ในประเทศไทย” โดยร่วมกับองค์กรแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ 34 องค์กร องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทยได้ขอต้นฉบับของแนวทางนี้ไปแปลเป็นภาษาอังกฤษเผยแพร่ในประเทศต่างๆ ที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 11 ประเทศ

              สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่

              ได้มีการจัดตั้งขึ้นในปีพ.ศ.2557 จัดตั้งขึ้นเพื่อต้องการขยายภาคีเครือข่ายในการควบคุมยาสูบไปสู่ภาคประชาสังคม เพราะก่อนหน้านี้ผู้ที่ขับเคลื่อนงานควบคุมยาสูบมีเพียงแต่บุคลากรวิชาชีพแพทย์ และวิชาชีพสุขภาพเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอต่อการต่อสู้กับกลยุทธ์ทางการตลาดของบริษัทบุหรี่ทั้งหลาย ภาคีเครือข่ายในการควบคุมยาสูบจึงเห็นควรจัดตั้ง “สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่” ขึ้นเพื่อสร้างเครือข่ายในภาคประชาสังคม ซึ่งในปัจจุบันมีสมาชิกทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิเช่น องค์กรวิชาชีพแพทย์  องค์กรวิชาชีพสุขภาพ องค์กรด้านการศึกษา ด้านแรงงาน เครือข่ายพระสงฆ์ สื่อสารมวลชน ศิลปินดารา มูลนิธิ ราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ภาคประชาสังคม และองค์กรต่างๆทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมจำนวน 936 องค์กร

              โดยได้สนับสนุนกระทรวงสาธารณสุขเรื่องขยายภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ จากเดิม 55% เป็น 85% ซึ่งถูกบริษัทบุหรี่ข้ามชาติฟ้องศาลปกครอง ในที่สุดศาลตัดสินให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นฝ่ายชนะ และเราได้รวบรวมรายชื่อประชาชนที่สนับสนุนพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ได้ถึง 16 ล้านรายชื่อ โดยส่งมอบให้ทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จนทำให้พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบออกมาได้สำเร็จเมื่อปี พ.ศ.2560 และได้มีการตั้งสมาพันธ์จังหวัดเพื่อดำเนินการขับเคลื่อนการควบคุมยาสูบภายในจังหวัดตนเองแบบบูรณาการเครือข่าย ร่วมกันรณรงค์ให้ประชาชนเลิกสูบบุหรี่โดยส่งต่อไปยังคลินิกฟ้าใส(คลินิกช่วยเลิกบุหรี่)ที่อยู่ในจังหวัดตนเอง และที่สำคัญคือป้องกันไม่ให้เด็กและเยาวชน ตกเป็นนักสูบหน้าใหม่

              โครงการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่

              เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่พ.ศ. 2557 จนปัจจุบัน จากที่ผ่านมามหาวิทยาลัยหลาย ๆ แห่ง มิได้ให้ความสำคัญต่อการควบคุมยาสูบมากนัก เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่จึงได้จัดทำ “โครงการพัฒนามหาวิทยาลัย  สู่การเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่” ขึ้นเพื่อสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในการเข้าร่วมโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ โดยทางเครือข่ายฯ จะจัดการอบรมความรู้การดำเนินงาน เช่น การจัดจุดสูบบุหรี่ภายในมหาวิทยาลัยที่ถูกต้อง และถูกกฎหมาย การออกกฎระเบียบ การช่วยลดบุหรี่ในบุคลากรของมหาวิทยาลัย การช่วยเลิกบุหรี่ในนิสิตนักศึกษา และการป้องกันนักสูบหน้าใหม่ ขณะนี้ มีสถาบันการศึกษาที่เป็นสมาชิกโครงการนี้อยู่ จำนวน 206 แห่ง และมีการประชุมคณะกรรมการบริหารทุกเดือนเช่นกัน

              และอีกหนึ่งภารกิจอันสำคัญยิ่งของนายกแพทยสภา ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 คือการให้ข้อมูล และคำแนะนำแก่รัฐบาลเพื่อนำไปประกอบการวางนโยบายในการบริหารประเทศในสถานการณ์ฉุกเฉินเช่นนี้ อีกทั้งจัดตั้งโครงการต่าง ๆ ร่วมกับแพทยสมาคมฯ เพื่อช่วยเหลือแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่อยู่ด่านหน้าคอยรักษาดูแลผู้ป่วยจากเชื้อไวรัสโควิด-19 เช่น โครงการนักรบเสื้อขาวสู้ภัยโควิด-19 (COVID-19) เพื่อจัดหาความคุ้มครองชีวิตให้แก่แพทย์ พยาบาลทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังได้เติมเต็มภารกิจด้านการวิจัยของแพทยสภาให้เกิดขึ้นตามพันธกิจที่ตั้งไว้ โดยหาผู้สนับสนุนทุนวิจัยให้แพทยสภา เพื่อสนับสนุนให้แพทย์ได้มีงบประมาณการค้นคว้าวิจัย เพื่อนำมาใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วย โดยมีทุนวิจัยเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 จนถึงปัจจุบัน ปีละ 2-4 ล้านบาท

 

8. ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

8.1 ความภาคภูมิใจ

         พ.ศ. 2547 รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล             

         พ.ศ. 2547 รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นของสมาคมศิษย์เก่าราชินี                       

         พ.ศ. 2549  รางวัลแพทย์สตรีตัวอย่างของสมาคมแพทย์สตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์

         พ.ศ. 2549 ปริญญาแพทยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากสภามหาวิทยาลัยมหิดล

         พ.ศ. 2550 รางวัลแม่ดีเด่นของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ

         พ.ศ. 2552 รับพระราชทานโล่ประกาศเกียรติคุณรางวัลบุคคลดีเด่น  ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบ ในงานประชุมวิชาการสาธารณสุข  “90 ปี การสาธารณสุขไทย เพื่อคนไทยสุขภาพดี” จากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

         พ.ศ. 2553 รับประทานรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นประจำปี 2553 สาขาผู้ทำชื่อเสียงระดับนานาชาติ จากพระวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ

         พ.ศ. 2553 รางวัล World No Tobacco Day 2010 Award จากองค์การอนามัยโลก          

         พ.ศ. 2553 รับพระราชทานรางวัลบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นด้านสุขศึกษา พลศึกษา และนันทนาการต่อสังคม ประจำปี 2552-2553 ระดับนักวิชาการดีเด่น จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

         พ.ศ. 2554 รับรางวัล “มหิดลทยากร” จากสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์

         พ.ศ. 2556 รับรางวัลแพทย์จริยธรรมสรรเสริญจากแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

         พ.ศ. 2558 รับรางวัล “World Health Professions Alliance (WHPA) 2015 : Inter professional Collaborative Practice Award” ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จากองค์กรวิชาชีพสุขภาพโลก

         พ.ศ. 2558 รางวัล “สตรีไทยดีเด่น” ของสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ รับพระราชทานรางวัล จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

         พ.ศ. 2558 รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นระดับนานาชาติ จากสมาคมนักเรียนเก่าราชินี ในพระบรมราชินูปถัมภ์

         พ.ศ. 2559 รางวัล “ตาราอวอร์ด” รางวัลสำหรับคนปลุกสังคมด้วย “หัวใจโพธิสัตว์” จากเสถียรธรรมสถาน

         พ.ศ. 2562 รางวัล “นักเวชศาสตร์ป้องกันดีเด่นระดับชาติ” ประจำปี 2561 จากสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย

         พ.ศ. 2562 รางวัลนักเรียนเก่าดีเด่นประเภทที่ 3 “ผู้มีความจงรักภักดี มีคุณธรรม สร้างคุณประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ” จากสมาคมนักเรียนเก่าราชินี ในพระบรมราชินูปถัมภ์

         พ.ศ. 2562 ปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 

         พ.ศ. 2563 ปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง                

         พ.ศ. 2564 ปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยนเรศวร            

         พ.ศ. 2565 ปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยพะเยา             

 8.2 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ

        พ.ศ. 2529  เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายประถมาภรณ์มงกุฎไทย     

        พ.ศ. 2531  เครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้น 4                       

        พ.ศ. 2532  รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการแต่งตำราดีเด่น                

        พ.ศ. 2533  เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายประถมาภรณ์ช้างเผือก      

        พ.ศ. 2537  เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายมหาวชิรมงกุฎ                

        พ.ศ. 2538  เหรียญจักรพรรดิมาลา                                                    

        พ.ศ. 2541  เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายมหาปถมาภรณ์ช้างเผือก   

2)  บุคคลคุณภาพแห่งปี 2023 ด้านเทคโนโลยี

 

  

ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ (อายุ 63 ปี)

ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

 

1.  หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน

 

1. ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

 

2. กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค)

 

3. ประธานกรรมการบริหารกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ

 

4. แพทย์และอาจารย์แพทย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ สาขาวิชาโรคหัวใจ (Cardiology) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 

 

2. ประวัติการศึกษา

 

·      แพทย์เฉพาะทาง-การสวนหัวใจเพื่อวินิจฉัยและรักษา Hospital of the Good Samaritan Los Angeles, Los Angeles, California, United State of America (พ.ศ. 2535)

 

·      แพทย์เฉพาะทางอายุรศาสตร์ Kaiser Permanente Medical Center, Los Angeles, California, United States of America (พ.ศ. 2534)

 

·      แพทย์ประจำบ้าน Los Angeles Country University of Southern California Medical Center, Los Angeles, California, United State of America (พ.ศ. 2531)

 

·      แพทย์ฝึกหัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

·      ปริญญาตรี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2526)

 

·      ประกาศนียบัตรโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) Director Accreditation Program (DAP) รุ่น 145/2018

 

 

 

3. ประวัติการทำงาน

 

ประวัติรับราชการ

 

·      รองคณบดี คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 

·      แพทย์โรคหัวใจ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 

·      อาจารย์สอนนักเรียนแพทย์ สาขาวิชาโรคหัวใจ (Cardiology) แพทย์ประจำบ้าน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

·      แพทย์โรคหัวใจ ได้รับวิทยฐานะ American Board, Kaiser Permanente Medical Center, Los Angeles, California, United States of America

 

·      พ.ศ. 2535-ปัจจุบัน : แพทย์และอาจารย์แพทย์ สาขาวิชาโรคหัวใจ (Cardiology) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 

·      ผู้เชี่ยวชาญ วิทยากรบรรยายพิเศษในการประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดแดง โรคหัวใจ

 

·      ผู้เขียนบทความทางวิชาการและบทความด้านสุขภาพ เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดแดง โรคหัวใจ

 

 

 

ประวัติการทำงานด้านการเมือง

 

·      พ.ศ. 2558-2562  ประธานคณะอนุกรรมาธิการ คณะกรรมาธิการสาธารณสุขสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

 

·      พ.ศ. 2557-2562  สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

 

·      พ.ศ. 2557-2562  กรรมการ คณะกรรมาธิการพลังงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

 

·      พ.ศ. 2557-2562  กรรมการ คณะกรรมาธิการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

 

 

 

ประวัติการทำงานในภาครัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และสังคม

 

·      พ.ศ. 2564-ปัจจุบัน  กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค

 

·      พ.ศ. 2565-ปัจจุบัน ประธานกรรมการบริหารกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อ   ประโยชน์สาธารณะ

 

·      พ.ศ. 2563-ปัจจุบัน  กรรมการ องค์การเภสัชกรรม

 

·      พ.ศ. 2562-ปัจจุบัน  กรรมการอิสระ บริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

 

·      พ.ศ. 2561-ปัจจุบัน  กรรมการอิสระ ประธานกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน, บมจ. โรงพยาบาลพระรามเก้า

 

·      พ.ศ. 2562-2563  รองประธานกรรมการ กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน และประธานคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ, บมจ. สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์

 

·      พ.ศ. 2558-ปัจจุบัน  กรรมการ บริษัท พฤกษ์สุขสบาย จำกัด

 

·      พ.ศ. 2555-ปัจจุบัน  กรรมการ บริษัท สรณ คาร์ดิโอโลยี่ แอนด์ แอสโซซิเอท จำกัด

 

·      พ.ศ. 2535-ปัจจุบัน  แพทย์สาขาวิชาโรคหัวใจ คณะแพทย์ศาสตร์, โรงพยาบาลรามาธิบดี

 

·      แพทย์อายุรศาสตร์โรคหัวใจ มัณฑนากรหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

 

·      แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ และการสวนหัวใจเพื่อการรักษาโดยเฉพาะการขยายหลอดเลือดหัวใจ สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า โรงพยาบาลพระรามเก้า

 

·      สมาชิกสมาคมโรคหลอดเลือดแดงแห่งประเทศไทย

 

 

 

4. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน

 

·      ในฐานะแพทย์และอาจารย์แพทย์ - ผลักดันให้ผู้ป่วยทุกคนบนผืนแผ่นดินไทยทุกพื้นที่ ได้ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ดีอย่างแท้จริง ช่วยให้คนไทยต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บด้วยเทคโนโลยี Smart Hospital

 

·      ในฐานะประธาน กสทช. - จะทุ่มเททำงานเต็มความสามารถ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ยึดหลักธรรมาภิบาล โดยยึดผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นที่ตั้ง เพื่อบริหารคลื่นความถี่ ส่งเสริมกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมของประเทศไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งคุ้มครองประชาชนผู้ใช้บริการ

 

 

 

5. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน

 

·      ได้ทำงานเพื่อช่วยเหลือผู้คนตั้งแต่การทำงานในฐานะแพทย์มาโดยตลอด และการทำงานในฐานะประธาน กสทช. เพื่อสนับสนุนและยกระดับกิจการการสื่อสารของคนไทยเพื่อพี่น้องชาวไทยทุกคน

 

 

6. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

การสร้างเทคโนโลยีการสื่อสารที่ดีที่สุด เพื่ออนาคตของคนไทยทุกคน

 

 7. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล

 

       ศ.คลินิก นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ กสทช. ตั้งแต่เดือนเมษายน 2565 เป็นต้นมา ท่านเป็นคนแรกจากวงการแพทย์-สาธารณสุข ที่ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการสรรหากรรมการ กสทช. ด้วยคุณสมบัติ เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ เพื่อมากำหนดทิศทางหรือเป้าหมายในการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. ตาม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ ศ.คลินิก นพ.สรณ ยังได้ดำรงตำแหน่งกรรมการ กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2564 จนถึงปัจจุบัน ด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง

 

ศ.คลินิก นพ.สรณ ได้เคยแสดงวิสัยทัศน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ประธาน กสทช. ไว้ก่อนที่จะรับตำแหน่งว่า “ในฐานะที่ได้รับความไว้วางใจได้รับเลือกเป็นประธาน ทางคณะกรรมการเชื่อว่าจะพัฒนาศักยภาพโครงข่ายโทรคมนาคมและการสื่อสาร และกิจการโทรทัศน์และกระจายเสียงของประเทศ ให้ไปสู่ยุคสังคมเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพื่อขยายขีดความสามารถของสังคมผ่านการพัฒนาไปควบคู่กับการแข่งขันที่เท่าเทียม” โดยในช่วงที่ท่านได้ดำรงตำแหน่งประธาน กสทช. ท่านได้นำนโยบายสำคัญขององค์กรมาดำเนินการได้สำเร็จ ดังนี้

 

 1. การปลดล็อกให้มีการควบรวมกิจการระหว่างทรูและดีแทค ให้เดินหน้าต่อไปได้ ท่านมีความคิดเห็นว่า ความต้องการควบรวมกิจการนั้นเป็นเรื่องความอยู่รอดของเอกชน ในกรณีทรูและดีแทคนั้น ถ้ารวมกันแล้วจะทำให้แข่งขันได้แข็งแรงขึ้น เมื่อท่านได้ศึกษาตัวบทกฎหมายพบว่าบอร์ด กสทช. ไม่มีอำนาจในการอนุญาตหรือไม่อนุญาต เพราะการควบรวมกันเป็นกิจกรรมของเอกชนในตลาดเสรี ซึ่งท่านคิดว่า เรื่องนี้ผมไม่ได้คิดเอง มีการส่งคำถามไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อให้ตีความว่าจะพิจารณากรณีทรูควบรวมดีแทคโดยใช้ประกาศฉบับใด ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นกลับมาว่าให้ใช้ประกาศปี พ.ศ. 2561 ซึ่งเป็นฉบับล่าสุด กำหนดขอบเขตอำนาจ กสทช.ทำได้เพียงรับทราบและกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเท่านั้น  “ผมไม่ได้มองว่าเป็นการใช้อำนาจ ผมมองว่าเป็นหน้าที่ มองว่าบอร์ดต้องตัดสินใจ ผมต้องกล้าวินิจฉัยชี้ขาด นี่คือหน้าที่ของประธาน ซึ่งต้องยึดหลักกฎหมาย เราใช้เวลากับเคสนี้มานานแล้ว ตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาผลกระทบครอบคลุมทุกด้าน ถึงเวลาก็ต้องตัดสินใจ” อย่างไรก็ตาม การรวมธุรกิจระหว่างทรูและดีแทค โดยให้กำหนดเงื่อนไขและมาตรการเฉพาะเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคและการพัฒนากิจการโทรคมนาคม อาทิเช่น กำหนดให้ทรูและดีแทคต้องลดราคาลง แยกกันทำตลาด ไม่ให้รวมแบรนด์ ไม่ให้รวมคลื่น และต้องสนับสนุนการเติบโตของผู้ประกอบการรายย่อยอย่าง MVNO (Mobile Virtual Network Operator) ด้วย

 

2. การผลักดันให้บอร์ดชุดนี้เดินหน้าประมูลชุดความถี่ดาวเทียมครั้งแรกของประเทศได้สำเร็จ จากที่เคยเลื่อนไป 2-3 ครั้ง การประมูลสำเร็จช่วยให้มีการนำคลื่นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ มิเช่นนั้นจะต้องคืนคลื่นความถี่กลับไปให้สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) เพื่อนำไปจัดสรรให้ประเทศอื่นที่ต้องการใช้งานต่อไป

 

3. การผลักดันให้บอร์ดชุดนี้ให้ความเห็นชอบการใช้งานแบบไม่ต้องขอใบอนุญาต (Unlicensed) ความถี่ย่าน WiFi 6E ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยขยายคลื่นความถี่ เพิ่มปริมาณแบนด์วิธ รับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงขึ้น ความหน่วงต่ำ รองรับการใช้งานในอนาคต ซึ่งขณะนี้คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีนำไปใช้ในการสอนผ่าศพ ตลอดจนการดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้ายของชีวิต

 

 อย่างไรก็ตาม การทำหน้าที่ประธาน กสทช. นั้น มีอุปสรรคมากมายซึ่งอาจทำให้การขับเคลื่อนนโยบายภายใต้บอร์ดชุดนี้ ทำได้เพียง 50% เท่านั้น กรณีล่าสุด การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ กสทช. ที่ว่างเว้นมานานเกือบ 3 ปี คราวนี้ผมถูกกล่าวหาว่ารวบอำนาจ ผมยืนยันว่าการคัดเลือกและแต่งตั้งเลขาธิการ กสทช. เป็นอำนาจของประธานภายใต้ความเห็นชอบจากกรรมการ เป็นไปตามกฎหมายมาตรา 60 และ 61 แห่ง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ปัญหาและอุปสรรคในพิจารณาของบอร์ดส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจาก การตีความกฎหมายที่ไม่ตรงกัน บางครั้งใช้กฎหมายคนละฉบับ หลายเรื่องฝ่ายกฎหมายของสำนักงาน กสทช. ไม่สามารถหาข้อยุติและชี้ชัดอีกต่อไป ต้องส่งไปให้คนกลางอย่างคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ ทำให้กระบวนการตัดสินใจล่าช้าไปมาก

 

ความยากง่ายของการเป็นประธาน กสทช. กับการเป็นแพทย์นั้น ผมขอตอบว่าเป็นงานที่ไม่คุ้นชินดีกว่า แต่ที่ทำให้ยากเพราะเป็นงานที่ผมไม่สามารถชักจูงใจหรือทำให้คนเห็นพ้องกับผมได้โดยง่าย ตอนเป็นหมอทุกอย่างดูง่าย โดยเฉพาะการพูดชักจูงใจคนให้เชื่อมั่นในตัวเรา

 

 สิ่งที่อยากจะเดินหน้าต่อในระยะ 5 ปี ได้แก่  

 

1.  หาจุดสมดุลในการทำงานร่วมกันกับบอร์ดท่านอื่น ผมมองว่าบอร์ด กสทช. สามารถทำประโยชน์ให้เกิดแก่สาธารณชนได้มาก ยกตัวอย่างเช่น การนำโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมไปพัฒนาให้เกิดบริการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน การจัดสรรคลื่นความถี่เพิ่มเติม การบริหารจัดการการเงินของสำนักงาน กสทช. ซึ่งขณะนี้กำลังเผชิญหน้ากับปัญหารายได้ลดต่ำลงเรื่อยๆ ล่าสุดลดลงราว 10%

 

2.  การกำกับดูแลบริการ OTT (Over the Top) โดยเฉพาะบริการแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิง ซึ่งยังไม่มีการกำกับดูแลด้านเนื้อหา จะต้องมีการผลักดันกฎหมายใหม่ขึ้นมา และต้องกำกับดูแลไม่ให้ไปริดรอนสิทธิประชาชน

 

3.  การปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร โครงสร้างเดิมมี 6 สายงาน 1. สายงานกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ 2. สายงานยุทธศาสตร์และกิจการองค์กร 3. สายงานบริหารองค์กร 4. สายงานวิชาการ 5. สายงานกิจการภูมิภาค และ 6. สายงานกิจการโทรคมนาคม แต่เดิมทุกสายงานจะมีสำนักคอยทำแผน ก็รวมกันเป็นสายงานเดียว จึงต้องปรับและเปลี่ยนเนื้องาน มีการเพิ่มสายงานใหม่รวมเป็น 8 สายงาน มีรองเลขาธิการ 8 คน และปรับลดผู้เชี่ยวชาญลง เพื่อควบคุมงบประมาณ”  

 

แนวคิดในการปรับโครงสร้างองค์กรของ ศ.คลินิก นพ.สรณ เน้นต้องมีเสียงที่เป็นเอกฉันท์ร่วมกัน เช่น การเพิ่มสายงานวิชาการเข้ามาในสำนักงานก็เพราะทุกคนเห็นชอบ และเป็นสิ่งจำเป็น เพราะมีผลต่อพนักงานทุกระดับ จึงเป็นเรื่องใหญ่ที่ไม่ควรใช้หลักเสียงข้างมากอย่างเดียว ไม่เช่นนั้นก็จะมีการเสนอเปลี่ยนแปลงโครงสร้างได้เรื่อยๆ จึงไม่ควรทำภายใต้คณะทำงาน แต่ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนภายใต้คณะอนุกรรมาธิการการบริหารงานบุคคล และคณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย โดยคำนึงถึงสภาพปัจจุบันของ กสทช. ที่มีรายได้ลดลง และจะลดลงเรื่อยๆ เพราะการใช้บริการโทรคมนาคมในส่วนของเสียงและข้อความลดลง

8. ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

 

8.1 ความภาคภูมิใจ

 

· อัสสัมชนิกดีเด่น ประจำปี 2560

 

· ต้นแบบแห่งความสำเร็จ ประจำปี พ.ศ. 2566 รางวัลเชิดชูเกียรติแพทย์จุฬาฯ ต้นแบบแห่งวงการแพทย์ MDCU (The Medial Icons Awards Ceremony)

 

8.2 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

 

    พ.ศ. 2558 – มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

 

1)  บุคคลคุณภาพแห่งปี 2023 ด้านวิทยาศาสตร์

 

  

รองศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ  (อายุ 77 ปี)

บุคคลต้นแบบด้านวิชาการ และผู้ผลักดันการยกระดับการศึกษาวิทยาศาสตร์ไทย

 

 1.  หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน

      1. อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา

     2.  กรรมการบริหารมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา (ประธานโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย)

     3.  รองประธานกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี

     4.  กรรมการบริหารมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนาวิทยาศาสตร์ศึกษา (สอวน.)

     5.  กรรมการบริหารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

     6.  ที่ปรึกษาสมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย

 

2. ประวัติการศึกษา

 

·      พ.ศ. 2522    ปริญญาเอก สาขา Genetics จาก University of Hawaii, U.S.A.

 

                              ประกาศนียบัตรประชากรศาสตร์, University of Hawaii, U.S.A.

 

·      พ.ศ. 2514    ปริญญาโท สาขา Genetics จาก University of Wisconsin, U.S.A.

 

·      พ.ศ. 2512    ปริญญาตรี สาขา Zoology จาก University of Wisconsin, U.S.A.

 

·      พ.ศ. 2507-2508  เตรียมแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ปัจจุบัน คือ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)

 

3. ประวัติการทำงาน

 

ตำแหน่งหน้าที่สำคัญ

 

·    พ.ศ. 2561-2562 อธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีจิตรลดา

 

·    พ.ศ. 2557-2560 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

 

·    พ.ศ. 2557-2560 อุปนายกสภาวิทยาลัยเทคโนโลยีจิตรลดา

 

·    พ.ศ. 2556-2560 ประธานกรรมการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.)

 

·    พ.ศ. 2556-2559 ประธานคณะกรรมการบริหารโรงเรียนมหิดลวิทยานุสณณ์ (องค์การมหาชน)

 

·    พ.ศ. 2546-2555 กรรมการสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช สภาวิจัยแห่งชาติ

 

·    พ.ศ 2547-2550 นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

 

·     พ.ศ. 2545-2546 นายกสมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย

 

·     พ.ศ. 2540-2546 อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.)

 

·     พ.ศ. 2526-2529 คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.)

 

ตำแหน่งต่างๆ ทางการบริหาร งานวิชาการ และอื่น ๆ

 

·    เริ่มรับราชการตำแหน่งอาจารย์ประจำสอนและวิจัยในสาขาชีววิทยา พันธุศาสตร์และชีวสถิติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514

 

·    ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)

 

·    นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

 

·    นายกสมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย

 

·    กรรมการ คณะกรรมการอำนวยการโครงการโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ สอศ.

 

·    ที่ปรึกษา โครงการพัฒนานักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ของ สพฐ. และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

·    ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

 

·    ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยให้เป็นโรงเรียน วิทยาศาสตร์ภูมิภาค

 

·    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

·    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

 

·    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการบริหารโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ องค์การมหาชน

 

·    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนาคณะกรรมการวิทยาศาสตร์-  คณิตศาสตร์ที่มีความสามารถพิเศษ (สควค.)

 

·    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 6

 

·    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการการอุดมศึกษา

 

·    กรรมการสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ

 

·  ดำรงตำแหน่ง นายก อุปนายก กรรมการ ที่ปรึกษา ให้กับสมาคมวิชาชีพ / มูลนิธิ / ชมรมต่างๆ ในแวดวงวิชาการด้านการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านพุทธศาสนา

 

·    งานที่ปรึกษา / งานบริการทางวิชาการให้กับหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ได้แก่

 

 กระทรวงศึกษาธิการ

 

·   พ.ศ. 2515-2548 ผู้ชำนาญ / ที่ปรึกษาสาขาชีวิทยา สสวท.

 

·   พ.ศ. 2536-2548 กรรมการดำเนินการจัดการแข่งขันโอลิมปิควิชาการของกระทรวงศึกษาธิการ

 

·   พ.ศ. 2532-2548 อนุกรรมการคัดเลือกนักเรียน / นิสิต พสวท. ของทบวงมหาวิทยาลัยร่วมกับ สสวท.

 

·   พ.ศ. 2530-2540 ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาผลงานทางวิชาการของกรมการฝึกหัดครู

 

·   พ.ศ. 2533-2540 ประธานกรรมการตรวจแบบเรียนวิทยาศาสตร์ชีวภาพ กรมวิชาการ

 

·   พ.ศ. 2534 กรรมการศูนย์ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมการฝึกหัดครู

 

·   พ.ศ. 2523-2548 วิทยากรบรรยายพิเศษในวิทยาลัยครู โรงเรียน และหน่วยงานต่างๆ

 

·   พ.ศ. 2534-2548 กรรมการจัดการแข่งขันโอลิมปิคชีววิทยา และการแข่งขันครั้งที่ 6 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ

 

·   พ.ศ. 2538 ร่วมริเริ่มโครงการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ที่มีความสามารถพิเศษ สสวท. และทบวงมหาวิทยาลัย

 

·   พ.ศ. 2527-2538 อนุกรรมการสร้างแบบทดสอบมาตรฐานวิชาชีววิทยา

 

·   พ.ศ. 2530-2535 อนุกรรมการพิจารณาหลักสูตรชีววิทยา

 

·   พ.ศ. 2533-2538 กรรมการพัฒนาวิชาการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

 

·   พ.ศ. 2526-ปัจจุบัน ผู้ตรวจผลงานทางวิชาการของมหาวิทยาลัยของรัฐหลายแห่ง

 

·   พ.ศ. 2533-ปัจจุบัน อาจารย์พิเศษ / วิทยากรในการสัมมนาทางวิชาการในมหาวิทยาลัยต่างๆ

 

·   พ.ศ. 2538-ปัจจุบัน อนุกรรมการที่ปรึกษาเกี่ยวกับหลักสูตร

 

·   พ.ศ. 2538-2539 คณะทำงานนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา

 

·   พ.ศ. 2539 อนุกรรมการพัฒนาระบบการสอบคัดเลือก ระบบใหม่ กรรมการพัฒนาแบบทดสอบและกรรมการกลั่นกรองข้อสอบชีววิทยา

 

·   พ.ศ. 2540 อนุกรรมการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา

 

·   พ.ศ. 2540 ประธานคณะทำงานกำหนดเกณฑ์การพิจารณาผลการเรียนสะสมของนักเรียน ม.ปลาย  หรือเทียบเท่า ในการคัดเลือกระบบใหม่

 

·   พ.ศ. 2540-2548 อนุกรรมการพัฒนาระบบกำกับดูแลสถาบันการศึกษาเอกชน

 

·   พ.ศ. 2540-2548 กรรมการสภาวิทยาลัยคริสเตียน ผู้แทนทบวงมหาวิทยาลัย

 

·   พ.ศ. 2541-2548 รองประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย

 

·   พ.ศ. 2540-2548 กรรมการพัฒนาวิทยาเขตราชบุรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

 

·   พ.ศ. 2531-2548 อนุกรรมการความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน

 

·   พ.ศ. 2534-2535 กรรมการประเมินความเหมาะสมผู้รับทุนรัฐบาลศึกษาต่อต่างประเทศ ระดับปริญญาโท-เอก

 

·   พ.ศ. 2539-2548 กรรมการโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์ ของ สวทช. กับ สกว.สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ

 

·   พ.ศ. 2539 อนุกรรมการอำนวยการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีปัญญาเลิศ และมีความสามารถพิเศษ

 

·   พ.ศ. 2540 ผู้เชี่ยวชาญ โครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน (การเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมเยาวชนแห่งชาติ

 

·   พ.ศ. 2540 กรรมการแผนพัฒนาเด็กและเยาวชน แผนฯ 8 คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย

 

·   พ.ศ. 2539 ประธานจัดการประชุม 13th Asian Games Scientific Congress ธันวาคม 2541

 

·   พ.ศ. 2540 กรรมการโดยตำแหน่งอธิการบดี ในคณะกรรมการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน  เอเชี่ยนเกมส์ ที่ศูนย์องครักษ์

 

 

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

 

·   พ.ศ. 2534-2540 กรรมการออกข้อสอบและตรวจข้อสอบนักเรียนมัธยมปลาย เพื่อรับทุนรัฐบาลศึกษาต่อต่างประเทศ ระดับปริญญาตรี

 

 

กระทรวงสาธารณสุข

 

·  พ.ศ. 2541 กรรมการโครงการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรผู้บริหารสาธารณสุข

 

 

รัฐสภา

 

·   พ.ศ. 2540 กรรมการสรรหาคณะกรรมการการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญใหม่

 

·   พ.ศ. 2541 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

 

4. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน

 

รศ.ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ เป็นผู้ที่ทำงานสิ่งใดก็ประสบความสำเร็จลุล่วงอย่างดีตามกำหนดเวลาเสมอ เพราะเป็นผู้ที่ทำงานอย่างมีระบบระเบียบ มีวินัยในการทำงาน เป็นแบบอย่างที่ดีของลูกศิษย์และผู้ใต้บังคับบัญชา โดยจะกำหนดนโยบาย เป้าหมาย แผนและแนวทางการดำเนินงานไว้ล่วงหน้า และมุ่งมั่นทำงานตามแผนด้วยความรับผิดชอบ อดทน ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค เป็นผู้มีอุดมการณ์ในการทำงาน โดยยึดมั่นในความถูกต้อง ชอบธรรม ยึดหลักเหตุผล ตามแนวทางของนักวิทยาศาสตร์ และหลักคุณธรรม ความเมตตากรุณา จรรยาบรรณวิชาชีพ และความเป็นครูที่ดี

 

5. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน

 

·      ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ได้ทุ่มเทอุทิศตนให้แก่งานด้านการบริหารการศึกษาและงานด้านวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง และมีบทบาทอย่างสำคัญในการสร้างความเจริญก้าวหน้าด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์ของประเทศ ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิ ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ นายกสมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย นายกสมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ก.ก.อ.) สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กรรมการบริหารมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กรรมการบริหารมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนาวิทยาศาสตร์ศึกษา (สอวน.) กรรมการสภามหาวิทยาลัยหลายแห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กรรมการบริหารโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะกรรมการการอุดมศึกษา คณะกรรมการบริหารโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ประธานมูลนิธิวิทยาศาสตร์ ดร.ปรีชา-ประไพ อมาตยกุล และอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดาในปัจจุบัน เป็นต้น

 

 

6. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

วงการวิทยาศาสตร์ไทยมีบุคลากรที่มีความสามารถสูงไม่แพ้ประเทศอื่น นับวันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยจะก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ จากการที่เราส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษและการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่อง

 

 

7. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล

 

รศ.ดร. คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ เป็นผู้ที่มีส่วนริเริ่มและยกระดับการศึกษาวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย จนเป็นที่ประจักษ์อย่างต่อเนื่องและยาวนาน อดีตเคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ผลงานอันโดดเด่นของท่าน ต่อการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา  ได้แก่  ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการบริหารโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) คัดเลือกให้ทุนการศึกษาแก่ผู้จบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ ศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา คณิตศาสตร์ศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษาในระดับปริญญาโท เพื่อไปบรรจุในโรงเรียนที่มีห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ในภูมิลําเนาของผู้รับทุน และให้ทุนการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกเพื่อผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาเป็นอาจารย์สอนในระดับอุดมศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ทําให้การจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย ในทุกระดับการศึกษาได้ยกระดับคุณภาพ แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประเทศไทยอย่างมั่นคงและยั่งยืน ปัจจุบันแม้เกษียณราชการแล้ว แต่ท่านยังคงทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับคุณภาพวิทยาศาสตร์ ศึกษาของประเทศ และได้สร้างเครือข่ายคนทํางานด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เข้มแข็งมากมายทั่วประเทศทั้งโรงเรียนภาครัฐและเอกชน

 

 

รศ.ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ยังปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างและเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี นำหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนาและของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตและถ่ายทอดให้กับลูกศิษย์และผู้ใต้บังคับบัญชาทุกเมื่อ เมื่อมีโอกาสได้บริจาคเงินทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างสม่ำเสมอ ทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมอยู่เนืองนิตย์ และเน้นเป็นนโยบายของสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดาในการนำความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ให้เป็นประโยชน์เชิงสาธารณะแก่ชุมชนและสังคม การส่งเสริมสนับสนุนและเปิดโอกาสทางการศึกษาและวิชาชีพ ให้กับผู้ด้อยโอกาสและผู้พิการในสังคม เป็นต้น

 

 

8. ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

 

8.1 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ

 

·      พ.ศ. 2547 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

 

·      พ.ศ. 2546 จตุถจุลจอมเกล้า

 

·      พ.ศ. 2541 มหาวชิรมงกุฏ

 

·      พ.ศ. 2539 จักรพรรดิมาลา

 

 

8.2 รางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

 

·      พ.ศ. 2566 รางวัลเกียรติคุณ “โพธิ์ทองคนต้นแบบ” จาก พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

 

·      พ.ศ. 2565 ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย

 

·      พ.ศ. 2565 ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

·      พ.ศ. 2564 EASE Distinguished Award, East-Asian Association of Science Education

 

·      พ.ศ.2539 รางวัลครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น จาก สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์                                                                             

 

 

มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถานที่ติดต่อ :

288/52 อาคารมูลนิธิ มสวท. ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220

Tel. +66(0) 2552-5200 Fax. +66(0) 2551-4422 Email : thaifstt@gmail.com 

Copyright © 2008-2015 หากมีปัญหาในการรับชมกรุณาติดต่อ Webmaster ที่ admin@thaifstt.org