3)  บุคคลคุณภาพแห่งปี 2023 ด้านสาธารณสุข

 

  

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงสมศรี เผ่าสวัสดิ์ (อายุ 83 ปี)

นายกแพทยสภา

 

1   หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน

    1.  นายกแพทยสภา (แพทย์สตรีคนแรกและคนเดียว ในวาระครบ 56 ปี) พ.ศ. 2562-2563, 2564-2565, 25662567 (3 วาระ)

    2.  ผู้อำนวยการและกรรมการ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

    3.  ประธานมูลนิธิวชิรเวชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร

    4.  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ สาขาวิสัญญีวิทยาของกระทรวง

    5.  ประธานกรรมการพิจารณาคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญสาขาแพทยศาสตร์ (วิสัญญี)

    6.  อ.ก.ม. วิสามัญเพื่อประเมินผลทางวิชาการระดับศาสตราจารย์

    7.  ประธานกรรมการบริษัท สมิติเวชศรีราชา จำกัด

    8.  ประธานกรรมการบริษัท โรงพยาบาลกรุงเทพ-หาดใหญ่ จำกัด

    9.  ประธานกรรมการบริหารโรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์

   10.  อาจารย์พิเศษภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

   11.  อาจารย์พิเศษ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

2. ประวัติการศึกษา

 ·      พ.ศ. 2512  Dr. Med. (Anesthesiology) มหาวิทยาลัยฮัมบูร์ก เยอรมนี

 ·      พ.ศ. 2512 D.T.M. (Tropical Medicine) สถาบันโรคเขตร้อน มหาวิทยาลัยฮัมบูร์ก เยอรมนี

 ·      พ.ศ. 2514 อนุมัติบัตรผู้ชำนาญการวิสัญญีวิทยา แพทยสภา, ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย

 ·      พ.ศ. 2510 อนุมัติบัตรแสดงความรู้ความชำนาญ แพทยสภา, ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์อนุสาขาวิสัญญีวิทยาสำหรับผู้ป่วยแห่งประเทศไทยทางระบบประสาท       

 ·      พ.ศ. 2508 ประกาศนียบัตรการแพทย์ชั้นสูง คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (กุมารเวชศาสตร์)

 ·      พ.ศ. 2507 พ.บ.(แพทยศาสตร์บัณฑิต) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 ·      พ.ศ. 2502 เตรียมแพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

3. ประวัติการทำงาน

     1.  แพทย์ฝึกหัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (พ.ศ. 2507-2508)

    2.  แพทย์ประจำบ้านภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (พ.ศ. 2508-2509)

    3. แพทย์ประจำบ้านภาควิชาวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาล Eppendorf มหาวิทยาลัย Hamburg ประเทศเยอรมัน (พ.ศ. 2510-2512)

    4. อาจารย์แพทย์ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลพ.ศ. 2512-2521)

    5. รองศาสตราจารย์ ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2522-2530)

    6. าสตราจารย์ ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2530-2543)

    7. อาจารย์พิเศษ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต (พ.ศ. 2534-2542)

    8. อาจารย์พิเศษ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ. 2529-ปัจจุบัน)

    9. กรรมการร่างหลักสูตรวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสุรนารี (พ.ศ. 2537-2540)

   10. วิสัญญีแพทย์ที่ปรึกษาของโรงพยาบาลยาสูบ (พ.ศ. 2527-2542)

   11. วิสัญญีแพทย์ที่ปรึกษาของโรงพยาบาลหัวเฉียว (พ.ศ. 2526-2542)

   12. พนักงานมหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี (พ.ศ. 2544-2549)

   13. อาจารย์พิเศษภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี (พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน)

 

ดำรงตำแหน่งขององค์กรต่าง ๆ

 รัฐสภา

 1. ที่ปรึกษากรรมาธิการวิทยาศาสตร์สภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2547-2549)

 2. ที่ปรึกษากรรมาธิการพาณิชย์สภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2546-2547)

 3. ผู้ชำนาญการประจำคณะกรรมาธิการสาธารณสุขสภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2539-2542)

   แพทยสภา

   1. กรรมการแพทยสภา (พ.ศ. 2544-ปัจจุบัน)

   2. ประธานศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแพทยสภา (พ.ศ. 2546-2549, 2552-ปัจจุบัน)

   3. ประธานคณะกรรมการสอบสวน ชุดที่ 9 (ของแพทยสภา) (พ.ศ. 2546-ปัจจุบัน)

   4. กรรมการบริหารศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแพทยสภา (พ.ศ. 2544-2546)

   5. ประธานคณะกรรมการสอบเพื่ออนุมัติและวุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญ (พ.ศ. 2531-2543) สาขาวิสัญญีวิทยา

   6. กองบรรณาธิการแพทยสภาสาร (พ.ศ. 2533-2543)

   7. นายกแพทยสภา (แพทย์สตรีคนแรกและคนเดียวในวาระครบ 56 ปี) (พ.ศ. 25622563, 25642565, 25662567 (3 วาระ))

 

ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย

  1. ที่ปรึกษาราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2537-ปัจจุบัน)

   2. ประธานราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2533-2534)

   3. กรรมการราชวิทยาลัยฯ ในตำแหน่งอดีตประธานราชวิทยาลัย (พ.ศ. 2534-2536)

   4. กรรมการบริหารสมาคมวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2527-2532)

   5. กองบรรณาธิการวิสัญญีสาร (พ.ศ. 2537-2544)

   6. ประธานคณะกรรมการจัดการประชุมวิชาการวิสัญญีแพทย์นานาชาติ (พ.ศ. 2533-2537) ภาคพื้นอาเซียน ออสเตรเลเซียน ครั้งที่ 9 (9th AACA)

   7. ประธานคณะกรรมการจัดการประชุมวิชาการวิสัญญีวิทยาแห่งเอเชีย ครั้งที่ 10 (10th ACA)

   8. เป็นประธานกิตติมศักดิ์ คณะกรรมการจัดการประชุมวิชาการวิสัญญีวิทยาแห่งเอเชีย ครั้งที่ 15                   

 แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

  1. ผู้อำนวยการและกรรมการแพทยสมาคมฯ (พ.ศ. 2551-ปัจจุบัน)

  2. ที่ปรึกษาแพทยสมาคมฯ (พ.ศ. 2550-2551)

  3. นายกแพทยสมาคมฯ (แพทย์สตรีคนแรกและคนเดียวในรอบ 100 ปี) (พ.ศ. 2547-2549)

  4. ผู้รั้งตำแหน่งนายกแพทยสมาคมฯ (พ.ศ. 2545-2546)

  5. กรรมการบริหารแพทยสมาคมฯ (พ.ศ. 2541-2542)

  6. อนุกรรมการจัดประชุมวิชาการ (พ.ศ. 2537-2538)

  7. อนุกรรมการจัดประชุมวิชาการ (พ.ศ. 2532-2534)

  8. เป็นประธานการจัดประชุมวิชาการนานาชาติ The Confederation of Medical Association in Asia and Oceania (CMAAO) ครั้งที่ 25 ณ โรงแรมรอยัลคลีฟ พัทยา (พ.ศ. 2550)

 กระทรวงสาธารณสุข

 1. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ สาขาวิสัญญีวิทยาของกระทรวง (พ.ศ. 2536-ปัจจุบัน)

 2. คณะกรรมการอำนวยการตามแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ (พ.ศ. 2551-ปัจจุบัน)

 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

 1. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะกิจสาขาแพทยศาสตร์ (วิสัญญีวิทยา) (พ.ศ. 2540-2563)

 2. ประธานกรรมการพิจารณาคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญสาขาแพทยศาสตร์ (วิสัญญี) (พ.ศ. 2564-ปัจจุบัน)

 ทบวงมหาวิทยาลัย

 1.  อ.ก.ม.วิสามัญเพื่อประเมินผลทางวิชาการระดับศาสตราจารย์ (พ.ศ.2534, 2536, 2541,2543, 2545, 2546-ปัจจุบัน)

 2. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินผลงานทางวิชาการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 3. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินผลงานทางวิชาการของมหาวิทยาลัยขอนแก่น

 4. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินผลงานทางวิชาการของมหาวิทยาเชียงใหม่

 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

 1. กรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (พ.ศ. 2546-2554)

 2. ประธานคณะกรรมการสอบสวนชุดที่หนึ่ง (พ.ศ. 2546-2554)

 3. ประธานคณะกรรมการพิจารณาคดีอุทธรณ์ ชุดที่หนึ่ง (พ.ศ. 2546-2554)

 4. กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านหลักประกันสุขภาพ (พ.ศ. 2554-2561)  

 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

 1. ประธานเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ (พ.ศ. 2548-2565)

 2. ประธานเครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ (พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน)

 3. ประธานสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่(พ.ศ. 2557-ปัจจุบัน)

 4. ประธานโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ (พ.ศ. 2557-ปัจจุบัน)

 5. ที่ปรึกษาเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ (พ.ศ. 2565-ปัจจุบัน)

สำนักงานประกันสังคม

 1.    อนุกรรมการแพทย์พิจารณาเรื่องร้องเรียนจากการบริการ (พ.ศ. 2549-2552)

 มหาวิทยาลัย

 1. กรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการศาสตราจารย์ (พ.ศ. 2534-ปัจจุบัน)

 2. กรรมการพิจารณารางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2534)

 3. กรรมการเฉพาะทางพิจารณาผลงานสาขาตำราของมหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2535, 2540, 2545, 2546)

 4. กรรมการผู้เชี่ยวชาญประเมินผลงานวิจัยดีเด่นของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (พ.ศ. 2535)

 5. กรรมการพิจารณาประเมินผลงานของผู้ชำนาญการวิสัญญีพยาบาล (พ.ศ. 2536-2542)

 6. กรรมการสอบแพทย์ประจำบ้านของบัณฑิตวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี (พ.ศ. 2527-2542)

 7. หัวหน้าภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี (พ.ศ. 2531-2539)

 8. กรรมการสภาอาจารย์รามาธิบดี (พ.ศ. 2521-2523)

 9. กรรมการคณะกรรมการห้องผ่าตัด (พ.ศ. 2522-2528)

 10. กรรมการ Certified Brain Death (พ.ศ. 2520-2522)

 11. กรรมการพิจารณาเพื่อตำแหน่งวิชาการ (พ.ศ. 2530-2535)

 12. กรรมการของคณะทำงานแผนพัฒนาระดับอุดมศึกษาระยะที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534)

 13. กรรมการอบรมวิชาการแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ครั้งที่ 9 (พ.ศ. 2528)

 14. กรรมการบริหารคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (พ.ศ. 2531-2539)

 15. กรรมการวิจัยคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (พ.ศ. 2531-2539)

 16. กรรมการประเมินผลและพัฒนาคุณภาพงานด้านการบริการ (พ.ศ. 2531-2539)

 17. กรรมการการศึกษา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (พ.ศ. 2531-2539)

 18. กรรมการประจำคณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา (พ.ศ. 2548-2551)

 19. ประธานกรรมการหลักสูตรมหาวิทยาลัยสยาม (พ.ศ. 2556-2560)

  ระดับองค์กรวิชาชีพแพทย์

  1. กรรมการพิจารณาโครงการวิจัยที่เสนอขอรับทุนจากสำนักงานกรรมการวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. 2535)

  2. ประธานกรรมการกลุ่มสถาบันฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง (พ.ศ. 2537-ปัจจุบัน)

3. ประธานกิตติมศักดิ์ชมรมศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย (International Association for the study of Pain Thai Chapter) (พ.ศ. 2540-ปัจจุบัน)

4. เลขาธิการชมรมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2533-2539)

5. ประธานคณะกรรมการจัดการประชุมวิชาการประจำปีของชมรมการศึกษา เรื่องความปวดแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2533-2539)

6. รองประธานสมาคมวิสัญญีแพทย์แห่งอาเซียน (CASA) (พ.ศ. 2532-2534)

7. กรรมการสมาคมวิสัญญีแพทย์แห่งอาเซียน (CASA) (พ.ศ. 2530-2532)

8. รองประธานสมาคมแพทย์ภาคพื้นเอเชียและคาบสมุทร (CMAAO) (พ.ศ. 2547-2550)

9. ประธานสมาคมแพทย์ภาคพื้นเอเชียและคาบสมุทร (CMAAO) (พ.ศ. 2551-2553)

10. สำนักเลขาธิการรัฐมนตรี แต่งตั้งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทำหน้าที่พิจารณาผลงาน ผู้สมควรได้รับการเสนอ ขอพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (พ.ศ. 2549)

11. สมาชิกกิตติมศักดิ์ ราชวิทยาลัยประสาทศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2547)

12. สมาชิกกิตติมศักดิ์ ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2565)

13. ประธานกรรมการบริษัท สมิติเวชศรีราชา จำกัด (พ.ศ. 2545-ปัจจุบัน)

14. ประธานกรรมการบริษัท โรงพยาบาลกรุงเทพ-หาดใหญ่ จำกัด (พ.ศ. 2551-ปัจจุบัน)

15. ประธานกรรมการบริหารโรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ (พ.ศ. 2554-ปัจจุบัน)

16. กรรมการบริหารบริษัทโรงพยาบาลเจ้าพระยา (พ.ศ. 2566)

 ตำแหน่งบริหารขององค์กรการกุศล

 1. ประธานมูลนิธิวชิรเวชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร (พ.ศ. 2561-ปัจจุบัน)

 2. เลขาธิการมูลนิธิวชิรเวชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร (พ.ศ. 2539-2561)

 3. ประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์คณะกรรมการจัดสร้างอาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี (พ.ศ. 2537 – 2540)

 4. กรรมการมูลนิธิสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ (พ.ศ. 2561 – ปัจจุบัน)

 

4. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน

    1. พยายามดำเนินการโดยยึดถือตามพระราชดำรัสของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย) ที่ได้สอนไว้ว่า “แพทย์ที่ดี” พึงมีคุณสมบัติ ดังนี้

         1.1)  เป็นแพทย์ที่มีความรู้วิชาแพทย์อย่างดีและทันสมัยตลอดชีวิต

         1.2)  เป็นแพทย์ที่มีจิตสำนึกเป็นนักวิทยาศาสตร์

         1.3)  เป็นแพทย์ที่รอบรู้หน้าที่แพทย์ ประเพณีของแพทย์และจรรยาแพหย์

         1.4)  เป็นแพทย์ที่มีคุณธรรมจริยธรรม และเสียสละเพื่อส่วนรวม

         1.5)  เป็นบุคคลที่รู้รอบและรอบรู้เรื่องต่างๆ นอกไปจากวิชาแพทย์

     2. ทำงานให้มีความสุขและได้คุณภาพ (ทั้งตนเองและผู้ร่วมงาน) ต้องให้เกียรติเพื่อนร่วมงาน

     3. ในเรื่องของการปฏิบัติงาน ธรรมะที่สามารถนำมาใช้ในประกอบการทำงานได้ดี อาทิเช่น

          – การครองตน อาจต้องใช้ “สังคหวัตถุ 4”

         – การครองคน อาจต้องใช้ “พรหมวิหาร 4”

         – การครองงาน อาจต้องใช้ “อิทธิบาท 4”

     4. คิดดี ทำดี มีความจริงใจ มักจะประสบความสำเร็จ

     5. ต้องรู้หน้าที่ของตนเองและจัดสรรเวลาให้ถูกต้อง

 

5. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน

คิดว่าอยู่มาจนปัจจุบันได้มีโอกาสทำตามหน้าที่ของตนเองได้ครบทุกด้าน คือ

         -    หน้าที่ต่อตนเอง ต้องรู้หน้าที่ของตนเองว่าจะต้องมีความรับผิดชอบออย่างไร

         -    หน้าที่ต่อครอบครัว ลูกทั้ง 5 คน ก็เป็นคนดี หลาน 6 คน ก็รับใช้สังคมได้เป็นอย่างดี

         -    หน้าที่ต่อสังคม ภูมิใจที่ได้มีโอกาสพัฒนาโครงการต่างๆมากมาย โดยได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะโครงการที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันโรคที่เกิดจากบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้า  ดูแลสนับสนุนให้มีการป้องกันมิให้ประชาชนเป็นโรคไต และกิจกรรมอื่นๆอีกหลายอย่างที่มิอาจกล่าวได้หมด ทำให้รู้สึกว่าทำให้จิตใจสบายมากที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น  

 

6. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

      วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเรื่องสำคัญมาก ดังพระราชดำรัสของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันด้วย ที่ได้ทรงรับสั่งไว้ และมีรายละเอียดในข้อหนึ่งของการจะเป็นแพทย์ที่ดีว่า “ต้องมีจิตสำนึกเป็นนักวิทยาศาสตร์” ตั้งแต่ปี พ.ศ.2470 ซึ่งเป็นสิ่งที่จะช่วยทำให้ประเทศพัฒนาไปในทุกๆด้าน

 

7. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล

     สมัยเป็นนายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อปี พ.ศ. 2547-2548 ได้ดำเนินโครงการไว้หลายอย่างและยังดำเนินการถึงปัจจุบันเป็นเวลา 18-19 ปีแล้ว และยังดำเนินการต่อมาจนปัจจุบันนี้ บรรจุเป็นวาระในการประชุมประจำเดือนของแพทยสมาคมฯ ทุกเดือน ได้แก่

โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน (บริหารความเสี่ยง)

           ได้ดำเนินการรับเรื่องร้องเรียนจากทั้งแพทย์และผู้ป่วยที่เดือนร้อนจากการรักษาพยาบาล ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 จนถึงปัจจุบัน โดยจัดหานิติกรมาช่วยดำเนินการรับฟังปัญหา และตนเองเข้าร่วมเจรจาไกล่เกลี่ยให้ความช่วยเหลือแก่ทั้ง 2 ฝ่าย ในแต่ละปี มีจำนวนปีละ 50-60 ราย

            โครงการแนะแนวนักศึกษาแพทย์และแพทย์ประจำบ้านในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม

            ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2547 โดยจัดให้มีการบรรยายและสอนให้แพทย์รู้ถึงการประกอบวิชาชีพด้วยมาตรฐานจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยจัดบรรยายให้กับนักศึกษาแพทย์และแพทย์ประจำบ้านของคณะแพทย์ต่างๆ ทั่วประเทศ ปีละ 16-20 สถาบัน เดินทางไปด้วยตนเอง พร้อมอาจารย์ท่านอื่น ครั้งละ 2-3 คน โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิไฟเซอร์ ประเทศไทย และยังดำเนินการอยู่จนถึงปัจจุบัน ทำให้คดีของแพทย์ที่เคยถูกฟ้องร้องเรื่องการประกอบวิชาชีพเวชกรรมลดลง

             โครงการประกันชีวิตให้แพทย์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

             ด้วยขณะนั้น ในปี พ.ศ. 2547 เหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีทีท่าว่าจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ การก่อเหตุในรูปแบบต่างๆ ทั้งการประกบยิง การซุ่มยิง การวางระเบิดแสวงเครื่องการเผาโรงเรียน ซึ่งเหตุการณ์ต่างๆ ทำให้มีทั้งผู้บาดเจ็บ และผู้เสียชีวิตมากมาย แพทย์ที่ทำงานอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่างก็เกิดความกลัว แต่ด้วยหน้าที่ความรับผิดชอบ และที่สำคัญยิ่งคือความเสียสละ ทำให้ไม่อาจทิ้งผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วย ไปได้ ยังคงต้องทำงานด้วยความหวาดกลัว ตนเองในฐานะแพทย์คนหนึ่ง ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงคิดที่จะช่วยแบ่งเบาความห่วงใยให้กับแพทย์เหล่านั้นด้วยการทำประกันชีวิตให้แก่แพทย์ที่ทำงานใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 236 คน อย่างน้อยหากเป็นอะไรไป ครอบครัวก็ไม่ลำบากยังมีที่พึ่ง

             โครงการรณรงค์เพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ มีความเป็นมา ดังนี้

             ในปี พ.ศ. 2547-2548 สมัยที่เป็นนายกแพทยสมาคมฯ ในวันที่ 4 ธันวาคม 2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้ทรงรับสั่งปรารภถึงเยาวชนที่สูบบุหรี่ ทำให้สมองเสีย สุขภาพเสีย

              ในปี พ.ศ. 2548 วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม องค์การอนามัยโลกได้กำหนดประเด็นที่จะรณรงค์ในปีนี้ว่า Health Professionals and Tobacco Control ซึ่งทุกประเทศที่เป็นภาคีขององค์การอนามัยโลกต้องปฏิบัติตาม แต่ในขณะนั้นประเทศไทยเราไม่มีองค์กรวิชาชีพสุขภาพใดทำงานเรื่องบุหรี่ นพ.ศุภกร  บัวสาย ผู้จัดการ สสส. สมัยนั้น เคยเป็นลูกศิษย์สมัยอยู่คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ได้มาขอความช่วยเหลือให้แพทยสมาคมฯ ช่วยดำเนินการ    ในเรื่องนี้ให้ จึงรับมาและชวนองค์กรวิชาชีพสุขภาพสาขาต่างๆมาร่วมทำงานด้วย ทั้งหมด 23 องค์กร  จัดตั้งเป็น “เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่” และดำเนินงานมาจนปัจจุบันนี้เป็นเวลาถึง 18 ปีแล้ว ซึ่งตนเองได้รับรางวัลจาก World Health Organization (WHO) เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก ในฐานะบุคคลผู้มีผลงานด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบดีเด่น ประจำปี 2553

              ในปี พ.ศ. 2558 World Health Professional Alliance (WHPA) ซึ่งเป็นองค์กรที่เกิดจากการรวมตัวของแพทยสมาคมโลก สมาคมพยาบาลโลก สมาคมเภสัชกรโลก สมาคมทันตแพทย์โลก และสมาคมกายภาพบำบัดโลก มีสมาชิกมากกว่า 130 ประเทศ สมาชิก 26 ล้านคนทั่วโลก ได้พิจารณาตัดสินให้เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ ซึ่งตนเองเป็นประธานเครือข่าย ได้รับรางวัล WHPA Award ในปี ค.ศ.2015 ในฐานะที่เป็นองค์กรที่ทำงานร่วมกันของบุคคลากรวิชาชีพสุขภาพมากกว่า 3 องค์กรขึ้นไป เรามีถึง 21 องค์กร ในขณะนั้น (ปัจจุบันมี 23 องค์กร) ได้รับรางวัลเป็นปีแรกและประเทศแรก เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2558 ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยทาง WHPA จ่ายค่าเดินทางและค่าที่พักให้ไปรับรางวัลด้วย ปัจจุบันโครงการเหล่านี้ยังดำเนินการอยู่มีการประชุมร่วมกันทุกวันอังคารที่ 4 ของเดือน

             โครงการบุหรี่มีทั้งหมด 4 โครงการด้วยกัน เป็น 4 เครือข่าย เพื่อช่วยให้ประชาชนคนไทยมีสุขภาพที่ดี เพราะบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญอันดับต้นๆที่ทำให้ประชาชนเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และทุกโครงการยังดำเนินการอยู่จนถึงปัจจุบัน ได้แก่

              เครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ

              เครือข่ายวิชาชีพแพทย์ฯ ได้จัดตั้งขึ้นพร้อมกันกับเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ ซึ่ง ศ.เกียรติคุณ พญ. สมศรี เผ่าสวัสดิ์ เป็นประธานเครือข่ายเช่นกัน เครือข่ายวิชาชีพแพทย์ฯ เป็น 1 ใน 23 องค์กรของเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพฯ โดยมีแพทย์สาขาต่างๆจากหลายสถาบันมาร่วมมือกันเป็นคณะกรรมการ มีการประชุมทุกวันอังคารที่ 1 ของเดือน ดำเนินการให้ความรู้ และรักษาผู้ติดบุหรี่ โดยจัดตั้งเครือข่ายคลินิกฟ้าใสให้ตามโรงพยาบาลต่างๆ จำนวน 77 จังหวัดทั่วประเทศ ปัจจุบันมีสมาชิกคลินิกฟ้าใส (คลินิกช่วยเลิกบุหรี่) จำนวน 544 แห่งทั่วประเทศ โดยทางเครือข่ายวิชาชีพแพทย์ฯ จะจัดการฝึกอบรมให้ความรู้ วิธีการ และเทคนิค ในการช่วยเลิกบุหรี่แก่สมาชิกคลินิกฟ้าใส เพื่อให้สมาชิกทุกคลินิกร่วมกันช่วยเลิกบุหรี่ให้แก่ประชาชนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนเครื่องวัดปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในปอด และยาเลิกบุหรี่ ให้แก่สมาชิกคลินิกฟ้าใสจำนวน 544 แห่ง เพื่อช่วยเลิกบุหรี่ และช่วยฟื้นคืนสุขภาพของประชาชนให้กลับคืนมา

              ปี พ.ศ. 2552 ได้เป็นประธานการจัดทำ “แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการบำบัดรักษาโรคติดบุหรี่ในประเทศไทย” โดยร่วมกับองค์กรแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ 34 องค์กร องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทยได้ขอต้นฉบับของแนวทางนี้ไปแปลเป็นภาษาอังกฤษเผยแพร่ในประเทศต่างๆ ที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 11 ประเทศ

              สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่

              ได้มีการจัดตั้งขึ้นในปีพ.ศ.2557 จัดตั้งขึ้นเพื่อต้องการขยายภาคีเครือข่ายในการควบคุมยาสูบไปสู่ภาคประชาสังคม เพราะก่อนหน้านี้ผู้ที่ขับเคลื่อนงานควบคุมยาสูบมีเพียงแต่บุคลากรวิชาชีพแพทย์ และวิชาชีพสุขภาพเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอต่อการต่อสู้กับกลยุทธ์ทางการตลาดของบริษัทบุหรี่ทั้งหลาย ภาคีเครือข่ายในการควบคุมยาสูบจึงเห็นควรจัดตั้ง “สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่” ขึ้นเพื่อสร้างเครือข่ายในภาคประชาสังคม ซึ่งในปัจจุบันมีสมาชิกทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิเช่น องค์กรวิชาชีพแพทย์  องค์กรวิชาชีพสุขภาพ องค์กรด้านการศึกษา ด้านแรงงาน เครือข่ายพระสงฆ์ สื่อสารมวลชน ศิลปินดารา มูลนิธิ ราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ภาคประชาสังคม และองค์กรต่างๆทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมจำนวน 936 องค์กร

              โดยได้สนับสนุนกระทรวงสาธารณสุขเรื่องขยายภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ จากเดิม 55% เป็น 85% ซึ่งถูกบริษัทบุหรี่ข้ามชาติฟ้องศาลปกครอง ในที่สุดศาลตัดสินให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นฝ่ายชนะ และเราได้รวบรวมรายชื่อประชาชนที่สนับสนุนพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ได้ถึง 16 ล้านรายชื่อ โดยส่งมอบให้ทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จนทำให้พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบออกมาได้สำเร็จเมื่อปี พ.ศ.2560 และได้มีการตั้งสมาพันธ์จังหวัดเพื่อดำเนินการขับเคลื่อนการควบคุมยาสูบภายในจังหวัดตนเองแบบบูรณาการเครือข่าย ร่วมกันรณรงค์ให้ประชาชนเลิกสูบบุหรี่โดยส่งต่อไปยังคลินิกฟ้าใส(คลินิกช่วยเลิกบุหรี่)ที่อยู่ในจังหวัดตนเอง และที่สำคัญคือป้องกันไม่ให้เด็กและเยาวชน ตกเป็นนักสูบหน้าใหม่

              โครงการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่

              เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่พ.ศ. 2557 จนปัจจุบัน จากที่ผ่านมามหาวิทยาลัยหลาย ๆ แห่ง มิได้ให้ความสำคัญต่อการควบคุมยาสูบมากนัก เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่จึงได้จัดทำ “โครงการพัฒนามหาวิทยาลัย  สู่การเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่” ขึ้นเพื่อสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในการเข้าร่วมโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ โดยทางเครือข่ายฯ จะจัดการอบรมความรู้การดำเนินงาน เช่น การจัดจุดสูบบุหรี่ภายในมหาวิทยาลัยที่ถูกต้อง และถูกกฎหมาย การออกกฎระเบียบ การช่วยลดบุหรี่ในบุคลากรของมหาวิทยาลัย การช่วยเลิกบุหรี่ในนิสิตนักศึกษา และการป้องกันนักสูบหน้าใหม่ ขณะนี้ มีสถาบันการศึกษาที่เป็นสมาชิกโครงการนี้อยู่ จำนวน 206 แห่ง และมีการประชุมคณะกรรมการบริหารทุกเดือนเช่นกัน

              และอีกหนึ่งภารกิจอันสำคัญยิ่งของนายกแพทยสภา ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 คือการให้ข้อมูล และคำแนะนำแก่รัฐบาลเพื่อนำไปประกอบการวางนโยบายในการบริหารประเทศในสถานการณ์ฉุกเฉินเช่นนี้ อีกทั้งจัดตั้งโครงการต่าง ๆ ร่วมกับแพทยสมาคมฯ เพื่อช่วยเหลือแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่อยู่ด่านหน้าคอยรักษาดูแลผู้ป่วยจากเชื้อไวรัสโควิด-19 เช่น โครงการนักรบเสื้อขาวสู้ภัยโควิด-19 (COVID-19) เพื่อจัดหาความคุ้มครองชีวิตให้แก่แพทย์ พยาบาลทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังได้เติมเต็มภารกิจด้านการวิจัยของแพทยสภาให้เกิดขึ้นตามพันธกิจที่ตั้งไว้ โดยหาผู้สนับสนุนทุนวิจัยให้แพทยสภา เพื่อสนับสนุนให้แพทย์ได้มีงบประมาณการค้นคว้าวิจัย เพื่อนำมาใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วย โดยมีทุนวิจัยเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 จนถึงปัจจุบัน ปีละ 2-4 ล้านบาท

 

8. ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

8.1 ความภาคภูมิใจ

         พ.ศ. 2547 รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล             

         พ.ศ. 2547 รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นของสมาคมศิษย์เก่าราชินี                       

         พ.ศ. 2549  รางวัลแพทย์สตรีตัวอย่างของสมาคมแพทย์สตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์

         พ.ศ. 2549 ปริญญาแพทยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากสภามหาวิทยาลัยมหิดล

         พ.ศ. 2550 รางวัลแม่ดีเด่นของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ

         พ.ศ. 2552 รับพระราชทานโล่ประกาศเกียรติคุณรางวัลบุคคลดีเด่น  ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบ ในงานประชุมวิชาการสาธารณสุข  “90 ปี การสาธารณสุขไทย เพื่อคนไทยสุขภาพดี” จากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

         พ.ศ. 2553 รับประทานรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นประจำปี 2553 สาขาผู้ทำชื่อเสียงระดับนานาชาติ จากพระวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ

         พ.ศ. 2553 รางวัล World No Tobacco Day 2010 Award จากองค์การอนามัยโลก          

         พ.ศ. 2553 รับพระราชทานรางวัลบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นด้านสุขศึกษา พลศึกษา และนันทนาการต่อสังคม ประจำปี 2552-2553 ระดับนักวิชาการดีเด่น จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

         พ.ศ. 2554 รับรางวัล “มหิดลทยากร” จากสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์

         พ.ศ. 2556 รับรางวัลแพทย์จริยธรรมสรรเสริญจากแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

         พ.ศ. 2558 รับรางวัล “World Health Professions Alliance (WHPA) 2015 : Inter professional Collaborative Practice Award” ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จากองค์กรวิชาชีพสุขภาพโลก

         พ.ศ. 2558 รางวัล “สตรีไทยดีเด่น” ของสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ รับพระราชทานรางวัล จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

         พ.ศ. 2558 รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นระดับนานาชาติ จากสมาคมนักเรียนเก่าราชินี ในพระบรมราชินูปถัมภ์

         พ.ศ. 2559 รางวัล “ตาราอวอร์ด” รางวัลสำหรับคนปลุกสังคมด้วย “หัวใจโพธิสัตว์” จากเสถียรธรรมสถาน

         พ.ศ. 2562 รางวัล “นักเวชศาสตร์ป้องกันดีเด่นระดับชาติ” ประจำปี 2561 จากสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย

         พ.ศ. 2562 รางวัลนักเรียนเก่าดีเด่นประเภทที่ 3 “ผู้มีความจงรักภักดี มีคุณธรรม สร้างคุณประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ” จากสมาคมนักเรียนเก่าราชินี ในพระบรมราชินูปถัมภ์

         พ.ศ. 2562 ปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 

         พ.ศ. 2563 ปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง                

         พ.ศ. 2564 ปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยนเรศวร            

         พ.ศ. 2565 ปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยพะเยา             

 8.2 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ

        พ.ศ. 2529  เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายประถมาภรณ์มงกุฎไทย     

        พ.ศ. 2531  เครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้น 4                       

        พ.ศ. 2532  รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการแต่งตำราดีเด่น                

        พ.ศ. 2533  เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายประถมาภรณ์ช้างเผือก      

        พ.ศ. 2537  เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายมหาวชิรมงกุฎ                

        พ.ศ. 2538  เหรียญจักรพรรดิมาลา                                                    

        พ.ศ. 2541  เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายมหาปถมาภรณ์ช้างเผือก   

มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถานที่ติดต่อ :

288/52 อาคารมูลนิธิ มสวท. ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220

Tel. +66(0) 2552-5200 Fax. +66(0) 2551-4422 Email : thaifstt@gmail.com 

Copyright © 2008-2015 หากมีปัญหาในการรับชมกรุณาติดต่อ Webmaster ที่ admin@thaifstt.org