สารบัญ
หน้า
มูลนิธิ มสวท. เข้าร่วมพิธีถวายพานพุ่มและถวายราชสักการระ 12
เพื่อเทิดพระเกียรติ พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย
โครงการมอบทุนการศึกษา ทุุนเยาวชนคุณภาพแห่งปี 2021 14
โครงการทำบุญวัดตากฟ้า พระอารามหลวง จังหวัดนครสวรรค์ 17
โครงการ ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม 21
พิธีประกาศเกียรติคุณ บุคคลคุณภาพแห่งปี 2021 30
บุคคลคุณภาพแห่งปี 2021 32
บุคคลตัวอย่างภาคธุรกิจแห่งปี 2021 34
ทุนเยาวชนคุณภาพแห่งปี 2021 53
ข่าวย่อยวิทยาศาสตร์ 57
โครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม”
ที่มา
สืบเนื่องจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 มีมติเห็นชอบการงดใช้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งในห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป โดยเป็นนโยบายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการดำเนินงานเพื่อลดและเลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (single-use plastic) ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้ roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573 (Thailand's Roadmap on Plastic Waste Management 2018 - 2030)
ฯพณฯ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในขณะนั้น ก็ได้ขับเคลื่อนร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการเป็นต้นแบบที่ดีในการรณรงค์สร้างความรู้ ความเข้าใจ และสร้างความตระหนักให้แก่บุคลากร สถาบันการศึกษา เอกชน และประชาชน โดยได้ให้นโยบาย เพื่อให้เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วน จึงมีการประกาศนโยบายสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักการ BCG (Bio-economy / Circular Economy / Green Economy) ด้วยการงดการใช้พลาสติก และส่งเสริมการวิจัยเพื่อนำขยะพลาสติกเป้าหมายกลับมาใช้ประโยชน์ 100% ตาม Roadmap ซึ่งมี 5 แนวทาง ดังนี้
1. ให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมรณรงค์สร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักให้บุคลากรในสังกัด รวมถึงผู้รับบริการและประชาชนทั่วไป ผ่านช่องทางการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ ภาพอินโฟกราฟิก โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ และตั้งจุดให้บริการถุงผ้าแบบยืม-คืน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลดใช้ไปสู่การเลิกใช้ถุงพลาสติกและพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งอย่างยั่งยืน
2. ให้บุคลากรของหน่วยงาน อว. สถาบันการศึกษา รวมถึงนิสิต นักศึกษา ใช้ถุงผ้า กล่องข้าว และแก้วน้ำส่วนบุคคล แทนการใช้ถุงพลาสติก กล่องโฟม และแก้วน้ำพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ในการรับบริการจากร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ และร้านขายอาหาร
3. ให้ผู้ประกอบการร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ และร้านขายอาหารภายในหน่วยงาน อว. เลือกใช้ถุงหูหิ้ว กล่องข้าว และแก้วน้ำแบบย่อยสลายได้ และงดให้ช้อน ส้อม และหลอดพลาสติก หากไม่ได้รับการร้องขอจากลูกค้าหรือไม่ได้สอบถามลูกค้าก่อน
4. ลดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายยากในการจัดเบรคและอาหารในการประชุมต่างๆ เลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ เช่น ใบตอง กล่องชานอ้อย
5. สนับสนุนงานวิจัยที่นำขยะพลาสติกเป้าหมายกลับมาใช้ประโยชน์ รวมทั้งพลาสติกที่ย่อยสลายได้
วัดจากแดง สร้างประมาณปี พ.ศ. 2325 ชื่อ จากแดง สันนิษฐานว่า มาจากคำว่า จากแตน หมายถึง หมู่บ้านของประชาชนที่อพยพมาจากที่อยู่เดิมในอยุธยา ต่อมาเพี้ยนเสียงเป็น จากแดง มีปูชนียวัตถุโบราณที่สำคัญ ได้แก่ พระพุทธรูป หลวงพ่อหิน และ ธัมเมกขสถูป พระสมันตมหาปัฏฐานเจดีย์ ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่มีความงดงดงามตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา วัดจากแดง เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 บ้านวัดจากแดง ตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีเนื้อที่ 15 ไร่ 2 งาน 56 ตารางวา แวดล้อมด้วยสวนมะพร้าว ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศตะวันตก ติดกับคลองจากแดง ปัจจุบันมีพระภิกษุ จำนวน 60 กว่ารูป วัดจากแดง นอกจากจะเป็นสถานที่จัดกิจกรรมทางพุทธศาสนาแล้ว ยังจัดให้มีสถานที่ปฏิบัติธรรม สำนักเรียนพระอภิธรรม (ภาษาบาลี เพื่อการศึกษาพระไตรปิฏก ที่วัดและทางออนไลน์) ให้กับพระภิกษุ สามเณร และประชาชนทั่วไป และยังมีศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมให้เยาวชนและประชาชนได้เข้าไปศึกษาอีกด้วย
จีวรนาโน (จีวรรีไซเคิล)
การผลิตจีวรรีไซเคิลจะใช้ขยะขวดพลาสติก PET ชนิดใส ขนาด 1.5 ลิตร จำนวน 15 ขวด ผลิตผ้าจีวรได้ จำนวน 1 ผืน หากผลิตผ้าไตรจีวร จำนวน 1 ชุด จะใช้ขวด PET จำนวน 60 ขวด ทั้งนี้ จีวรรีไซเคิลที่วัดจากแดง นับเป็นจีวรรีไซเคิลผืนแรกของประเทศไทย ที่ใช้นวัตกรรมแปรรูปเม็ดพลาสติกด้วยนาโนเทคโนโลยี ในกระบวนการผลิตเป็นเส้นใย เพื่อนำมาทอเป็นผืนผ้าบังสุกุลอย่างดี ส่วนการย้อมสีราชนิยม ก็เป็นไปตามพระวินัย ตามกิจของพระสงฆ์ มีทั้งผ้า 5 ขันฑ์ (ชิ้น) 9 ขันฑ์ (ชิ้น) และสังฆาฎิ 2 ชั้น ซึ่งการผลิตนี้เป็นไปตามหลักพุทธบัญญัติทุกประการ โครงการจีวรรีไซเคิล ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ ถือเป็นหนึ่งในโครงการ OUR Khung BangKachao ซึ่งมูลนิธิชัยพัฒนาได้ร่วมมือกับ 34 องค์กร ในการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สีเขียวของคุ้งบางกะเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ พร้อมทั้งพัฒนาวิถีชีวิตความเป็นอยู่และการเติบโตทางเศรษฐกิจของผู้คนในพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น
นอกเหนือจากการทำจีวรรีไซเคิลแล้ว ทางวัดจากแดงยังมีผลิตภัณฑ์รีไซเคิลอื่นๆอีก ได้แก่ ฝาขวดน้ำดื่ม หลอดดูด แก้วพลาสติก ฉลากติดขวดพลาสติก ถุงใส่แกง (ที่ทำความสะอาดแล้วตากให้แห้ง) ถุงก๊อบแก๊บ สามารถนำไปแปรรูปด้วยกระบวนการไพโรไลซิส (Phyrolysis) หลอมทำเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับใช้ในรถยนต์และเครื่องจักรกลทางการเกษตรได้, กล่องโฟมใส่อาหาร แผ่นโฟม ถาดโฟม เศษโฟม ตาข่ายโฟมห่อผลไม้ หรือโฟมกันกระแทก จัดเป็นพลาสติกชนิดโพลีสไตริน (Polystyrene หรือ PS) สามารถนำมา Upcycling เป็นกระถางต้นไม้, อิฐบล็อก(มวลเบา)ปูพื้น เก้าอี้ม้านั่ง (ใช้ผสมแทนทราย 30%) ทำให้ผลผลิตที่ได้มีน้ำหนักเบา, กล่องนม ในส่วนของแผ่นฟิล์มหน้ากล่องนม และแผ่นฟลอยด์ สามารถนำไปอัดบีบขึ้นรูปเป็นหลังคาบ้าน ฝาผนังบ้าน ทำให้อากาศภายในบ้านเย็นกว่าบ้านปกติ 3 องศา ส่วนกระดาษจะแยกไปรีไซเคิลกับกระดาษทั่วไป, ยางรถยนต์ที่หมดสภาพ สามารถนำมาอัดบีบเป็นบล็อกปูพื้นถนนได้ ส่วนขยะสดของวัดรวมเศษใบไม้ มีประมาณ 120-130 กิโลกรัมต่อวัน ทางวัดใช้วิธีกำจัดโดยทำเป็นปุ๋ยหมักและก๊าซชีวภาพ ทั้งนี้ วัดจากแดง จะไม่เลี้ยงแมวและสุนัข หากมีพลัดหลงเข้ามา จะถูกกันออกไปอยู่บริเวณอื่น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสกปรกภายในพื้นที่ของวัดอีกด้วย
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 1
เมื่อต้นปี พ.ศ. 2563 ประเทศไทยมีการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ทำให้มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาและมีผู้เสียชีวิต ประชาชนได้รับผลกระทบด้านสุขภาพ สังคมและเศรษฐกิจอย่างมาก รัฐบาลจึงได้มีมาตรการขอความร่วมมือให้ประชาชนปรับพฤติกรรมการอยู่ร่วมกัน ให้ความสำคัญกับการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) งดกิจกรรมทางสังคม เน้นอยู่บ้านให้มากที่สุดตามนโยบาย "อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ" ซึ่งผลจากการหยุดทำกิจกรรมนอกบ้านของทุกภาคส่วนไม่ว่าจะภาครัฐ ภาคเอกชน ที่ให้ข้าราชการ พนักงานของรัฐ และพนักงานบริษัท องค์กรต่างๆ ทำงานจากที่บ้าน (Work from home) งดการจัดกิจกรรมทุกประเภท และมีมาตรการเข้มงวดกับภาคประชาชนในการเดินทางข้ามจังหวัด ทำให้ประชาชนออกจากบ้านน้อยลง และนิยมหันมาสั่งซื้ออาหารและเครื่องดื่มแบบเดลิเวอรี่กันมากขึ้น จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่เพิ่มปริมาณขยะจำนวนมาก โดยเฉพาะขยะพลาสติก ได้แก่ ขวดน้ำดื่ม แก้วพลาสติก ช้อนส้อม หลอดดูด กล่องใส่อาหารพลาสติก กล่องโฟมสำหรับใส่อาหาร เป็นต้น
ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เล็งเห็นปัญหาขยะพลาสติกที่เกิดขึ้น จากนโยบายทำงานจากที่บ้าน (work from home) อันเนื่องมาจากมาตรการ อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ซึ่งจะสร้างปริมาณขยะพลาสติกจำนวนมาก จึงได้ริเริ่มทำ โครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” โดยเริ่มที่ตนเองและทีมงานจิตอาสา ช่วยกันเก็บ รวบรวม และคัดแยกขยะพลาสติกที่เกิดขึ้นจากการบริโภคในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ขวดพลาสติกใสที่ใช้บรรจุน้ำดื่ม (PET), แก้วน้ำพลาสติก, หลอดดูด, ช้อนส้อมพลาสติก, จานโฟมใส่อาหาร, ตาข่ายโฟมห่อผลไม้, ถุงพลาสติกใสที่ใช้งานแล้ว, กล่องนม กล่องใส่กะทิ ที่ล้างทำความสะอาดแล้ว เป็นต้น นำไปบริจาคพร้อมกับร่วมบริจาคเงินทำบุญที่วัดจากแดง จังหวัดสมุทรปราการ ในวันที่ 6 มิถุนายน 2563 เพื่อให้ทางวัดได้ดำเนินการคัดแยกประเภทพลาสติก เพื่อดำเนินการกำจัดตามหลักวิธีที่มีประสิทธิภาพต่อไป (แปรรูปเป็น จีวรรีไซเคิล, เก้าอี้ม้านั่ง, กระถางต้นไม้, อิฐบล็อกมวลเบา, น้ำมันเชื้อเพลิง ฯลฯ) ซึ่งเป็นการบริจาคที่คุ้มค่ามาก เพราะได้ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแล้วยังเป็นการร่วมทำบุญสร้างกุศลอีกด้วย และที่สำคัญเป็นการปลูกฝังให้จิตอาสาของมูลนิธิได้มีจิตสำนึกและร่วมรับผิดชอบต่อสังคม ในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยตามหลักการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 2
เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2563 ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้นำขวดน้ำดื่ม PET (Polyethylene Terephthalate : โพลีเอทิลีน เทเรฟทาเลต) ชนิดใส ถุงพลาสติกใสที่ผ่านการใช้งานแล้ว แก้วพลาสติก หลอดดูด ช้อนส้อมพลาสติก จานโฟมใส่อาหาร ตาข่ายโฟมห่อผลไม้ เป็นต้น นำไปบริจาคพร้อมกับร่วมบริจาคเงินทำบุญที่วัดจากแดง จังหวัดสมุทรปราการ (ปัจจุบันวัดจากแดง มีพระภิกษุและสามเณร ประมาณ 60 รูป) เพื่อให้ทางวัดได้ดำเนินการคัดแยกประเภทพลาสติก เพื่อดำเนินการกำจัดตามหลักวิธีที่มีประสิทธิภาพต่อไป (แปรรูปเป็น จีวรรีไซเคิล, เก้าอี้ม้านั่ง, กระถางต้นไม้, อิฐบล็อกมวลเบา, น้ำมันเชื้อเพลิง ฯลฯ) ซึ่งเป็นการบริจาคที่คุ้มค่ามาก เพราะได้ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแล้วยังเป็นการร่วมทำบุญสร้างกุศลอีกด้วย และที่สำคัญเป็นการปลูกฝังให้จิตอาสาของมูลนิธิได้มีจิตสำนึกและร่วมรับผิดชอบต่อสังคม ในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยตามหลักการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 3
เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2564 ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้นำเอาขยะพลาสติก ได้แก่ ถุงพลาสติกใสที่ใช้แล้ว แก้วน้ำดื่มพลาสติก หลอดดูดกาแฟ กล่องนม ข้อน-ส้อม จาน โฟมใส่อาหาร ตาข่ายโฟมห่อผลไม้ เป็นต้น ที่ทางทีมจิตอาสาได้เก็บรวบรวมและคัดแยกไว้แล้ว เพื่อนำไปบริจาคให้กับทางวัดจากแดง เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตจีวรนาโน น้ำมันเชื้อเพลิง ฯลฯ และยังได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญกับทางวัด ซึ่งปัจจุบันมีพระภิกษุและสามเณรบวชเรียน ประมาณ 60 รูป
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 4
ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2564 เพื่อนำขยะขวดพลาสติกใส PET ถุงพลาสติกใสที่ใช้งานแล้ว แก้วน้ำดื่มพลาสติก หลอดดูดกาแฟ กล่องนม ข้อน-ส้อม จาน โฟมใส่อาหาร ตาข่ายโฟมห่อผลไม้ ไปบริจาคให้กับทางวัดจากแดงเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตจีวรนาโน น้ำมันเชื้อเพลิง หลังคาและผนังบ้านจากกล่องนม อิฐมวลเบาและม้านั่งที่ทำจากวัสดุโฟม ฯลฯ และยังได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญกับทางวัด ปัจจุบันมีพระภิกษุบวชเรียน ประมาณ 60 รูป
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 5
เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2564 ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจาก เพื่อนำขยะขวดพลาสติกใส PET ถุงพลาสติกใสที่ใช้แล้ว ไปบริจาคให้กับทางวัดจากแดงเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตจีวรนาโน และกล่องนม UHT นำไปใช้ผลิตเป็นฝากั้นห้อง ทำกุฏิพระจากกล่องนม กุฏิรีไซเคิล สำหรับพระวัดจากแดง พร้อมทั้งยังได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญกับทางวัด ซึ่งปัจจุบัน (ในช่วงสถานการณ์โควิด-19) มีพระภิกษุบวชเรียน ประมาณ 51 รูป
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 6
เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2564 ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง เพื่อนำขยะขวดพลาสติกใส PET ถุงพลาสติกใส แก้วกาแฟ หลอดดูดน้ำพลาสติก กล่องใส่ขนมและอาหารแบบเดลิเวอรี่ กล่องนม UHT โฟมห่อผลไม้ ที่ผ่านการใช้งานแล้ว นำมาทำความสะอาดเบื้องต้น แล้วรวบรวมนำไปบริจาค พร้อมได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญกับทางวัดจากแดง ซึ่งปัจจุบัน (ในช่วงสถานการณ์โควิด-19) มีพระภิกษุบวชเรียน ประมาณ 51 รูป
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 7
ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2564 เพื่อนำขยะขวดพลาสติกใส PET ถุงพลาสติกใส แก้วกาแฟ หลอดดูดน้ำพลาสติก กล่องพลาสติกใสสำหรับใส่ขนมและอาหารแบบเดลิเวอรี่ กล่องนม UHT โฟมห่อผลไม้ ที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้นำมาทำความสะอาดในเบื้องต้นและรวบรวมมาบริจาคในครั้งนี้ พร้อมได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญกับทางวัดจากแดง (ปัจจุบันมีพระภิกษุบวชเรียน ประมาณ 60 รูป)
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 8
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565 ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เพื่อนำขยะขวดพลาสติกใส PET ถุงพลาสติกใส กล่องนม UHT ที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้นำมาทำความสะอาดในเบื้องต้นและรวบรวมมาบริจาคในครั้งนี้ พร้อมได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญกับทางวัดจากแดง ซึ่งปัจจุบันมีพระภิกษุบวชเรียน ประมาณ 60 กว่ารูป
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 9
ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2565 เพื่อนำขยะขวดพลาสติกใส PET ถุงพลาสติกใส ถาดโฟมใส่อาหาร กล่องนม UHT ที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้นำมาทำความสะอาดในเบื้องต้นและรวบรวมมาบริจาคในครั้งนี้ พร้อมได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญกับทางวัดจากแดง ซึ่งปัจจุบันมีพระภิกษุบวชเรียน ประมาณ 60 กว่ารูป
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 10
เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2565 ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เพื่อนำขยะขวดพลาสติกใส PET ถุงพลาสติกใส ถาดโฟมใส่อาหาร กล่องนม UHT ที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้นำมาทำความสะอาดในเบื้องต้นและรวบรวมมาบริจาคในครั้งนี้ พร้อมได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญกับทางวัดจากแดง ซึ่งปัจจุบันมีพระภิกษุบวชเรียน ประมาณ 60 กว่ารูป
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 11
ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เพื่อนำขยะขวดพลาสติกใส PET ถุงพลาสติกใส ถาดโฟมใส่อาหาร กล่องนม UHT ที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้นำมาทำความสะอาดในเบื้องต้นและรวบรวมมาบริจาคในครั้งนี้ พร้อมได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2565 ปัจจุบันวัดจากแดงมีพระภิกษุบวชเรียน ประมาณ 60 รูป
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 12
เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2565 ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เพื่อนำขวดพลาสติกใส PET ถุงพลาสติกใส ถาดโฟมใส่อาหาร กล่องนม UHT ที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้นำมาทำความสะอาดในเบื้องต้นและรวบรวมมาบริจาคในครั้งนี้ พร้อมได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญกับทางวัดจากแดง ซึ่งปัจจุบันมีพระภิกษุบวชเรียน ประมาณ 60 กว่ารูป
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 13
ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เพื่อนำขวดพลาสติกใส PET ถุงพลาสติกใส ถาดโฟมใส่อาหาร กล่องนม UHT ที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้นำมาทำความสะอาดในเบื้องต้นและรวบรวมมาบริจาคในครั้งนี้ พร้อมได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญกับทางวัดจากแดง เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2565 ปัจจุบันมีพระภิกษุบวชเรียน ประมาณ 60 รูป
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 14
เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2566 ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เพื่อนำขวดพลาสติกใส PET ถุงพลาสติกใส ถาดโฟมใส่อาหาร กล่องนม UHT ที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้นำมาทำความสะอาดในเบื้องต้นและรวบรวมมาบริจาคในครั้งนี้ พร้อมได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญกับทางวัดจากแดง ปัจจุบันมีพระภิกษุและสามเณรบวชเรียน ประมาณ 60 รูป
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 15
ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เพื่อนำขวดพลาสติกใส PET ขนาด 1.5 ลิตร และ 5 ลิตร ถุงและภาชนะพลาสติกใส ถาดโฟมใส่อาหาร กล่องนม UHT ที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้นำมาทำความสะอาดในเบื้องต้นและรวบรวมมาบริจาคในครั้งนี้ พร้อมได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญกับทางวัดจากแดง เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2566
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 16
เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2566 ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เพื่อนำขวดพลาสติกใส PET ขนาด 1.5 ลิตร และ 5 ลิตร ถุงและภาชนะพลาสติกใส ถาดโฟมใส่อาหาร กล่องนม UHT ที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้นำมาทำความสะอาดในเบื้องต้นและรวบรวมมาบริจาคในครั้งนี้ พร้อมได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญกับทางวัดจากแดง
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 17
ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2566 เพื่อนำขวดพลาสติกใส PET ขนาด 1.5 ลิตร ถุงและภาชนะพลาสติกใส ถาดโฟมใส่อาหาร กล่องนม UHT ที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้นำมาทำความสะอาดในเบื้องต้นและรวบรวมมาบริจาคในครั้งนี้ พร้อมได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญกับทางวัดจากแดง
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 18
เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2566 ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เพื่อนำขวดพลาสติกใส PET ขนาด 1.5 ลิตร ถุงและภาชนะพลาสติกใส ถาดโฟมใส่อาหาร กล่องนม UHT ที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้นำมาทำความสะอาดในเบื้องต้น คัดแยกประเภท รวบรวมมาบริจาค พร้อมร่วมบริจาคปัจจัยทำบุญกับทางวัดจากแดงเพื่อช่วยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้สืบต่อไปอีกด้วย ปัจจุบัน วัดกำลังจัดทำโครงการก่อสร้างอาคารเรียนพระไตรปิฏกจากวัสดุรีไซเคิล ซึ่งจะเป็นอาคารต้นแบบที่รักษ์สิ่งแวดล้อมและโลกให้ชาวไทยได้ศึกษาเรียนรู้กันต่อในอนาคต
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 19
ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2566 เพื่อนำขวดพลาสติกใส PET ขนาด 1.5 ลิตร และ 5.0 ลิตร ถุงและภาชนะพลาสติกใสและถาดโฟมที่ใช้ใส่อาหารแบบเดลิเวอรี่ ขวดพลาสติกบรรจุเครื่องดื่มชนิดใสและขุ่น แก้วน้ำพลาสติก กล่องนม UHT ที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้นำมาทำความสะอาดในเบื้องต้น คัดแยกประเภท รวบรวมมาบริจาค พร้อมร่วมบริจาคปัจจัยทำบุญกับทางวัดจากแดงเพื่อช่วยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้สืบต่อไปอีกด้วย ปัจจุบัน วัดกำลังจัดทำโครงการก่อสร้างอาคารเรียนพระไตรปิฏกจากวัสดุรีไซเคิล ซึ่งจะเป็นอาคารต้นแบบที่รักษ์สิ่งแวดล้อมและโลกให้ชาวไทยได้ศึกษาเรียนรู้กันต่อในอนาคต
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 20
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2566 ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เพื่อนำขวดพลาสติกใส PET ขนาด 1.5 ลิตร ถุงและภาชนะพลาสติกใส และถาดโฟมใส่อาหารแบบเดลิเวอรี่ ขวดพลาสติกบรรจุเครื่องดื่มชนิดใสและขุ่น แก้วน้ำพลาสติก กล่องนม UHT ที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้นำมาทำความสะอาดในเบื้องต้น คัดแยกประเภท รวบรวมมาบริจาค พร้อมร่วมบริจาคปัจจัยทำบุญกับทางวัดจากแดงเพื่อช่วยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้สืบต่อไปอีกด้วย ปัจจุบัน วัดกำลังจัดทำโครงการก่อสร้างอาคารเรียนพระไตรปิฏกจากวัสดุรีไซเคิล ซึ่งจะเป็นอาคารต้นแบบที่รักษ์สิ่งแวดล้อมและโลกให้ชาวไทยได้ศึกษาเรียนรู้กันต่อในอนาคต
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 21
ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2566 เพื่อนำขวดพลาสติกใส PET ขนาด 1.5 ลิตร ถุงและภาชนะพลาสติกใส และถาดโฟมใส่อาหารแบบเดลิเวอรี่ ขวดพลาสติกบรรจุเครื่องดื่มชนิดใสและขุ่น แก้วน้ำพลาสติก กล่องนม UHT ที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้นำมาทำความสะอาดในเบื้องต้น คัดแยกประเภท รวบรวมมาบริจาค พร้อมร่วมบริจาคปัจจัยทำบุญกับทางวัดจากแดงเพื่อช่วยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้สืบต่อไปอีกด้วย ปัจจุบัน วัดกำลังจัดทำโครงการก่อสร้างอาคารเรียนพระไตรปิฏกจากวัสดุรีไซเคิล ซึ่งจะเป็นอาคารต้นแบบที่รักษ์สิ่งแวดล้อมและโลกให้ชาวไทยได้ศึกษาเรียนรู้กันต่อในอนาคต ปัจจุบันมีพระภิกษุสงฆ์และสามเณร รวม 66 รูป
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 22
เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2567 ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เพื่อนำขวดพลาสติกใส PET ขนาด 1.5 ลิตร และ 5 ลิตร พร้อมถุงและภาชนะพลาสติกใส และถาดโฟมใส่อาหารแบบเดลิเวอรี่ ขวดพลาสติกบรรจุเครื่องดื่มชนิดใสและขุ่น แก้วน้ำพลาสติก กล่องนม UHT ที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้นำมาทำความสะอาดในเบื้องต้น คัดแยกประเภท รวบรวมมาบริจาค พร้อมร่วมบริจาคปัจจัยทำบุญกับทางวัดจากแดงเพื่อช่วยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้สืบต่อไปอีกด้วย ปัจจุบัน วัดกำลังจัดทำโครงการก่อสร้างอาคารเรียนพระไตรปิฏกจากวัสดุรีไซเคิล ซึ่งจะเป็นอาคารต้นแบบที่รักษ์สิ่งแวดล้อมและโลกให้ชาวไทยได้ศึกษาเรียนรู้กันต่อในอนาคต ปัจจุบันมีพระภิกษุสงฆ์และสามเณร รวม 60 กว่ารูป
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 23
ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2567 เพื่อนำขวดพลาสติกใส PET ขนาด 1.5 ลิตร พร้อมขวดพลาสติกบรรจุเครื่องดื่มชนิดใสและชนิดขุ่น ถุงและภาชนะพลาสติกใส ถาดโฟมใส่อาหารแบบเดลิเวอรี่ แก้วน้ำพลาสติก และกล่องนม UHT ที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้นำมาทำความสะอาดในเบื้องต้น คัดแยกประเภท รวบรวมมาบริจาค พร้อมร่วมบริจาคปัจจัยทำบุญกับทางวัดจากแดงเพื่อช่วยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้สืบต่อไปอีกด้วย ปัจจุบัน วัดกำลังจัดทำโครงการก่อสร้างอาคารเรียนพระไตรปิฏกจากวัสดุรีไซเคิล ซึ่งจะเป็นอาคารต้นแบบที่รักษ์สิ่งแวดล้อมและโลกให้ชาวไทยได้ศึกษาเรียนรู้กันต่อในอนาคต ปัจจุบันมีพระภิกษุสงฆ์และสามเณร รวม 60 กว่ารูป
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 24
เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2567 ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เพื่อนำขวดพลาสติกใส PET ขนาด 1.5 ลิตร พร้อมขวดพลาสติกบรรจุเครื่องดื่มชนิดใสและชนิดขุ่น ถุงและภาชนะพลาสติกใส ถาดโฟมใส่อาหารแบบเดลิเวอรี่ แก้วน้ำพลาสติก และกล่องนม UHT ที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้นำมาทำความสะอาดในเบื้องต้น คัดแยกประเภท รวบรวมมาบริจาค พร้อมร่วมบริจาคปัจจัยทำบุญกับทางวัดจากแดงเพื่อช่วยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้สืบต่อไปอีกด้วย ปัจจุบัน วัดกำลังจัดทำโครงการก่อสร้างอาคารเรียนพระไตรปิฏกจากวัสดุรีไซเคิล ซึ่งจะเป็นอาคารต้นแบบที่รักษ์สิ่งแวดล้อมและโลกให้ชาวไทยได้ศึกษาเรียนรู้กันต่อในอนาคต ปัจจุบันวัดจากแดงมีพระภิกษุไทยและพระเถระต่างชาติ อยู่จำวัดกว่า 30 รูป ส่วนในช่วงเปิดภาคเรียนพระปริยัติะรรม จะมีพระภิกษุประมาณ 60 กว่ารูป)
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 25
ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2567 เพื่อบริจาคขวดพลาสติกใส PET ขนาด 1.5 ลิตร พร้อมภาชนะพลาสติกที่ใช้บรรจุอาหารเดลิเวอรี่ ขวดบรรจุเครื่องดื่มชนิดใสและชนิดขุ่น ถุงพลาสติกที่ใช้ใส่เครื่องดื่ม อาหาร หรือห่อหุ้มพัสดุ ที่ผ่านการใช้งานแล้ว หลอดกาแฟ แก้วน้ำ ช้อนส้อม และกล่องนม UHT กล่องข้าว จานโฟมใส่อาหารที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้เก็บรวบรวมแล้วนำมาทำความสะอาดในเบื้องต้น (เพื่อให้ทางวัดได้นำไปรีไซเคิลใหม่เป็นผ้าจีวรนาโน, ชุด PPE, น้ำมันเชื้อเพลิง, กุฏิสงฆ์, อาคารเรียน, อิฐปูพื้น) และได้ร่วมบริจาคเงินกับทางวัดเพื่อใช้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้สืบไป โดยปัจจุบันวัดจากแดง มีพระภิกษุประมาณ 60 กว่ารูป ส่วนใหญ่เป็นพระภิกษุชาวไทย และมีพระเถระต่างชาติ ด้วย โดยทางวัดได้เปิดโครงการศึกษาพระไตรปิฎกให้กับพระภิกษุ นักบวช ฆราวาส อุบาสก และอุบาสิกา ทั้งชาวไทยและต่างชาติ (เอเชีย ยุโรป) รวมกว่า 400 รูป/คน ในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ อีกด้วย
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 26
เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2567 ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เพื่อบริจาคขวดพลาสติกใส PET ขนาด 1.5 ลิตร พร้อมภาชนะพลาสติกที่ใช้บรรจุอาหารเดลิเวอรี่ ขวดบรรจุเครื่องดื่มชนิดใสและชนิดขุ่น ถุงพลาสติกที่ใช้ใส่เครื่องดื่ม อาหาร หรือห่อหุ้มพัสดุ ที่ผ่านการใช้งานแล้ว หลอดกาแฟ แก้วน้ำ ช้อนส้อม และกล่องนม UHT กล่องข้าว จานโฟมใส่อาหารที่ผ่านการใช้งานแล้ว (รอบนี้มีกล่องของจิตอาสาไม่ประสงค์ออกนามร่วมบริจาคด้วย) โดยจิตอาสาได้เก็บรวบรวมแล้วนำมาทำความสะอาดในเบื้องต้น เพื่อให้ทางวัดได้นำไปรีไซเคิลใหม่เป็นผ้าจีวรนาโน, ชุด PPE, น้ำมันเชื้อเพลิง, กุฏิสงฆ์, อาคารเรียน, อิฐปูพื้น ฯลฯและได้ร่วมบริจาคเงินกับทางวัดเพื่อใช้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้สืบไป วัดจากแดงปัจจุบัน มีพระภิกษุประมาณ 60 รูป เป็นพระภิกษุชาวไทยและพระเถระต่างชาติ และยังมีสามเณรประมาณ 4-5 รูปด้วย ปกติทางวัดได้เปิดโครงการศึกษาพระไตรปิฎกให้กับพระภิกษุ นักบวช ฆราวาส อุบาสก และอุบาสิกา ทั้งชาวไทยและต่างชาติ (เอเชีย ยุโรป) รวมกว่า 400 รูป/คน ในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ อีกด้วย
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 27
เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2567 ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เพื่อบริจาคขวดพลาสติกใส PET ขนาด 1.5 ลิตร และ 5 ลิตร พร้อมภาชนะพลาสติกที่ใช้บรรจุอาหารเดลิเวอรี่ ขวดบรรจุเครื่องดื่มชนิดใสและชนิดขุ่น ถุงพลาสติกที่ใช้ใส่เครื่องดื่ม อาหาร หรือห่อหุ้มพัสดุ ที่ผ่านการใช้งานแล้ว หลอดกาแฟ แก้วน้ำ ช้อนส้อม และกล่องนม UHT กล่องข้าว จานโฟมใส่อาหารที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้เก็บรวบรวมแล้วนำมาทำความสะอาดในเบื้องต้น เพื่อให้ทางวัดได้นำไปรีไซเคิลใหม่เป็นผ้าจีวรนาโน, ชุด PPE, น้ำมันเชื้อเพลิง, กุฏิสงฆ์, อาคารเรียน, อิฐปูพื้น ฯลฯและได้ร่วมบริจาคเงินกับทางวัดเพื่อใช้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้สืบไป วัดจากแดงปัจจุบัน มีพระภิกษุประมาณ 68 รูป ซึ่งเป็นพระภิกษุชาวไทยและสามเณร มีพระเถระต่างชาติ 10 กว่ารูป ปกติทางวัดได้เปิดโครงการศึกษาพระไตรปิฎกให้กับพระภิกษุ นักบวช ฆราวาส อุบาสก และอุบาสิกา ทั้งชาวไทยและต่างชาติ (เอเชีย ยุโรป) รวมกว่า 400 รูป/คน ในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ อีกด้วย
เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2567 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงติดตามงานโครงการ Our Khung Bangkachao ที่จังหวัดสมุทรปราการ และทรงเปิดศูนย์วัฏสสาร (ศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะ) ณ วัดจากแดง ซึ่งบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ได้พัฒนาอาคารเก่าของวัดจากแดง เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านการจัดการขยะครบวงจร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการจัดการขยะให้กับประชาชนทั่วไป ตามแนวคิด เปลี่ยนขยะให้เป็นบุญ นอกจากจะเป็นการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพแล้ว ยังสร้างงานและความมีส่วนร่วมให้กับชุมชน ช่วยลดปริมาณขยะในพื้นที่และเพิ่มมูลค่าให้กับขยะ โดยนำไป Upcycling ให้เป็นวัสดุใหม่ ได้แก่ ขวดพลาสติกใส นำไปทำเป็นผ้าไตรจีวร เสื้อผ้า หมวก กระเป๋า, ฝาขวด นำไปทำเป็นโต๊ะ เก้าอี้ ถนนราดยางพลาสติก, ฉลากขวด นำไปทำเป็นเชื้อเพลิง, พลาสติกอื่นๆ นำไปทำเป็นอิฐบล็อกปูพื้น เป็นต้น
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 28
เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2567 ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เพื่อบริจาคขวดพลาสติกใส PET ขนาด 1.5 ลิตร และ 5 ลิตร พร้อมภาชนะพลาสติกที่ใช้บรรจุอาหารเดลิเวอรี่ ขวดบรรจุเครื่องดื่มชนิดใสและชนิดขุ่น ถุงพลาสติกที่ใช้ใส่เครื่องดื่ม อาหาร หรือห่อหุ้มพัสดุ ที่ผ่านการใช้งานแล้ว หลอดกาแฟ แก้วน้ำ ช้อนส้อม และกล่องนม UHT กล่องข้าว จานโฟมใส่อาหารที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้เก็บรวบรวม เพื่อนำไปให้ทางวัดได้นำไป Upcycling ใหม่เป็นผ้าจีวรนาโน, ชุด PPE, น้ำมันเชื้อเพลิง, กุฏิสงฆ์, อาคารเรียน, อิฐปูพื้น ฯลฯและได้ร่วมบริจาคเงินกับทางวัดเพื่อใช้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้สืบไป วัดจากแดงปัจจุบัน มีพระภิกษุและสามเณร ประมาณ 50 กว่ารูป ซึ่งเป็นพระภิกษุชาวไทยและสามเณร มีพระเถระต่างชาติ 10 กว่ารูป ปกติทางวัดได้เปิดโครงการศึกษาพระไตรปิฎกให้กับพระภิกษุ นักบวช ฆราวาส อุบาสก และอุบาสิกา ทั้งชาวไทยและต่างชาติ (เอเชีย ยุโรป) รวมกว่า 400 รูป/คน ในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ อีกด้วย
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 29
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เพื่อบริจาคขวดพลาสติกใส PET ขนาด 1.5 ลิตร พร้อมภาชนะพลาสติกที่ใช้บรรจุอาหารเดลิเวอรี่ ขวดบรรจุเครื่องดื่มชนิดใสและชนิดขุ่น ถุงพลาสติกที่ใช้ใส่เครื่องดื่ม อาหาร หรือห่อหุ้มพัสดุ ที่ผ่านการใช้งานแล้ว หลอดกาแฟ แก้วน้ำ ช้อนส้อม และกล่องนม UHT กล่องข้าว จานโฟมใส่อาหารที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้เก็บรวบรวม เพื่อนำไปให้ทางวัดได้นำไป Upcycling ใหม่เป็นผ้าจีวรนาโน, ชุด PPE, น้ำมันเชื้อเพลิง, กุฏิสงฆ์, อาคารเรียน, อิฐปูพื้น ฯลฯและได้ร่วมบริจาคเงินกับทางวัดเพื่อใช้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้สืบไป วัดจากแดงปัจจุบัน มีพระภิกษุและสามเณร ประมาณ 50-60 รูป ซึ่งเป็นพระภิกษุชาวไทยและสามเณร มีพระเถระต่างชาติ 10 กว่ารูป ปกติทางวัดได้เปิดโครงการศึกษาพระไตรปิฎกให้กับพระภิกษุ นักบวช ฆราวาส อุบาสก และอุบาสิกา ทั้งชาวไทยและต่างชาติ (เอเชีย ยุโรป) รวมกว่า 400 รูป/คน ในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ อีกด้วย
การบริจาคขยะพลาสติกในโครงการ “ร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม” ครั้งที่ 30
ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2568 เพื่อบริจาคขวดพลาสติกใส PET ขนาด 1.5 ลิตร พร้อมภาชนะพลาสติกที่ใช้บรรจุอาหารเดลิเวอรี่ ขวดบรรจุเครื่องดื่มชนิดใสและชนิดขุ่น ถุงพลาสติกที่ใช้ใส่เครื่องดื่ม อาหาร หรือห่อหุ้มพัสดุ ที่ผ่านการใช้งานแล้ว หลอดกาแฟ แก้วน้ำ ช้อนส้อม และกล่องนม UHT กล่องข้าว จานโฟมใส่อาหารที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้เก็บรวบรวมเพื่อให้ทางวัดได้นำไป Upcycling เป็นวัสดุใหม่ ได้แก่ ผ้าจีวรนาโน, ชุด PPE, น้ำมันเชื้อเพลิง, กุฏิสงฆ์, อาคารเรียน, อิฐปูพื้น ฯลฯ พร้อมกันนี้ได้ร่วมบริจาคเงินกับทางวัดเพื่อใช้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้สืบไป วัดจากแดงปัจจุบัน มีพระภิกษุและสามเณร ประมาณ 50 กว่า รูป ซึ่งเป็นพระภิกษุชาวไทยและสามเณร มีพระเถระต่างชาติ 10 กว่ารูป ปกติทางวัดได้เปิดโครงการศึกษาพระไตรปิฎกให้กับพระภิกษุ นักบวช ฆราวาส อุบาสก และอุบาสิกา ทั้งชาวไทยและต่างชาติ (เอเชีย ยุโรป) รวมกว่า 400 รูป/คน ในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์
โครงการจีวรรีไซเคิล ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ ถือเป็นหนึ่งในโครงการ OUR Khung BangKachao ของมูลนิธิชัยพัฒนา ซึ่งเป็นโครงการที่สนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ว่าควรสงวนพื้นที่บางกระเจ้าแห่งนี้ไว้ (คุ้มบางกะเจ้า เป็นพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ใกล้เมือง ล้อมรอบด้วยลำน้ำเจ้าพระยา อยู่ในอ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ครอบคลุมพื้นที่ 6 ตำบล ได้แก่ ต.บางกะเจ้า ต.บางน้ำผึ้ง ต.บางกอบัว ต.บางกระสอบ ต.บางยอ และต.ทรงคนอง) เพื่อเป็นพื้นที่สีเขียวและคงความเป็นปอดของคนเมือง เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่ลมมรสุมจากอ่าวไทย จะพัดพาอากาศบริสุทธิ์ในพื้นที่แห่งนี้เข้าไปไล่อากาศเสียในกรุงเทพมหานครเป็นเวลาปีละ 9 เดือน มูลนิธิชัยพัฒนาได้ประสานกับหลายภาคส่วนร่วมกันเป็นภาคีเครือข่าย มุ่งเน้นการพัฒนา 6 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาพื้นที่สีเขียว การจัดการน้ำ การจัดการขยะ การส่งเสริมอาชีพ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน รวมถึงการพัฒนาเยาวชน การศึกษา และวัฒนธรรม ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2561-2566 โครงการฯ มีเครือข่ายภาคีเพิ่มขึ้นเป็น 113 องค์กร
ปัจจุบัน ทางวัดจากแดงก็ได้เปิดโครงการ ส่งขยะกลับบ้าน โดยเปิดรับบริจาค เสื้อผ้าเก่า ผ้าขาดที่ใช้ไม่ได้แล้ว ชุดยูนิฟอร์มพนักงาน ถุงเท้า ชุดชั้นในเก่า,เก่า เพื่อจะนำไปสู่กระบวนการรีไซเคิลเส้นใยแล้วนำไปฟอกย้อมเพื่อนำกลับมาใช้ผลิตเสื้อผ้าใหม่ ท่านใดสนใจจะส่งขยะเหล่านี้กลับบ้าน สามารถติดต่อกับทางวัดได้โดยตรง
วัดจากแดงนอกเหนือจากจะเป็นศาสนสถานสำหรับประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนาแล้ว ทางวัดยังเปิดหลักสูตรอบรมพระปริยัติธรรมให้กับพระภิกษุไทยและพระเถระต่างชาติ (อังกฤษ สเปน โปรตุเกส อินโดนีเซีย กัมพูชา พม่า ลาว เวียดนาม จีน ศรีลังกา เป็นต้น) รวมสามเณรและพุทธบริษัททั่วไปทั้งชาวไทยและต่างชาติอีกด้วย นอกจากนี้ วัดจากแดงยังเป็นศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมให้กับนักเรียน นักศึกษา องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป ในการคัดแยกขยะ การแปรรูปเศษอาหาร การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ฯลฯ ซึ่งถือเป็นสถานที่ที่มีความพร้อมมากในการนำขยะพลาสติก โฟม กล่องนม UHT ที่ได้รับบริจาคไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลที่เหมาะสม เช่น ขวดพลาสติกใส PET นำไปทำเป็นผ้าจีวรนาโน (ฝีมือตัดเย็บจีวรโดยกลุ่มแม่บ้านในชุมชน) หรือชุด PPE สำหรับใช้ในสถานการณ์โควิด 19, กุฏิสงฆ์จากกล่องนม UHT, น้ำมันเชื้อเพลิงจากถุงพลาสติก หรือขวดพลาสติก เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีการที่ช่วยลดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณการทำลายระบบนิเวศ ช่วยลดภาวะโลกร้อน อีกทั้งยังเป็นการสร้างงานให้กับคนยากจนและผู้ด้อยโอกาสที่วัดจากแดงได้ดูแล ถือว่าเป็นวิธีการกำจัดขยะที่ถูกสุขลักษณะและเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และประเทศชาติ ซึ่งหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ สามารถนำวิธีการนี้ไปเป็นตัวอย่างในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมต่อไป
โครงการนี้แม้เป็นโครงการเล็กๆ แต่ให้คุณประโยชน์มหาศาลต่อสุขภาพและชีวิตของคน พืช และสัตว์ ในระยะยาว เพราะวิถีชีวิตคนในเมืองที่มีความเร่งรีบและต้องใช้ชีวิตแข่งกับเวลาอยู่ทุกวัน ย่อมเป็นเรื่องยากที่จะรณรงค์ให้ผู้คนในเมืองส่วนใหญ่ลดการใช้พลาสติกได้อย่างแท้จริง หากปล่อยให้ทางภาครัฐจัดการขยะพลาสติกเหล่านี้เองตามลำพัง ด้วยวิธีการทำลายแบบฝังกลบ (ใช้เวลาอีกยาวนานกว่าจะขยะพลาสติกจะย่อยสลาย) ซึ่งอาจทำให้เกิดการตกหล่นไปอุดตันในท่อระบายน้ำ หรือไปตกหล่นอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้เกิดแหล่งเพาะเชื้อโรค ขยะบางส่วนจะถูกกำจัดโดยวิธีที่ไม่ถูกต้อง เช่น เทกองรวมกัน การเผาในเตาแบบไม่มีระบบบำบัดมลพิษทางอากาศ การเผากำจัดกลางแจ้ง เป็นต้น สุดท้ายจะก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบนิเวศ (Ecosystem) และทำลายสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเรา เมื่อเวลาผ่านไปยาวนาน จะก่อให้เกิดธรรมชาติที่ผิดเพี้ยนไป ในที่สุดจะส่งผลกระทบทางลบต่อชีวิตสัตว์ พืช และมนุษย์ ให้ดำรงชีวิตได้อย่างลำบากมากขึ้น
ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมงานจิตอาสา จึงมีความตระหนักและเห็นคุณค่าการทำประโยชน์เพื่อสังคมในด้านสิ่งแวดล้อมว่าเป็นเรื่องที่จำเป็น โดยยืนหยัดที่จะทำต่อไป อย่างน้อยก็เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับหลายๆองค์กรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ได้มีแรงบันดาลใจในการทำความดีเพื่อสังคมและประเทศชาติอย่างไม่มีคำว่า สิ้นสุด เพราะสุดท้ายคนที่ได้รับประโยชน์ที่แท้จริงก็คือพวกเราทุกคน
(หมายเหตุ ผู้ที่ประสงค์จะบริจาคขยะพลาสติกที่ผ่านการใช้งานแล้ว ได้แก่ ขวดพลาสติกชนิดใสและชนิดขุ่นสำหรับใส่นม เครื่องดื่ม เครื่องปรุงรส แก้วกาแฟ ถุงพลาสติกใส่อาหาร หลอด ช้อนส้อม กล่องใส่อาหารเดลิเวอรี่ กล่องโฟม ถาดโฟม กล่องนม UHT กล่องกะทิ ฯลฯ ควรล้างทำความสะอาดในเบื้องต้นและผึ่งแดดผึ่งลมให้แห้งก่อน (เพื่อลดกลิ่นไม่พึงประสงค์) แล้วค่อยนำมาบริจาคที่วัดจากแดง โดยจุดรับบริจาคจะถึงก่อนทางเข้าวัด 30 เมตร สังเกตป้ายบอกทางสถานที่รับบริจาค หลังจากที่ได้บริจาคเสร็จแล้ว อย่าลืมแวะเข้าไปกราบพระบรมสารีริกธาตุ ณ พระเจดีย์สมันตมหาปัฎฐาน และหลวงพ่อหิน เพื่อความเป็นสิริมงคล สามารถร่วมทำบุญ ฟังเทศน์ ฟังธรรม หรือเยี่ยมชมความสวยงามของวัดที่มีบรรยากาศร่มรื่นอยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา หากประสงค์จะศึกษาธรรมะ(ทุกวันอาทิตย์) สามารถขอรายละเอียดการสมัครกับทางวัดได้โดยตรง)
โครงการแข่งขัน
สุดยอดฝีมือโทรคมนาคมและไอซีทีเทิดพระเกียรติ
ที่มา
โครงการ “ค้นหาสุดยอดฝีมือโทรคมนาคมและไอซีทีเทิดพระเกียรติ” จัดขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 และเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เป็นการทำงานบูรณาการร่วมกันระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ได้แก่ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน คณะอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาช่างโทรคมนาคม มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.) คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการเฉลิมพระเกียรติ มูลนิธิ 5 ธันวามหาราช สถาบันวิชาการทีโอที บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท จี เอเบิล จำกัด เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับวิชาชีพด้านโทรคมนาคมและไอซีทีของประเทศให้อยู่ในระดับมาตรฐานสากล เพื่อส่งเสริมอาชีพนี้ให้เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับในมาตรฐานวิชาชีพ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 ได้ขยายกลุ่มเป้าหมาย โดยเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษา ที่กำลังศึกษาอยู่และที่จบการศึกษาไปแล้ว ได้มีเวทีทดสอบความรู้ ความสามารถ ทักษะ และทัศนคติ ตามระดับมาตรฐานวิชาชีพสาขาโทรคมนาคมและไอซีที เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานในสายอาชีพนี้ การจัดแข่งขันทุกปีจะมีการปรับเปลี่ยนสาขาการแข่งขัน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป รวมถึงช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลตามนโยบายของภาครัฐ เพื่อให้การพัฒนาฝีมือแรงงานของประเทศมีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการทำความดีเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและร่วมเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ในฐานะ พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย และเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้
กลุ่มเป้าหมาย
โครงการ ค้นหาสุดยอดฝีมือโทรคมนาคมและไอซีทีเทิดพระเกียรติ เป็นเวทีจัดการแข่งขันที่เปิดกว้างให้กับ นักเรียน นิสิต นักศึกษา ผู้ที่ทำงานในสายอาชีพด้านโทรคมนาคมและไอซีที และประชาชนทั่วไปที่สนใจ โดยไม่จำกัดเพศ วัย วุฒิการศึกษา อาชีพ ไม่มีค่าใช้จ่ายในการสมัครแข่งขัน และครอบคลุมพื้นที่ทั่วทั้งประเทศ ซึ่งในรอบ 10 กว่าปีที่ผ่านมา โครงการแข่งขันสุดยอดฝีมือโทรคมนาคมและไอซีทีเทิดพระเกียรติ ครั้งที่ 3 - ครั้งที่ 13 (ปี พ.ศ. 2553 - 2563) มีนิสิตและนักศึกษาจากสถาบันศึกษาทั่วประเทศเข้าร่วมแข่งขัน จำนวนไม่น้อยกว่า 28 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, มหาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก (วิทยาเขตอุเทนถวาย), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก (วิทยาเขตจักรพงษ์ภูวนาถ), มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยพะเยา, มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (วิทยาเขตภาคใต้), มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, มหาวิทยาลัยราชมงคลพระนคร, มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นต้น
เมื่อถึงยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทในสังคมไทยมากขึ้น การจัดแข่งขันในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จึงมีนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย เข้ามาร่วมแข่งขัน และหลายคนได้คว้ารางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศในสาขาที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในอุตสาหกรรมด้านนี้
สำหรับปี พ.ศ. 2564 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ได้ทวีความรุนแรงและขยายวงกว้างไปทั่วประเทศ ทางราชการได้ประเมินว่ามีแนวโน้มที่จะมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงได้ออกมาตรการควบคุมและจำกัดการเคลื่อนย้ายการเดินทางและการรวมกลุ่มของบุคคลอย่างรัดกุม ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปีนี้เป็นต้นมา ซึ่งมีผลต่อรูปแบบการจัดแข่งขันเป็นอย่างมาก ดังนั้น คณะกรรมการจัดการแข่งขันจึงเห็นควรให้ งดการจัดแข่งขัน โครงการค้นหาสุดยอดฝีมือโทรคมนาคมและไอซีทีเทิดพระเกียรติ ประจำปี 2564 และคาดหวังว่าหากปีหน้าสถานการณ์คลี่คลาย จะได้ดำเนินการจัดแข่งขันต่อไป
ภาพโปสเตอร์โครงการแข่งขัน
สุดยอดฝีมือโทรคมนาคมและไอซีทีเทิดพระเกียรติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 - 2563
โครงการร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 8
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565 ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เพื่อบริจาคขยะขวดพลาสติกใส PET ถุงพลาสติกใส กล่องนม UHT ที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้เก็บรวบรวมแล้วนำมาทำความสะอาดในเบื้องต้น (เพื่อให้ทางวัดได้นำไปรีไซเคิลใหม่เป็นผ้าจีวรนาโน,ชุด PPE, น้ำมันเชื้อเพลิง, กุฏิสงฆ์) และได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญกับทางวัดจากแดง ซึ่งปัจจุบันมีพระภิกษุบวชเรียน ประมาณ 60 กว่ารูป
วัดจากแดงนอกเหนือจากจะเป็นศาสนสถานสำหรับประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนาแล้ว ทางวัดยังเปิดหลักสูตรอบรมพระปริยัติธรรมให้กับพระภิกษุสามเณรและพุทธบริษัททั่วไป และยังเป็นศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมให้กับนักเรียน นักศึกษา องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป ในการคัดแยกขยะ การแปรรูปเศษอาหาร การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ฯลฯ ซึ่งถือเป็นสถานที่ที่มีความพร้อมมากในการนำขยะพลาสติก โฟม กล่องนม UHT ที่ได้รับบริจาคไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลที่เหมาะสม เช่น ขวดพลาสติกใส PET นำไปทำเป็นผ้าจีวรนาโน (ฝีมือตัดเย็บจีวรโดยกลุ่มแม่บ้านในชุมชน) หรือชุด PPE สำหรับใช้ในสถานการณ์โควิด 19, กุฏิสงฆ์จากกล่องนม UHT, น้ำมันเชื้อเพลิงจากถุงพลาสติก หรือขวดพลาสติก เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีการที่ช่วยลดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณการทำลายระบบนิเวศ ช่วยลดภาวะโลกร้อน และยังเป็นการสร้างงานให้กับคนในชุมชนใกล้เคียงอีกด้วย
การดำเนินโครงการร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อมครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 8 (เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2563) สืบเนื่องมาจากนโยบายของภาครัฐในการลดขยะพลาสติกที่กำลังเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมของไทย ประกอบกับในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประเทศไทยในช่วงต้นปี 2565 กำลังอยู่ในระลอกที่ 5 โดยพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เดลตามากที่สุด รองลงมาเป็นโอมิครอน อัลฟาและเบตา ตามลำดับ ทั้งนี้ หน่วยงานสาธารณสุขไทยได้เตรียมรับมือกับผู้ป่วยรายใหม่ โดยเน้นที่การแยกกักที่บ้าน (Home Isolation :HI) และศูนย์พักคอยในชุมชน (Community Isolation :CI) เป็นลำดับแรก แต่หากมีอาการหนักจะส่งต่อรักษายังโรงพยาบาล (รพ.) ที่มีเตียงรองรับ จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลนั้น มีจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มากกว่าพื้นที่อื่นๆในประเทศ ประชากรส่วนใหญ่ที่อยู่ในวัยกำลังศึกษาและวัยทำงาน ต่างก็ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคกันมาตั้งแต่ช่วงที่โควิด-19 เริ่มระบาดหนักในปี พ.ศ.2563 เป็นต้นมา โดยนิยมสั่งซื้ออาหารและเครื่องดื่มแบบเดลิเวอรี่กันเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาขยะพลาสติกและโฟมเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ดังนั้น ดร.ประสิทธิ์ และทีมงานจิตอาสา จึงได้ร่วมกันดำเนินการเก็บ รวบรวม และคัดแยกขยะพลาสติก กล่องนม และกล่องโฟมที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เพื่อนำไปบริจาคที่วัดจากแดง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อเข้าสู่กระบวนกำจัดขยะเหล่านี้ให้เป็นผลผลิตใหม่ ที่นำกลับมาให้ใช้งานได้ อีกทั้งยังเป็นการสร้างงานให้กับคนยากจนและด้อยโอกาสที่วัดจากแดงได้ดูแล ถือว่าเป็นวิธีการกำจัดขยะที่ถูกสุขลักษณะและเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และประเทศชาติ ซึ่งหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ สามารถนำวิธีการนี้ไปเป็นตัวอย่างในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมต่อไป
เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2564 ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เพื่อนำขยะขวดพลาสติกใส PET ถุงพลาสติกใส แก้วกาแฟ หลอดดูดน้ำพลาสติก กล่องพลาสติกใสสำหรับใส่ขนมและอาหารแบบเดลิเวอรี่ กล่องนม UHT โฟมห่อผลไม้ ที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยจิตอาสาได้นำมาทำความสะอาดในเบื้องต้นและรวบรวมมาบริจาคในครั้งนี้ พร้อมได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญกับทางวัดจากแดง ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีความพร้อม (เป็นศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อม การคัดแยกขยะ การแปรรูปเศษอาหาร การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ฯลฯ) ในการนำขยะพลาสติก โฟม กล่องนม UHT เหล่านี้ นำไปสู่กระบวนการรีไซเคิลที่เหมาะสม เช่น ขวดพลาสติกใส PET นำไปทำเป็นผ้าจีวรนาโน หรือ ชุด PPE สำหรับใช้ในสถานการณ์โควิด 19, กุฏิสงฆ์จากกล่องนม UHT, น้ำมันเชื้อเพลิงจากถุงพลาสติก หรือขวดพลาสติก เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีการที่ช่วยลดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณการทำลายระบบนิเวศ ช่วยลดภาวะโลกร้อน และยังเป็นการสร้างงานให้กับชุมชนอีกด้วย ซึ่งปัจจุบัน วัดจากแดง มีพระภิกษุบวชเรียน ประมาณ 60 รูป
การดำเนินโครงการร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อมครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 7 (เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2563) สืบเนื่องมาจากนโยบายของภาครัฐในการลดขยะพลาสติกที่กำลังเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมของไทย ประกอบกับในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประเทศไทย ยังอยู่ในระลอกที่ 4 องค์กรและหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนหลายแห่งยังใช้นโยบายทำงานจากที่บ้าน (work from home) รวมถึงนักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่เรียนหนังสือผ่านออนไลน์ เพื่อลดการแพร่เชื้อ โควิด 19 โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มียอดผู้ติดเชื้อจำนวนมากกว่าพื้นที่อื่นๆในประเทศ พฤติกรรมผู้บริโภคของประชาชนส่วนใหญ่ นิยมสั่งซื้ออาหารและเครื่องดื่มแบบเดลิเวอรี่กันเป็นจำนวนมาก ซึ่งทำให้เกิดปัญหาขยะพลาสติกและโฟมเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ดังนั้น ดร.ประสิทธิ์ และทีมงานจิตอาสา จึงได้ร่วมกันดำเนินการเก็บ รวบรวม และคัดแยกขยะพลาสติก กล่องนม และกล่องโฟมที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เพื่อนำไปบริจาคที่วัดจากแดง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อเข้าสู่กระบวนกำจัดขยะเหล่านี้ให้เป็นผลผลิตใหม่ ที่นำกลับมาให้ใช้งานได้ อีกทั้งยังเป็นการสร้างงานให้กับคนยากจนและด้อยโอกาสที่วัดจากแดงได้ดูแล ถือว่าเป็นวิธีการกำจัดขยะที่ถูกสุขลักษณะและเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และประเทศชาติ ซึ่งหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ สามารถนำวิธีการนี้ไปเป็นตัวอย่างในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมต่อไป
มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.) ได้กำหนดจะจัดงานพิธีประกาศเกียรติคุณ บุคคลคุณภาพแห่งปี และพิธีมอบทุนการศึกษา เยาวชนคุณภาพแห่งปี เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระชนกาธิเบศร อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ในฐานะพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย เนื่องในวันเทคโนโลยีของไทย (19 ตุลาคม ของทุกปี) และปีนี้ยังเป็นวันครบรอบ 13 ปีของการสถาปนามูลนิธิ แต่เนื่องจากในปี พ.ศ. 2564 เรื่อยมาจนถึงกลางปี ประเทศไทยยังคงมีการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)) และภาครัฐได้ออกมาตรการเข้มงวดในการเดินทางข้ามจังหวัด จนสถานการณ์เริ่มควบคุมได้ ภาครัฐจึงเห็นควรให้ผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์และให้จัดงานใหญ่ได้ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป คณะกรรมการจัดงานจึงได้เลื่อนวันจัดงานพิธีเป็นวันที่ 9 ธันวาคม 2564 โดยในงานพิธีประกอบด้วยกิจกรรมมอบโล่เกียรติยศ และพิธีมอบทุนการศึกษาให้กับนิสิต นักศึกษา จากสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐทั่วประเทศ โดยปีนี้ มูลนิธิ มสวท. ได้รับเกียรติเป็นอย่างสูงจาก ฯพณฯ นายเกษม จันทร์แก้ว (องคมนตรี) ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี
มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.)
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สถานที่ติดต่อ :
288/52 อาคารมูลนิธิ มสวท. ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220
Tel. +66(0) 2552-5200 Fax. +66(0) 2551-4422 Email : thaifstt@gmail.com
Copyright © 2008-2015 หากมีปัญหาในการรับชมกรุณาติดต่อ Webmaster ที่ admin@thaifstt.org