ทำเนียบเกียรติยศ (Hall of Fame)
บุคคลคุณภาพแห่งปี 2013 ด้านสาธารณสุข
พญ.คุณหญิง พรทิพย์ โรจนสุนันท์ (อายุ 58 ปี)
(ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม)
1. หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน
1. ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม
2. ที่ปรึกษาคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
2. ประวัติการศึกษา
พ.ศ. 2516 มัธยมศึกษาตอนต้น – ตอนปลาย โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย
พ.ศ. 2520 วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การแพทย์) มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. 2522 แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. 2527 วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญการในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาพยาธิวิทยากายวิภาค แพทยสภา
พ.ศ. 2538 หนังสืออนุมัติแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขานิติเวชศาสตร์
พ.ศ. 2548 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารงานยุติธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฎ สวนสุนันทา
พ.ศ. 2548 แพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต
พ.ศ. 2548 ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์มหาวิทยาลัยนเรศวร
3. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน
1. ทำงานที่สุจริตที่สามารถพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น
2. ทำงานด้วยความศรัทธาและมีใจรักในงานที่ทำ
3. ทำงานเพื่องานเปรียบเสมือนการทำกรรมดี
4. อุปสรรคต่างๆ นับเป็นแบบฝึกหัดในการฝึกฝน
5. ตั้งมั่นอยู่ในความถูกต้อง ความโปร่งใส และพร้อมตรวจสอบได้ตลอดเวลา
6. ต้องกล้าทำความดี มากกว่าเป็นแค่คนดี
4. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน
สามารถนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และนิติวิทยาศาสตร์มาพัฒนาระบบงานที่เกี่ยวข้องทั้งในวงการแพทย์ กระบวนการยุติธรรม และความมั่นคง และสามารถทำให้ต่างประเทศยอมรับในงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย
5. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1. ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เป็นรากฐานสำคัญในการสร้างกระบวนการคิดของมนุษย์ให้คิดเป็นระบบ มีหลักการและเหตุผล
2. ความรู้ทางวิทยาศาสตร์สามารถปรับใช้ได้ในศาสตร์ทุกสาขาไม่เฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ เช่น กระบวนการยุติธรรม งานความมั่นคง งานสิ่งแวดล้อม
3. รัฐบาลควรกำหนดนโยบายสำหรับวงการวิทยาศาสตร์โดยให้ความสำคัญในเรื่องการสร้างองค์ความรู้และการใช้เทคโนโลยี ทั้งนี้กำหนดเป็นนโยบายชาติสำหรับทุกหน่วยงาน
4. ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ พบได้ทั้งในเรื่องราวของธรรมชาติไปจนถึงความรู้ชั้นสูง ซึ่งควรปลูกฝังให้ มีการะบวนการเรียนรู้จากทุกสิ่งรอบตัว เพื่อให้เกิดรากฐานระบบคิดแบบวิทยาศาสตร์กับประชาชน
6. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล
1. การพัฒนางานด้านพยาธิแพทย์ ปี พ.ศ. 2538 ผลักดันระบบการจ่ายเงินค่าตอบแทนพยาธิแพทย์ สังกัดกระทรวงสาธารสุข ซึ่งเป็นสาสขาขาดแคลน
2. การพัฒนางานมาตรฐานชันสูตรศพ ปี พ.ศ. 2543 ร่วมปรับปรุงกฎหมายประมวลวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 151 ว่าด้วยการชันสูตรศพ ให้มีการควบคุมมาตรฐานการชันสูตรศพ มีกระบวนการปฏิบัติงานโปร่งใสตรวจสอบได้ และกำหนดการจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้ปฏิบัติงานด้านนี้
3. รับผิดชอบบริหารจัดการศพผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ 26 ธันวาคม 2546 จำนวน 4,000 ศพ ก่อนส่งมอบให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดการต่อ
4. การพัฒนางานนิติวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการอำนวยความยุติธรรมและเป็นผู้นำนิติวิทยาศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อพ.ศ. 2545 ได้ก่อตั้งสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ โดยมีภารกิจเริ่มต้นในการจัดระบบงานนิติวิทยาศาสตร์ รวมเอางานนิติเวชและงานพิสูจน์หลักฐานเข้าด้วยกัน สร้างระบบมาตรฐานการบริการนิติวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยให้มีมาตรฐานกลางและเป็นไปตามมาตรฐานสากล อีกทั้งเป็นช่องทางที่ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ที่สำคัญดังนี้
4.1 การจัดตั้งศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ เพื่อให้บริการประชาชนในการขอตรวจพิสูจน์ศพและสารพันธุกรรม (DNA) การขอตรวจบุคคลสูญหาย การตรวจร่างกายจากการถูกทำร้าย การตรวจสถานที่เกิดเหตุ ลายพิมพ์นิ้วมือ ลายมือในเอกสาร อาวุธปืนและวัตถุพยาน ฯลฯ
4.2 งานนิติวิทยาศาสตร์กับความมั่นคง เข้าไปมีส่วนในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 โดยการนำกระบวนการทางนิติวิทยาศาสตร์สนับสนุนการทำคดีความมั่นคง โดยปฏิบัติภารกิจร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ตำรวจ และหน่วยงานราชการอื่นในพื้นที่ เพื่อสนับสนุนพนักงานสอบสวนในการรวบรวมพยานหลักฐานนำผู้ก่อเหตุเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม สนับสนุนภารกิจของทหารในการพิสูจน์ทราบเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นและขยายผลคดี จนสามารถพิสูจน์ทราบผู้ที่เกี่ยวข้องและความเชื่อมโยงของเครือข่าย ตลอดจนขยายผลไปยังขบวนการกระทำความผิดทางกฎหมายอื่น ๆ ด้วยวิธีการปฏิบัติงานที่อยู่ในกระบวนการเชิงวิทยาศาสตร์ที่มีความเป็นกลาง ถูกต้อง ชัดเจน พิสูจน์ได้
4.3 การตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรมทางนิติวิทยาศาสตร์ มีการจัดตั้งห้องปฏิบัติการตรวจสารพันธุกรรม ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2546 ให้บริการตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรมเพื่อบ่งชี้เอกลักษณ์บุคคลในคดีอาญา ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี นครนายก พระนครศรีอยุธยา และหน่วยงานอื่นๆ ที่ส่งสิ่งตรวจมาทำการตรวจพิสูจน์ ได้แก่
4.3.1 การจัดทำฐานข้อมูลสารพันธุกรรมแห่งชาติ (National DNA Database)
4.3.2 โครงการตรวจหาสารทางพันธุกรรมของผู้ไร้สัญชาติ เพื่อรับรองสถานะทางทะเบียนราษฎร์ให้แก่ราษฎรที่ไร้สถานะทางทะเบียนราษฎร์
4.3.3 การพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลในกรณีศพนิรนามที่ถูกส่งมาจากพนักงานสอบสวน
4.3.4 การทำข้อตกลง (Letter of Agreement) ระหว่าง Federal Bureau of Investigation; FBI ประเทศสหรัฐอเมริกา ในด้านการเชื่อมต่อฐานข้อมูลสารพันธุกรรมเพื่อการสืบค้น ในฐานข้อมูลของประเทศสหรัฐอเมริกา Combined DNA Index System (CODIS) และประเทศที่เชื่อมต่อกับระบบ CODIS เพื่อใช้ในการคลี่คลายคดีที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ (Human Trafficking) และอาชญากรรมข้ามชาติ และสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลในระดับอาเซียนซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย ASEAN Community 2015
4.3.5 ผลักดันให้มีกฎหมายรองรับการจัดทำฐานข้อมูลสารพันธุกรรมแห่งชาติภายใต้กระทรวงยุติธรรมซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินงานจัดทำร่างกฎหมายและรายละเอียดประกอบ
4.4 การจัดทำระบบติดตามคนหายและศพนิรนาม เพื่อทำหน้าที่ในการตรวจพิสูจน์บุคคลในกรณีศพนิรนาม การรับเรื่องราวร้องทุกข์การสูญหายของบุคคล และการตรวจสอบ ประสานข้อมูลบุคคลสูญหาย ศพนิรนาม กับหน่วยงานอื่น
4.5 การพัฒนามาตรฐานงานนิติวิทยาศาสตร์ มีมาตรฐานที่ดำเนินการ 3 ด้าน
4.5.1 มาตรฐานของบุคลากร ได้พัฒนาบุคลากรตามแนวทางของมาตรฐานสากล มีการทดสอบสมรรถนะ (competency testing) และการทดสอบศักยภาพ (proficiency testing) ของการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ด้านต่างๆ เป็นประจำทุกปี เพื่อธำรงไว้ซึ่งมาตรฐานที่ได้รับการรับรอง
4.5.2 มาตรฐานเครื่องมือและห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การทดสอบความเที่ยงตรง (method validation) การสอบเทียบ (calibration) การทวนสอบ (Verification ) และการบำรุงรักษา (maintenance)
4.5.3 มาตรฐานระบบงานสากล ผ่านการรับรองระบบ ISO 9001 : 2008 ซึ่งสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ได้รับการรับรองมาตรฐานทั้งองค์กร ระบบมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ในขอบข่ายของการตรวจหาปริมาณแอลกอฮอล์ในชีววัตถุจากร่างกาย การตรวจสารพันธุกรรมทางนิติวิทยาศาสตร์ของหน่วยตรวจพิสูจน์ทางชีววิทยา และยังได้มีการพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงานให้เทียบเท่าระดับสากล คือ มาตรฐาน ASCLD/LAB (American Society of Crime Laboratory Directors/Laboratory Accreditation Board) และมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านนิติเวชศาสตร์ คือ มาตรฐาน NAME (National Association of Medical Examiners) ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ต้องพัฒนาเพื่อให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน เพื่อการเป็นหน่วยงานที่กำกับ ดูแล มาตรฐานการปฏิบัติงานนิติวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย
4.6 การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ทั้งในและนอกประเทศเพื่อการพัฒนางาน และความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานทุกด้าน โดยมีผลงานที่สำคัญดังนี้
4.6.1 เป็นผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายนิติวิทยาศาสตร์แห่งเอเชีย เริ่มก่อตั้งจากประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซีย เมื่อปี พ.ศ. 2551 ปัจจุบันมีสมาชิก 11 ประเทศ คือ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย จีน ลาว เกาหลีใต้ และมองโกเลีย และความร่วมมือกับหน่วยงานในประเทศต่างๆ ซึ่งมีความร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูล เทคนิคการปฏิบัติงาน และความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีการจัดประชุมสัมมนาเครือข่ายเป็นประจำทุกปี และประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพการจัดประชุมสัมมนาเครือข่ายนิติวิทยาศาสตร์แห่งเอเชียครั้งที่ 4 (4th Annual Meeting & Symposium of Asian Forensic Sciences Network 2012 : ASEAN Community Networking) ซึ่งเป็นการประชุมวิชาการทางนิติวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และถ่ายทอดประสบการณ์จาก วิทยากร ผู้เข้าประชุม และผู้แทนเครือข่ายที่มาจากหลายภาคส่วน ทั้งในและต่างประเทศ
4.6.2 ความร่วมมือกับหน่วยงานในประเทศต่าง ๆ ที่มีข้อตกลงที่เป็นทางการในรูปแบบของบันทึกความเข้าใจ เช่นอาร์เจนตินา สาธารณรัฐเกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา นอกจากนั้นยังได้สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่ปฏิบัติงานในลักษณะเดียวกัน ทั้งในและนอกประเทศเพื่อเป็นการพัฒนางาน และความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานทุกด้าน การถ่ายทอดความรู้ด้านนิติวิทยาศาสตร์ ด้วยการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือการร่วมสร้างหลักสูตรการฝึกอบรม หลักสูตรการเรียนการสอน สถาบันการศึกษาต่างๆ และมีข้อตกลงที่เป็นทางการในรูปแบบของบันทึกความเข้าใจ ดังนี้
- บันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงยุติธรรม สถาบันนิติวิทยาศาสตร์แห่งราชอาณาจักรไทย และประเทศอาร์เจนตินา เพื่อการพัฒนาการพิสูจน์บุคคลสูญหายกับเรื่องสิทธิมนุษยชน รวมถึงเหตุภัยพิบัติและอาชญากรรม เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
- บันทึกความร่วมมือทางด้านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ บุคลากร และวิทยาการสมัยใหม่ ระหว่างกระทรวงยุติธรรม สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และหน่วยบัญชาการสอบสวนทางอาญา กระทรวงกลาโหม สาธารณรัฐเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2555
- ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางนิติวิทยาศาสตร์และนิติเวชศาสตร์ ระหว่างสถาบันนิติเวชศาสตร์วิคทอเรีย มลรัฐเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555
- บันทึกความร่วมมือเพื่อเชื่อมต่อฐานข้อมูลสารพันธุกรรมสำหรับการสืบค้นในฐานข้อมูลสหรัฐอเมริกา ระหว่างกระทรวงยุติธรรม สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และสำนักงานสืบสวนกลางแห่ง (เอฟบีไอ) สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2555
5. ร่วมทำคดีที่ประชาชนร้องขอ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ หรือคดีอิทธิพล และคดีที่ได้รับการร้องขอจากรัฐบาลอาเจ๊ะให้ร่วมตรวจพิสูจน์ศพประชาชนที่คาดว่าเสียชีวิตจากการกระทำของฝ่ายรัฐบาล ในปี 2006 และได้รับการร้องขอจากรัฐบาลลังงอร์ มาเลเซียให้ร่วมชันสูตรศพเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลที่เสียชีวิตปริศนาในระหว่างการสอบสวนในปี 2009
6. การเป็นวิทยากรบรรยาย ถ่ายทอดความรู้เรื่องของสิทธิมนุษยชน
7. รางวัลเกียรติยศหรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
2546 - “ประถมาภรณ์มงกุฎไทย” (ป.ม.)
- “จตุตถจุลจอมเกล้า” (จ.จ.)
2548 - “ The Royal Order of the North Star” จากราชอาณาจักรสวีเดน
- “เบญจมดิเรกคุณาภรณ์
- “ประถมาภรณ์ช้างเผือก ชั้นสายสะพาย” (ป.ช.)
2551 - “มหาวชิรมงกุฎ” (ม.ว.ม.)
ความภาคภูมิใจและรางวัลเกียรติยศที่ได้รับ
ปี พ.ศ. 2546 ได้รับพระราชทานเครื่องเครื่องจตุตถจุลจอมเกล้าเป็น “คุณหญิง”
29 ก.ค. 2546 รางวัล “นักบริหารดีเด่น” จากมูลนิธิเพื่อสังคมไทย
8 มี.ค. 2548 รางวัล “สตรีนักส่งเสริมสิทธิมนุษยชนดีเด่น” เนื่องในวันสตรีสากล จากสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว
รางวัลสตรีนักส่งเสริมสิทธิมนุษยชนดีเด่น จากงานประกาศเกียรติคุณของสำนักงาน
กิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประจำปี 2550
8 มี.ค. 2551 รางวัลสตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนา เนื่องในวันสตรีสากล จากคณะกรรมการคัดเลือกรางวัลสตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนา
10 ธ.ค. 2555 รางวัลเกียรติยศ “ผู้อุทิศตนเพื่อสิทธิมนุษยชน” จากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เนื่องในโอกาสวันสิทธิมนุษยชนสากล
8. ประวัติส่วนตัวและประวัติการทำงาน
ประวัติการทำงาน
2534 อาจารย์ประจำภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี รับตำแหน่งหัวหน้าหน่วยนิติเวชและหัวหน้าหน่วยตรวจศพ
2541 กรรมการประจำคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ประธานสภาอาจารย์รามาธิบดี (คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี) กรรมการสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2542 กรรมการแพทย์สภาวาระปี 2542-2544
2543 ถูกทาบทามให้เตรียมจัดตั้งสำนักนิติวิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้นในกระทรวงยุติธรรม โดยมารับตำแหน่งผู้อำนวยการกองแพทย์ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
2544 รองโฆษกและโฆษกประจำกระทรวงยุติธรรม
2546 รองผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม
2548 รักษาการผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม
2551 ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม
2556 ผู้ตรวจราชการ กระทรวงยุติธรรม
ที่ปรึกษาคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้