รางวัลสุดยอดฝีมือ
โทรคมนาคมและไอซีทีเฉลิมพระเกียรติครั้งที่ 4 ประจำปี 2554
ผลการแข่งขันโครงการค้นหาสุดยอดช่างฝีมือโทรคมนาคมและไอซีทีเฉลิมพระเกียรติครั้งที่ 4 ประจำปีพุทธศักราช 2554 จากผู้เข้าแข่งขันทั่วประเทศ มีดังนี้
รางวัลเกียรติยศ - ใบประกาศเกียรติคุณ จากมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
สาขา Application on Data Communication
1. นายอภิพล คุณาภิบาล
2. นายจิรพงศ์ เปี่ยมศรี
3. นายอนุชา พรพรรณ
4. นางสาวกานต์ชนิต เหล่าธรรมานนท์
5. นางสาวกานต์มณี กุลวานิช
6. นายตุลย์ สันติอนุชิต
7. นายก้องภพ กว้างวิทยานนท์
8. นายอภิกฤช พานิชชีวลักษณ์
สาขา (Optical Fiber Cable) ข่ายสายตอนนอก
1. นายศุภวัฒน์ชัย ศรีเรือน
2. นายกฤษนนท์ คุณซา
3. นายกานต์ ใหญ่นาคะศิริ
4. นายวรวุฒิ เต็มรักษ์
5. นายจีรวัฒน์ สัตย์ธรรม
6. นายภาคิน คูพัฒน์
7. นายภูวิศ โพธิ์ศรี
8. นายจิรายุษ แก้วมณี
รางวัลเกียรติยศ - โล่เกียรติยศ จากมูลนิธิ 5 ธันวามหาราช และเงินรางวัล 40,000 บาท (สี่หมื่นบาท) ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำปีพุทธศักราช 2554 ซึ่งได้จัดพิธีมอบรางวัลและโล่เกียรติยศ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2554 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ กรุงเทพฯ
สาขา Application on Data Communication ได้แก่ นางสาวกานต์มณี กุลวานิช
สาขา (Optical Fiber Cable) ข่ายสายตอนนอก ได้แก่ นายศุภวัฒน์ชัย ศรีเรือน
บทสัมภาษ์ผู้ชนะเลิศ
คณะกรรมการฯ : คุณรู้จักโครงการฯ ดังกล่าวได้อย่างไร?
คุณกานต์มณี : ดิฉันรู้จักโครงการฯนี้จาก email ประชาสัมพันธ์ของสถาบันวิชาการทีโอที และได้ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจาก Website ของมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.) www.thaifstt.org ซึ่งพบว่าโครงการฯนี้น่าสนใจมาก เนื่องจากเป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้แรงงานในสายอาชีพช่างฝีมือโทรคมนาคม ได้แสดงความสามารถ และยกระดับพัฒนาทักษะความชำนาญให้เป็นที่ยอมรับ เพื่อก้าวสู่การทำงานในระดับสากล เนื่องจากในการแข่งขันนี้มีการวัดผลทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยมีการออกแบบข้อสอบและการแข่งขัน รวมถึงชุดอุปกรณ์ LAB ที่มีความทันสมัยและเป็นมาตรฐาน
คณะกรรมการฯ : ความรู้สึกที่ได้เป็น “สุดยอดช่างฝีมือโทรคมนาคมฯ สาขา Application on Data Communication?
คุณกานต์มณี : ดิฉันรู้สึกยินดีและภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัล “สุดยอดช่างฝีมือโทรคมนาคม สาขา Application on Data Communication" โดยความรู้สึกนี้ได้ส่งต่อไปถึงครอบครัวและเพื่อร่วมงานของดิฉันด้วย ซึ่งรางวัลนี้ถือเป็นเกียรติประวัติสูงสุดในชีวิตการทำงานสายอาชีพโทรคมของนาคมของดิฉัน เป็นรางวัลแห่งความภาคภูมิใจและเป็นกำลังใจที่สำคัญที่ทำให้ดิฉันเกิดความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาทักษะ เพิ่มพูนความรู้ความสามารถในสายอาชีพนี้ รวมทั้งการถ่ายทอดและแบ่งปันความรู้ให้แก่เพื่อนร่วมอาชีพต่อไป
คณะกรรมการฯ : รู้สึกอย่างไรหรือประทับใจอะไรในโครงการฯ ดังกล่าว?
คุณกานต์มณี : ดิฉันรู้สึกประทับใจในเจตนารมย์และความมุ่งหมายของ มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.) ที่ต้องการยกระดับคุณภาพของช่างฝีมือแรงงานในสาขาโทรคมนาคม โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาตนเองให้มีความเชี่ยวชาญงานในสาขาโทรคมนาคม อันจะทำให้ช่างฝีมือแรงงานไทยก้าวสู่มาตรฐานสากลต่อไป นอกจากนี้ดิฉันยังประทับใจในมิตรภาพที่เกิดขึ้นระหว่างผู้เข้าแข่งขัน ที่แม้ว่าจะมาจากต่างองค์กร แต่ทุกคนก็มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือความต้องการที่จะพัฒนาความรู้ ความชำนาญในงานสายโทรคมนาคม และมุ่งมั่น ตั้งใจที่จะทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด โดยดิฉันมีโอกาสได้ทำความรู้จักกับเพื่อนผู้เข้าแข่งขันและสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้กันในระหว่างพักการแข่งขัน ซึ่งทำให้ได้ความรู้และแนวคิดใหม่ๆเพื่อใช้ในการพัฒนางานต่อไป สุดท้ายดิฉันต้องขอขอบคุณคณะกรรมการจัดการแข่งขันฯและทีมงานจัดการแข่งขันทุกท่านที่ให้ความเป็นกันเองและมีความเป็นมืออาชีพ สามารถดำเนินการจัดการแข่งขันได้อย่างเรียบร้อยสมบูรณ์
คณะกรรมการฯ : คุณรู้จักโครงการฯ ดังกล่าวได้อย่างไร?
คุณศุภวัฒน์ชัย: ผมติดตามการแข่งขันครั้งที่ 1 แล้วสนใจ จึงค้นหาข้อมูลจาก Web และทางผู้ใหญ่ของบริษัทที่มีส่วนร่วมจัดการแข่งขัน แล้วตัดสินใจเข้าร่วมการแข่งขันโครงการฯนี้ตั้งแต่ครั้งที่ 2 มาเรื่อยครับ
คณะกรรมการฯ : ความรู้สึกที่ได้เป็น “สุดยอดช่างฝีมือโทรคมนาคมฯ สาขา ข่ายสายตอนนอก?
คุณศุภวัฒน์ชัย : ผมดีใจ และภูมิใจมากที่ความพยายามของผมประสบผลสำเร็จ และผมก็รู้สึกภูมิใจที่สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับบริษัท และครอบครัว ศรีเรือนของผม
คณะกรรมการฯ : รู้สึกอย่างไรหรือประทับใจอะไรในโครงการฯ ดังกล่าว?
คุณศุภวัฒน์ชัย : ผมรู้สึกว่า งานสาขาข่ายสายตอนนอกมีความจำเป็น และสำคัญไม่น้อยกับการพัฒนาการสื่อสารโทรคมนาคม แต่กลับเป็นงานที่น้อยคนจะรู้จัก ผมดีใจที่มีโครงการดีๆที่เห็นความสำคัญงานข่ายสายตอนนอก ให้รางวัล และให้เครื่องหมายการันตีคนที่ทำงานจุดนี้ และยังเป็นโครงการที่ช่วยประชาสัมพันธ์งานข่ายสายตอนนอกให้มีคนรู้จักมากขึ้น