4) บุคคลคุณภาพแห่งปี 2021 ด้านสังคม
ศาสตราจารย์ นพ.ดร.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ (อายุ 71 ปี)
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาและนักวิจัยเพื่อสังคม
1. หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน
1. นายกสภามหาวิทยาลัยทักษิณ
2. กรรมการสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
3. ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
4. ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ (วพส.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
5. ประธานมูลนิธิเพื่อการเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ชายแดนใต้
6. ศาสตราจารย์ ระดับ 11 (ข้าราชการบำนาญ) สาขาระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
7. ประธานหลักสูตรระบาดวิทยานานาชาติ ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2. ประวัติการศึกษา
· แพทยศาสตรบัณฑิตจากคณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2517)
· เศรษฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (พ.ศ. 2532)
· Med M.Med.Science (ระบาดวิทยา) University Of Newecastle, Australia (พ.ศ. 2532)
· Doctor of Philosophy (Ph.D.), University of Newcastle, Australia (พ.ศ. 2541)
3. ประวัติการทำงาน
1. รับราชการครั้งแรกที่สถานีอนามัยด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา
2. อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จนเกษียณราชการเมื่อปี พ.ศ. 2559
3. ผู้ก่อตั้งหน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
4. ที่ปรึกษาองค์การอนามัยโรค ด้านระบาดวิทยาเจริญพันธุ์ (พ.ศ. 2530-2533)
5. ศาสตราจารย์รับเชิญมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์คุณหมิง ประเทศจีน (พ.ศ. 2549-2552)
6. ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ (วพส.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
7. ประธานมูลนิธิเพื่อการเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
8. ศาสตราจารย์ระดับ 11 (ข้าราชการบำนาญ) สาขาระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
9. นายกสภามหาวิทยาลัยทักษิณ และกรรมการสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
4. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน
· เรียงลำดับในการทำงานร่วมกับผู้อื่น คือ “อุดมการณ์ งาน เงิน”
· สื่อสารด้านอุดมการณ์เพื่อชักจูงให้คนเห็นคุณค่าของงานที่จะทำ
· จัดบริหารงานให้เป็นระบบ พัฒนาบุคลากร สถาบัน และ เครือข่าย ทำงานให้น่าสนใจ มีตรรกะ มีส่วนร่วม ได้ผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรม
· จัดหาและจัดสรรทรัพยากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเงิน ให้เพียงพอ คล่องตัว โปร่งใส คุ้มค่า และ เป็นธรรม
5. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน
· มีผลงานวิชาการด้านการวิจัยสาธารณสุขระหว่างประเทศตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติเป็นอันดับต้นๆของเอเซีย
· ก่อตั้งหน่วยระบาดวิทยาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และทำงานต่อเนื่องจนเป็นหน่วยงานที่มีชื่อเสียงระหว่างประเทศ มีลูกศิษย์จาก 17 ประเทศ จบหลักสูตรปริญญาโทและเอกรวมกันกว่า 200 คน
· ก่อตั้งมูลนิธิเพื่อการเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ชายแดนใต้ เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบและลดความขัดแย้งในพื้นที่
· ติดตามวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์โควิด-19 ให้ข้อเสนอต่อประชาชนทั่วไป และรัฐบาลในการควบคุมโรค
6. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· วิทยาศาสตร์เป็นกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ การเข้าถึงวิทยาศาสตร์ทำให้เข้าใจธรรมชาติอย่างแท้จริงและปรับตัวเข้ากับธรรมชาติได้อย่างเหมาะสม
· เทคโนโลยีเป็นการประยุกต์วิทยาศาสตร์ สร้างประโยชน์แก่มนุษย์ ทำให้ปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
· การที่จะทำให้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีไว้เพื่อการสร้างสรรสิ่งทีดีต่อมนุษย์และโลก ต้องอาศัยการควบคุมด้วยศีลธรรมซึ่งเป็นวิวัฒนาการทางสังคมของมนุษยชาติ
7. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล
· มอบองค์ความรู้ รวมทั้งศีลธรรมเป็นวิวัฒนาการซับซ้อนของมนุษย์ เพื่อสนับสนุนคุณภาพในการดำรงชีพของมนุษย์เอง การจัดระบบของมนุษย์ทำให้เกิดสถาบันในการดูแลความสงบสุข การถ่ายทอดและพัฒนาความรู้ และการดำรงสุขภาพที่ดีของมนุษย์ การทำงานเพื่อมนุษย์ คือ การทำงานให้กับสถาบันเหล่านี้
· ศ.นพ.ดร.วีระศักดิ์ เป็นแพทย์และนักระบาดวิทยาที่มีความรอบรู้ทั้งด้านการวิจัยและการพัฒนาทำให้ใช้วิชาแพทยศาสตร์ที่ได้ร่ำเรียนมาสร้างประโยชน์ให้กับสังคมไทยอย่างต่อเนื่องกว่า 40 ปี ตั้งแต่การทำงานเป็นแพทย์บริการประชาชนในชนบท การเข้ารับราชการเป็นนักวิชาการในมหาวิทยาลัย ทำให้แวดวงวิชาการสาธารณสุขไทยได้รับความยอมรับอย่างกว้างขวางจากนานาชาติ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเซีย
· ถือเป็นศาสตราจารย์แถวหน้าของมหาวิทยาลัยที่อุทิศตนเพื่อสังคมมาอย่างยาวนาน และยังรั้งตำแหน่งประธานมูลนิธิเพื่อการเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ท่านได้อุทิศตนอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาระบบสุขภาพทางด้านสังคม เศรษฐกิจและเทคโนโลยี เพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ภาคใต้ เช่น การแก้ปัญหาโรคติดเชื้อต่าง ๆ ในภาคใต้ ได้แก่ บาดทะยักในเด็กแรกเกิด พยาธิปากขอ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 โรคปอดบวม อุจจาระร่วง มาลาเรีย วัณโรค ไข้เลือดออก ไข้ชิคุนกุนยา พิษจากการปนเปื้อนจากสารตะกั่วและสารหนู นอกจากนี้เมื่อปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ปะทุขึ้น ท่านยังได้ใช้ความยอมรับทางวิชาการของตนระดมความร่วมมือข้ามวัฒนธรรม ติดตามช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุรุนแรง เพื่อฟื้นฟูสมรรถนะทางจิตใจและการงานให้กลับคืนสู่สังคมได้อย่างปกติ
· ดำเนินการวิจัยเพื่อช่วยแก้ปัญหาด้านสุขภาพแก่ประชาชน เช่น ปัญหาแม่และเด็ก ปัญหาฟันผุ และโรคติดเชื้ออื่นๆ นอกจากนี้ ยังจะทำการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคยาสูบ ยาเสพติด โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชกระท่อมซึ่งเป้นปัญหาพิเศษของภาคใต้ รวมถึงการนำวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยแก้ปัญหาความรุนแรงจากสถานการณ์ความขัดแย้งในภาคใต้อีกด้วย โดยหวังว่าผลงานวิจัยจะสามารถสนับสนุนการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้ในระยะยาว อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยเพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนด้านการพัฒนาสุขภาพประชาชนของประเทศในอนาคต
8. ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ
8.1 เครื่องราชอิสรยาภรณ์ที่ได้รับ
· มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (5 ธันวาคม 2551)
· มหาวชิรมงกุฏ (5 ธันวาคม 2547)
8.2 รางวัลเกียรติยศที่ได้รับ
· เมธีวิจัยอาวุโส ประจำปี 2539 สาขาระบาดวิทยา ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
· นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2552 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
· นักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2553 ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
· อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2554 สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ของสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.)
· บุคคลดีเด่นของชาติ ประจำปี 2557 สาขาพัฒนาสังคม ของคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
· อาจารย์ดีเด่น ประจำปี 2559 รางวัลกองทุนเอกิ้น เลาเกเซ่นอนุสรณ์
· แพทย์ผู้มีผลงานดีเด่น รางวัลสมเด็จพระวันรัต ประจำปี 2560 ของแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
และยังได้รับรางวัลและทุนวิจัยจากหน่วยงานสำคัญของประเทศอีกเป็นจำนวนมาก