1)  บุคคลคุณภาพแห่งปี 2023 ด้านวิทยาศาสตร์

 

  

รองศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ  (อายุ 77 ปี)

บุคคลต้นแบบด้านวิชาการ และผู้ผลักดันการยกระดับการศึกษาวิทยาศาสตร์ไทย

 

 1.  หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน

      1. อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา

     2.  กรรมการบริหารมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา (ประธานโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย)

     3.  รองประธานกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี

     4.  กรรมการบริหารมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนาวิทยาศาสตร์ศึกษา (สอวน.)

     5.  กรรมการบริหารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

     6.  ที่ปรึกษาสมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย

 

2. ประวัติการศึกษา

 

·      พ.ศ. 2522    ปริญญาเอก สาขา Genetics จาก University of Hawaii, U.S.A.

 

                              ประกาศนียบัตรประชากรศาสตร์, University of Hawaii, U.S.A.

 

·      พ.ศ. 2514    ปริญญาโท สาขา Genetics จาก University of Wisconsin, U.S.A.

 

·      พ.ศ. 2512    ปริญญาตรี สาขา Zoology จาก University of Wisconsin, U.S.A.

 

·      พ.ศ. 2507-2508  เตรียมแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ปัจจุบัน คือ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)

 

3. ประวัติการทำงาน

 

ตำแหน่งหน้าที่สำคัญ

 

·    พ.ศ. 2561-2562 อธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีจิตรลดา

 

·    พ.ศ. 2557-2560 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

 

·    พ.ศ. 2557-2560 อุปนายกสภาวิทยาลัยเทคโนโลยีจิตรลดา

 

·    พ.ศ. 2556-2560 ประธานกรรมการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.)

 

·    พ.ศ. 2556-2559 ประธานคณะกรรมการบริหารโรงเรียนมหิดลวิทยานุสณณ์ (องค์การมหาชน)

 

·    พ.ศ. 2546-2555 กรรมการสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช สภาวิจัยแห่งชาติ

 

·    พ.ศ 2547-2550 นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

 

·     พ.ศ. 2545-2546 นายกสมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย

 

·     พ.ศ. 2540-2546 อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.)

 

·     พ.ศ. 2526-2529 คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.)

 

ตำแหน่งต่างๆ ทางการบริหาร งานวิชาการ และอื่น ๆ

 

·    เริ่มรับราชการตำแหน่งอาจารย์ประจำสอนและวิจัยในสาขาชีววิทยา พันธุศาสตร์และชีวสถิติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514

 

·    ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)

 

·    นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

 

·    นายกสมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย

 

·    กรรมการ คณะกรรมการอำนวยการโครงการโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ สอศ.

 

·    ที่ปรึกษา โครงการพัฒนานักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ของ สพฐ. และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

·    ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

 

·    ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยให้เป็นโรงเรียน วิทยาศาสตร์ภูมิภาค

 

·    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

·    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

 

·    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการบริหารโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ องค์การมหาชน

 

·    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนาคณะกรรมการวิทยาศาสตร์-  คณิตศาสตร์ที่มีความสามารถพิเศษ (สควค.)

 

·    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 6

 

·    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการการอุดมศึกษา

 

·    กรรมการสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ

 

·  ดำรงตำแหน่ง นายก อุปนายก กรรมการ ที่ปรึกษา ให้กับสมาคมวิชาชีพ / มูลนิธิ / ชมรมต่างๆ ในแวดวงวิชาการด้านการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านพุทธศาสนา

 

·    งานที่ปรึกษา / งานบริการทางวิชาการให้กับหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ได้แก่

 

 กระทรวงศึกษาธิการ

 

·   พ.ศ. 2515-2548 ผู้ชำนาญ / ที่ปรึกษาสาขาชีวิทยา สสวท.

 

·   พ.ศ. 2536-2548 กรรมการดำเนินการจัดการแข่งขันโอลิมปิควิชาการของกระทรวงศึกษาธิการ

 

·   พ.ศ. 2532-2548 อนุกรรมการคัดเลือกนักเรียน / นิสิต พสวท. ของทบวงมหาวิทยาลัยร่วมกับ สสวท.

 

·   พ.ศ. 2530-2540 ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาผลงานทางวิชาการของกรมการฝึกหัดครู

 

·   พ.ศ. 2533-2540 ประธานกรรมการตรวจแบบเรียนวิทยาศาสตร์ชีวภาพ กรมวิชาการ

 

·   พ.ศ. 2534 กรรมการศูนย์ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมการฝึกหัดครู

 

·   พ.ศ. 2523-2548 วิทยากรบรรยายพิเศษในวิทยาลัยครู โรงเรียน และหน่วยงานต่างๆ

 

·   พ.ศ. 2534-2548 กรรมการจัดการแข่งขันโอลิมปิคชีววิทยา และการแข่งขันครั้งที่ 6 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ

 

·   พ.ศ. 2538 ร่วมริเริ่มโครงการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ที่มีความสามารถพิเศษ สสวท. และทบวงมหาวิทยาลัย

 

·   พ.ศ. 2527-2538 อนุกรรมการสร้างแบบทดสอบมาตรฐานวิชาชีววิทยา

 

·   พ.ศ. 2530-2535 อนุกรรมการพิจารณาหลักสูตรชีววิทยา

 

·   พ.ศ. 2533-2538 กรรมการพัฒนาวิชาการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

 

·   พ.ศ. 2526-ปัจจุบัน ผู้ตรวจผลงานทางวิชาการของมหาวิทยาลัยของรัฐหลายแห่ง

 

·   พ.ศ. 2533-ปัจจุบัน อาจารย์พิเศษ / วิทยากรในการสัมมนาทางวิชาการในมหาวิทยาลัยต่างๆ

 

·   พ.ศ. 2538-ปัจจุบัน อนุกรรมการที่ปรึกษาเกี่ยวกับหลักสูตร

 

·   พ.ศ. 2538-2539 คณะทำงานนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา

 

·   พ.ศ. 2539 อนุกรรมการพัฒนาระบบการสอบคัดเลือก ระบบใหม่ กรรมการพัฒนาแบบทดสอบและกรรมการกลั่นกรองข้อสอบชีววิทยา

 

·   พ.ศ. 2540 อนุกรรมการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา

 

·   พ.ศ. 2540 ประธานคณะทำงานกำหนดเกณฑ์การพิจารณาผลการเรียนสะสมของนักเรียน ม.ปลาย  หรือเทียบเท่า ในการคัดเลือกระบบใหม่

 

·   พ.ศ. 2540-2548 อนุกรรมการพัฒนาระบบกำกับดูแลสถาบันการศึกษาเอกชน

 

·   พ.ศ. 2540-2548 กรรมการสภาวิทยาลัยคริสเตียน ผู้แทนทบวงมหาวิทยาลัย

 

·   พ.ศ. 2541-2548 รองประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย

 

·   พ.ศ. 2540-2548 กรรมการพัฒนาวิทยาเขตราชบุรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

 

·   พ.ศ. 2531-2548 อนุกรรมการความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน

 

·   พ.ศ. 2534-2535 กรรมการประเมินความเหมาะสมผู้รับทุนรัฐบาลศึกษาต่อต่างประเทศ ระดับปริญญาโท-เอก

 

·   พ.ศ. 2539-2548 กรรมการโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์ ของ สวทช. กับ สกว.สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ

 

·   พ.ศ. 2539 อนุกรรมการอำนวยการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีปัญญาเลิศ และมีความสามารถพิเศษ

 

·   พ.ศ. 2540 ผู้เชี่ยวชาญ โครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน (การเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมเยาวชนแห่งชาติ

 

·   พ.ศ. 2540 กรรมการแผนพัฒนาเด็กและเยาวชน แผนฯ 8 คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย

 

·   พ.ศ. 2539 ประธานจัดการประชุม 13th Asian Games Scientific Congress ธันวาคม 2541

 

·   พ.ศ. 2540 กรรมการโดยตำแหน่งอธิการบดี ในคณะกรรมการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน  เอเชี่ยนเกมส์ ที่ศูนย์องครักษ์

 

 

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

 

·   พ.ศ. 2534-2540 กรรมการออกข้อสอบและตรวจข้อสอบนักเรียนมัธยมปลาย เพื่อรับทุนรัฐบาลศึกษาต่อต่างประเทศ ระดับปริญญาตรี

 

 

กระทรวงสาธารณสุข

 

·  พ.ศ. 2541 กรรมการโครงการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรผู้บริหารสาธารณสุข

 

 

รัฐสภา

 

·   พ.ศ. 2540 กรรมการสรรหาคณะกรรมการการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญใหม่

 

·   พ.ศ. 2541 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 

 

4. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน

 

รศ.ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ เป็นผู้ที่ทำงานสิ่งใดก็ประสบความสำเร็จลุล่วงอย่างดีตามกำหนดเวลาเสมอ เพราะเป็นผู้ที่ทำงานอย่างมีระบบระเบียบ มีวินัยในการทำงาน เป็นแบบอย่างที่ดีของลูกศิษย์และผู้ใต้บังคับบัญชา โดยจะกำหนดนโยบาย เป้าหมาย แผนและแนวทางการดำเนินงานไว้ล่วงหน้า และมุ่งมั่นทำงานตามแผนด้วยความรับผิดชอบ อดทน ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค เป็นผู้มีอุดมการณ์ในการทำงาน โดยยึดมั่นในความถูกต้อง ชอบธรรม ยึดหลักเหตุผล ตามแนวทางของนักวิทยาศาสตร์ และหลักคุณธรรม ความเมตตากรุณา จรรยาบรรณวิชาชีพ และความเป็นครูที่ดี

 

5. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน

 

·      ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ได้ทุ่มเทอุทิศตนให้แก่งานด้านการบริหารการศึกษาและงานด้านวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง และมีบทบาทอย่างสำคัญในการสร้างความเจริญก้าวหน้าด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์ของประเทศ ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิ ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ นายกสมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย นายกสมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ก.ก.อ.) สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กรรมการบริหารมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กรรมการบริหารมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนาวิทยาศาสตร์ศึกษา (สอวน.) กรรมการสภามหาวิทยาลัยหลายแห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กรรมการบริหารโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (องค์การมหาชน) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะกรรมการการอุดมศึกษา คณะกรรมการบริหารโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ประธานมูลนิธิวิทยาศาสตร์ ดร.ปรีชา-ประไพ อมาตยกุล และอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดาในปัจจุบัน เป็นต้น

 

 

6. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

วงการวิทยาศาสตร์ไทยมีบุคลากรที่มีความสามารถสูงไม่แพ้ประเทศอื่น นับวันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยจะก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ จากการที่เราส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษและการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่อง

 

 

7. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล

 

รศ.ดร. คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ เป็นผู้ที่มีส่วนริเริ่มและยกระดับการศึกษาวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย จนเป็นที่ประจักษ์อย่างต่อเนื่องและยาวนาน อดีตเคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ผลงานอันโดดเด่นของท่าน ต่อการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา  ได้แก่  ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการบริหารโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) คัดเลือกให้ทุนการศึกษาแก่ผู้จบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ ศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา คณิตศาสตร์ศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษาในระดับปริญญาโท เพื่อไปบรรจุในโรงเรียนที่มีห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ในภูมิลําเนาของผู้รับทุน และให้ทุนการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกเพื่อผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาเป็นอาจารย์สอนในระดับอุดมศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ทําให้การจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย ในทุกระดับการศึกษาได้ยกระดับคุณภาพ แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประเทศไทยอย่างมั่นคงและยั่งยืน ปัจจุบันแม้เกษียณราชการแล้ว แต่ท่านยังคงทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับคุณภาพวิทยาศาสตร์ ศึกษาของประเทศ และได้สร้างเครือข่ายคนทํางานด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เข้มแข็งมากมายทั่วประเทศทั้งโรงเรียนภาครัฐและเอกชน

 

 

รศ.ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ยังปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างและเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี นำหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนาและของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตและถ่ายทอดให้กับลูกศิษย์และผู้ใต้บังคับบัญชาทุกเมื่อ เมื่อมีโอกาสได้บริจาคเงินทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างสม่ำเสมอ ทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมอยู่เนืองนิตย์ และเน้นเป็นนโยบายของสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดาในการนำความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ให้เป็นประโยชน์เชิงสาธารณะแก่ชุมชนและสังคม การส่งเสริมสนับสนุนและเปิดโอกาสทางการศึกษาและวิชาชีพ ให้กับผู้ด้อยโอกาสและผู้พิการในสังคม เป็นต้น

 

 

8. ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

 

8.1 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ

 

·      พ.ศ. 2547 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

 

·      พ.ศ. 2546 จตุถจุลจอมเกล้า

 

·      พ.ศ. 2541 มหาวชิรมงกุฏ

 

·      พ.ศ. 2539 จักรพรรดิมาลา

 

 

8.2 รางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

 

·      พ.ศ. 2566 รางวัลเกียรติคุณ “โพธิ์ทองคนต้นแบบ” จาก พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

 

·      พ.ศ. 2565 ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย

 

·      พ.ศ. 2565 ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

·      พ.ศ. 2564 EASE Distinguished Award, East-Asian Association of Science Education

 

·      พ.ศ.2539 รางวัลครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น จาก สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์                                                                             

 

 

มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถานที่ติดต่อ :

288/52 อาคารมูลนิธิ มสวท. ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220

Tel. +66(0) 2552-5200 Fax. +66(0) 2551-4422 Email : thaifstt@gmail.com 

Copyright © 2008-2015 หากมีปัญหาในการรับชมกรุณาติดต่อ Webmaster ที่ admin@thaifstt.org