ทำเนียบเกียรติยศ (Hall of Fame)
บุคคลคุณภาพแห่งปี 2014 ด้านเด็กและเยาวชน
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ (อายุ 59 ปี)
กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก
1. หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน
- กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก
- ประธานมูลนิธิพีแอนด์จีประเทศไทยเพื่อสังคม
- ประธานอนุกรรมการติดตามการจัดทำแผนเพื่ือเด็กและเยาวชนระดับชาติ
- ประธานอนุกรรมการติดตามการให้สถานะบุคคลแก่เด็ก
- ประธานอนุกรรมการส่งเสริมกิจการสภาเด็กและเยาวชน
- ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ
- ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการขจัดปัญหาการใช้แรงงานเด็ก
- ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ
- ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ
- ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย
2. ประวัติการศึกษา
- ครุศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
- ประกาศนียบัตรชั้นสูง หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง สถาบันพระปกเกล้า (ปปร.รุ่นที่ี 2)
- ประกาศนียบัตรชั้นสูง หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง สถาบันพัฒนากระบวนการยุติธรรม ศาลยุติธรรม (บยส.รุ่นที่ 4)
- ประกาศนียบัตรชั้นสูง หลักสูตรการบริหารองค์กรภาครัฐและกฎหมายมหาชน สถาบันพระปกเกล้า (ปรม.รุ่นที่ 7)
- ประกาศนียบัตรชั้นสูง หลักสูตรการสร้างเสริมสังคมสันติสุข สถาบันพระปกเกล้า (สสสส.รุ่นที่ 1)
- ประกาศนียบัตรชั้นสูง หลักสูตรการพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้ง
- (พตส.รุ่นที่ 3)
- ประกาศนียบัตรชั้นสูง หลักสูตรการบริหารงานยุติธรรมระดับสูง กระทรวงยุติธรรม (ยธส.รุ่นที่ี 2)
- ประกาศนียบัตรชั้นสูง หลักสูตรนักบริหารการยุติธรรมทางปกครองระดับสูง สำนักงานศาลปกครอง (บยป.รุ่นที่ 3)
3. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน
ทำวันนี้ให้ดีที่สุด เพื่ออนาคตที่ดีขึ้นของเด็กไทย
4. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน
- เป็นผู้ริเริ่มและก่อตั้งมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก
- เป็นผู้ริเริ่มโครงการครูข้างถนนขึ้นในประเทศไทย
5. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความสำคัญต่อเด็ก สังคม และประเทศเป็นอย่างมาก เพียงแต่ในพื้นที่ชนบทยังขาดการส่งเสริมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างเป็นรูปธรรม
6. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล
เสียสละและทุ่มเทชีวิตในการทำงานเพื่อเด็กและเยาวชนมานานกว่า 30 ปี
7. รางวัลเกียรติยศหรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์
7.1 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ
- 5 ธันวาคม 2545 สายสะพายชั้นสาม มหาวชิรมงกุฎไทย (ม.ว.ม.)
- 5 ธันวาคม 2548 สายสะพายชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
7.2 รางวัลเกียรติคุณที่ได้รับ
- รางวัลเกียรติยศ ผู้สร้างสรรค์งานเพื่ือเด็กดีเด่น จากรายการยกนิ้วให้ ปี พ.ศ.2531
- รางวัล นักพัฒนาและริเริ่มงานเพื่อเด็ก จากมูลนิธิอาโชก้า ประเทศสหรัฐอเมริกา ปี พ.ศ. 2534
- รางวัล ผู้สร้างสรรค์คุณประโยชน์เพื่อเยาวชน จากสำนักงานส่งเสริมและประสานงานเยาวชน
แห่งชาติ ปี พ.ศ. 2535
- รางวัล ศิษย์เก่าดีเด่น คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ.2536
- รางวัล คนไทยตัวอย่าง จากมูลนิธิธารน้ำใจ ปี พ.ศ. 2536
- รางวัล นักสังคมสงเคราะห์แห่งปี จากนิตยสารหลักไทย ปี พ.ศ. 2537
- รางวัล นักพัฒนางานสุขภาพจิตดีเด่น จากมูลนิธินายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว ปี พ.ศ. 2538
- รางวัล นักพัฒนาเด็กดีเด่น จากมูลนิธิท่านผู้หญิงสมศรี เจริญรัชต์ภาคย์ ปี พ.ศ. 2543
- รางวัล นักพิทักษ์สิทธิเด็กแห่งปี สาขานักการเมือง จากคณะทำงานด้านเด็ก ปี พ.ศ. 2545
- รางวัล นักรณรงค์เพื่อยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี จากองค์กรยูนิเฟรม ปี พ.ศ. 2546
- รางวัล บุคคลสงเคราะห์ดีเด่นแห่งปี “ตาชั่งทอง” ปี พ.ศ. 2555
- รางวัล ผู้มีคุณูปการต่อการศึกษาของชาติ คุรุสภา ปี พ.ศ. 2556
8. ประวัติส่วนตัวและประวัติการทำงาน
- ครูโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก จ.กาญจนบุรี ปี พ.ศ. 2523
- หัวหน้าโครงการศูนย์เด็กก่อสร้าง มูลนิธิเด็ก ปี พ.ศ. 2526
- ผู้จัดการมูลนิธิเด็กอ่อนในสลัมฯ ปี พ.ศ. 2527
- ผู้ก่อตั้งและเลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ปี พ.ศ. 2529 ถึงปัจจุบัน
- ผ่านการศึกษาดูงานประเทศสหรัฐอเมริกา สวิสเซอร์แลนด์ เยอรมัน อิตาลี อังกฤษ ฝรั่งเศสออสเตรีย ฮังการี สเปน โปแลนด์ บราซิล อาเจนตินา ชิลี แอฟริกาใต้ อิหร่าน ตุรกี อียิปต์ ญี่ปุ่น จีน เกาหลี สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินเดีย เนปาล ศรีลังกา อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย พม่า ลาว เขมร
- อาจารย์พิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ มหิดล สุโขทัยธรรมาธิราช เอแบค
ผลงานทางวิชาการ
- อนุกรรมการร่างแผนงานสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2531 - 2534)
- อนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างการศึกษา กรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2534
- กรรมการวิชาการร่างแผนพัฒนาเด็กระยะที่ 5 องค์การยูนิเซฟประเทศไทย
- กรรมการพิจารณาสภาวะเด็กด้อยโอกาส ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 และฉบับที่ 8
- กรรมการพัฒนาการศึกษาอบรมและเลี้ยงดูเด็ก สมัยรัฐบาลนายกอานันท์ ปันยารชุน
- ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
- ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546
- ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2550
ผลงานการเขียน
- หนังสือ “ชีวิตเด็กลูกกรรมกรก่อสร้าง” ปี พ.ศ. 2527
- หนังสือ “เด็กที่ถูกลืมในสังคมไทย” ปี พ.ศ. 2531
- หนังสือ “เด็กเร่ร่อนในสังคมไทย” ปี พ.ศ. 2535
- หนังสือ “เด็ก : ปัญหาและทางออก” ปี พ.ศ. 2535
- หนังสือ “การศึกษาสำหรับลูกกรรมกรก่อสร้าง” ปี พ.ศ. 2536
- หนังสือ “ครูหยุยกับเด็กเร่ร่อน” ปี พ.ศ. 2537
- หนังสือ “ครูของครูหยุย” ปี พ.ศ. 2540
- หนังสือ “คิดเพื่อเด็ก” ปี พ.ศ. 2540
- งานวิจัย “เด็กเร่ร่อน : ปัญหาและทางออก” ปี พ.ศ. 2541
- หนังสือ “ลุยเพื่อเด็ก” ปี พ.ศ. 2543
- หนังสือ “กระทู้ของครูหยุย” ปี พ.ศ. 2545
- บทความเกี่ยวกับเด็กและการศึกษาในสื่อมวลชนและนิตยสารทั่วไปในนาม “ครูหยุย”
งานการเมือง
- ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นสมาชิกวุฒิสภา ปี พ.ศ. 2539 – 2543
- ได้รับเลือกตั้งจากชาวกรุงเทพมหานครให้เป็น สมาชิกวุฒิสภา ปี พ.ศ. 2543 – 2548
- ประธานคณะกรรมาธิการกิจกรรมสตรี เยาวชน และผู้สูงอายุ วุฒิสภา ปี พ.ศ.2545 – 2548
- ได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ตุลาคม 2549 – 2มีนาคม 2551)
- ได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (8 สิงหาคม 2557)