2) บุคคลคุณภาพแห่งปี 2018 ด้านเทคโนโลยี
ศาสตราจารย์ ดร. ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช (อายุ 47 ปี)
นักวิจัยเชิงนวัตกรรมต้นแบบที่นานาชาติยอมรับ
1. หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน
· ศาสตราจารย์ ระดับ 11 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
· เมธีวิจัยอาวุโส สกว.
· ผู้อำนวยการ Center of Excellence in Electromagnetic Energy Utilization in Engineering (CEEE) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. ประวัติการศึกษา
· ปริญญาเอก Ph.D (Mechanical Engineering) Nagaoka University of Technology, Japan
· Post-Doctoral Fellow, Chem. Eng. and Material Sci. University of Minnesota Twin Cities, USA.
· รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต (การเมืองการปกครอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต วิศวกรรมเครื่องกล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
· วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต วิศวกรรมเครื่องกล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
· วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต วิศวกรรมเครื่องกล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
3. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน
เน้นการทำงานที่ได้ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ สร้างคนรุ่นใหม่ให้มีศักยภาพเทียบเท่ามาตรฐานสากล เน้นการทำงานลักษณะสหวิทยาการและทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ อีกทั้งเน้นการมีคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
4. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน
ในช่วงชีวิตการทำงานได้ทุ่มเทในการทำงานอย่างเต็มที่ และผ่านประสบการณ์ในการทำงานทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ โดยในการทำงานในภาคเอกชนก่อนหน้านี้ ในฐานะวิศวกรมืออาชีพได้รับผิดชอบการทำงานอย่างเต็มความสามารถจนได้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการส่วนของบริษัท อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) (ปัจจุบันคือ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ต่อมาเมื่อเข้ารับราชการในภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใช้เวลา 5 ปี 8 เดือน หลังจากการสำเร็จการศึกษาปริญญาเอก ก็เข้าสู่ตำแหน่งวิชาการระดับศาสตราจารย์ได้ และ 2 ปีต่อมาก็เข้าสู่ตำแหน่งศาสตราจารย์ ระดับ 11 ได้ อีกทั้งได้สร้างนักศึกษาและนักวิจัยรุ่นใหม่รวมกว่า 50 คนตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา กล่าวในภาพรวม ผลงานวิจัยของ ศ.ดร. ผดุงศักดิ์ รัตนเดโชที่ผ่านมา ได้เน้นวิจัยเชิงสหวิทยาการ (Multi-disciplinary) และบูรณาการที่ครบวงจร กล่าวคือ โดยในส่วนของงานวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) ผ่านกระบวนการทางโมเดลเชิงคณิตศาสตร์ชั้นสูงควบคู่ระเบียบวิธีการคำนวณเชิงตัวเลขชั้นสูงที่ ศ.ดร. ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช พัฒนาขึ้นมาเอง ซึ่งได้มุ่งเป้าในเชิงวิชาการ (Academic side) และสร้างผลงานคุณภาพบ่งบอกถึงการค้นหาองค์ความรู้ใหม่ที่สามารถตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติที่มี Impact Factor และ H- Index สูง (ปัจจุบัน ศ.ดร. ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช มีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารนานาชาติเฉลี่ยปีละกว่า 12 เรื่อง) ในส่วนของงานวิจัยประยุกต์ (Applied Research) ได้ต่อยอดองค์ความรู้จากงานวิจัยพื้นฐาน เพื่อมุ่งเป้าพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ โดยในชั้นนี้ผลสรุปงานวิจัยจะออกมาในรูปออก Experimental Data และสุดท้ายเป็นงานวิจัยอุตสาหกรรม (Industry Research) โดยเป็นการนำองค์ความรู้มาต่อยอดเป็น รูปแบบกระบวนการที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาต่อเนื่องให้อยู่ในรูป Pilot Scale และ Commercial Scale ซึ่งเป็นภาคส่วนสุดท้ายของงานวิจัยที่ครบวงจร ซึ่งในส่วนนี้ผู้วิจัยได้สร้างเครื่องต้นแบบทั้งในระดับ Pilot Scale และ Commercial Scale ที่สามารถจดสิทธิบัตรได้และสามารถนำไปใช้งานได้จริงในภาคอุตสาหกรรม และผลงานสิ่งประดิษฐ์ทุกชิ้นยังได้รับรางวัลสำคัญระดับชาติและนานาชาติ
ปัจจุบัน ศ.ดร. ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช มีวิจัยสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมซึ่งนำมาสู่การจดสิทธิบัตรกว่า 10 ผลงาน มีผลงานวิจัยที่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยระดับนานาชาติที่มีมาตรฐานสูง (high impact factor) มากกว่า 150 รายการ นอกจากนี้ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยระดับนานาชาติ ของ ศ.ดร. ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช ยังได้รับการอ้างอิง (Citation) มากกว่า 2,000 รายการ และได้รับรางวัลวิจัยระดับนานาชาติกว่า 15 รางวัล และรางวัลภายในประเทศกว่า 80 รางวัล (สืบค้นได้จากhttp://www.phadungsak.me.engr.tu.ac.th/refer.html)
5. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยเรามีผลิตผลโดยเฉพาะเชิงนวัตกรรมยังมีค่อนข้างน้อย และจำนวนนักวิจัยต่อจำนวนประชากรทั้งประเทศยังมีจำนวนค่อนข้างน้อย อีกทั้งทุนสนับสนุนทางด้านนี้มีไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศที่มีความเข้มแข็งทางเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยก็เห็นปัญหานี้ก็ได้พยายามเข้ามาแก้ปัญหาในจุดนี้ ในทรรศนะของข้าพเจ้าเห็นว่าควรต้องสนับสนุนทั้งงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ และงานวิจัยนวัตกรรมในสัดส่วนที่เท่ากัน
6. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล
ผลิตนักศึกษาและนักวิจัยรุ่นใหม่คุณภาพสูงเพื่อรับใช้สังคม ใช้ความรู้ความสามารถเชิงวิชาการทำคุณประโยชน์เพื่อสังคมและสาธารณกุศลหลายประการ อาทิ การทำวิจัยเพื่อตอบปัญหา การทำวิจัยเชิงนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรม อบรมบ่มเพาะนักประดิษฐ์รุ่นใหม่ในสายอุดมศึกษากว่า 3,000 คนทั่วประเทศ และสายอาชีวศึกษากว่า 10,000 คนทั่วประเทศในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา เป็นอนุกรรมการสภาวิศวกรตรวจรับรองหลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกลกว่า 100 สถาบันทั่วประเทศ และตีพิมพ์ผลงานวิจัยลงเผยแพร่ในวารสารวิชาการคุณภาพสูงกว่า 150 รายการ
7. ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ
1.นักศึกษาเก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
2.ศิษย์เก่าญี่ปุ่นดีเด่นของสมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่น ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี พ.ศ.2560
3.เข็มเสมาคุณูปการ และประกาศเกียรติคุณบัตรแก่ผู้ทำคุณประโยชน์แก่กระทรวงศึกษาธิการประจำปี พ.ศ.2559 จากสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา
4.ผู้มีผลงานจำนวนครั้งที่ถูกอ้างอิง (Citation) ในบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติสูงสุดของมหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2558)
5.ผลงานวิจัยดีเด่น จากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) (พ.ศ. 2558)
6.เหรียญทอง นวัตกรรมนานาชาติ จาก International Exhibition of Inventions of Geneva (พ.ศ. 2558 - 2560)
7.เหรียญเงิน นวัตกรรมนานาชาติ จาก International Exhibition of Inventions of Geneva (พ.ศ. 2557 และ 2561)
8.เมธีวิจัยอาวุโส สกว. จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) (พ.ศ. 2556 และ 2559)
9.พระราชทานเข็มเกียรติยศทองคำ บุคคลดีเด่นของชาติ จากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2556)
10.ผู้มีจำนวนบทความวิชาการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติสูงสุดของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2556 และ 2559)
11.อาจารย์ดีเด่นที่ประชุมสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) จากที่ประชุมสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) (พ.ศ. 2555)
12.นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ จากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) (พ.ศ. 2554)
13.กีรตยาจารย์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2554)
14.เหรียญทอง นวัตกรรมนานาชาติ จาก Seoul International Invention Fair (SIIF) ( พ.ศ.2554 - 2557)
15.โล่รางวัลเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานวิจัยดีเด่นวันนักวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 12 ครั้ง จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2546-2560)
8. ประวัติการทำงาน
8.1 ประวัติการทำงานภาคบริหาร
1) ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2) ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยแห่งความเป็นเลิศ Center of Excellence in Electromagnetic Energy Utilization in Engineering (CEEE) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3) รองคณบดีฝ่ายการนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4) รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
5) ที่ปรึกษาที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.วิจัย)
6) คณะทำงานมหาวิทยาลัย 4.0 (University 4.0)
7) คณะทำงานยุทธศาสตร์ประเทศไทย (ในนาม ทปอ.วิจัย) Thailand 4.0
8) กรรมการสาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย สภาวิจัยแห่งชาติ
9) กรรมการและคณะทำงานยุทธศาสตร์วิจัยแห่งชาติ (ในนาม วช.)
10) คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์วิจัย สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)
11) คณะกรรมการบัญชีรายชื่อนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ไทย (วช.)
12) กรรมการประเมินสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมนานาชาติ (วช.)
13) คณะกรรมการบ่มเพาะนักประดิษฐ์สายอาชีวศึกษาทั่วประเทศ (วช.)
14) คณะกรรมการบ่มเพาะนักประดิษฐ์สายอุดมศึกษาทั้งประเทศ (วช.)
15) ประธานคลัสเตอร์พลังงาน เครือข่ายมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ (RUN: Research University Network)
16) Research Manager คลัสเตอร์พลังงานประเทศไทย เครือข่ายมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ (RUN)
17) ที่ปรึกษาการจัดตั้งโครงการหลักสูตรใหม่ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM)
18) กรรมการสภามหาวิทยาลัย สถาบันรัชภาคย์
19) กรรมการสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
20) กรรมการสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
21) กรรมการสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
22) กรรมการสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
23) กรรมการสภาวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
24) กรรมการสภามหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
25) กรรมการสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
26) กรรมการสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
8.2 ประวัติการทำงานภาคเอกชน
1) วิศวกรเครื่องกล บริษัท เชลล์ ประเทศไทย
2) ผู้จัดการส่วน บริษัท อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) (ปัจจุบันคือ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
8.3 ประวัติการทำงานด้านวิชาการและการบริงานงานวิจัย
1) เมธีวิจัยอาวุโส สกว. ประจำปี พ.ศ.2556 และ พ.ศ. 2559
2) ศาสตราจารย์ระดับ 11 (พ.ศ. 2555)
3) ศาสตราจารย์ระดับ 10 (พ.ศ. 2552)
4) รองศาสตราจารย์ วิธีพิเศษ (พ.ศ. 2549)
5) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (พ.ศ. 2547)
6) วุฒิเมธีวิจัย สกว. ปี พ.ศ. 2550, พ.ศ. 2552 และ พ.ศ. 2555
7) ทุนวิจัย Translation Grant สกว. ปี พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2552
8) เมธีวิจัย สกว. ปี พ.ศ. 2547, พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2559
9) Committee และ Chair man สำหรับการประชุมนานาชาติและระดับชาติมากกว่า 50 รายการ
10) Reviewer ประจำวารสารวิจัยระดับนานาชาติ มากกว่า 50 วารสาร
11) ผลิตบัณฑิต ระดับปริญญาเอก ภายใต้ทุนปริญญาเอก กาญจนาภิเษก (คปก.) และทุน สกอ. สำเร็จการศึกษาแล้วรวม 10 คน
12) ผลิตบัณฑิต ระดับปริญญาโทและเอกด้วยทุนอื่นๆกว่า 30 คน
************************