ทำเนียบเกียรติยศ (Hall of Fame)

บุคคลคุณภาพแห่งปี 2015 ด้านวิทยาศาสตร์

ดร. อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา (อายุ 75  ปี)

ผู้บริหารสูงสุดโรงเรียนสัตยาไส

ประธานอนุกรรมการ ในคณะกรรมการ สพฐ. ด้านมาตรฐานการศึกษาและหลักสูตร

 

1. หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน

1. ผู้บริหารสูงสุดโรงเรียนสัตยาไส จ.ลพบุรี

2. ประธานอนุกรรมการ ในคณะกรรมการ สพฐ. ด้านมาตรฐานการศึกษาและหลักสูตร

 

2. ประวัติการศึกษา

            1. ปริญญาตรีเกียรตินิยมและปริญญาโท สาขาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

      ประเทศอังกฤษ

            2. ปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมศาสตร์ จาก Imperial College of Science and Technology London University

            3. ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

            4. ศึกษาศาสตร์ดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

3. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน

            ทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เพื่อช่วยเหลือทุกคนให้มีความเจริญก้าวหน้าในชีวิตโดยตนเองไม่ต้องหวังสิ่งใดตอบแทน

 

4. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน

            ทำงานให้กับส่วนรวมและสอนครู นักเรียน ผู้ปกครองให้เป็นคนดี และมีความสุขในการดำรงชีวิต

 

5. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

            ยุคนี้เป็นยุคของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงต้องใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ช่วยสอนให้ทุกคนมีคุณธรรมในชิวิตและใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ส่วนรวมให้มากยิ่งขึ้น

 

6. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล

            ได้ก่อตั้งโรงเรียนเพื่อการกุศลและสอนครู นักเรียนและผู้ปกครองให้เป็นคนดีและทำประโยชน์ให้กับส่วนรวมและสังคม

 

7. รางวัลเกียรติยศหรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์

7.1 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ

       - ประถมาภรณ์ช้างเผือก  

       - ประถมาภรณ์มงกุฎไทย

 

7.2 รางวัลเกียรติคุณที่ได้รับ

       ตำแหน่งด้านการเมือง

- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร 3 สมัย

- เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ

- รองประธานกรรมาธิการการศึกษาสภาผู้แทนราษฎร

- สมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร

 

       รางวัลเกียรติยศ

       - ได้รับรางวัลทางวิทยาศาสตร์จากนายกรัฐมนตรีประเทศอังกฤษ

       - ร่วมโครงการอวกาศไวกิ้ง ขององค์การนาซ่า ประเทศสหรัฐอเมริกาการออกแบบและ

       - สร้างอุปกรณ์ควบคุมการร่อนลงของยานอวกาศไวกิ้ง 2 ลำลงสู่พื้นดาวอังคาร

       - นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น สาขาสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ เมื่อ พ.ศ. 2527

       - ครูผู้สอนโรงเรียนวิถีพุทธดีเด่น ประจำปี 2547 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่ง ชาติ

       - นักปราชญ์ภูมิปัญญาไทย จากมหาวิทยาลัยนเรศวร เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2548

ได้รับเข็มครุสดุษฏี จากคุรุสภา

       - รางวัลผู้อุทิศเผยแผ่พระพุทธศาสนา จากมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2549

       - รางวัลหนังสือวรรณกรรมเยาวชนดีเด่น อายุ 12-18 ปี จากหนังสือแนวทางแห่งความสุข

       - รางวัลครุสดุดี

       - ครูผู้สอนพระพุทธศาสนาดีเด่น จากสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

       - ทำเนียบคนไทยที่มีความคิดสร้างสรรค์ด้านวิทยาศาสตร์และด้านการบริหาร จากสำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

 

8. ประวัติส่วนตัวและประวัติการทำงาน

ประวัติส่วนตัว

  ดร. อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา เกิดเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2483 เป็นวิศวกรชาวไทย ผู้มีส่วนร่วมในการออกแบบชิ้นส่วนขาและชิ้นส่วนระบบลงจอดของยานอวกาศให้กับ บริษัท Martin Marietta ซึ่งองค์การนาซาของสหรัฐอเมริกาว่าจ้างให้ออกแบบ เพื่อนำไปใช้ในยานอวกาศไวกิ้งส่ง ไปลงบนดาวอังคาร

  เมื่อแรกเกิดมีชื่อว่า องอาจ เป็นนามพระราชทานจาก สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) เมื่อโตขึ้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็น อาจอง ศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียน อนุบาลละอออุทิศ โรงเรียนเซนต์ฟรังซี สซาเวียร์คอนแวนต์ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล จนจบชั้น ป.4 แล้วย้ายไปเรียนที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้ 6 เดือน แล้วย้ายตามบิดาไปอยู่ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส ศึกษาที่ Lycée Janson de Sailly จนอายุ 12 ปี ย้ายไปเรียนที่ประเทศอังกฤษ ที่ Enfield Grammar School และ Haileybury and Imperial Service College

  ดร. อาจอง ศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่ Trinity College มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ระหว่างศึกษาที่นี่ เริ่มมีความสนใจในพระพุทธศาสนา และเริ่มฝึกหัดการนั่งสมาธิ เรียนจบปริญญาตรีวิศวกรรมไฟฟ้า โดยมีผลงานวิจัยเกี่ยวกับคลื่นไมโครเวฟ และศึกษาต่อปริญญาเอกจนจบในปี พ.ศ. 2509 แล้วจึงเดินทางกลับประเทศไทย เป็นอาจารย์สอนที่ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พอสอนไปได้สัก 2 ปี รู้สึกว่าวิทยาการมันก้าวล้ำไปแล้ว ความรู้ ประสบการณ์ของเรามันล้าสมัย จึงเดินทางไปต่างประเทศ ส่วนใหญ่แล้วไปที่สหรัฐอเมริกา เพื่อที่จะได้ไปหาข้อมูลเรียนรู้อะไรต่างๆเพิ่มเติม เพื่อกลับมาสอนนิสิตนักศึกษาในประเทศไทย ต่อมาก็ลาราชการไป บังเอิญเขาประกาศเกี่ยวกับยานอวกาศขององค์การนาซาที่จะไปสำรวจดาวอังคาร ก็พยายามสมัครเข้าไป คือเสนอโครงการเข้าไป ตอนแรกๆ เขาก็จะไม่รับคนต่างชาติ เพราะว่าเป็นความลับทางเทคโนโลยี แต่เห็นว่ามันมีช่องโหว่ในกฎหมายที่เขาจะรับคนต่างชาติได้ โดยเฉพาะกรณีที่เขาขาดแคลนคนที่มีความรู้ทางด้านนั้น

  ผมดูว่ามีอะไรที่ทางอเมริกาเขาขาด ทำไม่สำเร็จ ผมดูแล้วก็มีอยู่อย่างเดียว คือช่วงนั้นปี พ.ศ.1971 อเมริกาและรัสเซียก็พยายามส่งยานอวกาศไปลงที่ดาวเคราะห์ โดยเฉพาะดาวอังคาร ดาวพุธ กับดาวศุกร์ แต่ปรากฏว่าล้มเหลวทุกครั้ง พอเขาส่งไปถึงมันจะตกลงไป มันจะกระแทกพื้นดิน พัง ใช้การไม่ได้ เพราะว่ามันอยู่ห่างไกลจากโลก ไม่สามารถควบคุมการร่อนลงได้จากโลกของเรา ฉะนั้นต้องเป็นระบบที่มันควบคุมตัวเองโดยอัตโนมัติ ซึ่งอันนี้ทางอเมริกายังไม่ประสบผลสำเร็จ ผมก็เลยเสนอโครงการเข้าไปว่าผมจะช่วยสร้างชิ้นส่วนอันหนึ่งที่จะบังคับยาน อวกาศให้ร่อนลงโดยอัตโนมัติลงสู่พื้นดินของดาวอังคารอย่างปลอดภัย

  ตรงนี้เองที่ทำให้เขาสนใจและทำให้ผมเข้าไปร่วมในโครงการยานอวกาศได้ โดยเริ่มไปทำงาน ไม่ใช่กับองค์การนาซาโดยตรง เพราะนาซาเขาจะไม่สร้างอะไรเอง เขาจะให้บริษัทต่างๆ เป็นผู้ผลิต ฉะนั้นผมก็ต้องไปทำงานกับบริษัทในสหรัฐอเมริกา โดยอยู่ในโครงการอันนี้ที่ผมเสนอไป ตอนแรกทางสหรัฐอเมริกาเขาเช็คประวัติของผมก่อนว่าผมมีแนวโน้มเอียงไปทางซ้าย หรือเปล่า เขาระมัดระวังมาก เขาจะส่งคนไปสืบดูในทุกๆ แห่งที่ผมเคยอาศัยอยู่ รวมถึงที่ปารีสซึ่งเคยอยู่ 2 ปี ปรากฏว่าผ่านทุกอย่างไม่มีปัญหาอะไร เขาเลยให้ทำงาน ทำวิจัยไปประมาณ 1 ปี สร้างต้นแบบมาหลายต้นแบบ แต่ปรากฏว่าไม่ประสบผลสำเร็จ ใช้การไม่ได้

  แต่หลังจาก 1 ปี ผมก็คิดขึ้นมาว่าวิธีการหาความรู้แบบตะวันตก มันใช้ไม่ได้ เพราะเราต้องอาศัยข้อมูลของคนอื่น เราต้องทำวิจัย เราต้องมาเปลี่ยนแปลงวิเคราะห์ ผมคิดว่าใช้วิธีของทางตะวันออกดีกว่าก็คือไปนั่งสมาธิเพื่อให้เกิดปัญญา ผมก็ปีนขึ้นไปอยู่บนภูเขาในรัฐแคลิฟอร์เนียใกล้ๆเมืองลอสแองเจลิส และนั่งสมาธิอยู่ตามลำพัง จนกระทั่งจิตนิ่ง สงบ ปัญญามันก็เกิด ผมอยู่ 4 คืน 5 วัน วันที่ 5 กำลังนั่งอยู่เฉยๆ สงบนิ่ง ไม่คิดถึงโครงการยานอวกาศเลย อยู่ๆ มันก็แวบเข้ามา แล้วเราก็ได้คำตอบ เราก็ อ๋อ รู้แล้ว เข้าใจแล้ว แค่นี้ คือในการฝึกสมาธิจนปัญญาเกิด โดยที่เราไม่ต้องคิด มันจะไม่ผ่านระบบความคิดอะไร

  ผมสร้างต้นแบบให้เขา และเขาก็ทดสอบโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สมมติตอนที่ร่อนลง ปรากฏว่ามันค่อยๆ ร่อนลงและไปแตะพื้นดินของดาวอังคารอย่างปลอดภัย เขาก็ดีอกดีใจก็เลยให้ผมสร้างให้เขา 3 ชุด ไปไว้ในยานไวกิ้ง 1 ไวกิ้ง 2 และยานไวกิ้ง 3 สามลำด้วยกัน เขาส่งขึ้นไป 2 ลำ เดินทางไปใช้เวลา 11 เดือน พอไปถึงดาวอังคารก็สำรวจว่าจะลงตรงไหน แล้วก็ส่งสัญญาณไปกระตุ้นเครื่องที่ผมสร้างไว้ และมันค่อยๆ ควบคุมยานอวกาศให้ร่อนลงไปโดยอัตโนมัติสู่พื้นดินของดาวอังคาร ประสบความสำเร็จ ยานทั้ง 2 ลำแตะพื้นเบาๆไม่มีปัญหาอะไร และสามารถส่งข้อมูลกลับมาที่โลกของเราเป็นเวลาเกือบ 7 ปี

 

 ประวัติการทำงาน

 - อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 - กรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

 - ผู้เชี่ยวชาญโครงการจรวดเพื่อใช้ในกิจการฝนเทียม สภาวิจัยแห่งชาติ

 

งานด้านการศึกษา

            - ผู้คิดค้นรูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการคุณค่าความเป็นมนุษย์

            - คณะกรรมการเสริมสร้างคุณธรรมในระบบการศึกษาไทย ปี พ.ศ. 2549

            - คณะอนุกรรมการบริหารโครงการคุณธรรมนำความรู้ กระทรวงศึกษาธิการ

            - คณะกรรมการบริหารเครือข่ายการวิจัยทางการศึกษา : กรุงเทพมหานครและภาคกลางตอนล่าง

            - วิทยากร โครงการคุณธรรมนำความรู้: แนวทางเสริมสร้างคุณธรรมในระบบการศึกษา โดยอบรมครูทั่วประเทศกว่า 26,000 คน จัดโดยสำนักเลขาธิการ สภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่เดือน มีนาคม-กรกฎาคม พ.ศ.2550

            - ผู้แต่งหนังสือคุณธรรมนำความรู้ รูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการคุณค่าความเป็นมนุษย์ เพื่อเป็นคู่มือประกอบการอบรม โครงการคุณธรรมนำความรู้ : แนวทางเสริมสร้างคุณธรรมในระบบการศึกษา

            - วิทยากรบรรยายเกี่ยวกับคุณธรรมนำความรู้ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ

            - วิทยากรในงานมหกรรมการจัดความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ 3

            - อาจารย์พิเศษ ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

            - กรรมการสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

            - กรรมการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ให้กับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ

            - ตัวแทน UN-HABITAT ประชุมกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการในประเทศกลุ่มอาเซียน

            - ผู้อำนวยการสถาบันการศึกษาสัตยาไส ประเทศไทย

            - ผู้อำนวยการสถาบันวารินทร์ศึกษา

           

            งานด้านอื่นๆ

            - วิทยากรบรรยายให้กับองค์กรต่าง ๆทั่วประเทศและทั่วโลก

            - ผู้ทรงคุณวุฒิในการกำหนดแผนยุทศาสตร์สังคมแห่งชาติ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

            - คณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาตร์การพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา

 

************************

มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถานที่ติดต่อ :

288/52 อาคารมูลนิธิ มสวท. ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220

Tel. +66(0) 2552-5200 Fax. +66(0) 2551-4422 Email : thaifstt@gmail.com 

Copyright © 2008-2015 หากมีปัญหาในการรับชมกรุณาติดต่อ Webmaster ที่ admin@thaifstt.org