1) บุคคลคุณภาพแห่งปี 2024 ด้านวิทยาศาสตร์

 

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ยงค์วิมล เลณบุรี (อายุ 72 ปี)

 ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์

  1.   หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน

       1.     ราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สำนักวิทยาศาสตร์

       2.     กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ  สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์

       3.     ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์

       4.     กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

       5.     คณะกรรมการประจำสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

       6.     ศาสตราจารย์ ระดับ 11 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

       7.     ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2. ประวัติการศึกษา

 ·       พ.ศ. 2519 ปริญญาตรี สาขาคณิตศาสตร์ประยุกต์ (เกียรตินิยมอันดับ A2) มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (Australian National University), ประเทศออสเตรเลีย

 ·       พ.ศ. 2521 ปริญญาโท สาขาคณิตศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (Australian National University), ประเทศออสเตรเลีย                  

 ·       พ.ศ.2528 ปริญญาเอก สาขาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลต์ (Vanderbilt University), ประเทศสหรัฐอเมริกา

 3. ประวัติการทำงาน

 ·       พ.ศ. 2520 เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ ภาควิชาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 ·       พ.ศ. 2530 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล       

 ·       พ.ศ. 2532 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 ·       พ.ศ. 2532  ประธานหลักสูตรปริญญาโท สาขาคณิตศาสตร์ประยุกต์(หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล             

 ·       พ.ศ. 2533 รองศาสตราจารย์ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 ·       พ.ศ. 2539  ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 ·       พ.ศ. 2541-2549 หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 ·       พ.ศ. 2541  ประธานหลักสูตรปริญญาเอก สาขาคณิตศาสตร์ประยุกต์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 ·       พ.ศ. 2544-ปัจจุบัน ราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สำนักวิทยาศาสตร์

 ·       พ.ศ. 2545-ปัจจุบัน กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ  สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์

 ·       พ.ศ. 2550-ปัจจุบัน ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์

 ·       พ.ศ. 2558-ปัจจุบัน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 ·       พ.ศ. 2558-2559 President-East Asia Section of Society for Industrial and Applied Mathematics

 ·        พ.ศ.2559-ปัจจุบัน คณะกรรมการประจำสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 ·        พ.ศ. 2561  ได้รับการแต่งตั้งจากสภามหาวิทยาลัยมหิดลให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สาขาวิชาคณิตศาสตร์

4. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน

·      ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ไม่ใช่สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง             

·      ทำอะไรก็ตาม จะทำให้สุดความสามารถ ไม่ทำอะไรอย่างไม่เต็มกำลังหรือความสามารถ และไม่ยกเลิกความพยายามจนกระทั่งหมดหนทางจริงๆ

·      ทำงานอย่าง “ถวายหัว” เชื่อว่า “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำร็จอยู่ที่นั่น”  

·      ไม่ใช้อุปสรรค (obstacles) เป็นข้อแก้ตัว (excuse) ที่จะทำอะไรไม่ได้ แต่จะใช้อุปสรรคเป็นสิ่งที่ท้าทาย (challenge) ให้มุ่งมั่นทำให้มันสำเร็จ

5. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน

·      ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ ระดับ 11

·      ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สำนักวิทยาศาสตร์  

·      เป็นที่ยอมรับของผู้ร่วมงาน และมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ฯลฯ                                               

6. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

·      ระบบการศึกษาของประเทศ น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ทำให้มีบุคลากรน้อยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีความสามารถวิจัยประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ รัฐลงทุนกับการศึกษาไม่ตรงจุดและไม่เพียงพอ ความสามารถในการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านต่ำลงอย่างต่อเนื่อง บุคลากรที่มีความสามารถสูงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบัน สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาในต่างประเทศหรือทำงานร่วมกับนักวิจัยต่างชาตินั้น มีจำนวนน้อยที่เป็นนักวิจัยหรือนักผลิตคิดค้นที่อิสระ (Independent Researchers)               

7. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล

 ·      ศ.ดร. ยงค์วิมล เป็นผู้บุกเบิกการใช้เทคนิคทางด้านการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Modelling) จนเป็นที่ยอมรับว่ามีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งในทางการแพทย์ เป็นที่สนใจศึกษากันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน  โดยในยุคเริ่มต้นของการนำคณิตศาสตร์เข้าไปศึกษาวิเคราะห์ระบบทางชีววิทยาและการแพทย์ ได้นำทฤษฎีเกี่ยวกับระบบไม่เชิงเส้นเข้าไปใช้ในการจำลองเหตุการณ์ต่างๆ เช่น การหลั่งฮอร์โมนหลากหลายชนิดในร่างกายมนุษย์ ซึ่งความผิดปกติในการหลั่งฮอร์โมนเหล่านี้ เกี่ยวโยงกับอาการป่วยเป็นโรคสำคัญต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคทางความผิดปกติของการเจริญเติบโตของร่างกาย โรคทางสมอง โรคกระดูกพรุน มะเร็ง โรคเส้นเลือดสู่หัวใจอุดตัน เป็นต้น ซึ่งผลการวิเคราะห์แบบจำลองสามารถช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยและเยียวยารักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น งานวิจัยดังกล่าวเพิ่งเริ่มมีผู้หันมาให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้นในช่วง 30 กว่าปีให้หลัง ตั้งแต่ยังไม่มีใครรู้จักว่ามีแขนง Biomathematics จนกลายเป็นการวิจัยทางด้านชีววิทยาระบบ (System Biology) ซึ่งเป็นหัวข้อวิจัยที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากสำหรับนักวิจัยในปัจจุบัน  การศึกษาค้นคว้างานวิจัยในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับการนำคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้การกับแพทย์ จนทำให้เกิดสาธารณประโยชน์นั้น ทำให้ ศ.ดร.ยงค์วิมล กลายเป็นที่ยอมรับว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถ จนได้รับการยอมรับและได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปี พ.ศ. 2541 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2550 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2544

 ·      ศ.ดร.ยงค์วิมล ยังเป็นนักคณิตศาสตร์ที่มีความทุ่มเทวิจัยด้านการนำกระบวนการทางคณิตศาสตร์ใหม่ๆไปใช้อธิบายปรากฏการณ์และระบบต่างๆในทางชีววิทยา การแพทย์ ชีววิทยาการแพทย์ นิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีชีวภาพ ที่สร้างประโยชน์มากมายต่อวงการศึกษา การแพทย์ และการวิจัยของไทย โดยมีผลงานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติจำนวนกว่า 60 เรื่อง บทความในหนังสือตำราทั้งไทยและต่างประเทศ จำนวน 5 เรื่อง บทความในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ จำนวน 31 เรื่อง และอื่นๆอีกมากมาย ผลงานวิจัยในระดับนานาชาติของ ศ.ดร.ยงค์วิมล ได้รับการอ้างอิงมากจนมีนำงานวิจัยไปใช้เป็นบทเรียนในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศและอ้างอิงในหนังสือเรียน นอกจากนี้ ศ.ดร.ยงค์วิมล ยังได้รับเชิญเป็นวิทยากรในการประชุมนานาชาติหลายครั้ง ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีนและยุโรป เป็นต้น เป็นกรรมการวิชาการของการประชุมนานาชาติ เช่น การประชุมด้าน Applicable Harmonic Analysis ณ เมื่อง Beijing ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ปี ค.ศ. 2006 และด้าน Molecular Systems Biology ณ เมื่อง Quezon City ประเทศฟิลิปปินส์ ปี ค.ศ. 2008 และมีงานวิจัยหลายชิ้นที่ได้อยู่ได้ Top 25 hottest articles (ในวารสาร) ที่ได้รับการ download ไปอ่านทาง internet เป็นจำนวนมากที่สุด

 ·      ศ.ดร.ยงค์วิมล นอกจากจะเป็นผู้ทำงานอย่างทุ่มเทในด้านวิชาการแล้ว ท่านยังมีความมุ่งมั่นในการให้ความช่วยเหลือผลักดันนักวิจัยรุ่นหลัง โดยไม่กีดกันแต่เฉพาะในสถาบันที่ทำงานสังกัด โดย ศ.ดร.ยงค์วิมล เป็นผู้สร้างทีมและหัวข้อวิจัยใหม่ๆได้หลายโครงการที่ลักษณะสหวิทยาการ ใช้ความเชี่ยวชาญของบุคคลจากหลายสาขาและหลายสถาบันมาร่วมมือกันทำงานวิจัย จนกระทั่งมีผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศที่มีชื่อเสียงติดต่อมาขอร่วมงานวิจัยด้วย จึงถือว่า ศ.ดร.ยงค์วิมล อยู่ในกลุ่มของผู้บุกเบิกให้การใช้เทคนิคทาง dynamical modelling จนเป็นที่ยอมรับว่าสามารถมีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งในทางชีวการแพทย์ และยังได้รับความไว้วางใจจากภาครัฐให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550-ปัจจุบัน ซึ่งแม้จะเกษียณอายุราชการแล้ว ท่านยังคงใช้ความรู้ความสามารถเสียสละและอุทิศตนทำงานในศูนย์ฯ เพื่อหางบประมาณมาเป็นทุนสนับสนุนนักวิจัย ผู้ช่วยวิจัย เป็นการดึงดูดให้นักเรียนเข้ามาเรียนคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น และมีงบประมาณให้อาจารย์ในมหาวิทยาลัยทำวิจัยให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ในการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี “เดิมทีไม่มีศูนย์รวม ต่างชาติเขามองเป็นความอ่อนแอของสังคมคณิตศาสตร์ในประเทศไทย ในขณะที่ประเทศต่างๆจะมี math society ซึ่งเขาทำวิจัยทางคณิตศาสตร์มีผลงานเยอะในระดับแนวหน้า แต่เมืองไทยไม่มีเลย” ปัจจุบันนี้ประเทศไทยก็มีศูนย์ความเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยนักวิจัยที่เก่งๆ มาจากมหาวิทยาลัยหลักๆของประเทศ มาช่วยงานด้านการวิจัยการทดลองในห้องปฏิบัติการและผลิตบัณฑิตในระดับต่างๆ เพื่อช่วยขยายมาตรฐานการจัดการศึกษาของไทยที่ขาดแคลนบุคลากรในด้านนี้ และเพิ่มงานวิจัยรองรับภาคอุตสาหกรรมที่สอดคล้อง เพื่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศให้มีศักยภาพในการแข่งขันกับนานาชาติในเวทีเศรษฐกิจโลก

 ·      ศ.ดร.ยงค์วิมล ยังเป็นผู้เสียสละทรัพย์เพื่อช่วยเหลือสังคมในด้านต่างๆ อาทิเช่น

 -   บริจาคเงินเพื่อซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์แก่โรงพยาบาลที่ขาดแคลนในภาวะที่มีโรคระบาด

 -   ริเริ่มการรวมทุน และส่วนตัวได้บริจาคเงินจำนวน 30,000 บาท ให้โรงพยาบาลราชวิถีจัดซื้อเครื่องช่วยหายใจให้ผู้ป่วยโรคโควิด

 -   บริจาคเงินเข้าสมาคมศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นประจำเพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่นักศึกษาที่ขาดแคลน         

 -   นำเงินที่ภาควิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จ่ายเป็นค่าจ้างในตำแหน่งที่ปรึกษาภาควิชาคณิตศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บริจาคกลับให้ภาควิชาคณิตศาสตร์หลังหักภาษีแล้ว เป็นประจำทุกเดือนตั้งแต่เกษียณอายุเป็นต้นมา เพื่อให้ภาควิชาฯ ได้ใช้เงินดังกล่าวเจือจุนกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อภาควิชาฯ

 8. ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

      8.1 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ

             ·     พ.ศ. 2526 : จัตุถาภรณ์ช้างเผือก

             ·     พ.ศ. 2530 : ตริตาภรณ์มงกุฏไทย

             ·     พ.ศ. 2534 : ทวีติยาภรณ์มงกุฏไทย

             ·     พ.ศ. 2538 : ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก

             ·     พ.ศ. 2541 : ประถมมาภรณ์มงกุฎไทย

             ·     พ.ศ. 2544 : ประถมากรณ์ช้างเผือก

             ·     พ.ศ. 2545 : เหรียญจักรพรรดิมาลา

             ·     พ.ศ. 2547 : มหาวชิรมงกุฏ

       8.2 รางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

             ·     พ.ศ. 2536 รางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยม ด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

             ·     พ.ศ. 2538-2543 รางวัลทุนพัฒนานักวิจัย (เมธีวิจัย) จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

             ·     พ.ศ. 2541 รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ด้านวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ จากสำนักงานคณะ กรรมการวิจัยแห่งชาติ

             ·     พ.ศ. 2542-2545 รางวัลทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย (เมธีวิจัยอาวุโส) สาขาคณิตศาสตร์ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

             ·     พ.ศ. 2544 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สำนักวิทยาศาสตร์

             ·     พ.ศ. 2545-2548 เมธีวิจัยอาวุโส สกว. สาขาคณิตศาสตร์ ระยะที่ 2         

             ·     พ.ศ. 2548 รางวัลทุนส่งเสริมกลุ่มนักวิจัยอาชีพ จากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

             ·     พ.ศ. 2550 รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2550 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์                               

             ·     พ.ศ. 2566 รางวัล Alumni Social Empowerment 2023 จาก The Australian Alumni Association (Thailand)

มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถานที่ติดต่อ :

288/52 อาคารมูลนิธิ มสวท. ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220

Tel. +66(0) 2552-5200 Fax. +66(0) 2551-4422 Email : thaifstt@gmail.com 

Copyright © 2008-2015 หากมีปัญหาในการรับชมกรุณาติดต่อ Webmaster ที่ admin@thaifstt.org