2) บุคคลคุณภาพแห่งปี 2017 ด้านเทคโนโลยี
ดร.สมิทธ ธรรมสโรช (อายุ 80 ปี)
ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
1. หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน
1. ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
2. ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการฝนหลวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
3. ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์
4. รองนายกสมาคมนักอุทกวิทยาไทย (สมาคมอุทกวิทยาไทย)
5. ข้าราชการบำนาญ สังกัดกระทรวงคมนาคม (ตำแหน่งสุดท้าย รองปลัดกระทรวงคมนาคม)
2. ประวัติการศึกษา
· ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ภูมิศาสตร์) (Ph.D.) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา
· ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์แขนงไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (B.S.E.E) University of Vermont, U.S.A.
· ปริญญาบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นที่ 33)
· ประกาศนียบัตรการฝึกอบรมนักบริหารระดับสูงรุ่น 1/14 สำนักงาน ก.พ.
· ได้รับวุฒิบัตรและประกาศนียบัตรจากการไปศึกษาและฝึกอบรมเพิ่มเติม ด้านอุตุนิยมวิทยา อุทกวิทยา ธรณีวิทยา แผ่นดินไหวและการสื่อสารโทรคมนาคมอุตุนิยมวิทยา จากประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ จีน และญี่ปุ่น
3. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน
ผู้บริหารน้ำต้องมีความรู้ทางวิชาการ มีความเชี่ยวชาญเรื่องน้ำอย่างลึกซึ่ง เพื่อให้การดำเนินการเตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติของประเทศไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและลดความสูญเสีย
4. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน
1. ได้รับรางวัลจากองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก
2. ได้รับการยกย่องและขนานนามจากสื่อมวชนว่าเป็น ผู้เชี่ยวชาญด้านภัยพิบัติต่างๆ เช่น อุทกภัย สึนามิ และนักพยากรณ์น้ำท่วม
5. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วิธีป้องกันภัยธรรมชาติที่ดี ประเทศไทยต้องมีระบบเตือนภัยที่ดี โดยเฉพาะภาครัฐควรตระหนักและให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านเทคโนโลยีในด้านนี้ให้มีความทันสมัย และมีความพร้อมในการใช้งานได้อย่างทันท่วงที เพื่อช่วยผ่อนวิกฤติจากหนักให้เป็นเบา
6. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล
1. ปัจจุบัน แม้จะเกษียณอายุราชการไปนานแล้ว แต่ด้วยความห่วงใยในสถานการณ์ด้านภัยพิบัติต่างๆของประเทศ จึงได้ก่อตั้งมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร โดยมูลนิธินี้จะทำงานคู่ขนานไปกับศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติของรัฐ มีเครือข่ายจากลูกทุ่งเน็ตเวิร์คกระจายเสียงทั้งหมด 81 สถานี ทั้งเอฟเอ็ม เอเอ็มทั่วประเทศ ที่จะติดตามเหตุการณ์พร้อมกับเตือนภัยตลอด 24 ชั่วโมง โดยสถานีวิทยุให้การสนับสนุนค่าใช้จ่าย สำหรับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยสามารถสอบถามและแจ้งเหตุได้ที่ โทร.0-2888-2215 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
2. เปิดอบรมการเกิดแผ่นดินไหวในภูมิภาคเอเชีย และมีการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญแผ่นดินไหวของแต่ละประเทศร่วมกัน
7. รางวัลเกียรติยศหรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์
7.1 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ
พ.ศ. 2543 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)
พ.ศ. 2541 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
พ.ศ. 2539 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว)
พ.ศ. 2539 เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ 9 ชั้น 3
พ.ศ. 2537 มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
8. ประวัติการทำงาน
ประวัติการรับราชการ
สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
· ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
· ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
· ประธานอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
· วิศวกรไฟฟ้า Harbour Boat Building Co.Ltd
· Long beach California U.S.A
· ประธานมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จนถึงปัจจุบัน
สังกัดกระทรวงคมนาคม
· รองปลัดกระทรวงคมนาคม
· อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา
· อธิบดีกรมไปรษณีย์
ผลงานทางวิชาการในอดีตและปัจจุบันระหว่างประเทศ
- เป็นประธานคณะกรรมการด้านอุตุนิยมวิทยาและแผ่นดินไหวของประเทศอาเชี่ยน
- Chairman (ASEAN Sub-Committee on Meteorology and Geophysics)
- เป็นประธานคณะกรรมการพายุใต้ฝุ่นของภูมิภาคเอเชียและมหาสมุทรแปรซิฟิค
- เป็นประธานคณะกรรมการพายุไซโคลนในมหาสมุทรอินเดีย
- เป็นผู้จัดตั้งและผู้ให้กำเนินศูนย์อุตุนิยมวิทยาประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2510
- ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
ความเชี่ยวชาญ
- เป็นผู้เชี่ยวชาญของคณะกรรมการการศึกษาและวางแผนระบบโทรคมนาคมอุตุนิยมวิทยาขององค์การอุตุนิยมวิทยาและของประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชีย
- ผู้แทนถาวรประเทศไทยในคณะกรรมการอุตุนิยมวิทยาขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก
- ประธานกรรมการการสื่อสารแห่งประเทศไทย
- ประธานกรรมการบริษัทท่าอากาศยานสากลแห่งใหม่
- อดีตประธานกรรมการบริษัท ท่าอากาศยานสากล กรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด
ดำรงตำแหน่งอื่น ๆ ที่สำคัญในอดีต
- คณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
- คณะกรรมการการบินพลเรือน
- คณะกรรมการการท่าอากาศยานแห่งประเทศ
- คณะกรรมการบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศ
************************