2)  บุคคลคุณภาพแห่งปี 2022 ด้านเทคโนโลยี

 

 

ดร. ศรีภูมิ ศุขเนตร  (อายุ 90 ปี)

นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

 

 

1.  หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน

       1. ผู้ก่อตั้งและนายกสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (คนแรก) และดำรงตำแหน่งถึง 4 สมัย

2. นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

3. กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ของราชรัฐโมนาโกประจำประเทศไทย

4. ประธานคณะที่ปรึกษากลุ่มบริษัทเบญจจินดา โฮลดิ้ง จำกัด

5. รองประธานกรรมการมูลนิธิศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก (APCD)

6. การก่อตั้งและเป็นนายก (คนแรก) ของสหพันธ์สมาคมเทคโนโลยีสารสนเทศ (Thai Federation for Information Technology หรือ TFIT) ซึ่งปัจจุบันได้โอนกิจการมาเป็น สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย

 

2. ประวัติการศึกษา

·  ปริญญาเอก คณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน (ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

·  ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันการไปรษณีย์ โทรคมนาคม

·  ปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ ประกาศนียบัตรการปกครองและการคลัง มหาวิทยาลัยปารีส

·  วิทยาลัยการไปรษณีย์โทรคมนาคมขั้นสูงแห่งชาติ ปารีส

·  วิทยาลัยการปกครองแหงชาติ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส

·  ประกาศนียบัตรการปกครองและการคลัง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปารีส

·  วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 15

·  หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง รุ่น 16 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

·  หลักสูตรการเมืองการปกครอง (ปปร. 25) สถาบันพระปกเกล้า

·  ประกาศนียบัตรหลักสูตร DCP 15/2002, Fn 2/2003 และ ACP 10/2005 CHM 8/03 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย

·  หลักสูตรนักบริหารระดับสูงเพื่อการสร้างชาติ (นสช.) รุ่นที่ 2 (พ.ศ. 2560)

·  หลักสูตร ภูมิพลังแผ่นดิน รุ่น 5 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2562)

 

3. ประวัติการทำงาน

ประวัติรับราชการ

·         กองตะวันออก กรมการเมือง กระทรวงการต่างประเทศ (พ.ศ. 2495-2496)

·         อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข (พ.ศ. 2515-2521)

·         อธิบดีกรมการบินพาณิชย์ (พ.ศ. 2525-2527)

·         ปลัดกระทรวงคมนาคม (พ.ศ. 2530-2534)

·         ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2534-2535)

ประวัติการทำงานด้านการเมือง

·         สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (พ.ศ. 2515-2516)

·         รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (สมัยรัฐบาล ศ. สัญญา ธรรมศักดิ์) (พ.ศ. 2517-2518)

·         สมาชิกวุฒิสภา (พ.ศ. 2531-2534)

·         ประธานคณะกรรมการธิการคมนาคม (พ.ศ. 2531-2534)

ประวัติการทำงานด้านงานรัฐวิสาหกิจ

·         กรรมการ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) (พ.ศ. 2510-2520)

·         กรรมการ ธนาคารออมสิน (พ.ศ. 2515-2520)

·         ประธานกรรมการ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) (พ.ศ. 2517 และ พ.ศ. 2530)

·         ประธานกรรมการ บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) (พ.ศ. 2517-2518)

·         ประธานกรรมการ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (รสพ.) (พ.ศ. 2518-2519)

·         กรรมการ องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อสมท.) (พ.ศ. 2520-2525)

·         ประธานกรรมการ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) (พ.ศ. 2521-2522 และ 2533-2534)

·         กรรมการ การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) (พ.ศ. 2525-2527)

·         กรรมการ บริษัทเดินอากาศไทย จำกัด (บดท.) (พ.ศ. 2525-2529)

·         กรรมการ บริษัทไทยเดินเรือทะเล จำกัด (บทด.) พ.ศ. (2528-2529)

·         ประธานกรรมการ การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) (พ.ศ. 2529-2534)

·         รองประธานกรรมการ บริษัทการบินไทย จำกัด (พ.ศ. 2530-2534)

ประวัติการทำงานในภาคเอกชนและสังคม

·         นายกสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (TCT) (พ.ศ. 2534-2542)

·         ประธานกรรมการ บริษัท ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือยูคอม (พ.ศ. 2535-2549) ก่อนที่ยูคอม จะแปรสภาพและเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) TAC ในปี พ.ศ. 2550

·         กรรมการบริหาร (รุ่นก่อตั้ง) ของ International Satellite Organization (INTELSAT) ณ กรุงวอชิงตันดีซี

·         กรรมการบริหารของบริษัทดาวเทียม IRADIUM ซึ่งจดทะเบียน ณ มลรัฐ Delaware, U.S.A.

·         กรรมการและรองประธาน สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)

·         กรรมการอิสระและประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท อาเชียนมารีน เซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน)

·         ประธานกรรมการ บริษัท โกษากร จำกัด

·         ผู้ก่อตั้งและนายก (คนแรก) ของสมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2540)

·         นายกสมาคม (คนแรก) ของสมาคมอุตสาหกรรมการบินแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2541) และ พ.ศ. 2540-2549

·         นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (พ.ศ. 2543- ปัจจุบัน)

·         กรรมการ สมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทย (TFIT) (พ.ศ. 2544-2562)

·         สมาชิกกิตติมศักดิ์ สมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทย (TFIT) (พ.ศ. 2562) ก่อนที่สมาคมฯ จะโอนกิจการเป็นสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2562

·         กรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช (พ.ศ. 2535-2560)

·         กงสุลกิตติมศักดิ์ ราชรัฐโมนาโกประจำประเทศไทย (พ.ศ. 2540)

·         ที่ปรึกษาพิเศษ (ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด การบริหาร และศิลปกรรม) คณะกรรมการบริหารศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) (พ.ศ. 2551-2562)

·         ประธาน (คนแรก) ของสมาคมคณะกงสุลกิตติมศักดิ์ (ประเทศไทย) HCAT (พ.ศ. 2554)

·         กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ราชรัฐโมนาโกประจำประเทศไทย (พ.ศ. 2556-ปัจจุบัน)

·         กรรมการ และรองประธาน มูลนิธิศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิกในพระอุปถัมภ์ของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (APCD) ระยะเวลา 10 ปี จนถึงปัจจุบัน

·         นายกสมาคม (คนแรก) ของสมาคมนักเรียนเก่าฝรั่งเศส

·         นายกสมาคมนักเรียนเก่าภาคพื้นยุโรปในพระบรมราชูปถัมภ์

·         ประธานชมรมสมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ Legion d’Honneur” จากประเทศฝรั่งเศส

 

4. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน

·      ทำราขการเพื่อรับใช้ชาติและประชาชน

·      ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน

·      ทำงานด้วยหลักการ : เรียบร้อย รวดเร็ว รอบรู้ เร่งรัด และริเริ่ม

 

5. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน

        5.1 ดร.ศรีภูมิ ศุขเนตร ได้มีส่วนร่วมทำงานในฐานะคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ ในกระบวนการให้ความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งหน่วยงาน การแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านกิจการสื่อสารและโทรคมนาคม ในช่วงเปลี่ยนผ่านของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกิจการไปรษณีย์ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 ให้กับกระทรวงคมนาคม โดยลำดับการเปลี่ยนผ่านสรุปอย่างย่อ ได้ดังนี้

·      กรมไปรษณีย์โทรเลข ในช่วงปี  พ.ศ. 2490-2520 เป็นหน่วยงานระดับกรม อยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคม มีหน้าที่ดำเนินกิจการไปรษณีย์ โทรศัพท์ และโทรเลข ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 ได้โอนกิจการบริการโทรศัพท์ ไปเป็นของรัฐวิสาหกิจ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ต่อมา ในปี พ.ศ. 2545 ได้แปรรูปเป็น บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และได้เปลี่ยนชื่อในปี พ.ศ. 2548 เป็น บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

·      ในปี พ.ศ. 2519 ประเทศไทยได้มีการจัดตั้งการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจ ภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคม โดยได้โอนย้ายกิจการไปรษณีย์และโทรเลข จากกรมไปรษณีย์โทรเลขมาดำเนินการ โดยเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 กรมไปรษณีย์โทรเลข ในช่วงปี พ.ศ. 2520-2546 มีหน้าที่ดำเนินกิจการวิทยุสมัครเล่น และการบริหารความถี่วิทยุ ส่วนบริการไปรษณีย์และโทรเลข

·      ในปี พ.ศ. 2543 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 โดยมีการโอนกิจการของกรมไปรษณีย์โทรเลข (กิจการวิทยุสมัครเล่น และการบริหารความถี่วิทยุ) ไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กทช. ในขณะนั้น หรือสำนักงาน กสทช. ในปัจจุบัน) ยกเว้นกิจการไปรษณีย์  เป็นผลทำให้กรมไปรษณีย์โทรเลขต้องยุติการทำหน้าที่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ในปี พ.ศ.2547

·      ในปี พ.ศ. 2546 ได้มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ภายหลังจากที่มีการยกเลิกพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย โดยแยกกิจการไปรษณีย์และกิจการโทรคมนาคมออกจากกัน กิจการไปรษณีย์ได้จัดตั้งเป็นบริษัทใหม่ในชื่อ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด  ส่วนกิจการโทรคมนาคมได้มีการจัดตั้งเป็นบริษัทมหาชนจำกัดขึ้นในชื่อ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งทั้งสองหน่วยงานได้โอนย้ายมาอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ICT ส่วนบริการโทรเลข ซึ่งขึ้นกับบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ก็ได้ถูกยกเลิกให้บริการในปี พ.ศ. 2551

·      ในปี พ.ศ. 2559 กระทรวง ICT ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE)

·      ในปี พ.ศ. 2564 บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้มีการควบรวมกิจการกับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ National Telecom Public company Limited (NT)

5.2 ดร.ศรีภูมิ ศุขเนตร ได้มีส่วนร่วมทำงานในฐานะคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ ในกระบวนการพิจารณาหรือให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงกิจการเดินอากาศ อาทิเช่น

·      การเปิดน่านฟ้าของประเทศและการเดินอากาศ เพื่อรองรับธุรกิจด้านการท่องเที่ยวซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้หลักเข้าประเทศ

·      การจัดตั้งบริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)  BAFS เพื่อการจ่ายน้ำมันในสนามบินและการขนส่งทางท่อ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526

·      การจัดทำ พ.ร.บ. การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยให้เป็นรัฐวิสาหกิจ

5.3 ดร.ศรีภูมิ ศุขเนตร ได้มีส่วนร่วมทำงานในฐานะคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ ในกระบวนการพิจารณาหรือให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความขาดแคลนบริการโทรศัพท์และความล้าหลังในกิจการโทรคมนาคม อาทิเช่น

·      การเปิดให้ภาคเอกเอกชนได้เข้ามาลงทุนขยายกิจการโทรศัพท์ภายในประเทศ ด้วยวิธี Build-Transfer-Operate หรือ BOT

·      การริเริ่มโครงการสื่อสารดาวเทียมในประเทศไทย จนได้กลายเป็นประเทศแรกในภาคพื้นเอเชีย

·      การริเริ่มโครงการสื่อสารทางเคเบิ้ลใต้น้ำ ให้เข้ามาถึงประเทศไทยได้เป็นครั้งแรก

·      การริเริ่มโครงการวิทยุติดตามตัว (Paging System) วิทยุติดรถยนต์ (Radio Mobile Phone) วิทยุมือถือ (Cellular Mobile Phone)

·      การเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้ประเทศไทยก้าวทันโลกในยุคอนาล็อก และยุคดิจิทัล

·      การก่อตั้งและเป็นนายกสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย (คนแรก) และดำรงวาระจนครบ 4 สมัย พ.ศ. 2534-2542

·      การก่อตั้งและเป็นนายก (คนแรก) ของสมาคมอุตสาหกรรมการบินแห่งประเทศไทย

·      การก่อตั้งและเป็นนายก (คนแรก) ของสหพันธ์สมาคมเทคโนโลยีสารสนเทศ (Thai Federation for Information Technology หรือ TFIT ) ซึ่งปัจจุบันได้โอนกิจการมาเป็น สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย

 

6. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความสำคัญเป็นอย่างมากทั้งในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้นี้ ดังนั้น ประเทศไทยจะต้องปรับปรุงการศึกษาของเยาวชน ให้มุ่งไปในทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มากขึ้น เพื่อให้สามารถยกฐานะความเป็นอยู่ของชาวไทยให้ดีขึ้น และสามารถก้าวทันประเทศต่างๆที่ได้พัฒนาเลยเราไปไกลแล้ว

 

7. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล

7.1 เป็นกรรมการมูลนิธิสมเด็จพระยุพราช (รพร.) ประมาณ 25 ปี จนถึงปี พ.ศ. 2560 โดยรับหน้าที่เป็นรองประธานคณะทำงานจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติและจัดสวัสดิการ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่และกรรมการมูลนิธิสาขา ซึ่งมีหน้าที่ส่งเสริมขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชทั้ง 21 แห่ง รวมทั้งผู้ที่สนับสนุนและมีอุปการะคุณต่อ รพร. จัดการศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศให้แก่ผู้อำนวยการ รพร. และเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆเพื่อเพิ่มพูนความรู้และนำประสบการณ์มาใช้ในงานของ รพร. มากกว่า 30 ครั้ง

7.2 เป็นกรรมการมูลนิธิศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก (Asia Pacific Center for Development หรือ APCD) ประมาณ 10 ปี ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดฝึกอบรมอาชีพแก่คนพิการในย่านเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งขณะนี้ได้รับตำแหน่งเป็นรองประธานกรรมการมูลนิธิ ซึ่งอยู่ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

7.3 คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ ศ.ศ.ป. และได้ปฏิบัติหน้าที่ประมาณ 10 ปี จนถึงปีที่มีการเลือกตั้งและมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ พ.ศ. 2562

7.4 เป็นกรรมการ รองประธาน สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Directors Association หรือ IOD) ประมาณ 10 ปี

 

8. ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

8.1 ความภาคภูมิใจ

·      ได้รับพระราชทานดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พ.ศ. 2537

·      ได้รับการคัดเลือกเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลไทยดีเด่น จากสมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลไทย พ.ศ. 2553

·      ได้รับการคัดเลือกเป็นอัสสัมชนิกดีเด่นจากโรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก พ.ศ. 2536

·      ได้รับเข็มทองคำของมูลนิธิฯ จาก ฯพณฯ ธานินทร์ กรัยวิเชียร ประธานกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช เนื่องจากทำงานมีผลงานดีเด่นให้แก่มูลนิธิและโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชทั้ง 21 แห่ง

8.2 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

    พ.ศ. 2528 –เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)]

    พ.ศ. 2523 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)

    พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)

    พ.ศ. 2520 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)

    พ.ศ. 2520 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)

8.3 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

     พ.ศ. 2547 - เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้น 3 กอม็องเดอร์ “Commandeur de la Legion d’Honneur” จากประเทศฝรั่งเศส

     - เครื่องอิสริยาภรณ์ชั้น ออฟฟิเซเอร์ เดอลา เลยิอองดอนเนอร์ จากประเทศฝรั่งเศส

     - เครื่องอิสริยาภรณ์ชั้น เชอวาลิเอร์ เดอลา เลยิอองดอนเนอร์ จากประเทศฝรั่งเศส

 

 

 

มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถานที่ติดต่อ :

288/52 อาคารมูลนิธิ มสวท. ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220

Tel. +66(0) 2552-5200 Fax. +66(0) 2551-4422 Email : thaifstt@gmail.com 

Copyright © 2008-2015 หากมีปัญหาในการรับชมกรุณาติดต่อ Webmaster ที่ admin@thaifstt.org