ทำเนียบเกียรติยศ (Hall of Fame)

บุคคลคุณภาพแห่งปี 2016 ด้านวิทยาศาสตร์

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ทศศาสตร์ หาญรุ่งโรจน์ (อายุ 65  ปี)

ผู้นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศไทยในฐานะผู้ประดิษฐ์คิดค้นกระดูกข้อเท้าเทียมเป็นคนแรกของโลก

 

1. หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน

1. อาจารย์แพทย์ประจำภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

2. ประธานคณะกรรมการพิจารณาสรรหาศิษย์เก่าดีเด่น ของชมรมศิษย์เก่าออร์โธปิดิคส์ศิริราช พิจารณาผู้สมควรรับรางวัล ศาสตราจารย์เกียรติคุณ  นายแพทย์นที รักษ์พลเมืองตั้งแต่ พ.ศ. 2553 ปัจจุบัน

 

2. ประวัติการศึกษา

          1. DOKTOR DER MEDIZIN (MAGNA CUM LAUDE) พ.ศ. 2528 UNIVERSITAT DES SAARLANDES  ประเทศเยอรมันนี                                                                                                

          2. ARZT FUR ORTHOPAEDIE พ.ศ. 2527  ARZTEKAMMER DES SAARLANDES ประเทศเยอรมันนี

          3. วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญ พ.ศ. 2522 แพทยสภาประเทศไทย ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม  สาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์                                                 

          4.ประกาศนียบัตรชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์  พ.ศ. 2520 คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย การแพทย์คลินิก สาขาศัลยศาสตร์                                                                                 

          5. ปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต พ.ศ. 2517 คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย (เกียรตินิยม อันดับสอง)                                                                                             

          6.  ปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต พ.ศ.2515  คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย     (วิทยาศาสตร์การแพทย์)  

 

3. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน

          ทำงานในฐานะอาจารย์แพทย์ให้สมบูรณ์อย่างมีคุณภาพ มีความเมตตาต่อลูกศิษย์และผู้ป่วย พร้อมกันนี้ ต้องทำหน้าที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ วิจัย ค้นคิดสิ่งใหม่ๆเพื่อสร้างเทคโนโลยีที่ใช้ประโยชน์ได้จริง  

 

4. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน

          ตลอดระยะเวลา 30 กว่าปี การได้เป็นอาจารย์แพทย์ ดูแล ฝึกสอน นักศึกษาแพทย์และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในสาขากระดูกและข้อ ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ให้สำเร็จเป็นแพทย์ที่มีคุณภาพ  ออกไปรับใช้ประชาชนทั่วประเทศ  การผลิตผลงานวิจัยที่ดี สร้างองค์ความรู้ใหม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง แพร่หลายไปในระดับนานาชาติจนเป็นที่ยอมรับอ้างอิง และปรากฏอยู่ในตำราเรียนคุณภาพระดับสากลของแพทย์กระดูกและข้อ  

 

5. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่อยู่รอบๆตัวเรา รอการค้นพบ ฉะนั้น นักวิทยาศาสตร์ต้องช่างสังเกต ทำวิจัย ค้นพบองค์ความรู้ เพื่อสร้างเทคโนโลยีหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงต่อมวลมนุษยชาติในระดับสากล นำมาซึ่งชื่อเสียง ความภาคภูมิใจสู่ประเทศชาติ และต้องแสดงถึงความมีศักยภาพของประเทศในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

 

6. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล

ประดิษฐ์อุปกรณ์เพื่อนำมาใช้ในการรักษา ช่วยในการฟื้นฟูสภาพร่างกาย และช่วยการผ่าตัด เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข ประกอบสัมมาชีพเพื่อสังคม และทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติต่อไป ได้แก่อุปกรณ์ดังต่อไปนี้

1. อุปกรณ์ช่วยในการผ่าตัดดามกระดูกสะโพก                                                     

2. อุปกรณ์ฝึกหัดจัดลำกระดูกหัก                                                                    

3. ม้ายืนมีราวสำหรับมือจับ                                                                          

4. อุปกรณ์สำหรับดามกระดูกภายนอก                                                             

5. อุปกรณ์ดามกระดูกปลายนิ้ว                                                                      

6. อุปกรณ์ค้ำยันสะโพก                                                                              

7. อุปกรณ์ยึดตรึงกระดูกนิ้วมือและนิ้วเท้า                          

8. กางเกงเฉพาะสำหรับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ                                                                   

9. กระดูกเท้าเทียม     

    นอกจากนี้ ออกเยี่ยมแพทย์ลูกศิษย์ที่ทำงานในโรงพยาบาลชนบท เพื่อให้คำปรึกษาปัญหา แนะนำการดูแลรักษาผู้ป่วย ตลอดจนพัฒนาหน่วยงานในสาขากระดูกและข้อ

7. รางวัลเกียรติยศหรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์

7.1 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ

      พ.ศ.2530      ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ม.)

      พ.ศ.2534      ทวีติยาภรณ์มงกุฏไทย (ท.ม.)                  

      พ.ศ.2538      ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)

      พ.ศ.2541      ประถมาภรณ์มงกุฏไทย (ป.ม.) 

      พ.ศ.2544      ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)

      พ.ศ.2547      มหาวชิรมงกุฏ (ม.ว.ม.) เหรียญจักรพรรดิมาลา

      พ.ศ.2552      มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) 

 

7.2 รางวัลเกียรติคุณที่ได้รับ

      ค้นคิดสิ่งประดิษฐ์ กระดูกข้อเท้าเทียม (The Talar Body Prosthesis)” ได้สำเร็จเป็นคนแรกของโลก ตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษาแพทย์ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง เพื่อรักษาผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกข้อเท้าหัก ข้อเข่าเสื่อม และมะเร็งกระดูกข้อเท้า โดยมีอายุการใช้งานนานกว่า  40 ปี  ผลงานประดิษฐ์นี้  ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร  Journal of Bone and Joint Surgery ซึ่งเป็นวารสารที่มีคุณภาพสูงอยู่ในระดับต้น ๆ ของสหรัฐอเมริกา  2 ครั้ง  ในปี ค.ศ. 1997 “The Talar Body Prosthesis” ใน Journal of Bone and Joint Surgery – American Volume. 1997;79(9): 1313-22.    และ ค.ศ.2014  “The Talar Body Prosthesis: Results at ten to thirty-six years of follow-up” ใน Journal of Bone and Joint Surgery – American Volume. 2014; 96(14):1211-8. นอกจากนี้ ผลงานประดิษฐ์กระดูกข้อเท้าเทียมปรากฏเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ในการรักษากระดูกข้อเท้าส่วนลำตัวหักอยู่ในตำราแพทย์ของสหรัฐอเมริกา “Rockwood and Green’s Fracture in Adult fifth Edition” ซึ่งเป็นตำราแพทย์ที่มีมาตรฐานและคุณภาพสูงเล่มหนึ่งของโลก ความสำเร็จและประสิทธิภาพของกระดูกข้อเท้าเทียม (The Talar Body Prosthesis) ได้เผยแพร่ไปในระดับนานาชาติ ประเทศต่าง ๆ นำไปใช้รักษาผู้ป่วย เช่น  ญี่ปุ่น อเมริกา อิตาลี สวิสเซอแลนด์ รวมทั้งประเทศไทย    

 

      รางวัลที่ได้รับ

      1. ได้รับเลือกเป็น บุคคลดีเด่นของชาติ ปี 2557” สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี

      2. รางวัลศิริราชเชิดชูเกียรติ ประจำปี 2557-2558 

      3. รางวัล Travel awards ของการประชุม  84th Annual Meeting of the Japanese Orthopaedic Association ประเทศญี่ปุ่น จากงานวิจัย 2 เรื่อง คือ

          3.1 Base of ulnar styloid fracture is a factor influencing distal radius fracture stability in the elderly.

          3.2 Fourier analysis of trabecular density as a related factor for elderly hip fracture and fracture type.

      4. รางวัลประกาศเกียรติคุณ Outstanding contribution to the joint conference 

 in medical  sciences  2009, Thailand

      5. รางวัลบุคลากรดีเด่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราช ประจำปี 2552

      6. รางวัลโล่ประกาศเกียรติคุณ ผู้ทำคุณประโยชน์และผู้มีอุปการะคุณแก่การกีฬา ปี 2535มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

8. ประวัติส่วนตัวและประวัติการทำงาน

ประวัติการทำงาน

1. บรรจุเข้ารับราชการตำแหน่งนายแพทย์ ระดับ 4 โรงพยาบาลราชวิถี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2522                   

2. ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2532 

3. ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2538                           

4. ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ (โดยวิธีพิเศษ) เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2539           

5. ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ เมื่อวันที่ 28  มีนาคม 2544       

 

6. ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาสรรหาศิษย์เก่าดีเด่น ของชมรมศิษย์เก่าออร์โธปิดิคส์ศิริราช พิจารณาผู้สมควรรับรางวัล ศาสตราจารย์เกียรติคุณ  นายแพทย์นที รักษ์พลเมืองตั้งแต่ พ.ศ. 2553 – ปัจจุบัน

มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถานที่ติดต่อ :

288/52 อาคารมูลนิธิ มสวท. ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220

Tel. +66(0) 2552-5200 Fax. +66(0) 2551-4422 Email : thaifstt@gmail.com 

Copyright © 2008-2015 หากมีปัญหาในการรับชมกรุณาติดต่อ Webmaster ที่ admin@thaifstt.org