1) บุคคลคุณภาพแห่งปี 2021 ด้านวิทยาศาสตร์

 

นายแพทย์ มนูญ ลีเชวงวงศ์ (อายุ 72 ปี)

 ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านระบบทางเดินหายใจ

 

 1. หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน

 1. ผู้ก่อตั้งและประธานชมรมเชื้อราทางการแพทย์แห่งประเทศไทย

 2. ประธานกรรมการทุนวิจัยวัณโรคดื้อยาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ศิริราชมูลนิธิ

 3. ประธานกรรมการทุนง่วงอย่าขับ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มูลนิธิรามาธิบดี

 4. ผู้ร่วมก่อตั้งและนายกสมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย 2 สมัย (..2550–2554) ปัจจุบันเป็นกรรมการและที่ปรึกษาสมาคม

 5. ที่ปรึกษาสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย

 6. รองประธานองค์กรแพทย์ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ

 7. หัวหน้าห้องไอซียู เฉพาะทางด้านโรคระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยหนัก และโรคผู้สูงอายุ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ

 2. ประวัติการศึกษา

 ·     แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (.. 2515)

 ·     แพทย์ฝึกหัด

 - โรงพยาบาลรามาธิบดี (.. 2515–2516)

 - Long Island College Hospital, Brooklyn, NY. (.. 2516–2517)

 ·     แพทย์ประจำบ้าน

 - Mount Sinai Services City Hospital Center at Elmhurst, NY. (.. 2517-2518)

         - Veterans Administration Hospital, Bronx, NY. (.. 2518-2519)

 ·     การฝึกหัดแพทย์เฉพาะทาง

 -  Chest Fellow, Mount Sinai Services City Hospital Center at Elmhurst, NY (.. 2519-2521)

 ·     วุฒิบัตร

 -  American Board of Internal Medicine (.. 2519)

 -  Subspecialty Board, Pulmonary Disease (.. 2521)

 -  American Board Quality Assurance and Utilization Review Physicians (.. 2523)

 -  Subspecialty Board, Critical Care Medicine (.. 2530)

 -  Added Qualifications in Geriatric Medicine (.. 2531)

 ·     สมาชิกสมาคมแพทย์

         - Fellow of American College of Physicians (.. 2522)

 

 3. ประวัติการทำงาน

 ·       Assistant Professor Mount Sinai School of Medicine, NY USA และ Chest + Geriatric Physician, U.S.A. (.. 2523-2530)

 ·       หัวหน้าไอซียูและโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ .. 2533ปัจจุบัน

 ·       อาจารย์พิเศษ สอนคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (4 ปี) ตั้งแต่ปี .. 2534

 ·       ประธานกรรมการทุนวิจัยวัณโรคดื้อยา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ศิริราชมูลนิธิ .. 2544-ปัจจุบัน

 ·       ประธานกรรมการทุนง่วงอย่าขับ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มูลนิธิรามาธิบดี .. 2548-ปัจจุบัน

 ·       ผู้ก่อตั้งและประธานชมรมเชื้อราทางการแพทย์แห่งประเทศไทย .. 2558-ปัจจุบัน

 ·       ผู้ร่วมก่อตั้งและนายกสมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย

 ·       ที่ปรึกษาสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย

 4. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน

 มีสติ มุ่งมั่น ไม่ท้อถอย และมั่นใจในการทำงาน มีอุดมการณ์ในการทำงานเพื่อเป้าหมายในการช่วยชีวิตผู้ป่วยได้หลายๆคน การอุทิศตนเพื่อส่วนรวมและสังคม โดยริเริ่มโครงการรณรงค์ต่างๆ เพื่อหวังจะได้เห็นแพทย์ไทยทดสอบความไวต่อยา การเลือกยารักษาคนไข้วัณโรคดื้อยาได้อย่างถูกต้อง การเห็นคนใส่หน้ากากอนามัยและล้างมือ เพื่อช่วยลดการแพร่เชื้อทางเดินหายใจ การได้เห็นคนไทยเริ่มตระหนักถึงอันตรายของการง่วงในขณะขับขี่ ซึ่งจะลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากง่วงหลับใน

 

5. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน

 ·     เป็นแพทย์โรงพยาบาลเอกชนคนแรกของประเทศที่ได้รับรางวัล แพทย์ดีเด่นของแพทยสภา ประจำปี .. 2561 ด้านผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะมองว่า แพทย์ที่ทำงานให้กับโรงพยาบาลเอกชนมักทำงานเพื่อประโยชน์ตนเอง แต่นายแพทย์มนูญ เป็นแพทย์ท่านหนึ่งที่สละเวลาทำงานเพื่อประโยชน์ของสังคมและส่วนรวมตลอดระยะเวลา 20 ปี โดยริเริ่มงานที่เกี่ยวข้องกับวัณโรคดื้อยาซึ่งเป็นภัยต่อสังคมและประเทศ เนื่องจากเป็นโรคที่รักษายาก ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตสูง การวินิจฉัยเบื้องตัน กับการให้ยาที่ถูกต้อง จะเป็นการช่วยลดการแพร่กระจายโรคของผู้ป่วย 1 คน ให้กับผู้อื่นอีก 10-15 คน ปัจจุบันทางภาครัฐเริ่มเห็นความสำคัญของวัณโรคดื้อยา ยอมรับแล้วว่าจะต้องตรวจวัณโรคดื้อยากับผู้ป่วยทุกคนที่เข้ามารับการรักษา โดยต้องตรวจทุกคนว่าดื้อยาหรือไม่ และดื้อยาชนิดใด เพื่อจะได้จ่ายยารักษาให้ถูกต้อง ถึงแม้ว่าการตรวจวัณโรคดื้อยาจะมีค่าใช้จ่ายสูงแต่ว่าเป็นการลงทุนที่จำเป็น เพราะหากรักษาอย่างไม่ถูกต้องก็จะเป็นการแพร่กระจายให้มีผู้ป่วยในสังคมเพิ่มมากขึ้น สุดท้ายก็จะเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาที่มากขึ้นตาม จึงจำเป็นที่จะต้องรีบทำเสียแต่เริ่มต้น

 ·     ผู้ริเริ่มเรื่องการลดอุบัติเหตุทางจราจรอันมีสาเหตุมาจากการหลับใน จนปัจจุบันทางภาครัฐเริ่มเห็นความสำคัญ ในเรื่องอุบัติเหตุการจราจรอันมีสาเหตุมาจากการหลับในของผู้ขับขี่ เพราะประเทศไทยมีผู้สูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางจราจร ประมาณ 20,000 กว่าคนต่อปี สูงเป็นอันดับต้นของโลก และสูงเป็นอันดับที่ 1 ในเอเชียและอาเซียน โดยคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าอุบัติเหตุทางจราจรมาจากสาเหตุ การเมา หรือขับรถเร็ว หรือความประมาท โดยมองข้ามความสำคัญของการหลับใน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 5,000 – 6,000 คนต่อปี ทั้งที่เราสามารถป้องกันได้โดยการให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการหลับในและวิธีการแก้ไข เช่น เมื่อรู้ตัวว่าง่วง ควรรีบจอดรถหลบข้างทางเพื่องีบหลับ 10-15 นาที เมื่อตื่นขึ้นมาแล้ว จะสามารถขับรถต่อได้อย่างปลอดภัย

 ·    ในปัจจุบันและอนาคต คนไทยเริ่มมีความรู้ในทางการแพทย์เพิ่มมากขึ้น สามารถที่จะค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ในกูเกิ้ล รวมทั้งค้นหาแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางได้ด้วย อีกทั้งยังเริ่มคาดหวังต่อผลการรักษามากขึ้น ดังนั้น แพทย์ในปัจจุบันต้องใฝ่รู้ และเรียนรู้เพิ่มเติม เพราะทุกวันจะมีโรคใหม่ ยาใหม่ วิธีการรักษาใหม่ๆเกิดขึ้น แพทย์จะต้องติดตามเพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ ในการดูแลคนไข้ให้ดีที่สุด

 ·    ข้อคิดสำหรับผู้ที่สนใจจะศึกษาต่อด้านแพทย์ การเรียนแพทย์นั้น จะต้องมีใจรัก ตั้งใจจริงเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ไม่ใช่เรียนตามคนอื่น หรือพ่อแม่อยากให้เรียน และต้องเข้าใจว่าการเรียนแพทย์ หรือจบเป็นแพทย์แล้วนั้น เป็นอาชีพที่เหน็ดเหนื่อย ต้องทุ่มเทเพื่อคนไข้ ต้องนึกเสมอว่าชีวิตคนไข้นั้นมีความสำคัญ เราต้องเข้าอกเข้าใจ เอาใจเขามาใส่ใจเรา ต้องถือประโยชน์ของคนไข้เหนือประโยชน์ของตนเอง มีความเมตตา มีความกรุณา

 

6. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 ประเทศไทยต้องพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ต่อเนื่อง และคนไทยต้องเปิดใจให้กว้างเพื่อรับความรู้ใหม่ เพื่อให้สามารถปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป

 

7. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล

 ·     หลังจากที่เรียนจบแพทย์และทำงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในตำแหน่ง Assistant Professor Mount Sinai School of Medicine, NY USA และ Chest + Geriatric Physician, U.S.A. นายแพทย์มนูญและครอบครัวได้เดินทางกลับมาประเทศไทย โดยเริ่มทำงานให้กับโรงพยาบาลวิชัยยุทธ ในตำแหน่งหัวหน้าไอซียู หน่วยโรคทางเดินหายใจและผู้สูงอายุ ตั้งแต่ .. 2533 เป็นต้นมา แต่ไม่ประสงค์ให้เป็นไปเพื่อความรุ่งเรืองทางธุรกิจ ยังคงติดตามความรู้อยู่เสมอ ได้ชักชวนให้เพื่อนร่วมงานทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยการทำโครงการต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ได้แก่

 ·     ก่อตั้งและเป็นประธานทุนวิจัยวัณโรคดื้อยาในศิริราชมูลนิธิ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อปี .. 2543 โดยได้หาเงินบริจาคเข้ากองทุนวิจัยวัณโรคดื้อยาฯ เป็นจำนวนเงินกว่า 42 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้ในการทดสอบตรวจความไวของเชื้อวัณโรคต่อยาให้ฟรีกับโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ เพื่อให้แพทย์ผู้รักษาได้ปรับยาให้ผู้ป่วยได้ตั้งแต่ปี .. 2544 จนถึงปัจจุบัน

 ·     เป็นแพทย์คนแรกที่ริเริ่มการรณรงค์ให้ผู้ติดเชื้อทางเดินหายใจใส่หน้ากากอนามัยอย่างจริงจัง ตั้งแต่ปี .. 2545 ด้วยเหตุที่นายแพทย์มนูญเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ ได้มองเห็นความสำคัญของการป้องกันตนเอง และป้องกันไม่ให้ผู้อื่นติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ แต่คนไทยในสมัยนั้นยังไม่คุ้นชินกับวิธีการนี้ จึงได้เชิญผู้มีชื่อเสียงโด่งดังสมัยนั้น คือ คุณธงไชย แมคอินไตย์ และศิลปินค่ายแกรมมี่มาเป็นผู้นำเสนอ ทำให้คนไทยกล้าใส่หน้ากากอนามัยในที่สาธารณะอย่างไม่รู้สึกขัดเขิน และได้เพิ่มเรื่องการล้างมือทุกครั้งเมื่อใช้มือป้องเวลาไอจาม เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อให้กับผู้อื่น

 ·  ผู้ก่อตั้งกองทุนง่วงอย่าขับในมูลนิธิรามาธิบดี เมื่อปี .. 2547

     สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงรับอุปถัมภ์ การรณรงค์ให้คนไทยตระหนักถึงอันตรายจากการง่วงแล้วขับ และหาทางแก้ไขเมื่อรู้สึกง่วงขณะขับรถ โดยเชิญคุณณัฐวุฒิ สะกิดใจ นำเสนอง่วงหลับใน ตายได้ใน 4 วินาทีและคุณเจนนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ นำเสนอการรณรงค์ให้คนไทยเห็นความสำคัญของการนอนหลับให้เพียงพอ ถ้าง่วงมากให้งีบหลับ 10-15 นาที นายแพทย์มนูญและคณะทำงานได้ทำการวิจัยหาอุบัติการณ์ของการง่วงหลับใน ความสัมพันธ์ของการเกิดอุบัติเหตุและความง่วงในพนักงานขับรถโดยสารและรถบรรทุก ลงตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ ปี .. 2547

 ·     ผู้ริเริ่มการรณรงค์เรื่องการลดการจุดธูป เพื่อลดมลพิษและลดการสูดดมสารก่อมะเร็งในควันธูปเมื่อปี .. 2551 โดยนายแพทย์มนูญได้ร่วมกับคณะวิจัยของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพของการได้รับสารก่อมะเร็งจากควันธูปในคนงานที่ปฏิบัติงานภายในวัด และได้ลงตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ เมื่อปี .. 2551

 ·     ผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทยในยุคแรกตั้งแต่ปี .. 2544 ซึ่งนายแพทย์มนูญได้ดำรงตำแหน่งอุปนายกคนที่ 2 ในคณะกรรมการบริหารสมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย ชุดรักษาการก่อนที่จะมีการจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมให้ถูกต้องตามระเบียบ และต่อมานายแพทย์มนูญได้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคม 2 สมัย (.. 2550 – 2554) ปัจจุบันเป็นกรรมการและที่ปรึกษาสมาคม

 ·  ผู้ก่อตั้งและเป็นประธานชมรมเชื้อราทางการแพทย์แห่งประเทศไทย

    เชื้อราเป็นเชื้อที่รักษายาก เมื่อครั้งนักร้องวงดีทูบีประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ตกลงคูน้ำข้างทาง เกิดเชื้อราขึ้นสมอง นายแพทย์มนูญเป็นผู้ดูแลรักษาจนเป็นผลสำเร็จด้วยยาเชื้อรา Voriconazole จากประเทศออสเตรเลีย ทำให้เห็นว่าการรวมตัวกันของแพทย์ผู้สนใจการรักษาเชื้อรา จะเป็นแนวทางให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จึงได้ก่อตั้งชมรมเชื้อราทางการแพทย์แห่งประเทศไทยขึ้นเมื่อปี .. 2552 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้องค์ความรู้ที่ครอบคลุมด้านต่างๆ ของเชื้อราการแพทย์ ได้แก่ การวินิจฉัยทั้งทางคลินิกและห้องปฏิบัติการ การรักษาโรคติดเชื้อรา ยาต้านเชื้อรา และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้มีการพัฒนาและเผยแพร่อย่างทันสมัยในหมู่สมาชิกผู้สนใจและประชาชน อันจะนำประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่ผู้ป่วยและประเทศชาติ สมาชิกของชมรมฯ ประกอบด้วย แพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ ทั้งจากมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลทั่วประเทศ นายแพทย์มนูญ ได้ดำรงตำแหน่งประธานชมรมเชื้อราฯตั้งแต่ปี .. 2558-ปัจจุบัน

 ·  ปี .. 2563ปัจจุบัน ที่ประเทศไทยมีการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) นายแพทย์มนูญ ถือเป็นบุคคลหนึ่งที่ได้รับความไว้วางใจจากสื่อมวลชนหลายแขนง ในการอ้างอิงเวลาที่นายแพทย์มนูญได้นำเสนอผลจากกรณีศึกษาการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ต่างๆทั้งภายในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก และได้ให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องกับคนไทยในการปรับตัวเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในแต่ละช่วงเวลาทางสื่อออนไลน์ เพื่อเป็นวิทยาทานและลดความตื่นตระหนกในการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคม

 

8. ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

เป็นแพทย์โรงพยาบาลเอกชนคนแรกของประเทศที่ได้รับรางวัล แพทย์ดีเด่นของแพทยสภา ประจำปี .. 2561 ด้านผู้ปฏิบัติงาน การอุทิศตนและเสียสละเวลาทำงานเพื่อสังคม และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2561 ในว้นสถาปนาแพทยสภา 50 ปี

วารสาร มสวท. ปีที่ ๑๔ เล่มที่ ๓ กรกฏาคม – กันยายน ๒๕๖๔

 

 

 

สารบัญ

                                                                                                                                                     หน้า

มูลนิธิ มสวท.เข้าร่วมพิธีถวายพานพุ่มและถวายราชสักการะเพื่อเทิดพระเกียรติรัชกาลที่ 9                          7

"พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย"

โครงการทำบุญวัดตากฟ้า พระอารามหลวง จังหวัดนครสวรรค์                                                                   9

บุคคลคุณภาพแห่งปี 2021                                                                                                                       14

เยาวชนคุณภาพแห่งปี 2021                                                                                                                     28

บุคคลตัวอย่างภาคธุรกิจแห่งปี 2021                                                                                                        32

 

 

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2564  ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เพื่อนำขยะขวดพลาสติกใส PET ถุงพลาสติกใส แก้วกาแฟ หลอดดูดน้ำพลาสติก กล่องใส่ขนมและอาหารแบบเดลิเวอรี่ กล่องนม UHT โฟมห่อผลไม้  ที่ผ่านการใช้งานแล้ว นำมาทำความสะอาดเบื้องต้น แล้วรวบรวมนำไปบริจาค พร้อมได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญกับทางวัดจากแดง ซึ่งปัจจุบัน (ในช่วงสถานการณ์โควิด-19) มีพระภิกษุบวชเรียน ประมาณ 51 รูป  วัดจากแดง เป็นสถานที่ที่มีความพร้อม (เป็นศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อม การคัดแยกขยะ การแปรรูปเศษอาหาร การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ฯลฯ)  ในการนำขยะพลาสติก โฟม กล่องนม UHT เหล่านี้ นำไปสู่กระบวนการรีไซเคิลที่เหมาะสม เป็นการช่วยลดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณการทำลายระบบนิเวศ และยังช่วยลดภาวะโลกร้อนได้เป็นอย่างดี  และยังเป็นการสร้างงานให้กับชุมชนอีกด้วย

 

 

 

 

 

 ขยะพลาสติกที่นำไปบริจาคครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็น ขวดพลาสติกใสที่ใช้บรรจุน้ำดื่ม หรือที่เรานิยมเรียกกันว่า ขวด PET (Polyethylene Terephthalate : โพลีเอทิลีน เทเรฟทาเลต) ซึ่งเป็นพลาสติกที่เหมาะสำหรับนำไป Recycle เพื่อทอเป็น ผ้าไตรจีวร หรือ ผ้าบังสุกุล โดยใช้นวัตกรรมผสม ซิงค์ นาโน (Zinc Nano) ที่สามารถป้องกันแบคทีเรีย ลดกลิ่นอับ มีความนุ่ม ระบายอากาศได้ดี เหมาะสมกับสภาพอากาศร้อนอบอ้าวในเมืองไทย กระบวนการทำขยะพลาสติกให้กลายเป็น “จีวรรีไซเคิล” 1 ผืน จะต้องใช้ขยะประเภทขวดพลาสติก PET จำนวน 15 ขวด และถ้าเป็นผลิตเป็นผ้าไตรจีวร 1 ชุด จะต้องใช้ขวด PET จำนวน 60 ขวด โดยใช้เทคโนโลยี Upcycling ซึ่งเป็นนวัตกรรมการแปรรูปขยะให้เป็นเส้นใยรีไซเคิล แล้วจึงถักทอผสมผสานกับเส้นใย Polyester Rayon เส้นใยฝ้าย และเส้นใย โพลีเอสเตอร์ ซิงค์ แอนตี้แบคทีเรีย (Polyester Zinc Antibacterial) ที่สามารถป้องกันแบคทีเรีย ลดกลิ่นอับ มีความนุ่ม ระบายอากาศได้ดี เหมาะสมกับสภาพอากาศร้อนอบอ้าวในเมืองไทย

 

ถุงพลาสติกใส แก้วกาแฟ หลอดดูดน้ำ ฝาขวดน้ำพลาสติก ฉลากพลาสติก ถุงก๊อบแก๊บ กล่องใส่ขนมและอาหารแบบเดลิเวอรี่ ที่ผ่านการใช้งานแล้ว สามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับรถบรรทุก และเครื่องจักรกลที่ใช้ในการเกษตร

 

โฟมที่ใช้ห่อหุ้มผลไม้ หรือกล่องโฟมใส่ขนมและอาหาร สามารถนำไปใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตวัสดุก่อสร้างได้ เช่น ก้อนอิฐ โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น

 

กล่องนม UHT หรือกล่องใส่กะทิ หรือกล่องใส่นมเปรี้ยว ก็สามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นฝากั้นห้อง ทำกุฏิพระจากกล่องนม ที่เรียกว่า กุฏิรีไซเคิล ที่ช่วยลดอุณหภูมิห้องสำหรับประเทศไทยที่มีอากาศร้อนอบอ้าว

การดำเนินโครงการร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อมครั้งที่ 6 นี้ เป็นโครงการสืบเนื่องที่มูลนิธิ มสวท. ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2563 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งประเทศไทยยังอยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกที่ 4 องค์กรและหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนหลายแห่งยังใช้นโยบายทำงานจากที่บ้าน (work from home) รวมถึงนักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่เรียนหนังสือผ่านออนไลน์ เพื่อลดการแพร่เชื้อ โควิด 19 โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มียอดผู้ติดเชื้อจำนวนมากกว่าพื้นที่อื่นๆในประเทศ พฤติกรรมผู้บริโภคของประชาชนส่วนใหญ่ นิยมสั่งซื้ออาหารและเครื่องดื่มแบบเดลิเวอรี่กันเป็นจำนวนมาก ซึ่งทำให้เกิดปัญหาขยะพลาสติกและโฟมเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ดังนั้น ดร.ประสิทธิ์ และทีมงานจิตอาสา จึงได้ร่วมกันดำเนินการเก็บ รวบรวม และคัดแยกขยะพลาสติกและกล่องโฟมที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เพื่อนำไปบริจาคที่วัดจากแดง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อเข้าสู่กระบวนกำจัดขยะเหล่านี้ให้เป็นผลผลิตใหม่ ที่นำกลับมาให้ใช้งานได้ อีกทั้งยังเป็นการสร้างงานให้กับคนยากจนและด้อยโอกาสที่วัดจากแดงได้ดูแล ถือว่าเป็นวิธีการกำจัดขยะที่ถูกสุขลักษณะและเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และประเทศชาติ ซึ่งหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ สามารถนำวิธีการนี้ไปเป็นตัวอย่างในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมต่อไป

 

 

ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ มสวท. และคณะ ได้เดินทางไปเข้าร่วมพิธีวางพานพุ่มและถวายราชสักการะเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร  มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” เนื่องใน “วันเทคโนโลยีของไทย” ประจำปี 2564 โดยมี ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีวางพุ่มดอกไม้และถวายราชสักการะ พร้อมด้วย ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ, ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการและโฆษกกระทรวงการอุดมศึกษาฯ, ดร.พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาฯ, ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการอุดมศึกษาฯ, ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ, รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ, นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม ผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษาฯ, คณะผู้บริหาร อว. ผู้แทนหน่วยงานในสังกัด ผู้แทนมหาวิทยาลัย ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ร่วมวางพานพุ่มและถวายราชสักการะฯ ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระสยามเทวมหามงกุฎวิทยามหาราช (รัชกาลที่ 4) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

 

 

ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ มสวท.และคณะ ได้เดินทางไปเข้าร่วมพิธีทำบุญเป็นเจ้าภาพถวายภัตตาหารเพล ยารักษาโรค แอลกอฮอล์ และปัจจัยแด่พระภิกษุ สามเณร ณ วัดตากฟ้า พระอารามหลวง ต.ตากฟ้า อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ จำนวน 300 กว่ารูป เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2564 โดยมีท่านเจ้าคุณพระเทพปัญญาภรณ์ รองเจ้าคณะภาค 4 เจ้าอาวาสวัดตากฟ้า พระอารามหลวง เป็นประธานในพิธีสงฆ์

จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2564 ยังคงเป็นปัญหาระดับประเทศที่ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก  และในช่วงเดือนกันยายน 2564 นี้ ทางเจ้าอาวาสวัดตากฟ้าได้มีเมตตาจิตต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอตากฟ้าและใกล้เคียง จึงได้จัดสถานที่ของวัดให้เป็นจุดรองรับการฉีดวัคซีนของโรงพยาบาลตากฟ้าให้กับประชาชนจำนวน 800 คน ในวันเวลาราชการอีกด้วย

 

ดร.ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ ประธานมูลนิธิ และทีมจิตอาสา ได้เดินทางไปวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2564 เพื่อนำขยะขวดพลาสติกใส PET ถุงพลาสติกใสที่ใช้แล้ว  ไปบริจาคให้กับทางวัดจากแดงเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตจีวรนาโน และกล่องนม UHT นำไปใช้ผลิตเป็นฝากั้นห้อง ทำกุฏิพระจากกล่องนม กุฏิรีไซเคิล สำหรับพระวัดจากแดง พร้อมทั้งยังได้ร่วมบริจาคเงินทำบุญกับทางวัด ซึ่งปัจจุบัน (ในช่วงสถานการณ์โควิด-19) มีพระภิกษุบวชเรียน ประมาณ 51 รูป ซึ่งการบริจาคฯในครั้งนี้ดำเนินการภายใต้โครงการร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อมครั้งที่ 5

 

การดำเนินโครงการร่วมใจรักษ์สิ่งแวดล้อมครั้งที่ 5 นี้ เป็นโครงการสืบเนื่องที่มูลนิธิ มสวท. ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2563 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งประเทศไทยกำลังเข้าสู่ช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระลอกที่ 4 เนื่องจากเชื้อไวรัสกลายพันธุ์เพิ่มขึ้น ซึ่งรัฐบาลได้ประกาศขอความร่วมมือให้องค์กรและหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนให้ใช้นโยบายทำงานจากที่บ้าน (work from home) รวมถึงนักเรียน นิสิต นักศึกษา ก็ให้เรียนหนังสือผ่านออนไลน์ด้วยเช่นกัน เพื่อลดการแพร่เชื้อ โควิด 19 โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มียอดผู้ติดเชื้อจำนวนมากกว่าพื้นที่อื่นๆในประเทศ ส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครเปลี่ยนแปลงไป โดยประชาชนส่วนใหญ่นิยมหันมาสั่งซื้ออาหารและเครื่องดื่มแบบเดลิเวอรี่กันเป็นจำนวนมาก ซึ่งทำให้เกิดปัญหาขยะพลาสติกและโฟมเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ดังนั้น ดร.ประสิทธิ์ และทีมงานจิตอาสา จึงได้ร่วมกันดำเนินการเก็บ รวบรวม และคัดแยกขยะพลาสติกและกล่องโฟมที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เพื่อนำไปบริจาคที่วัดจากแดง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อเข้าสู่กระบวนกำจัดขยะเหล่านี้ให้เป็นผลผลิตใหม่ ที่นำกลับมาให้ใช้งานได้ อีกทั้งยังเป็นการสร้างงานให้กับคนยากจนและด้อยโอกาสที่วัดจากแดงได้ดูแล ถือว่าเป็นวิธีการกำจัดขยะที่ถูกสุขลักษณะและเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และประเทศชาติ ซึ่งหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ สามารถนำวิธีการนี้ไปเป็นตัวอย่างในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมต่อไป 

 

ขยะพลาสติกที่นำไปบริจาคครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็น ขวดพลาสติกใสที่ใช้บรรจุน้ำดื่ม หรือที่เรานิยมเรียกกันว่า ขวด PET (Polyethylene Terephthalate : โพลีเอทิลีน เทเรฟทาเลต) ซึ่งเป็นพลาสติกที่เหมาะสำหรับนำไป Recycle เพื่อทอเป็น ผ้าไตรจีวร หรือ ผ้าบังสุกุล โดยใช้นวัตกรรมผสม ซิงค์ นาโน (Zinc Nano) ที่สามารถป้องกันแบคทีเรีย ลดกลิ่นอับ มีความนุ่ม ระบายอากาศได้ดี เหมาะสมกับสภาพอากาศร้อนอบอ้าวในเมืองไทย กระบวนการทำขยะพลาสติกให้กลายเป็น “จีวรรีไซเคิล” 1 ผืน จะต้องใช้ขยะประเภทขวดพลาสติก PET จำนวน 15 ขวด และถ้าเป็นผลิตเป็นผ้าไตรจีวร 1 ชุด จะต้องใช้ขวด PET จำนวน 60 ขวด โดยใช้เทคโนโลยี Upcycling ซึ่งเป็นนวัตกรรมการแปรรูปขยะให้เป็นเส้นใยรีไซเคิล แล้วจึงถักทอผสมผสานกับเส้นใย Polyester Rayon เส้นใยฝ้าย และเส้นใย โพลีเอสเตอร์ ซิงค์ แอนตี้แบคทีเรีย (Polyester Zinc Antibacterial) ที่สามารถป้องกันแบคทีเรีย ลดกลิ่นอับ มีความนุ่ม ระบายอากาศได้ดี เหมาะสมกับสภาพอากาศร้อนอบอ้าวในเมืองไทย

 

 

 

 พลาสติก สามารถนำใช้ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ได้หลากหลายประเภท หลากหลายประโยชน์มากมาย แต่ขยะพลาสติกนั้นใช้เวลายาวนานกว่า 450 ปี ในการย่อยสลาย ดังนั้น หากทุกคนช่วยกันคัดแยก และเก็บรวบรวมขยะพลาสติก แล้วส่งต่อไปยังสถานที่ที่มีความสามารถในการแปรรูปหรือนำขยะพลาสติกเหล่านี้กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้อีก ย่อมเป็นการใช้ประโยชน์จากพลาสติกได้อย่างคุ้มค่า (เพราะทรัพยากรในโลกนี้มีอยู่จำกัด) เป็นการช่วยลดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณการทำลายระบบนิเวศ และยังช่วยลดภาวะโลกร้อนได้เป็นอย่างดี

มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถานที่ติดต่อ :

288/52 อาคารมูลนิธิ มสวท. ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220

Tel. +66(0) 2552-5200 Fax. +66(0) 2551-4422 Email : thaifstt@gmail.com 

Copyright © 2008-2015 หากมีปัญหาในการรับชมกรุณาติดต่อ Webmaster ที่ admin@thaifstt.org