4) บุคคลคุณภาพแห่งปี 2024 ด้านสังคม

  

คุณเอมอร ศรีวัฒนประภา (อายุ 67 ปี)

 ประธานกรรมการ มูลนิธิ วิชัย ศรีวัฒนประภา

1.    หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน

     1.     ประธานกรรมการ มูลนิธิ วิชัย ศรีวัฒนประภา

     2.     ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์

     3.     รองประธาน มูลนิธิสุนทราภรณ์ ในพระราชูปถัมป์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

     4.     กรรมการอำนวยการจัดงาน "เพื่อนพึ่ง (ภา)

     5.     กรรมการ ในคณะกรรมการเอกลักษณ์แห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี (ในสัดส่วนผู้แทนภาคเอกชนด้านการส่งเสริม เอกลักษณ์ของชาติ การเผยแพร่และการประชาสัมพันธ์ และด้านการบริหาร)

     6.     อนุกรรมการ ในคณะอนุกรรมการผู้ดำเนินโครงการเด็กไทยต้นแบบ หรือ เด็กอวด(ทำ)ดี สำนักนายกรัฐมนตรี

     7.     ที่ปรึกษา คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

2. ประวัติการศึกษา

·      ศิลปศาสตร์บัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง

          ·      ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยรามคำแหง (พ.ศ. 2552)

          ·      ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (พ.ศ. 2560)

3. ประวัติการทำงาน

·      เริ่มทำงานเมื่อ พ.ศ. 2536 ตำแหน่งรองประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่การเงิน บริษัท คิง เพาเวอร์ แท็กฟรี จำกัด

          ·      ประธานกรรมการ บริษัท คิง เพาเวอร์ แท็กซ์ฟรี จำกัด

          ·      ประธานกรรมการ บริษัท คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด

          ·      ประธานกรรมการ บริษัท คิง เพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

          ·      ประธานกรรมการ บริษัท คิง เพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด

          ·      ประธานกรรมการ บริษัท คิง เพาเวอร์ โฮเทล เมเนจเม้นท์ จำกัด

          ·      ประธานกรรมการ บริษัท คิง เพาเวอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด

          ·      ประธานกรรมการ บริษัท คิง เพาเวอร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด

          ·      ประธานกรรมการ บริษัท คิง เพาเวอร์  เออิวิชั่น จำกัด

          ·      ประธานกรรมการ บริษัท คิง เพาเวอร์  คอร์ปอเรชั่น จำกัด

          ·      ประธานกรรมการ บริษัท วี แอนด์ เอ โฮลดิ้ง จำกัด

          ·      ประธานกรรมการ บริษัท เอมธรรมชาติ จำกัด

4. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน

·      สานต่อคุณงามความดี ตามเจตนารมณ์ของการเป็นผู้ให้ที่ไม่หวังสิ่งใดตอบแทนของคุณวิชัย ศรีวัฒนประภา อดีตประธานกรรมการมูลนิธิ คิง เพาเวอร์ ภายใต้แนวคิดสร้างโอกาส และความเป็นไปได้ให้แก่ผู้คนในสังคม ด้านการศึกษา สาธารณสุข และศาสนา

5. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน

นอกเหนือจากการบริหารงานในธุรกิจของครอบครัวแล้ว ยังได้รับโอกาสอันดีจากหน่วยราชการและองค์กรการกุศลหลักของประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งในองค์กรบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ ดังนี้

         ·      รองประธาน มูลนิธิสุนทราภรณ์ ในพระราชูปถัมป์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

         ·      กรรมการอำนวยการจัดงาน "เพื่อนพึ่ง (ภา)

         ·      กรรมการ ในคณะกรรมการเอกลักษณ์แห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี (ในสัดส่วนผู้แทนภาคเอกชนด้านการส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติ การเผยแพร่และการประชาสัมพันธ์ และด้านการบริหาร)

         ·      อนุกรรมการ ในคณะอนุกรรมการผู้ดำเนินโครงการเด็กไทยต้นแบบ หรือ เด็กอวด(ทำ)ดี สำนักนายกรัฐมนตรี

         ·      คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

6. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

·      ปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้น จึงควรสนับสนุนและส่งเสริมให้เยาวชนมีความรู้ กล้าคิดนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศต่อไป

7. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล

·      คุณเอมอร ศรีวัฒนประภา ในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิประธานกรรมการ มูลนิธิวิชัย ศรีวัฒนประภา ได้ตระหนักถึงความสำคัญด้านการศึกษา เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาเยาวชนไทย ซึ่งจะเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของประเทศในระยะยาว แต่เนื่องจากปัญหาความยากจนและขาดแคลนทุนทรัพย์ จึงทำให้เยาวชนของประเทศขาดโอกาสทางการศึกษา มูลนิธิวิชัย ศรีวัฒนประภา จึงได้จัดทำโครงการมอบทุนการศึกษา เพื่อคัดเลือกเยาวชนที่ยากจน ขาดบุพการีหรือผู้อุปการะ มีคุณสมบัติเหมาะสม มีความประพฤติดี และอยู่อาศัยในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร เพื่อให้เยาวชนเหล่านี้ได้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย หรือหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) โดยมูลนิธิฯได้ให้การสนับสนุนด้านการศึกษา ดังนี้

           ·   พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน โครงการมอบทุนการศึกษา รวม 5 รุ่น รวมจำนวน 70 ทุน

           ·   พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน สนับสนุนทุนการศึกษา สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา  ปีละ 1,000,000 บาท

           ·    ในด้านสาธารณสุข คุณเอมอร ในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิได้ตระหนักถึงความสำคัญด้านสาธารณสุข เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญในการดำรงชีวิตของประชาชนทุกระดับ จึงได้ให้การสนับสนุนด้านการแพทย์และการสาธารณสุข เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้าง และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้น จึงได้จัดทำโครงการด้านสาธารณสุข ได้แก่โครงการพลังคนไทย พลังใจให้ชีวิต โดยมอบตู้อบเด็กและร่วมบริจาคเงินสนับสนุนการดำเนินงานของโรงพยาบาลต่างๆ และโครงการมอบรถพยาบาลฉุกเฉิน มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการออกปฏิบัติการช่วยชีวิตผู้ป่วยอุบัติเหตุหรือฉุกเฉินของโรงพยาบาลขนาดเล็กที่ห่างไกล อยู่ในถิ่นทุรกันดาร มีความจำเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลอื่น ดังนี้

            ·     พ.ศ. 2562-ปัจจุบัน มอบตู้อบเด็กทารก รวม 70 เครื่อง ให้กับ 70 โรงพยาบาล

            ·     พ.ศ. 2563 บริจาครถพยาบาลฉุกเฉิน จำนวน 3 คัน ให้กับ 3 โรงพยาบาล

            ·     พ.ศ. 2563 บริจาคเงินสนับสนุนการดำเนินงาน Covid-19 ให้แก่สถาบันบำราศนราดูร จำนวน 20,000,000 บาท

            ·     พ.ศ. 2563 บริจาคเงินสนับสนุนการดำเนินงาน Covid-19 ให้แก่มูลนิธิรามาธิบดี จำนวน 20,000,000 บาท

            ·     พ.ศ. 2563 มอบกรมธรรม์ประกันภัย Covid-19 ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 5,000,000 บาท

            ·     พ.ศ. 2565 สนับสนุนเงิน 3,000,000 บาท ให้กับโรงพยาบาลวชิรพยาบาลเพื่อนำไปปรับปรุงหอผู้ป่วยสามัญ พร.158

            ·     พ.ศ. 2565 บริจาครถตู้เอนกประสงค์ให้กับมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จำนวน 1 คัน

            ·     พ.ศ. 2567 บริจาครถเข็นนั่งสำหรับผู้ป่วย (Wheelchair) ให้แก่องค์การทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์ จำนวน 105 คัน บรรเทาทุกข์จากภัยพิบัติต่างๆ อาทิ อุทกภัย

            ·     พ.ศ. 2565 บริจาคเงินเพื่อสนับสนุนในโครงการ "เครือข่ายเตือนภัยพิบัติชุมชนเพื่อนพึ่ง (ภาฯ)" ของมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย เพื่อเสริมสร้างให้ชุมชนมีความพร้อมในการเฝ้าระวังเตือนภัยก่อนเกิดอุทกภัยอย่างมีประสิทธิภาพ

8. ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

     8.1 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ

·     พ.ศ. 2564 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย

3) บุคคลคุณภาพแห่งปี 2024 ด้านสาธารณสุข

  

พลตรี ธำรงโรจน์  เต็มอุดม (อายุ 60 ปี)

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

1    หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน

      1.   ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

      2.   ผู้อำนวยการวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าฯ

      3.   ประธานมูลนิธิโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

      4.   ประธานมูลนิธิเพื่อวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

2. ประวัติการศึกษา

·   พ.ศ. 2523 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

           ·   พ.ศ. 2526 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

           ·   พ.ศ. 2531 ปริญญาตรี แพทยศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

           ·   พ.ศ. 2535 วุฒิบัตรศัลยศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

           ·   พ.ศ. 2540 Fellow in Surgery, Mayo Medical School and Mayo Clinic, U.S.A.

           ·   พ.ศ. 2540 Fellow in Surgery, Royal College of Physicians and Surgeons of Canada, Canada

           ·   พ.ศ. 2541  Fellow in Vascular Surgery, Mount Sinai Medical Center, New York, U.S.A.

           ·   พ.ศ. 2541  Fellow in Vascular Surgery, Royal College of Physicians and Surgeons of Canada, Canada

           ·   พ.ศ. 2547 ศัลยศาสตร์หลอดเลือด แพทยสภา

           ·   พ.ศ. 2554 หลักสูตรหลักประจำ วิทยาลัยการทัพบก รุ่นที่ 56

           ·   พ.ศ. 2561 หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ รุ่นที่ 61

3. ประวัติการทำงาน

 ·    พ.ศ. 2531 นายแพทย์ ร้อย.สสช.ร.2 พัน 2 รอ. กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์  

           ·    พ.ศ. 2533 ประจำกรมแพทย์ทหารบก

           ·   พ.ศ. 2542 ศัลยแพทย์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

           ·   พ.ศ. 2545 ศัลยแพทย์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

           ·   พ.ศ. 2549 อาจารย์วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

           ·    พ.ศ. 2550 ศัลยแพทย์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

           ·    พ.ศ. 2557 นปก.ประจำ ศวพท.วท.กห.

           ·    พ.ศ. 2557 ประจำ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

           ·    พ.ศ. 2560 อาจารย์ หัวหน้าภาควิชา วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

           ·    พ.ศ. 2560 ผู้อำนวยการกองศัลยกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

           ·    พ.ศ. 2562 รองผู้อำนวยการวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

           ·    พ.ศ. 2564 ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร

           ·    พ.ศ. 2565-2567 ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า / ผู้อำนวยการวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าฯ

 ความเชี่ยวชาญพิเศษ

           ·     ศัลยแพทย์หลอดเลือด โรงพยาบาลกรุงเทพ

           ·     ศัลยศาสตร์หลอดเลือด โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

           ·      ศัลยศาสตร์หลอดเลือด โรงพยาบาลเวชธานี

4. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน

  ·     คิดดี ทำดี พูดดี ทุกวัน

5. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน

  ·   ส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันให้สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร ได้รางวัลผลงานวิจัยและหน่วยวิจัยดีเด่นด้านหลักการ ผลงานวิจัยดีเด่นอันดับ 1 ของกองทัพบก ประจำปี 2564

            ·   อำนวยการ พิธีเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2566    

           ·    ส่งเสริม สนับสนุน ผลักดัน โครงการ PMK Smart Application

           ·   ส่งเสริม สนับสนุน และผลักดันให้การดำเนินงานของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ซึ่งเป็นโรงพยาบาลกองทัพบกแห่งแรก ที่ได้รับรางวัลการรับรองกระบวนการคุณภาพ สถานพยาบาลขั้นก้าวหน้าตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 5  (Advanced Healthcare Accreditation Program) Advance-HA 16/02/2024-15/02/2028 ซึ่งสร้างความภาคภูมิใจให้กับกำลังพล แพทย์และบุคลากรและยังสร้างชื่อเสียงให้กับกองทัพบก ในการให้บริการทางการแพทย์ที่เป็นมาตรฐานสากล มีการฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์ให้มีการทำวิจัยและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำภารกิจของกองทัพบกในการให้บริการทางสาธารณสุขแก่ประชาชนทั้งประเทศ ให้สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีมาตรฐานสากล

6. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

·   วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่ได้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอล ซึ่งประเทศไทยนั้น มีทรัพยากรที่มีศักยภาพทัดเทียมนานาประเทศ ทั้งในด้านบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ การสนับสนุนและผลักดันจากรัฐบาล ความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาและต่อยอดความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดนิ่ง เพื่อให้สามารถพัฒนาสู่ระดับสากลอย่างยั่งยืน

7. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล

·      ประธานมูลนิธิโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

          ·      ประธานมูลนิธิเพื่อวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

          ·      ภารกิจการตรวจคัดกรอง Covid-19 เชิงรุก ให้กับกำลังพลกองทัพบก และประชาชนทั่วไป โดยใช้รถชีวนิรภัยกองทัพบก

          ·      ผลักดันนโยบายของกองทัพบกให้เป็นรูปธรรมหลายโครงการ เพื่อให้บริการด้านสาธารณสุขกับประชาชนทั่วประเทศให้ได้รับบริการทางการแพทย์ที่มีมาตรฐานสากล ให้การส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรทางแพทย์ได้ฝึกอบรมและทำผลงานวิจัยและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง และยกระดับการให้บริการของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องในโอกาสที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าครบรอบปีที่ 70 ในปีพุทธศักราช 2566  โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ได้จัดทำโครงการนำระบบสารสนเทศมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกและลดการคับคั่งของผู้มารับบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในชื่อโครงการ PMK Smart Application” โครงการนี้เป็นโครงการที่ได้รับนโยบายจากกองทัพบกที่ต้องการนำความเจริญและความทันสมัยทางเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าจึงนำระบบสารสนเทศนั้นมาพัฒนาระบบการนัดหมาย การแจ้งคิวการตรวจ คิวการรับยา การตรวจสอบผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการแจ้งผลตรวจทางรังสีวิทยาของผู้มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ นอกจากนี้ PMK Smart Application ยังเพิ่มความสะดวกแก่ผู้มารับบริการโดยสามารถชำระเงินค่ารักษาพยาบาลผ่านช่องทางการชำระเงินใน application นอกเหนือจากการชำระเงินที่เคาน์เตอร์ชำระเงินและตู้ KIOS ที่มีอยู่เดิม เป็นการเพิ่มทางเลือกของการชำระเงินอีกทางหนึ่ง โครงการนี้สะท้อนให้เห็นว่า โรงพยาบาลสามารถปรับตัวเข้าสู่โลกยุคที่มีการพัฒนาโซเชียลมีเดีย บุคลากรทางการแพทย์สามารถใช้ประโยชน์ผ่านการสื่อสารที่สะดวก รวดเร็ว ลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อน ลดเวลาในการรอคอย และก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานทั้งผู้ปฏิบัติและผู้มาใช้บริการ

          ·      จัดกิจกรรมจิตอาสาให้บริการตรวจรักษาโรคแด่พระภิกษุสงฆ์ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 71 พรรษา 28 กรกฎาคม 2566 ณ ศาลาการเปรียญ วัดอภัยทายาราม กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2566

          ·    เป็นผู้ผลักดันการจัดตั้ง 2 หน่วยงานใหม่ ได้แก่ ศูนย์มะเร็งโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า เพื่อรองรับและให้บริการผู้ป่วยมะเร็งครอบคลุมทุกสาขาแบบครบวงจรด้วยบริการทางการแพทย์แผนปัจจุบันและการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ อาทิ เสต็ม เซลล์ เทคโนโลยี เข้ามาใช้ร่วมกับการรักษา ในผู้ป่วยมะเร็ง เป็นต้น และศูนย์การเรียนรู้และนวัตกรรม พร้อมศูนย์สถานการณ์จำลองทางการแพทย์ทหาร (Simulation Center for Military Medicine) ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฏเกล้า เพื่อให้บริการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ทางด้านการแพทย์และเวชศาสตร์ทหาร ตลอดจนการจัดการภัยพิบัติและภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข สำหรับนักเรียนแพทย์ทหารและกำลังพล เหล่าทหารแพทย์และเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งจากกระทรวงกลาโหมและฝ่ายพลเรือน ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2568

8. ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

8.1 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ

                ·     พ.ศ. 2534 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)        

                ·     พ.ศ. 2543 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)                     

                ·     พ.ศ. 2547 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)          

                ·     พ.ศ. 2549 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)      

                ·     พ.ศ. 2558 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)

                ·     พ.ศ. 2563 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)     

                ·     พ.ศ. 2566 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)      

           8.2 รางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

                ·     นิสิตเก่าดีเด่น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2566 ผู้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานระดับสูง ประเภทนักบริหารระดับสูงในภาครัฐ/ราชการ/วิสาหกิจ

2) บุคคลคุณภาพแห่งปี 2024 ด้านเทคโนโลยี

 

ศาสตราภิชาน ดร. พูลพร แสงบางปลา (อายุ 87 ปี)

 นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย

1.  หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน

        1. นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย (TSAE)

2. ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (TNI)

3. ผู้เชี่ยวชาญ สาขาวิศวกรรมยานยนต์ สมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย (TSAE)

4. ประธานกลุ่ม EV Alliance สมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย (TSAE)

5. นายกกิตติมศักดิ์์ สมาคมวิศวกรหญิงไทย / ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์์ สมาคมมาตรฐานและคุณภาพแห่งประเทศไทย

6. อนุกรรมการเพื่อกําหนดหลักเกณฑ์และการดําเนินงานต่างๆตาม พรบ.ควบคุมอาคาร กรมโยธาธิการ

7.  อนุกรรมการส่งเสริมสาขาวิชาชีพวิศวกรรมที่ไม่ใช่วิศวกรรมควบคุม สภาวิศวกร

8.  อนุกรรมการวิชาการรายสาขา คณะที่ 28/1 มาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่น สมอ.

9.  อนุกรรมการวิชาการรายสาขา คณะที่ 28/3 มาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิง สมอ.

10. กรรมการนโยบายมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรม วสท.

11. Impartiality Advisory Committee พ.ศ. 2550-ปัจจุบัน

12. SGS-ที่ปรึกษา CPPM โรงงานอาหารสัตว์ 94 โรงงาน ประเทศจีน พ.ศ. 2563-ปัจจุบัน

13. รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 ข้าราชการบำนาญ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

2. ประวัติการศึกษา

 ·     พ.ศ. 2504 วศ.บ. (เครื่องกล) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 ·     พ.ศ. 2508 Dip. IFP (Mechanical) L’Institut Francais du Petrole, France

 ·     พ.ศ. 2511 M.Sc. (Mechanical Engineering) University of Manchester Institute of Science and Technology, United Kingdom

 

3. ประวัติการทำงาน

    ประวัติรับราชการ

    ·     พ.ศ. 2504 ตำแหน่ง อาจารย์

    ·     พ.ศ. 2518 ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์

    ·     พ.ศ. 2522 ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    ·     พ.ศ. 2523-2527 ประธานกรรมการหลักสูตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    ·     พ.ศ. 2526-2528 ผู้อำนวยการฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    ·     พ.ศ. 2528-2530 รองผู้อำนวยการสถาบันโลหะและวัสดุ

    ·     พ.ศ. 2530-2534 รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    ·     พ.ศ. 2531 ประธานโครงการจัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมยานยนต์ / หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์

    ·     รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 ข้าราชการบำนาญ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-ปัจจุบัน

 ประวัติการทำงานในภาครัฐ ภาคเอกชน และสังคม

    ·     คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิรน์เอเชีย

    ·     คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัตนโกสินทร์

    ·     คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

    ·     อุปนายกคนที่ 1 สภาวิศวกร

    ·     นายกสมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย (TSAE) 3 สมัย

    ·     นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมวิศวกรหญิงไทย 5 สมัย

    ·     นายกสมาคมวิศวกรหญิงไทย (TWEA) พ.ศ. 2561-2563

    ·     ประธานกรรมการสาขายานยนต์ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย 2 สมัย

    ·     นายกสมาคมมาตรฐานไทย

    ·     กรรมการบริหารสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

    ·     ประธานร่วม ASEAN Consultative Committee for Standards and Quality (ACCSQ - APWG)

    ·     ประธานกรรมการวิชาการมาตรฐานยานยนต์และชิ้นส่วน (กว. 991)

    ·     ประธานคณะกรรมการวิชาการมาตรฐานไอเสียจากยานยนต์ (กว. 697)

    ·     กรรมการวิชาการมาตรฐาน (กว. 525) / กรรมการวิชาการมาตรฐาน ISO/TC 238

    ·     กรรมการสถาบันเสริมสร้างฯ / สถาบันพลังงาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

    ·     กรรมการสถาบันขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    ·     กรรมการจรรยาบรรณ 3 สมัย สภาวิศวกร

    ·     ประธานกรรมการสาขายานยนต์ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย

    ·     อนุกรรมการกําหนดมาตรฐานควบคุมมลพิษทางอากาศจากยานพาหนะ กรมควบคุมมลพิษ

    ·     ทําการสอน วิจัย และให้คําปรึกษางานวิศวกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ กว่า 50 ปี

    ·     บรรณาธิการวารสาร TSAE 25 ปี

    ·     อุปนายกฝ่ายวิชาการ สมาคมมาตรฐานไทย

    ·     กรรมการบริหาร สมาคมมาตรฐานไทย

    ·     กรรมการและอนุกรรมการ เทปวิชาการสภาอุตสาหกรรม

    ·     ประธานกรรมการวางมาตรฐานไอเสียยานยนต์ สมอ.

    ·     กรรมการมาตรฐานระหว่างประเทศ สมอ.

    ·     ที่ปรึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

    ·     กรรมการและที่ปรึกษาหลักสูตรทางไกล SANNO สสท

    ·     กรรมการและที่ปรึกษากลุ่มบริหารการผลิต TMA

    ·     ที่ปรึกษาและวิทยากรชมรมความร่วมมือโตโยต้าประเทศไทย

    ·     ผู้จัดกรายการวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ “พูดจาประสาช่าง”

    ·     ประธานจัดงานสัมมนานานาชาติ Auto Tech’ 90

    ·     ประธานโครงการ ISO 9000 สมฐ.

    · ประธานกลุ่มบริหารการผลิตและปฏิบัติการ สมาคมธุรกิจแห่งประเทศไทย

    · กรรมการบริหารสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย

 ความชำนาญพิเศษ

    ·     ที่ปรึกษางานทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลให้แก่โรงงานต่างๆ

    ·     พลังงานทดแทนในเครื่องยนต์และยานยนต์ / ไอเสียจากรถยนต์ และการควบคุม

    ·     QCC / QA / ISO 9000 / ISO 14000 / ISO/TS 16949 / ISO/IEC 17025 / ISO/TC 238 / การควบคุมคุณภาพ

    ·     การบริหารการผลิต / การเพิ่มผลผลิต / การจัดระบบองค์กร / การบํารุงรักษาทวีผล (TPM) / Reliability

    ·     การศึกษาทางไปรษณีย์ / การเรียนการสอนทางไกล / การมาตรฐาน

    ·     การวางระบบการอบรมหลักสูตรทางไกล / หลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์ / หลักสูตรต่างๆ / และฝึกอบรมวิทยากร

 4. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน

    ·  พัฒนาคุณภาพและเพิ่มผลผลิตด้านเทคโลยีอุตสาหกรรมของประเทศ เพื่อชาติและประชาชน

 5. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน

     ·     ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

     ·     วิศวกรหญิงดีเด่น จากสมาคมวิศวกรหญิงไทย

     ·     เป็นประธานมาตรฐานและคุณภาพ ด้านยานยนต์ ASEAN มา 11 ปี

     ·     รางวัลวิศวกรหญิงเกียรติคุณดีเด่นตลอดชีวิต ปี 2567

     ·     รางวัลวิศวจุฬากิตติคุณอาวุโสดีเด่น ครั้งที่ 7 ประจำปี 2562

 6. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    ·     ต้องการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ทันสากลโลก

    ·     ไม่มีคำว่ายาก หากนำความรู้ที่ได้ศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยตลอด 4 ปี มาประยุกต์ใช้ในโลกของการทำงานได้อย่างเหมาะสม ภายใต้การยึดมั่นในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม สิ่งสำคัญสำหรับวิศวกรรุ่นใหม่ คือจะต้องเรียนรู้รอบด้าน เพื่อก้าวให้ทันกับยุคอุตสาหกรรม 4.0 และต้องไม่เก่งเฉพาะวิชาที่เรียนมาเท่านั้น ต้องศึกษาศาสตร์วิศวกรรม ทั้งวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอุตสาหการ รวมถึงหลักการบริหารงาน การบริหารคน และการบริหารเงิน

7. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล

     ·   ทำ Bangkok Driving Mode ให้ประเทศไทย, ผลงานการทดลองวิจัยพลังงานทดแทนในยานยนต์, LPG, CNG, Biodiesel, หินน้ำมัน, Engine Emission & Control

     ·    อาจารย์พูลพร แสงบางปลา เดิมครอบครัวทำกิจการโรงงานรับกลึงเหล็กและรับทำงานทุกอย่างเกี่ยวกับเหล็ก รวมถึงการซ่อมเครื่องยนต์ต่างๆ โดยครอบครัวมีแต่ลูกสาว ดังนั้นอาจารย์พูนพรจึงได้เรียนรู้และช่วยกิจการของที่บ้านเกี่ยวกับงานกลึง เจาะ ประกอบ ซ่อม ตั้งแต่อายุ 7 ขวบ เรื่อยมาจนถึงช่วงเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย อาจารย์ได้เลือกสิ่งที่ถนัดและชอบ คือ วิศวกรรมยานยนต์ ซึ่งมีความท้าทายมากในการตัดสินใจก้าวเข้าสู่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ในรั้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2500 โดยเป็นผู้หญิงคนเดียวในคณะ ทำให้ต้องมีความมานะ อดทน เพื่อพิสูจน์ถึงความเป็นผู้หญิงที่สามารถประกอบอาชีพวิศวกรได้

     ·     "สมัยนั้น ตอนเข้าเรียนที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อนๆตกใจกันใหญ่ เห็นเราเป็นผู้หญิง แต่ไฉนเก่งปฏิบัติกว่าคนอื่น ตัด เจาะ เจียร์ มุดใต้ท้องรถคล่องแคล่ว ก็แหม จะไม่เก่งได้อย่างไร ทำมาตั้งแต่เด็ก" เมื่อเรียนจบการศึกษา อาจารย์ก็ได้ทำอาชีพวิศวกรเพียงระยะหนึ่ง จากนั้นจึงตัดสินใจรับราชการเป็นอาจารย์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อปลุกปั้นบุคลากรที่มีคุณภาพประดับวงการ ต่อมาอาจารย์ได้สอบชิงทุนไปเรียนต่อที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นเวลา 2 ปี ซึ่งตลอดระยะเวลานั้นเป็นการไปทำวิจัยอยู่เรื่องเดียว คือ "หัวฉีดน้ำมัน"  การเรียนต่อในต่างประเทศระดับสูง เขาจะใช้การทำวิจัยศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และเมื่อใครเลือกทำเรื่องใดแล้วก็จะศึกษาเรื่องเดียวตลอดชีวิต “อย่างที่อาจารย์ไปเรียน 2 ปี ฉีดน้ำมันเพียงอย่างเดียว ทำกันจนรู้ทุกอนูของหัวฉีด พอเรียนจบหลักสูตรก็คิดว่าจะเรียนต่อปริญญาเอกซึ่งต้องใช้เวลาอีก 5 ปี จึงตัดสินใจย้ายไปเรียนที่ประเทศอังกฤษแทน เนื่องจากได้รับทุนจากมหาวิทยาลัยของอังกฤษ โดยไปอยู่ที่เมืองแมนเชสเตอร์ เริ่มต้นด้วยการฝึกงานเกี่ยวกับเครื่องยนต์ประมาณ 6 เดือน จากนั้นค่อยทำวิจัยเรื่องเครื่องยนต์ทั้งระบบเป็นระยะเวลา 4 ปีเต็ม จนจบ พร้อมกันนั้น อาจารย์ได้รับจ้างบริษัทต่างๆ พัฒนาชิ้นส่วนเครื่องยนต์ เช่น เทอร์โบ ชาร์จเจอร์ เป็นต้น ในระหว่างเรียนที่อังกฤษ อาจารย์ได้รับประสบการณ์ชีวิตมากมาย ทั้งการช่วยเหลือกันระหว่างคนไทยซึ่งมีอยู่แค่ 10 กว่าคน ได้ใช้ชีวิตอย่างคนอังกฤษ และได้แต่งงาน แต่สุดท้ายต้องกลับเมืองไทย เนื่องจากทางจุฬาฯ ต้นสังกัดเรียกลับมาสอนชดใช้ทุน”

     ·     อาจารย์พูลพรเป็นวิศวกรหญิงรุ่นแรกของไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 เป็นอาจารย์สอนนักเรียน นิสิต นักศึกษา วิชาเครื่องยนต์ เรื่องการเผาไหม้ เรื่องเกี่ยวกับความร้อนทั้งหลายเพื่อเปลี่ยนมาเป็นพลังงาน รวมถึงไอเสียต่างๆ หลายมหาวิทยาลัยทั้งเมืองไทยและต่างประเทศ เป็นผู้ก่อตั้งภาควิชายานยนต์ทุกมหาวิทยาลัยทั่วไทยแล้ว อาจารย์ยังเป็นคนไทยคนแรกที่วิจัยพลังงานทดแทนได้สำเร็จ โดยยกผลงานทั้งหมดให้กับกระทรวงพลังงาน ทำให้ประเทศไทยได้ใช้พลังงานทดแทนต่างๆ อาทิ แก๊สแอลพีจี (LPG) ซีเอ็นจี (CNG) เอทานอล (Ethanol) และไบโอดีเซล (Biodiesel) มาจนถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 50 ปีแล้ว 

     ·     “สมัยก่อนเมืองไทยการทำวิจัยแตกต่างจากเมืองนอกมาก เพราะเมืองไทยไม่มีเครื่องไม้เครื่องมืออะไรเลย จะคิดจะทำอะไรแต่ละอย่างก็จำกัดทั้งเรื่องงบประมาณและเครื่องมือ ทำให้การวิจัยด้านยานยนต์ของไทยไม่เติบโตเท่าที่ควร ช่วงที่สอนที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ภาควิชาเครื่องกล ทำงานวิจัยด้วย ลองเอาน้ำมันต่างๆ น้ำมันแอลกอฮอล์ น้ำมันเมทานอล น้ำมันพืช มาใส่ทดสอบเครื่องยนต์ ที่ทำมากสุดคือ หินน้ำมัน ไปขุดหินจากแม่สอด กลับมาสกัดเป็นน้ำมัน กลั่นใส่เครื่องยนต์ได้ สอนไปสักพักคิดว่าน่าจะมีภาควิชายานยนต์ ตอนนั้นยานยนต์กำลังพัฒนา และเมืองไทยเริ่มที่จะสร้างชิ้นส่วนรถยนต์ เลยขอมหาวิทยาลัยก่อตั้งภาควิชาวิศวกรรมยานยนต์ขึ้น”

     ·     ความสำเร็จที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงในวงการยานยนต์ ในสมัยก่อนถือเป็นเรื่องแปลกใหม่ ชื่อเสียงของอาจารย์พูลพร จึงเป็นที่รู้จักง่าย อีกทั้งตลอดระยะเวลาเกือบ 50 ปีที่เป็นอาจารย์ได้ถ่ายทอดความรู้จากการเป็นนักเรียนทุนไปเรียนที่ประเทศฝรั่งเศสและอังกฤษ ปลุกปั้นลูกศิษย์ที่มีคุณภาพประดับวงการยานยนต์ จนเกษียณอายุราชการ เขียนตำราและหนังสือเกี่ยวกับเครื่องยนต์กว่า 30 เล่ม ไม่นับบทความต่างๆ ผลงานวิจัยของอาจารย์มีจำนวนมากมาย ไม่ได้ทำเพียงคนเดียวตามลำพังแต่ได้กลุ่มนักเรียน นักศึกษาเข้ามาช่วย โดยเฉพาะรถยนต์บางครั้งต้องเอารถของตัวเองเข้ามาทดลอง ขออาสาสมัคร หรือหากใครให้ช่วยทดสอบวิจัยเรื่องอะไร อาจารย์ก็ยินดี ภายใต้เงื่อนไข รายงานผลตามความเป็นจริง นอกจากนี้ อาจารย์พูลพรได้ทุ่มเทสร้างบุคลากรของประเทศให้มีความรู้ความสามารถในด้านยานยนต์ โดยอาจารย์เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Auto Challenge เป็นการส่งเสริมพัฒนานิสิต นักศึกษาให้ออกแบบรถ สร้างรถ และพัฒนาให้เข้ามาตรฐานสากล แข่งกันในประเทศและส่งไปแข่งต่างประเทศด้วย เป็นความภูมิใจที่มีส่วนช่วยพัฒนาเยาวชนของไทยให้มีความสามารถทางด้านยานยนต์ยิ่งๆขึ้น ตลอดการทำงานกว่า 60 ปี มีผลงานเลื่องชื่อมากมายนับไม่ถ้วน ในแวดวงเกี่ยวข้องกับยานยนต์ไม่มีใครไม่รู้จัก จนสื่อสารมวลชนได้ยกตำแหน่งให้เป็น “เจ้าหญิงแห่งวงการยานยนต์” 

     ·     อาจารย์พูลพรเป็นผู้มีจิตวิญญาณของวิศวกรเต็มเปี่ยม ปัจจุบันแม้จะเกษียณแล้ว แต่ยังเสียสละอุทิศตนคอยให้คำปรึกษาด้านวิศวกร และมีตำแหน่งกรรมการกว่า 20 หน่วยงาน อาทิ สภาวิศวกร กรรมการวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย กรรมการสมาคมวิศวกรรมยานยนต์ กรรมการสมาคมมมาตรฐานและคุณภาพแห่งประเทศไทย และยังทำมาตรฐานต่างๆ ให้กระทรวงอุตสาหกรรม รวมถึงเป็นที่ปรึกษาในการพัฒนาและดูแลเครื่องจักร คอยเดินตรวจโรงงานต่างๆกว่า 80 โรงต่อปี  ปัจจุบันแม้จะไม่ทำงานวิจัยใดๆแล้ว แต่ยังเดินสายให้ความรู้ด้านวิศวกรเครื่องกลและเครื่องยนต์กับทุกคนที่สนใจและลูกศิษย์ และยังมีความมุ่งมั่นที่จะปลุกปั้นบุคลากรวิศวกรไทย เพื่อทำงานช่วยเหลือสังคมและพัฒนาประเทศไทยให้มีความยั่งยืนต่อไป

8. ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

    8.1 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

             พ.ศ. 2513 - จตุรถาภรณ์มงกุฎไทย

             พ.ศ. 2518 - ตริตาภรณ์มงกุฎไทย

             พ.ศ. 2524 - ทวิติยาภรณ์มงกุฎไทย

             พ.ศ. 2528 - ทวิติยาภรณ์ช้างเผือก

             พ.ศ. 2531 - ประถมาภรณ์มงกุฎไทย

             พ.ศ. 2534 - ประถมาภรณ์ช้างเผือก

             พ.ศ. 2555 – เบญจมดิเรกคุณาภรณ์

     8.2 รางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

              ·     เป็นครูดีเด่นแห่งปี

              ·     ผลงานการทดลองวิจัยพลังงานทดแทน โดยเป็นคนไทยคนแรกที่วิจัยเรื่องนี้ ทั้งแก๊สแอลพีจี (LPG), ซีเอ็นจี (CNG), เอทานอล (Ethanol), ไบโอดีเซล (Biodiesel) หินน้ำมัน, Engine Emission & Control ทำให้ทุกวันนี้ประเทศไทยใช้พลังงานทดแทนต่างๆ ตามงานวิจัยของอาจารย์ รวมทั้งระบบไอเสีย จึงได้รับการขนานนามว่าเป็นหญิงแกร่งแห่งวงการยานยนต์

 

1) บุคคลคุณภาพแห่งปี 2024 ด้านวิทยาศาสตร์

 

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ยงค์วิมล เลณบุรี (อายุ 72 ปี)

 ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์

  1.   หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน

       1.     ราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สำนักวิทยาศาสตร์

       2.     กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ  สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์

       3.     ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์

       4.     กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

       5.     คณะกรรมการประจำสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

       6.     ศาสตราจารย์ ระดับ 11 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

       7.     ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2. ประวัติการศึกษา

 ·       พ.ศ. 2519 ปริญญาตรี สาขาคณิตศาสตร์ประยุกต์ (เกียรตินิยมอันดับ A2) มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (Australian National University), ประเทศออสเตรเลีย

 ·       พ.ศ. 2521 ปริญญาโท สาขาคณิตศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (Australian National University), ประเทศออสเตรเลีย                  

 ·       พ.ศ.2528 ปริญญาเอก สาขาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลต์ (Vanderbilt University), ประเทศสหรัฐอเมริกา

 3. ประวัติการทำงาน

 ·       พ.ศ. 2520 เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ ภาควิชาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 ·       พ.ศ. 2530 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล       

 ·       พ.ศ. 2532 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 ·       พ.ศ. 2532  ประธานหลักสูตรปริญญาโท สาขาคณิตศาสตร์ประยุกต์(หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล             

 ·       พ.ศ. 2533 รองศาสตราจารย์ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 ·       พ.ศ. 2539  ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 ·       พ.ศ. 2541-2549 หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 ·       พ.ศ. 2541  ประธานหลักสูตรปริญญาเอก สาขาคณิตศาสตร์ประยุกต์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 ·       พ.ศ. 2544-ปัจจุบัน ราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สำนักวิทยาศาสตร์

 ·       พ.ศ. 2545-ปัจจุบัน กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ  สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์

 ·       พ.ศ. 2550-ปัจจุบัน ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์

 ·       พ.ศ. 2558-ปัจจุบัน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 ·       พ.ศ. 2558-2559 President-East Asia Section of Society for Industrial and Applied Mathematics

 ·        พ.ศ.2559-ปัจจุบัน คณะกรรมการประจำสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 ·        พ.ศ. 2561  ได้รับการแต่งตั้งจากสภามหาวิทยาลัยมหิดลให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สาขาวิชาคณิตศาสตร์

4. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน

·      ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ไม่ใช่สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง             

·      ทำอะไรก็ตาม จะทำให้สุดความสามารถ ไม่ทำอะไรอย่างไม่เต็มกำลังหรือความสามารถ และไม่ยกเลิกความพยายามจนกระทั่งหมดหนทางจริงๆ

·      ทำงานอย่าง “ถวายหัว” เชื่อว่า “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำร็จอยู่ที่นั่น”  

·      ไม่ใช้อุปสรรค (obstacles) เป็นข้อแก้ตัว (excuse) ที่จะทำอะไรไม่ได้ แต่จะใช้อุปสรรคเป็นสิ่งที่ท้าทาย (challenge) ให้มุ่งมั่นทำให้มันสำเร็จ

5. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน

·      ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ ระดับ 11

·      ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สำนักวิทยาศาสตร์  

·      เป็นที่ยอมรับของผู้ร่วมงาน และมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ฯลฯ                                               

6. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

·      ระบบการศึกษาของประเทศ น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ทำให้มีบุคลากรน้อยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีความสามารถวิจัยประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ รัฐลงทุนกับการศึกษาไม่ตรงจุดและไม่เพียงพอ ความสามารถในการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านต่ำลงอย่างต่อเนื่อง บุคลากรที่มีความสามารถสูงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบัน สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาในต่างประเทศหรือทำงานร่วมกับนักวิจัยต่างชาตินั้น มีจำนวนน้อยที่เป็นนักวิจัยหรือนักผลิตคิดค้นที่อิสระ (Independent Researchers)               

7. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล

 ·      ศ.ดร. ยงค์วิมล เป็นผู้บุกเบิกการใช้เทคนิคทางด้านการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Modelling) จนเป็นที่ยอมรับว่ามีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งในทางการแพทย์ เป็นที่สนใจศึกษากันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน  โดยในยุคเริ่มต้นของการนำคณิตศาสตร์เข้าไปศึกษาวิเคราะห์ระบบทางชีววิทยาและการแพทย์ ได้นำทฤษฎีเกี่ยวกับระบบไม่เชิงเส้นเข้าไปใช้ในการจำลองเหตุการณ์ต่างๆ เช่น การหลั่งฮอร์โมนหลากหลายชนิดในร่างกายมนุษย์ ซึ่งความผิดปกติในการหลั่งฮอร์โมนเหล่านี้ เกี่ยวโยงกับอาการป่วยเป็นโรคสำคัญต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคทางความผิดปกติของการเจริญเติบโตของร่างกาย โรคทางสมอง โรคกระดูกพรุน มะเร็ง โรคเส้นเลือดสู่หัวใจอุดตัน เป็นต้น ซึ่งผลการวิเคราะห์แบบจำลองสามารถช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยและเยียวยารักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น งานวิจัยดังกล่าวเพิ่งเริ่มมีผู้หันมาให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้นในช่วง 30 กว่าปีให้หลัง ตั้งแต่ยังไม่มีใครรู้จักว่ามีแขนง Biomathematics จนกลายเป็นการวิจัยทางด้านชีววิทยาระบบ (System Biology) ซึ่งเป็นหัวข้อวิจัยที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากสำหรับนักวิจัยในปัจจุบัน  การศึกษาค้นคว้างานวิจัยในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับการนำคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้การกับแพทย์ จนทำให้เกิดสาธารณประโยชน์นั้น ทำให้ ศ.ดร.ยงค์วิมล กลายเป็นที่ยอมรับว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถ จนได้รับการยอมรับและได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปี พ.ศ. 2541 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2550 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2544

 ·      ศ.ดร.ยงค์วิมล ยังเป็นนักคณิตศาสตร์ที่มีความทุ่มเทวิจัยด้านการนำกระบวนการทางคณิตศาสตร์ใหม่ๆไปใช้อธิบายปรากฏการณ์และระบบต่างๆในทางชีววิทยา การแพทย์ ชีววิทยาการแพทย์ นิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีชีวภาพ ที่สร้างประโยชน์มากมายต่อวงการศึกษา การแพทย์ และการวิจัยของไทย โดยมีผลงานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติจำนวนกว่า 60 เรื่อง บทความในหนังสือตำราทั้งไทยและต่างประเทศ จำนวน 5 เรื่อง บทความในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ จำนวน 31 เรื่อง และอื่นๆอีกมากมาย ผลงานวิจัยในระดับนานาชาติของ ศ.ดร.ยงค์วิมล ได้รับการอ้างอิงมากจนมีนำงานวิจัยไปใช้เป็นบทเรียนในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศและอ้างอิงในหนังสือเรียน นอกจากนี้ ศ.ดร.ยงค์วิมล ยังได้รับเชิญเป็นวิทยากรในการประชุมนานาชาติหลายครั้ง ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีนและยุโรป เป็นต้น เป็นกรรมการวิชาการของการประชุมนานาชาติ เช่น การประชุมด้าน Applicable Harmonic Analysis ณ เมื่อง Beijing ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ปี ค.ศ. 2006 และด้าน Molecular Systems Biology ณ เมื่อง Quezon City ประเทศฟิลิปปินส์ ปี ค.ศ. 2008 และมีงานวิจัยหลายชิ้นที่ได้อยู่ได้ Top 25 hottest articles (ในวารสาร) ที่ได้รับการ download ไปอ่านทาง internet เป็นจำนวนมากที่สุด

 ·      ศ.ดร.ยงค์วิมล นอกจากจะเป็นผู้ทำงานอย่างทุ่มเทในด้านวิชาการแล้ว ท่านยังมีความมุ่งมั่นในการให้ความช่วยเหลือผลักดันนักวิจัยรุ่นหลัง โดยไม่กีดกันแต่เฉพาะในสถาบันที่ทำงานสังกัด โดย ศ.ดร.ยงค์วิมล เป็นผู้สร้างทีมและหัวข้อวิจัยใหม่ๆได้หลายโครงการที่ลักษณะสหวิทยาการ ใช้ความเชี่ยวชาญของบุคคลจากหลายสาขาและหลายสถาบันมาร่วมมือกันทำงานวิจัย จนกระทั่งมีผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศที่มีชื่อเสียงติดต่อมาขอร่วมงานวิจัยด้วย จึงถือว่า ศ.ดร.ยงค์วิมล อยู่ในกลุ่มของผู้บุกเบิกให้การใช้เทคนิคทาง dynamical modelling จนเป็นที่ยอมรับว่าสามารถมีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งในทางชีวการแพทย์ และยังได้รับความไว้วางใจจากภาครัฐให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550-ปัจจุบัน ซึ่งแม้จะเกษียณอายุราชการแล้ว ท่านยังคงใช้ความรู้ความสามารถเสียสละและอุทิศตนทำงานในศูนย์ฯ เพื่อหางบประมาณมาเป็นทุนสนับสนุนนักวิจัย ผู้ช่วยวิจัย เป็นการดึงดูดให้นักเรียนเข้ามาเรียนคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น และมีงบประมาณให้อาจารย์ในมหาวิทยาลัยทำวิจัยให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ในการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี “เดิมทีไม่มีศูนย์รวม ต่างชาติเขามองเป็นความอ่อนแอของสังคมคณิตศาสตร์ในประเทศไทย ในขณะที่ประเทศต่างๆจะมี math society ซึ่งเขาทำวิจัยทางคณิตศาสตร์มีผลงานเยอะในระดับแนวหน้า แต่เมืองไทยไม่มีเลย” ปัจจุบันนี้ประเทศไทยก็มีศูนย์ความเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยนักวิจัยที่เก่งๆ มาจากมหาวิทยาลัยหลักๆของประเทศ มาช่วยงานด้านการวิจัยการทดลองในห้องปฏิบัติการและผลิตบัณฑิตในระดับต่างๆ เพื่อช่วยขยายมาตรฐานการจัดการศึกษาของไทยที่ขาดแคลนบุคลากรในด้านนี้ และเพิ่มงานวิจัยรองรับภาคอุตสาหกรรมที่สอดคล้อง เพื่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศให้มีศักยภาพในการแข่งขันกับนานาชาติในเวทีเศรษฐกิจโลก

 ·      ศ.ดร.ยงค์วิมล ยังเป็นผู้เสียสละทรัพย์เพื่อช่วยเหลือสังคมในด้านต่างๆ อาทิเช่น

 -   บริจาคเงินเพื่อซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์แก่โรงพยาบาลที่ขาดแคลนในภาวะที่มีโรคระบาด

 -   ริเริ่มการรวมทุน และส่วนตัวได้บริจาคเงินจำนวน 30,000 บาท ให้โรงพยาบาลราชวิถีจัดซื้อเครื่องช่วยหายใจให้ผู้ป่วยโรคโควิด

 -   บริจาคเงินเข้าสมาคมศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นประจำเพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่นักศึกษาที่ขาดแคลน         

 -   นำเงินที่ภาควิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จ่ายเป็นค่าจ้างในตำแหน่งที่ปรึกษาภาควิชาคณิตศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บริจาคกลับให้ภาควิชาคณิตศาสตร์หลังหักภาษีแล้ว เป็นประจำทุกเดือนตั้งแต่เกษียณอายุเป็นต้นมา เพื่อให้ภาควิชาฯ ได้ใช้เงินดังกล่าวเจือจุนกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อภาควิชาฯ

 8. ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

      8.1 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ

             ·     พ.ศ. 2526 : จัตุถาภรณ์ช้างเผือก

             ·     พ.ศ. 2530 : ตริตาภรณ์มงกุฏไทย

             ·     พ.ศ. 2534 : ทวีติยาภรณ์มงกุฏไทย

             ·     พ.ศ. 2538 : ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก

             ·     พ.ศ. 2541 : ประถมมาภรณ์มงกุฎไทย

             ·     พ.ศ. 2544 : ประถมากรณ์ช้างเผือก

             ·     พ.ศ. 2545 : เหรียญจักรพรรดิมาลา

             ·     พ.ศ. 2547 : มหาวชิรมงกุฏ

       8.2 รางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

             ·     พ.ศ. 2536 รางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยม ด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

             ·     พ.ศ. 2538-2543 รางวัลทุนพัฒนานักวิจัย (เมธีวิจัย) จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

             ·     พ.ศ. 2541 รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ด้านวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ จากสำนักงานคณะ กรรมการวิจัยแห่งชาติ

             ·     พ.ศ. 2542-2545 รางวัลทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย (เมธีวิจัยอาวุโส) สาขาคณิตศาสตร์ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

             ·     พ.ศ. 2544 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สำนักวิทยาศาสตร์

             ·     พ.ศ. 2545-2548 เมธีวิจัยอาวุโส สกว. สาขาคณิตศาสตร์ ระยะที่ 2         

             ·     พ.ศ. 2548 รางวัลทุนส่งเสริมกลุ่มนักวิจัยอาชีพ จากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

             ·     พ.ศ. 2550 รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2550 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์                               

             ·     พ.ศ. 2566 รางวัล Alumni Social Empowerment 2023 จาก The Australian Alumni Association (Thailand)

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจเงินทุนและหลักทรัพย์

  

1. คุณรัชนี แสนศิลป์ชัย

(ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แรบบิท แคช จำกัด)

 


2. คุณสมพร อำไพสุทธิพงษ์

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีซี่ เลนดิ้ง จำกัด)

 


3. คุณฐิภา นววัฒนทรัพย์

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์


1. คุณธีระ ทองวิไล

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน))

 


2. คุณพชร ธนวงศ์เกษม

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บางกอก แอสเซท อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน))

 


3. รศ.ดร. สุรพล สายพานิช

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท โปรเกรส เทคโนโลยี คอนซัลแท็นส์ จำกัด)

 


4. คุณปณาลี ภัทรประสิทธิ์

(ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กลุ่มงานกลยุทธ์ธุรกิจ บริษัท ดอนเมืองพัฒนา จำกัด)

 


5. คุณวุฒิพล ถาวรธวัช

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท เออร์เบิน ฮอสพิทาลิตี้ กรุ๊ป จำกัด)

 


6. คุณศิริพร สิงหรัญ

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลีอาร์คีเทค จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจยานยนต์


1. คุณสุรภูมิ อุดมวงศ์

(รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานการบริการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด)

 


2. คุณสกล ตั้งก่อสกุล

(กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสซี แอลมอเตอร์ พาร์ท จำกัด (มหาชน))

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต


1. คุณนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน))

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


1. ผศ.(พิเศษ) ดร.นพ. พลวรรธน์ วิทูรกลชิต

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินโนซุส จำกัด)

 

 

2. คุณสุธี อภิชนรัตนกร

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แนท แอบโซลูท เทคโนโลยีส์ จำกัด (มหาชน))

 


3. คุณภาณิน ตัณฑเศรษฐี

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท บลู โซลูชั่น จำกัด (มหาชน))

 


4. คุณนิติ เมฆหมอก

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีนเนอร์ยี่ อินโนเวชั่น จำกัด)

 


5. คุณชัชฎา อภิชาสุทธากุล

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทัช เทคโนโลยี จำกัด)

 


6. คุณณัฐธิดา สงวนสิน

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท บัซซี่บีส์ จำกัด)

 


7. ผศ.ดร. รุ่งโรจน์ โชคงามวงศ์

(Chief Technology Officer (CTO) บริษัท เรียลสมาร์ท จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค


1. ดร.ทิศพล นครศรี

(ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บางกอกโซลาร์ พาวเวอร์ จำกัด)

 


2. ดร.ปรกฤษฏ์ เลี่ยวไพรัตน์

(รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีพีไอโพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน))

 


3. ดร.ปิยพรรณ หันนาคินทร์

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท ออปอเรชั่นนอล เอ็นเนอร์ยี่ กรุ๊ป จำกัด)

 


4. คุณวีรพล ยิ้มสินสมบูรณ์

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท บริลเลี่ยนท์ พาวเวอร์ จำกัด)

 

 บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจบริการเฉพาะกิจ


1. ดร.จิรพันธ์ โชติรัตนศักดิ์

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อี-สแควร์ สิ่งแวดล้อมและวิศวกรรม จำกัด)

 


2. ดร.วีระชัย วงษ์วีระนิมิตร

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินฟรา พลัส จำกัด)

 


3. คุณภัทร์วีร์ ตั้งอรุณสันติ

(ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ โรงพยาบาลผู้สูงอายุและศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เฌ้อสเซอรี่ โฮม)

 


4. ผศ.พญ. พูนพิศมัย สุวะโจ

(ผู้อำนวยการฝ่ายแพทย์ และผู้ร่วมก่อตั้ง มาดามคลาสสิค คลินิก)

 


5. ดร.ทรงศักดิ์ พุ่มสวัสดิ์

(ประธานกรรมการบริหาร บริษัท คีย์ โซลูชั่น เทรนนิ่ง จำกัด)

 


6. แพทย์หญิง มัณฑนัส พีระพัฒน์ชัย

(ประธานกรรมการ บริษัท ทำด้วยใจ ตั้งใจทำ จำกัด)

 

 

7. คุณก้องภพ เอื้อศิริทรัพย์

(กรรมการ บริษัท นับเงินไม่ทัน จำกัด)

 


8. นายแพทย์ กีรติ นามิสา

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี แอนด์ ที 24 จำกัด)

 


9. นายแพทย์ สืบพงษ์ เอ่งฉ้วน

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีเทอร์นิตี้ 369 จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจการเกษตร


1. ดร.พิทูร กอเทพวัลย์

(ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เค ที ดับเบิ้ลยู กรุ๊ป จำกัด)

 


2. คุณณิชา อัษฎาธร

(รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจน้ำตาลและอาหาร กลุ่มไทยรุ่งเรือง (TRR Group))

 


3. คุณกิตติพงษ์ พวงมาลา

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กลุ่มสมอทอง จำกัด)

 


4. คุณอนุสรณ์ ขวัญคงบุญ

(กรรมการผู้จัดการ และผู้ก่อตั้ง บริษัท โคโค่ อะกรีคัลเจอร์ จำกัด)

 


5. คุณชาณุวัฒน์ สิวะโมกข์

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คิงส์ เอ้กส์ (ประเทศไทย) จำกัด)

 


6. คุณอินทนนท์ จิราวณิชานันท์

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีเค ซลอเทอร์เฮาส์ จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม


1. คุณมณีสุดา ศิลาอ่อน

(ประธานเจ้าหน้าที่สำนักพัฒนาความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน))

 


2. คุณอัสนี มาลัมพุช

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสดี กัทธรี อินเตอร์เนชั่นแนล มรกต จำกัด (มหาชน))

 


3. คุณเสาวลักษณ์ โชติเทวัญ

(ประธานคณะบริหาร บริษัท เฮ็ลธ์ฟู้ดส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด)

 


4. คุณวริษา เนื้อนุ้ย บาร์โรด์

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินโนดีว่า จำกัด)

 


5. คุณอัญชลี เทวอักษร

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาหารสุขภาพดี จำกัด)

 


6. คุณวสุพล ตั้งสมบัติวิสิทธิ์

(กรรมการและผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายการตลาดและฝ่ายขายในประเทศ บริษัท หยั่น หว่อ หยุ่น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด)

 


7. ดร.บัณฑิต จำรัส

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไฮไลฟ์ โกลบอล ฟู้ดส์ จำกัด)

 


8. คุณเดชา สุวลักษณ์

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไดมอนด์ ฟู้ด โปรดักท์ จำกัด)

 


9. คุณฐานพงศ์ จุ้ยประเสริฐ

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท แม็คซ์ฟู๊ด กรุ๊ป จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์


1. ดร.สาโรช ธีรศิลป

(กรรมการผู้จัดการ และประธานกรรมการ บริษัท ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ดร.สาโรช จำกัด)

 


2. เภสัชกร ศรสหณัฐฏ์ อาชามณีภาดาภัทร

(กรรมการบริหาร บริษัท ฮาชิ แลบอราทอรี (ประเทศไทย) จำกัด)

 


3. ดร.วาสนา อินทะแสง

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท รีโว่เมด กรุ๊ป จำกัด)

 


4. ดร.ภก. คมสัณห์ ฐานะโชติพันธุ์

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซเว่นสตาร์ ฟาร์มาซูติคอล จำกัด)

 


5. คุณรุจิรา ตระกูลยิ่งเจริญ

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท เซนท์ แอนด์ เซนส์ แลบอราทอรี่ จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจของใช้ในครัวเรือนและสำนักงาน


1. คุณเมธิน เลอสุมิตรกุล

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มุ่งพัฒนา อินเตอร์แนชชั่นแนล จำกัด (มหาชน))

 


2. ดร.เอกชัย จันทร์ทายะวิจิตร

(ประธานกรรมการบริหาร บริษัท จากัวร์อินดัสตรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด)

 


3. คุณธีรชัย องค์วิเศษไพบูลย์

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท โฮมเอ็กซ์เพิร์ท เอเชีย จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจพาณิชย์


1. คุณธนินท์รัฐ ธนเศรษฐ์โตกุล

(ประธานกรรมการ บริษัท มหานคร เมททอล สแครป จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจการแพทย์


1. นายแพทย์ พณะ จัทรกมล

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บางปะกอก ฮอสพิทอล กรุ๊ป จำกัด)

 


2. ดร.ทันตแพทย์ อนุศักดิ์ คงมาลัย

(ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โรงพยาบาลศุภมิตร จำกัด (มหาชน))

 


3. นายแพทย์ เทวเดช อัศดามงคล

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้อำนวยการ โรงพยาบาลบางมด)

 


4. นายแพทย์ ชัยฤกษ์ ลิมปวัฒนศิริ

(ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลรวมแพทย์ฉะเชิงเทรา)

 


5. นายแพทย์ ฉัตรชัย ศรีบัณฑิต

(ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แอ๊บโซลูท เวลเนส จำกัด)

 


6. คุณจิรัญญา ประชาเสรี

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท ไครโอวิวา (ประเทศไทย) จำกัด)

 


7. ผศ.นพ. สุรัตน์ ตันประเวช

(ผู้ก่อตั้ง บริษัท สไมล์ ไมเกรน จำกัด)

 


8. นายสัตวแพทย์ ณฐวุฒิ คณาติยานนท์

(ผู้อำนวยการ บริษัท พรีเมียร์ มาสเตอร์ จำกัด)

 


9. คุณธงชัย โชคถนอมทรัพย์

(ประธานกรรมการบริหาร บริษัท คินรีแฮพ แอนด์ โฮมแคร์ จำกัด)

 


10. ว่าที่ร้อยตรี กันตพัฒน์ คเชนทร์ไพศาล

(ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายและการตลาด บริษัท รีไววา เซลล์ (ประเทศไทย) จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจวัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร


1. ดร.พยุง ศักดาสาวิตร

(ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท ไทย ออโต ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด (มหาชน))

 


2. คุณภุมริน ซอศรีสาคร

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท โพรลิฟิค ฮีทติ้ง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด)

 


3. คุณชยวีร์ เรืองเดชสุวรรณ

(ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไฮ-คอม คอร์ปอเรชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจวัสดุก่อสร้าง


1. คุณพงศภัค นครศรี

(กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานขายและการตลาด บริษัท สายไฟฟ้าบางกอกเคเบิ้ล จำกัด)

 


2. คุณพีระศิลป์ ตั้งกิจงามวงศ์

(กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลายวิจิตร จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์


1. ดร.เอกพงษ์ ตั้งศรีสงวน

(ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน บริษัท เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน))

 


2. คุณกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่ม ไทย สมายล์ กรุ๊ป บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด)

 


3. คุณวรกฤต ชัยสถาพร

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วันเดอร์ เทคโนโลยี ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด)

 

บุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจแฟชั่น


1. คุณวาที วิเชียรนิตย์

(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วีอิ้ง อินเตอร์เทรด จำกัด)

 

ทำเนียบเกียรติยศ (Hall of Fame)

เยาวชนคุณภาพแห่งปี 2024

 

 

  1.  นายธนากร สรรพกิจ  อายุ 21 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา Robotics & Ai จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร

 

 

  2.  นายญาณิศ ลุนพรม  อายุ 21 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดกรุงเทพมหานคร

 

  3.  นางสาวขนิษฐา โถยะโล  อายุ 21 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จังหวัดเชียงราย

 

  4.  นายศิริโชค สุขสมแดน  อายุ 20 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมวัสดุ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

 

  5.  นายกฤษฎา จงรักษ์  อายุ 20 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดพัทลุง

 

  6.  นายอนุชิต โมคทิพย์  อายุ 21 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี

 

  7.  นายอภิสิทธิ์ เพชรดี  อายุ 22 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดขอนแก่น

 

  8.  นายกิตติพงศ์ สุนทรวัฒนพงศ์  อายุ 22 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีทางอาหาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร

 

  9.  นายยติภัทร หงษ์ทอง  อายุ 21 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดนครปฐม

 

  10.  นายจักรพันธ์ วงษ์ไทร  อายุ 20 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

 

  11.  นางสาววชิรปาณี แซ่เฮ้ง  อายุ 22 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี

 

  12.  นายทัตพงษ์ วงศ์ไชยทา  อายุ 20 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

 

  13.  นางสาวปิยธิดา รักษามั่น  อายุ 20 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

 

  14.  นายยศกร เกษี  อายุ 21 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

 

  15.  นายปิยพงษ์ จำนงเพียร  อายุ 20 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

 

  16.  นายอวิรุทธ์ สิงห์กลิ่น  อายุ 21 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก

 

  17.  นางสาวหทัยรัตน์ นาคา  อายุ 21 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาเคมี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

 

  18.  นายจักรกฤษ พลหนองหลวง  อายุ 21 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จังหวัดสกลนคร

 

  19.  นางสาวมนัญชยา พวงลำเจียก  อายุ 20 ปี

ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมและสาธารณภัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จังหวัดกรุงเทพมหานคร

มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถานที่ติดต่อ :

288/52 อาคารมูลนิธิ มสวท. ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220

Tel. +66(0) 2552-5200 Fax. +66(0) 2551-4422 Email : thaifstt@gmail.com 

Copyright © 2008-2015 หากมีปัญหาในการรับชมกรุณาติดต่อ Webmaster ที่ admin@thaifstt.org