ทำเนียบเกียรติยศ (Hall of Fame)
บุคคลคุณภาพแห่งปี 2015 ด้านสาธารณสุข
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ศุภชัย ไชยธีระพันธ์ (อายุ 73 ปี)
เลขาธิการมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
1. หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน
1. เลขาธิการมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
2. ประธานกรรมการบริหารโรงพยาบาลเจ้าพระยา
2. ประวัติการศึกษา
- ระดับมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนเตรียมอุดม
- แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- American Board of Internal Medicine จาก Veteran Administrative Hospital และ Beth - Israel Medical Center New York ประเทศสหรัฐอเมริกา
- วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจและหลอดเลือด American Board of Cardio-Vascular Medicine
- อว.อายุรศาสตร์, อว.โรคหัวใจและหลอดเลือด (ประเทศไทย)
- FRACP (Australia), FRCP (Edinburgh), FACP (American College of Physicians)
- FACC (Fellowship of The American College of Cardiology)
- FCCP (Fellowship of The American College of Chest Physicians)
- FICA (วิทยาลัยโรคหลอดเลือดแดงนานาชาติ)
- FAMS (Singapore)
- FAMM (Malaysia)
3. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน
ทำงานตามที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุด ดูแลผู้ป่วยดุจญาติมิตร และทำงานรับใช้สังคม ภายหลังเกษียณอายุการทำงาน
4. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน
นอกจากการทำงานในฐานะอายุรแพทย์โรคหัวใจให้การดูแลรักษาผู้ป่วยแล้ว ยังเป็นผู้ทำการปรับปรุงพัฒนาสาขาหทัยวิทยาและระบบการเรียนการสอน โดยเฉพาะการอบรมฝึกหัดแพทย์ประจำบ้านให้เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโรคหัวใจ ในด้านการตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจเริ่มทำหัตถการการตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจที่สำคัญและกระทำขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เช่น Coronary Angiogram เริ่มการตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยเครื่องเดินสายพานการตรวจ Echocardiogram ทั้ง Two-dimensional echocardiogram และ Color-Doppler echocardiogram เริ่มทำ Endomyocardial biopsy การตรวจหัวใจ Thallium imaging study ร่วมกับการทำ Pharmacologic stress test ด้วย dipyridamole ทำให้การวินิจฉัยความผิดปกติของหัวใจได้ละเอียดลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ในปี พ.ศ. 2541 ได้ทำการตรวจภาวะ atrial flutter และ fibrillation โดยใช้ Electro-magnetic (Biosence) และปี พ.ศ. 2543 เริ่มโครงการตรวจหัวใจด้วย Magnetic Resonance Imaging (MRI) ดังกล่าวนี้ ทำให้การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจในประเทศมีประสิทธิภาพยิ่ง และมีความทันสมัยได้มาตรฐานระดับสากล
ในด้านการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ ได้ก่อตั้งหออภิบาลสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ CCU ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย พร้อมทั้งริเริ่มทำการดูแลผู้ป่วยใกล้ชิดโดยระบบ Central monitor ทำให้การรักษาดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤตจากโรคหัวใจมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ริเริ่มการรักษาโดยการใส่ Intra aortic balloon pump การนำ Cardio-fluoroscopy เข้ามาร่วมใช้ในการใส่ balloon เริ่มการทำ Coronary dilation และต่อมานำ Stent เข้ามาใช้ร่วมด้วย รวมทั้งใช้เครื่อง rotator เอาแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือดออก เริ่มการรักษาหัวใจเต้นผิดปกติด้วยการจี้ Radio frequency ablation และในปี 2538 ได้เริ่มทำ Automatic Implantable Cardioverter Defibrillation เพื่อช่วยรักษาภาวะการตายเฉียบพลันจากความผิดปกติการเต้นเร็วของหัวใจ ทำให้การรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความสำคัญมากสำหรับการพัฒนาประเทศชาติ ในทุกๆด้าน ทั้ง ด้านเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง และการก้าวทันโลกและประเทศต่างๆ
6. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล
การปฏิบัติงานในราชวิทยาลัย สมาคม ชมรมแห่งวิชาชีพ ในการกำหนดแนวทางการรักษาโรคและการดูแลผู้ป่วย สำหรับแพทย์ให้ดำเนินไปตามมาตรฐานสากลที่แพทย์ทั่วโลกถือปฏิบัติ การส่งเสริมการจัดประชุมวิชาการ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในหมู่แพทย์ ส่งเสริมการวิจัยเรื่องโรค รวมทั้งการรณรงค์การส่งเสริมสุขภาพ เผยแพร่ความรู้ด้านการป้องกันโรคแก่ประชาชนผ่านกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการผลิตสื่อต่างๆ เช่น สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโทรทัศน์ และ หนังสือ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้เรื่องโรคต่างๆ การปฏิบัติตัวและการปรับชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกันโรคที่มีแนวโน้มจะมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง
การปฏิบัติงานใน องค์กรการกุศล เช่น มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และ มูลนิธิชวาล-มาลัย ไชยธีระพันธ์ รวมทั้งการบริจาคทรัพย์ส่งเสริมกิจกรรมของ องค์การการกุศล/ มูลนิธิที่มีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งเพื่อสาธารณกุศลชัดเจน เช่น มูลนิธิชัยพัฒนา สภากาชาดไทย มูลนิธิสายใจไทย มูลนิธิอานันทมหิดล มูลนิธิขาเทียมแห่งประเทศไทยฯลฯ การจัดหาทุนทรัพย์ส่งเสริมการสืบทอดพระศาสนาเช่น การทอดผ้าป่า การทอดกฐิน และการส่งเสริมการศึกษา เช่น การมอบทุนการศึกษาแก่ นักเรียนที่ผู้ปกครองมีรายได้น้อยเป็นประจำสม่ำเสมอทุกปี
7. รางวัลเกียรติยศหรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์
7.1 เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
- มหาวชิราภรณ์มงกุฎไทย
- ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
- เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้น 4
- เหรียญดุษฏีมาลา (เข็มศิลปวิทยา)
7.1 ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ
- ข้าราชการดีเด่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ปี พ.ศ.2539, 2541 และ 2543
- ศิษย์เก่าดีเด่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ปี พ.ศ.2531
- บุคคลตัวอย่างปี พ.ศ.2540
- นักบริหารดีเด่น ปี พ.ศ.2542 และปี พ.ศ.2545
- รางวัลมหิดลทยากร (ศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยมหิดล) 2545
- รางวัลเกียรตินิยมจาก AEIAF (Albert Einstein International Academy Foundation) Distinguished Fellowship Award for Distinct Service from RACP (2002)
- คนดีสังคมไทย 2547
8. ประวัติส่วนตัวและประวัติการทำงาน
- รับราชการเป็นอาจารย์แพทย์ สาขาหทัยวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
- หัวหน้าสาขาหทัยวิทยา หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์
- ผู้อำนวยการศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีนารถ
- รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
- การได้รับเลือกเป็นประธานราชวิทยาลัย สมาคม และชมรมต่างๆแห่งวิชาชีพ ทั้งในและ ต่างประเทศ เช่น
- เลขาธิการมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (พ.ศ.2545-ปัจจุบัน )
- ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (พ.ศ.2543-2545)
- นายกสมาคมศิษย์เก่าแพทย์ศิริราชในพระบรมราชูปถัมภ์ (พ.ศ.2545-2547, 2547-2549)
- นายกสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (พ.ศ.2539-2541, 2547-2549 )
- นายกสมาคม Asia-Pacific Society of Hypertension (พ.ศ.2543-2545)
- ประธานชมรมโรคหลอดเลือดแดง (พ.ศ.2540-2544 )
- นายกสมาคมโรคหลอดเลือดแดงแห่งประเทศไทย (พ.ศ.2545-2547, พ.ศ.2547-2549)
- ประธานชมรมความดันโลหิตสูง (พ.ศ.2540-2544)
- ประธานชมรมเวชศาสตร์นิวเคลียร์หัวใจ (พ.ศ.2535-2545)
- ประธานชมรม Cardiac Imaging (พ.ศ.2545-2549)
- ประธาน ASEAN Federation of Cardiology (พ.ศ.2547-2549)
- ประธาน Asia-Pacific Society of Atherosclerosis and Vascular Disease (พ.ศ.2549 – 2553)
************************