3) บุคคลคุณภาพแห่งปี 2018 ด้านสาธารณสุข

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ ประสิทธิ์ วัฒนาภา (อายุ 61 ปี)

นายกแพทยสภา และคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

1. หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน

·         นายกแพทยสภา

·         คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

·         ศาสตราจารย์ ระดับ 11 ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล

·         คณะกรรมการนานาชาติ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ

·         ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาวิชาการพิจารณารางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ

·         กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการบริหารสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล

2. ประวัติการศึกษา

พ.ศ. 2541      Fellow of the American College of Surgeons (F.A.C.S.), American College of Surgeons, U.S.A.

พ.ศ. 2535      Doctor of Philosophy, University of London, United Kingdom

พ.ศ. 2534      Fellow of the Royal College of Surgeons of Edinburgh Edinburgh (F.R.C.S.Ed), Royal College of Surgeons of Edinburgh , United Kingdom

พ.ศ. 2530      วุฒิบัตรฯ สาขาศัลยศาสตร์ แพทยสภา

พ.ศ. 2528      ประกาศนียบัตรชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาศัลยศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2524      แพทยศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2522      วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

มหาวิทยาลัยมหิดล

การศึกษาหลักสูตรบริหาร

พ.ศ. 2528      หลักสูตร “หลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย” สำนักงานศาลรัฐธรรมนญู รุ่นที่ 3

พ.ศ. 2550      หลักสูตร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน (ปรอ.รุ่น 20) วิทยาลัย

ป้องกันราชอาณาจักร

พ.ศ. 2546      Certificate : Stanford Executive Program, Graduate School of Business,

Stanford University, California, U.S.A

พ.ศ. 2545      หลักสูตรเตรียมผู้บริหารระดับสูงของทบวงมหาวิทยาลัย รุ่นที่ 8 (นบม.8)

ทบวงมหาวิทยาลัย

3. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน

แบบอย่างที่ยึดถือเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติงาน คือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราโชวาทที่เคยพระราชทานให้นักศึกษาแพทย์ที่ว่า

ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง

ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง

ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศ จะตกแก่ท่านเอง

ถ้าท่านทรงธรรมแห่งอาชีพ ไว้ให้บริสุทธิ์

นอกจากนี้ยังยึดในพระราชดำรัสที่พระราชทานเมื่อครั้งตัดสินพระทัยศึกษาด้านการแพทย์ การสาธารณสุข ดังนี้

“ฉันชอบวิชาปกครอง แต่ฉันไม่เรียน เพราะวิชาดังกล่าวเป็นวิชาที่ฉันมองเห็นแล้วว่า ล้วนเป็นไปเพื่อเบียดเบียน ยังความทุกข์ร้อนให้แก่ผู้อื่น ฉันเกิดเป็นคน ควรจะทำให้ตนเองมีค่า หมายถึงว่า ทำตนให้เป็นที่หลั่งออกเพื่อประโยชน์ต่อผู้อื่น ให้ผู้อื่นได้รับความสุขจากเรา ฉะนั้น ฉันจึงเลือกเรียนวิชาแพทยศาสตร์”

และที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเคยพระราชทานให้เมื่อครั้ง ตามเสด็จที่พระราชวังไกลกังวลว่า “…ทำต่อไป” (ความหมายคือ แม้จะมีอุปสรรคมากเพียงใด ก็ขอให้ทำต่อไป)

4. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน

เป้าหมายในชีวิตตั้งแต่เมื่อครั้งยังคงศึกษาต่อ คือการผลิตผลงานวิชาการเพื่อแก้ปัญหาสขุภาพของประเทศ โดยมีตัวชี้วัด คือ จำนวนและคุณภาพผลงานวิจัยที่ได้รับการลงตีพิมพ์ใน High Impact Journal และ Impact ของงานวิจยั ที่นำไปสู่ Outcome คือการแก้ไขปัญหาสขุภาพ ดังนั้น ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน คือ การยกระดับคุณภาพชีวิตของบุคคลในสังคม ซึ่งในระยะหลัง การดูแลสุขภาพผู้ป่วยรายบุคคลถูกผันไปสู่การบริหารจัดการสถาบันผลิตบุคลากรด้านสุขภาพ การให้การดูแลสุขภาพ และมีส่วนร่วมในการวางระบบการดูแลสุขภาพของประเทศ

5. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสังคมและประเทศที่สำคัญ  ซึ่งไม่เพียงแต่พัฒนาในด้านสิ่งผลิตหรือผลิตภัณฑ์ที่จะนำไปสู่คุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจที่ดีขึ้น แต่ยังเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่สำคัญคือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ไม่มีที่สิ้นสุด จึงเป็นเหตุผลที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ไม่สิ้นสุดเช่นเดียวกัน

สำหรับในประเทศไทย วงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการพัฒนาไปอย่างมากในทศวรรษที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ข้อพึงสังเกตุคือ ประเทศต่างๆก็พัฒนาในทิศทางเดียวกัน จุดสำคัญคือ ความเร็วและความยั่งยืนของการพัฒนา ซึ่งต้องมุ่งเป้าลงไปสู่เยาวชน รวมทั้งระบบการศึกษาของประเทศ ในส่วนนี้คิดว่า ยังมีพื้นที่ให้พัฒนาได้อีกมาก โดยมีปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญคือ นโยบายและมาตรการที่ชัดเจนของรัฐบาล

6. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล

การดำเนินการให้โรงพยาบาลศิริราชเป็นโรงพยาบาลของแผ่นดินที่มุ่งให้การดูแลผู้ป่วยด้อยโอกาสโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบัน ได้เชิญชวนให้คนไทยทั้งประเทศร่วมกันสมทบทุนสร้างอาคารนวมินทรบพิตร ๘๔ พรรษา ซึ่งเป็นอาคารที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดลุยเดช ทรงพระราชทานนามอาคารและตั้งพระทัยอยากให้อาคารนี้ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยด้อยโอกาสของโรงพยาบาลศิริราช ได้ดำเนินการในหลากหลายรูปแบบและได้ดึงการมีส่วนร่วมของสังคมไทย สร้างค่านิยมเรื่อง รู้รักสามัคคีและ ปิดทองหลังพระของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นอกจากกิจกรรมที่ได้ดำเนินการภายในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลแล้ว ยังเข้าร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข ศึกษาระบบการดูแลสุขภาพผู้สุงอายุเพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยสมบูรณ์แบบ โดยดึง National Center of Gerontology and Geriatric Medicine (สถาบันที่วางระบบการดูแลผู้สูงอายุของประเทศญี่ปุ่น) เข้ามาร่วมเป็นที่ปรึกษาและวางระบบ ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขในโครงการกำจัดวัณโรคภายใน 20 ปี โดยทางคณะฯ รับผิดชอบในส่วนการทำ Gene Sequencing เพื่อหาเชื้อวัณโรคสายพันธุ์ดื้อยาที่ปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น  ร่วมมือกับสำนักการแพทย์และสำนักอนามัยของกรุงเทพมหานคร จัดทำมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพซึ่ง จะ Implement ทั่วทั้งกรุงเทพมหานครจัดและเข้าร่วมกิจกรรมแพทย์อาสาของแพทยสภาและมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ ซึ่งในปี

พ.ศ. 2561 นี้ ได้ออกตรวจสุขภาพของพระภิกษุและเด็กพิการ ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด

7. ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ

·      Weston Scholarship” จาก Royal Postgraduate Medical School ของ University of Londonในช่วงการศึกษาต่อระดับปริญญาเอก (พ.ศ. 2532- 2534) ซึ่งครอบคลุมค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตรปริญญาเอกนั้น

·     Young Clinical Awardจากการประชุม 10th Congress of Gastroenterology ที่สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2537 เป็นทุนที่แข่งขันกับ Young Clinician ทั่วโลกที่สมัครทุน

·     “บุคลากรดีเด่น” จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลยัมหิดล 3 ครั้ง คือในปี พ.ศ.2547 และ พ.ศ. 2550

·     “ผู้ประกอบคุณงามความดีและเป็นประโยชน์” จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฏเกล้า ในปีพ.ศ. 2556

·     “ศิริราชเชิดชูเกียรคติ” จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลยัมหิดล

·     “บุคคลคุณภาพดีเด่น” จากสมาคมมาตรฐานและคุณภาพแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2560

·     “นักเวชศาสตร์ป้องกันดีเด่นระดับชาติ” จากสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ในปีพ.ศ. 2560

·     ความภาคภูมิใจจากผลงานที่ได้ดำเนินการทั้งจากภายในและภายนอกคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

o   การบริการ :

                   1.เป็นคณะกรรมการบริหารสถาบัน สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน) (สรพ.) โดยเป็นกรรมการตั้งแต่ครั้งยังเป็น สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล(พรพ.) ปีที่เริ่มเป็นกรรมการ ประมาณ พ.ศ. 2551 และยังคงเป็นกรรมการอยู่จนถึงปัจจุบัน อยู่ในทีมที่ร่วมกันปรับระบบการทำงานและการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลจนทำให้ สรพ. ได้รับการรับรองมาตรฐานนานาชาติของ ISQua (International Society for Quality in Healthcare)

2. โรงพยาบาลศิริราชเป็นโรงพยาบาลแรกที่ได้รับรางวัล Thailand Lean Award Golden ในปี พ.ศ. 2558 อันเป็นผลจากการนำ Lean Management Concept มาใช้ในการบริหารจัดการโรงพยาบาล

3. โรงพยาบาลศิริราชได้รับการรับรองคุณภาพสถานพยาบาลด้วยมาตรฐานสูงสุดของ สรพ. คือ Advanced Hospital Accreditation ในปี พ.ศ. 2557

4. โรงพยาบาลศิริราชได้รับการต่ออายุการรับรอง (Reaccreditation) คุณภาพสถานพยาบาลด้วยมาตรฐานสูงสุดของ สรพ. คือ Advanced Hospital Accreditation เมื่อ พ.ศ. 2560 (การรับรองมีอายุ 3 ปี คือ 26 กันยายน 2560 25 กันยายน 2563)

5. โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ได้รับการรับรองคุณภาพสถานพยาบาลด้วยมาตรฐานนานาชาติ คือ Joint Commission International - JCI ในปี พ.ศ. 2556 และได้รับการต่ออายุการรับรอง (Reaccreditation) เมื่อ พ.ศ. 2560 นอกจากนี้ โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ยังได้รับการรับรองมาตรฐานเฉพาะโรคหัตถการจาก JCI ในการรักษาข้อเข่า (Clinical Care Program Certificate for Total Knee Replacement Program) ในปี พ.ศ. 2557

6. โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ได้รับการรับรองมาตรฐานเฉพาะโรคหัตถการจาก JCI ในการรักษาข้อเข่า (Clinical Care Program Certificate for Total Knee Replacement

Program) ในปี พ.ศ. 2557

7. โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ได้รับการต่ออายุการรับรอง (Reaccreditation) จาก JCI เมื่อ พ.ศ. 2560

o   การวิจัย :

1. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้รับการรับรองมาตรฐานในกระบวนการค้มุครองผู้ที่จะเข้าร่วมการวิจัยในคน (Human Research Protection Program) จากองค์กรของสหรัฐอเมริกาคือ

Association for Accreditation of Human Research Protection Program AAHRPP) ชนิดเต็มรูปแบบ (Full Accreditation) เมื่อปี พ.ศ. 2557

2. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้รับการต่ออายุการรับรองมาตรฐานในกระบวนการคุ้มครองผู้ที่จะเข้าร่วมการวิจัยในคน (Human Research Protection Program) จากองค์กรของสหรัฐอเมริกาคือ Association for Accreditation of Human Research Protection Program -AAHRPP) ชนิดเต็มรูปแบบ (Full Re-Accreditation) เมื่อปี พ.ศ. 2560

3. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้รับการมอบรางวัล Best Clinical Research Center Award (CRC) 2017 และรางวัล Best Ethics Committee/Institutional Review Board Award (EC/IRB) 2017 ในการประชุม 17th Thailand Towards Excellence in Clinical Trial (ThaiTECT) Annual Meeting 2017

4. ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น Visiting Professor ของ Tokyo Medical and Dental University TMDU ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสถาบันผลิตแพทย์ลำดับที่ 3

(Ranking) ของประเทศ ในปี พ.ศ. 2561 2562

o   การศึกษา :

1. เป็นคณะกรรมการสถาบัน Institute for Medical Accreditation IMEAc ซึ่งก่อตั้ง เมื่อปี พ.ศ. 2559 ทำหน้าที่พัฒนามาตรฐานแพทยศาสตรศึกษาของประเทศให้ได้มาตรฐานสากล โดยกระบวนการรับรองมาตรฐาน (Accreditation) ด้วยเกณฑ์ของ World Federation for Medical Education WFME ซึ่งจะทำให้ผู้ที่จบหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตจากสถาบันที่ได้รับการรับรอง สามารถเข้ารับการศึกษาต่อหรือฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ได้ทุกประเทศ

2. หลักสูตรแพทยศาสตรศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลและคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลผ่านการรับรองคุณภาพโดย IMEAc เมื่อปี พ.ศ. 2558 (การรับรองมีอายุถึงปี พ.ศ. 2563)

3. ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา ได้รับการแต่งตั้งเป็น Educator Advisor ของ Peking Union Medical College PUMC ซึ่งเป็นสถาบันผลิตแพทย์แห่งแรกของประเทศสาธารณรัฐประชาชน

จีน ระหว่างปี พ.ศ. 2555 – 2560

o   การบริหารจัดการ :

1. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Thailand Quality Class TQC) จากสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2559 นับเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกที่ได้รับรางวัลดังกล่าว โดยครอบคลุมทุกพันธกิจของคณะฯ

2. โรงพยาบาลศิริราชได้รับรางวัล “กนกนาคราช” ในฐานะเป็น “องค์กรดีเด่นด้านการสาธารณสุข” เมื่อปี พ.ศ. 2560

3. ศ. ดร. นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา ได้รับรางวัลคุณภาพดีเด่น สมคท. ประจำปี 2560 (SQAT Quality Award 2017) จากสมาคมมาตรฐานและคุณภาพแห่งประเทศไทย เมื่อ ปี พ.ศ. 2560

4. รางวัลนักเวชศาสตร์ป้องกันดีเด่นระดับชาติ ประจำปี 2560 จากสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย เมื่อ ปี พ.ศ. 2560

8. ประวัติการทำงาน

พ.ศ. 2546 ปัจจุบัน    ศาสตราจารย์ ระดับ 11 ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2539 2546       ศาสตราจารย์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2536 2539      รองศาสตราจารย์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2530 2536       อาจารย์ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล

การทำงานตำแหน่งการบริหารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา/อุดมศึกษา

เม.ย. 2561- มี.ค. 2562 Visiting Professor Tokyo Medical and Dental, University

ม.ค. 2560 – ปัจจุบัน    คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยลักษณ์

ม.ค. 2558 – ปัจจุบัน    คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

มี.ค. 2558 – ก.ค. 2561 คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

พ.ค. 2556 – เม.ย. 2561 Education Advisor Peking Union Medical College, China

มี.ค. 2556 - ม.ค. 2558  นายกสภา สภาอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร กระทรวงศึกษาธิการ

ม.ค. 2555 – ก.ย. 2558  ที่ปรึกษา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ธ.ค. 2554 - ม.ค. 2558 รองคณบดีและผู้อำนวยการ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โรงเรียนแพทย์ศิริราช มหาวิทยาลัยหิดล

ธ.ค. 2550 - ธ.ค. 2554  รองอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคลและพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล

เม.ย.2554 - ธ.ค. 2554  รักษาการคณบดี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ก.พ. 2553 - มี.ค. 2554  รักษาการคณบดี วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล

ม.ค. 2552 - พ.ค. 2552 รักษาการผู้อำนวยการ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล

ส.ค. 2552 - พ.ย. 2552 รักษาการผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

ต.ค. 2547 - ธ.ค. 2550 ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลและรองคณบดีฝ่ายบริการ มหาวิทยาลัยมหิดล

ต.ค. 2543 – ก.ย.2547 รองคณบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล

ต.ค. 2543 – ก.ย 2546 หัวหน้าหน่วยการศึกษา ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2541 2543   ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2541 2543   รองหัวหน้าหน่วยการศึกษาก่อนปริญญา ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

การทำงานในตำแหน่งที่สำคัญอื่นๆ

พ.ศ. 2558 – ปัจจุบัน  นายกแพทยสภา

พ.ศ. 2558 - 2560      President of ASEAN Medical School Network

พ.ศ. 2556 – ปัจจุบัน  คณะกรรมการนานาชาติ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ

พ.ศ. 2556 – ปัจจุบัน  ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาวิชาการพิจารณารางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ

พ.ศ. 2553 – ปัจจุบัน  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการบริหารสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล

พ.ศ.2553 2555      กรรมการและรองประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาวิชาการพิจารณารางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ

พ.ศ.2546 2551      อนุกรรมการ อ.ก.ม.วิสามัญเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและระบบราชการตามพระราชบญัญัติข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ.2547 2553      กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการวิชาการพิจารณารางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ

พ.ศ.2552 - 2553       กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการอำนวยการสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล

 

************************

มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถานที่ติดต่อ :

288/52 อาคารมูลนิธิ มสวท. ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220

Tel. +66(0) 2552-5200 Fax. +66(0) 2551-4422 Email : thaifstt@gmail.com 

Copyright © 2008-2015 หากมีปัญหาในการรับชมกรุณาติดต่อ Webmaster ที่ admin@thaifstt.org