2) บุคคลคุณภาพแห่งปี 2024 ด้านเทคโนโลยี

 

ศาสตราภิชาน ดร. พูลพร แสงบางปลา (อายุ 87 ปี)

 นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย

1.  หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน

        1. นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย (TSAE)

2. ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (TNI)

3. ผู้เชี่ยวชาญ สาขาวิศวกรรมยานยนต์ สมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย (TSAE)

4. ประธานกลุ่ม EV Alliance สมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย (TSAE)

5. นายกกิตติมศักดิ์์ สมาคมวิศวกรหญิงไทย / ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์์ สมาคมมาตรฐานและคุณภาพแห่งประเทศไทย

6. อนุกรรมการเพื่อกําหนดหลักเกณฑ์และการดําเนินงานต่างๆตาม พรบ.ควบคุมอาคาร กรมโยธาธิการ

7.  อนุกรรมการส่งเสริมสาขาวิชาชีพวิศวกรรมที่ไม่ใช่วิศวกรรมควบคุม สภาวิศวกร

8.  อนุกรรมการวิชาการรายสาขา คณะที่ 28/1 มาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่น สมอ.

9.  อนุกรรมการวิชาการรายสาขา คณะที่ 28/3 มาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิง สมอ.

10. กรรมการนโยบายมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรม วสท.

11. Impartiality Advisory Committee พ.ศ. 2550-ปัจจุบัน

12. SGS-ที่ปรึกษา CPPM โรงงานอาหารสัตว์ 94 โรงงาน ประเทศจีน พ.ศ. 2563-ปัจจุบัน

13. รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 ข้าราชการบำนาญ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

2. ประวัติการศึกษา

 ·     พ.ศ. 2504 วศ.บ. (เครื่องกล) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 ·     พ.ศ. 2508 Dip. IFP (Mechanical) L’Institut Francais du Petrole, France

 ·     พ.ศ. 2511 M.Sc. (Mechanical Engineering) University of Manchester Institute of Science and Technology, United Kingdom

 

3. ประวัติการทำงาน

    ประวัติรับราชการ

    ·     พ.ศ. 2504 ตำแหน่ง อาจารย์

    ·     พ.ศ. 2518 ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์

    ·     พ.ศ. 2522 ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    ·     พ.ศ. 2523-2527 ประธานกรรมการหลักสูตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    ·     พ.ศ. 2526-2528 ผู้อำนวยการฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    ·     พ.ศ. 2528-2530 รองผู้อำนวยการสถาบันโลหะและวัสดุ

    ·     พ.ศ. 2530-2534 รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    ·     พ.ศ. 2531 ประธานโครงการจัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมยานยนต์ / หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์

    ·     รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 ข้าราชการบำนาญ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-ปัจจุบัน

 ประวัติการทำงานในภาครัฐ ภาคเอกชน และสังคม

    ·     คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิรน์เอเชีย

    ·     คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัตนโกสินทร์

    ·     คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

    ·     อุปนายกคนที่ 1 สภาวิศวกร

    ·     นายกสมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย (TSAE) 3 สมัย

    ·     นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมวิศวกรหญิงไทย 5 สมัย

    ·     นายกสมาคมวิศวกรหญิงไทย (TWEA) พ.ศ. 2561-2563

    ·     ประธานกรรมการสาขายานยนต์ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย 2 สมัย

    ·     นายกสมาคมมาตรฐานไทย

    ·     กรรมการบริหารสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

    ·     ประธานร่วม ASEAN Consultative Committee for Standards and Quality (ACCSQ - APWG)

    ·     ประธานกรรมการวิชาการมาตรฐานยานยนต์และชิ้นส่วน (กว. 991)

    ·     ประธานคณะกรรมการวิชาการมาตรฐานไอเสียจากยานยนต์ (กว. 697)

    ·     กรรมการวิชาการมาตรฐาน (กว. 525) / กรรมการวิชาการมาตรฐาน ISO/TC 238

    ·     กรรมการสถาบันเสริมสร้างฯ / สถาบันพลังงาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

    ·     กรรมการสถาบันขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    ·     กรรมการจรรยาบรรณ 3 สมัย สภาวิศวกร

    ·     ประธานกรรมการสาขายานยนต์ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย

    ·     อนุกรรมการกําหนดมาตรฐานควบคุมมลพิษทางอากาศจากยานพาหนะ กรมควบคุมมลพิษ

    ·     ทําการสอน วิจัย และให้คําปรึกษางานวิศวกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ กว่า 50 ปี

    ·     บรรณาธิการวารสาร TSAE 25 ปี

    ·     อุปนายกฝ่ายวิชาการ สมาคมมาตรฐานไทย

    ·     กรรมการบริหาร สมาคมมาตรฐานไทย

    ·     กรรมการและอนุกรรมการ เทปวิชาการสภาอุตสาหกรรม

    ·     ประธานกรรมการวางมาตรฐานไอเสียยานยนต์ สมอ.

    ·     กรรมการมาตรฐานระหว่างประเทศ สมอ.

    ·     ที่ปรึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

    ·     กรรมการและที่ปรึกษาหลักสูตรทางไกล SANNO สสท

    ·     กรรมการและที่ปรึกษากลุ่มบริหารการผลิต TMA

    ·     ที่ปรึกษาและวิทยากรชมรมความร่วมมือโตโยต้าประเทศไทย

    ·     ผู้จัดกรายการวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ “พูดจาประสาช่าง”

    ·     ประธานจัดงานสัมมนานานาชาติ Auto Tech’ 90

    ·     ประธานโครงการ ISO 9000 สมฐ.

    · ประธานกลุ่มบริหารการผลิตและปฏิบัติการ สมาคมธุรกิจแห่งประเทศไทย

    · กรรมการบริหารสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย

 ความชำนาญพิเศษ

    ·     ที่ปรึกษางานทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลให้แก่โรงงานต่างๆ

    ·     พลังงานทดแทนในเครื่องยนต์และยานยนต์ / ไอเสียจากรถยนต์ และการควบคุม

    ·     QCC / QA / ISO 9000 / ISO 14000 / ISO/TS 16949 / ISO/IEC 17025 / ISO/TC 238 / การควบคุมคุณภาพ

    ·     การบริหารการผลิต / การเพิ่มผลผลิต / การจัดระบบองค์กร / การบํารุงรักษาทวีผล (TPM) / Reliability

    ·     การศึกษาทางไปรษณีย์ / การเรียนการสอนทางไกล / การมาตรฐาน

    ·     การวางระบบการอบรมหลักสูตรทางไกล / หลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์ / หลักสูตรต่างๆ / และฝึกอบรมวิทยากร

 4. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน

    ·  พัฒนาคุณภาพและเพิ่มผลผลิตด้านเทคโลยีอุตสาหกรรมของประเทศ เพื่อชาติและประชาชน

 5. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน

     ·     ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

     ·     วิศวกรหญิงดีเด่น จากสมาคมวิศวกรหญิงไทย

     ·     เป็นประธานมาตรฐานและคุณภาพ ด้านยานยนต์ ASEAN มา 11 ปี

     ·     รางวัลวิศวกรหญิงเกียรติคุณดีเด่นตลอดชีวิต ปี 2567

     ·     รางวัลวิศวจุฬากิตติคุณอาวุโสดีเด่น ครั้งที่ 7 ประจำปี 2562

 6. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    ·     ต้องการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ทันสากลโลก

    ·     ไม่มีคำว่ายาก หากนำความรู้ที่ได้ศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยตลอด 4 ปี มาประยุกต์ใช้ในโลกของการทำงานได้อย่างเหมาะสม ภายใต้การยึดมั่นในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม สิ่งสำคัญสำหรับวิศวกรรุ่นใหม่ คือจะต้องเรียนรู้รอบด้าน เพื่อก้าวให้ทันกับยุคอุตสาหกรรม 4.0 และต้องไม่เก่งเฉพาะวิชาที่เรียนมาเท่านั้น ต้องศึกษาศาสตร์วิศวกรรม ทั้งวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอุตสาหการ รวมถึงหลักการบริหารงาน การบริหารคน และการบริหารเงิน

7. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล

     ·   ทำ Bangkok Driving Mode ให้ประเทศไทย, ผลงานการทดลองวิจัยพลังงานทดแทนในยานยนต์, LPG, CNG, Biodiesel, หินน้ำมัน, Engine Emission & Control

     ·    อาจารย์พูลพร แสงบางปลา เดิมครอบครัวทำกิจการโรงงานรับกลึงเหล็กและรับทำงานทุกอย่างเกี่ยวกับเหล็ก รวมถึงการซ่อมเครื่องยนต์ต่างๆ โดยครอบครัวมีแต่ลูกสาว ดังนั้นอาจารย์พูนพรจึงได้เรียนรู้และช่วยกิจการของที่บ้านเกี่ยวกับงานกลึง เจาะ ประกอบ ซ่อม ตั้งแต่อายุ 7 ขวบ เรื่อยมาจนถึงช่วงเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย อาจารย์ได้เลือกสิ่งที่ถนัดและชอบ คือ วิศวกรรมยานยนต์ ซึ่งมีความท้าทายมากในการตัดสินใจก้าวเข้าสู่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ในรั้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2500 โดยเป็นผู้หญิงคนเดียวในคณะ ทำให้ต้องมีความมานะ อดทน เพื่อพิสูจน์ถึงความเป็นผู้หญิงที่สามารถประกอบอาชีพวิศวกรได้

     ·     "สมัยนั้น ตอนเข้าเรียนที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อนๆตกใจกันใหญ่ เห็นเราเป็นผู้หญิง แต่ไฉนเก่งปฏิบัติกว่าคนอื่น ตัด เจาะ เจียร์ มุดใต้ท้องรถคล่องแคล่ว ก็แหม จะไม่เก่งได้อย่างไร ทำมาตั้งแต่เด็ก" เมื่อเรียนจบการศึกษา อาจารย์ก็ได้ทำอาชีพวิศวกรเพียงระยะหนึ่ง จากนั้นจึงตัดสินใจรับราชการเป็นอาจารย์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อปลุกปั้นบุคลากรที่มีคุณภาพประดับวงการ ต่อมาอาจารย์ได้สอบชิงทุนไปเรียนต่อที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นเวลา 2 ปี ซึ่งตลอดระยะเวลานั้นเป็นการไปทำวิจัยอยู่เรื่องเดียว คือ "หัวฉีดน้ำมัน"  การเรียนต่อในต่างประเทศระดับสูง เขาจะใช้การทำวิจัยศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และเมื่อใครเลือกทำเรื่องใดแล้วก็จะศึกษาเรื่องเดียวตลอดชีวิต “อย่างที่อาจารย์ไปเรียน 2 ปี ฉีดน้ำมันเพียงอย่างเดียว ทำกันจนรู้ทุกอนูของหัวฉีด พอเรียนจบหลักสูตรก็คิดว่าจะเรียนต่อปริญญาเอกซึ่งต้องใช้เวลาอีก 5 ปี จึงตัดสินใจย้ายไปเรียนที่ประเทศอังกฤษแทน เนื่องจากได้รับทุนจากมหาวิทยาลัยของอังกฤษ โดยไปอยู่ที่เมืองแมนเชสเตอร์ เริ่มต้นด้วยการฝึกงานเกี่ยวกับเครื่องยนต์ประมาณ 6 เดือน จากนั้นค่อยทำวิจัยเรื่องเครื่องยนต์ทั้งระบบเป็นระยะเวลา 4 ปีเต็ม จนจบ พร้อมกันนั้น อาจารย์ได้รับจ้างบริษัทต่างๆ พัฒนาชิ้นส่วนเครื่องยนต์ เช่น เทอร์โบ ชาร์จเจอร์ เป็นต้น ในระหว่างเรียนที่อังกฤษ อาจารย์ได้รับประสบการณ์ชีวิตมากมาย ทั้งการช่วยเหลือกันระหว่างคนไทยซึ่งมีอยู่แค่ 10 กว่าคน ได้ใช้ชีวิตอย่างคนอังกฤษ และได้แต่งงาน แต่สุดท้ายต้องกลับเมืองไทย เนื่องจากทางจุฬาฯ ต้นสังกัดเรียกลับมาสอนชดใช้ทุน”

     ·     อาจารย์พูลพรเป็นวิศวกรหญิงรุ่นแรกของไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 เป็นอาจารย์สอนนักเรียน นิสิต นักศึกษา วิชาเครื่องยนต์ เรื่องการเผาไหม้ เรื่องเกี่ยวกับความร้อนทั้งหลายเพื่อเปลี่ยนมาเป็นพลังงาน รวมถึงไอเสียต่างๆ หลายมหาวิทยาลัยทั้งเมืองไทยและต่างประเทศ เป็นผู้ก่อตั้งภาควิชายานยนต์ทุกมหาวิทยาลัยทั่วไทยแล้ว อาจารย์ยังเป็นคนไทยคนแรกที่วิจัยพลังงานทดแทนได้สำเร็จ โดยยกผลงานทั้งหมดให้กับกระทรวงพลังงาน ทำให้ประเทศไทยได้ใช้พลังงานทดแทนต่างๆ อาทิ แก๊สแอลพีจี (LPG) ซีเอ็นจี (CNG) เอทานอล (Ethanol) และไบโอดีเซล (Biodiesel) มาจนถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 50 ปีแล้ว 

     ·     “สมัยก่อนเมืองไทยการทำวิจัยแตกต่างจากเมืองนอกมาก เพราะเมืองไทยไม่มีเครื่องไม้เครื่องมืออะไรเลย จะคิดจะทำอะไรแต่ละอย่างก็จำกัดทั้งเรื่องงบประมาณและเครื่องมือ ทำให้การวิจัยด้านยานยนต์ของไทยไม่เติบโตเท่าที่ควร ช่วงที่สอนที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ภาควิชาเครื่องกล ทำงานวิจัยด้วย ลองเอาน้ำมันต่างๆ น้ำมันแอลกอฮอล์ น้ำมันเมทานอล น้ำมันพืช มาใส่ทดสอบเครื่องยนต์ ที่ทำมากสุดคือ หินน้ำมัน ไปขุดหินจากแม่สอด กลับมาสกัดเป็นน้ำมัน กลั่นใส่เครื่องยนต์ได้ สอนไปสักพักคิดว่าน่าจะมีภาควิชายานยนต์ ตอนนั้นยานยนต์กำลังพัฒนา และเมืองไทยเริ่มที่จะสร้างชิ้นส่วนรถยนต์ เลยขอมหาวิทยาลัยก่อตั้งภาควิชาวิศวกรรมยานยนต์ขึ้น”

     ·     ความสำเร็จที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงในวงการยานยนต์ ในสมัยก่อนถือเป็นเรื่องแปลกใหม่ ชื่อเสียงของอาจารย์พูลพร จึงเป็นที่รู้จักง่าย อีกทั้งตลอดระยะเวลาเกือบ 50 ปีที่เป็นอาจารย์ได้ถ่ายทอดความรู้จากการเป็นนักเรียนทุนไปเรียนที่ประเทศฝรั่งเศสและอังกฤษ ปลุกปั้นลูกศิษย์ที่มีคุณภาพประดับวงการยานยนต์ จนเกษียณอายุราชการ เขียนตำราและหนังสือเกี่ยวกับเครื่องยนต์กว่า 30 เล่ม ไม่นับบทความต่างๆ ผลงานวิจัยของอาจารย์มีจำนวนมากมาย ไม่ได้ทำเพียงคนเดียวตามลำพังแต่ได้กลุ่มนักเรียน นักศึกษาเข้ามาช่วย โดยเฉพาะรถยนต์บางครั้งต้องเอารถของตัวเองเข้ามาทดลอง ขออาสาสมัคร หรือหากใครให้ช่วยทดสอบวิจัยเรื่องอะไร อาจารย์ก็ยินดี ภายใต้เงื่อนไข รายงานผลตามความเป็นจริง นอกจากนี้ อาจารย์พูลพรได้ทุ่มเทสร้างบุคลากรของประเทศให้มีความรู้ความสามารถในด้านยานยนต์ โดยอาจารย์เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Auto Challenge เป็นการส่งเสริมพัฒนานิสิต นักศึกษาให้ออกแบบรถ สร้างรถ และพัฒนาให้เข้ามาตรฐานสากล แข่งกันในประเทศและส่งไปแข่งต่างประเทศด้วย เป็นความภูมิใจที่มีส่วนช่วยพัฒนาเยาวชนของไทยให้มีความสามารถทางด้านยานยนต์ยิ่งๆขึ้น ตลอดการทำงานกว่า 60 ปี มีผลงานเลื่องชื่อมากมายนับไม่ถ้วน ในแวดวงเกี่ยวข้องกับยานยนต์ไม่มีใครไม่รู้จัก จนสื่อสารมวลชนได้ยกตำแหน่งให้เป็น “เจ้าหญิงแห่งวงการยานยนต์” 

     ·     อาจารย์พูลพรเป็นผู้มีจิตวิญญาณของวิศวกรเต็มเปี่ยม ปัจจุบันแม้จะเกษียณแล้ว แต่ยังเสียสละอุทิศตนคอยให้คำปรึกษาด้านวิศวกร และมีตำแหน่งกรรมการกว่า 20 หน่วยงาน อาทิ สภาวิศวกร กรรมการวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย กรรมการสมาคมวิศวกรรมยานยนต์ กรรมการสมาคมมมาตรฐานและคุณภาพแห่งประเทศไทย และยังทำมาตรฐานต่างๆ ให้กระทรวงอุตสาหกรรม รวมถึงเป็นที่ปรึกษาในการพัฒนาและดูแลเครื่องจักร คอยเดินตรวจโรงงานต่างๆกว่า 80 โรงต่อปี  ปัจจุบันแม้จะไม่ทำงานวิจัยใดๆแล้ว แต่ยังเดินสายให้ความรู้ด้านวิศวกรเครื่องกลและเครื่องยนต์กับทุกคนที่สนใจและลูกศิษย์ และยังมีความมุ่งมั่นที่จะปลุกปั้นบุคลากรวิศวกรไทย เพื่อทำงานช่วยเหลือสังคมและพัฒนาประเทศไทยให้มีความยั่งยืนต่อไป

8. ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

    8.1 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

             พ.ศ. 2513 - จตุรถาภรณ์มงกุฎไทย

             พ.ศ. 2518 - ตริตาภรณ์มงกุฎไทย

             พ.ศ. 2524 - ทวิติยาภรณ์มงกุฎไทย

             พ.ศ. 2528 - ทวิติยาภรณ์ช้างเผือก

             พ.ศ. 2531 - ประถมาภรณ์มงกุฎไทย

             พ.ศ. 2534 - ประถมาภรณ์ช้างเผือก

             พ.ศ. 2555 – เบญจมดิเรกคุณาภรณ์

     8.2 รางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

              ·     เป็นครูดีเด่นแห่งปี

              ·     ผลงานการทดลองวิจัยพลังงานทดแทน โดยเป็นคนไทยคนแรกที่วิจัยเรื่องนี้ ทั้งแก๊สแอลพีจี (LPG), ซีเอ็นจี (CNG), เอทานอล (Ethanol), ไบโอดีเซล (Biodiesel) หินน้ำมัน, Engine Emission & Control ทำให้ทุกวันนี้ประเทศไทยใช้พลังงานทดแทนต่างๆ ตามงานวิจัยของอาจารย์ รวมทั้งระบบไอเสีย จึงได้รับการขนานนามว่าเป็นหญิงแกร่งแห่งวงการยานยนต์

 

มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถานที่ติดต่อ :

288/52 อาคารมูลนิธิ มสวท. ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220

Tel. +66(0) 2552-5200 Fax. +66(0) 2551-4422 Email : thaifstt@gmail.com 

Copyright © 2008-2015 หากมีปัญหาในการรับชมกรุณาติดต่อ Webmaster ที่ admin@thaifstt.org