ทำเนียบเกียรติยศ (Hall of Fame)
บุคคลคุณภาพแห่งปี 2010 ด้านวิทยาศาสตร์
ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ (อายุ 58 ปี)
(ที่ปรึกษาด้านเภสัชกรรมระดับนานาชาติ)
1. หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน
1.1 คณบดีเกียรติคุณนานาชาติของคณะการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
1.2 Visiting Professor of Oriental Medicines at Harbin Institute of Technology, China
1.3 Pharmaceutical Consultant, Action Medeor, Germany
1.4 Consultant, Pharmakina, Democratic Republic of Congo
1.5 Chief Consultant, Tanzanian Pharmaceutical Industry, Tanzania
2. ประวัติการศึกษา
พ.ศ. 2518 ปริญญาตรีสาขา เภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พ.ศ. 2521 Master of Science in Pharmaceutical Analysis Strathclyde University, U.K.
พ.ศ. 2524 Ph.D. in PharmaceuticalChemistry, Bath University, U.K.
พ.ศ. 2548 ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ด้านวิทยาศาสตร์, Mount Holyoke College, U.S.A.
พ.ศ. 2549 ปริญญาเภสัชศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พ.ศ. 2549 ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ด้านวิทยาศาสตร์ Strathclyde University, U.K.
พ.ศ. 2552 ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ด้านวิทยาศาสตร์ Bath University, U.K.
พ.ศ. 2552 ปริญญาเภสัชศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
3. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน
ดิฉันมีความเชื่อว่า “มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิต” ซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ดังนั้นจึงทำงานในสิ่งที่ทวนกระแสหลักของโลก คือ กระแสทุนนิยมของโลกธุรกิจที่มุ่งหวังกำไรสูงสุด โดยการผลิตยาที่ราคาถูกกว่าในท้องตลาดหลายเท่า จึงสร้างความสั่นคลอนหวั่นไหวต่อบริษัทยาข้ามชาติที่ต้องสูญเสียรายได้มหาศาลจากผลประโยชน์ที่ได้มาอย่างไม่เป็นธรรมและบนความตายของผู้คน ดังนั้น เมื่อเดินทางไปทำงานในแอฟริกา แม้มองไม่เห็นคำตอบของสิ่งที่ทำไปเช่นไร อาจล้มเหลว หรือเสียชีวิตก่อนที่จะได้เริ่มต้น เพียงรู้ว่าต้องทำ ทำในสิ่งที่ถูกต้อง ทำให้ดีที่สุด เท่านั้นเอง
4. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน
การช่วยให้คนจนเข้ารักษาโรคได้ในราคาไม่แพง คือ หลักยุติธรรมในสังคม และสิ่งนี้ คือเหตุผลที่ดิฉันต้องการสอนให้คนในท้องถิ่นผลิตยา เพื่อพวกเขาจะได้พึ่งพาตนเองได้ เพราะดิฉันมีความเชื่อว่าการสอนคนให้ตกปลาเป็น ดีกว่าการให้ปลาแก่พวกเขา ดังนั้นเมื่อพวกเขาทำได้เอง ดิฉันก็รู้สึกถึงความสำเร็จในชีวิตการทำงาน
5. รางวัลเกียรติยศหรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์
1. ปี พ.ศ. 2544 รางวัล A Gold Medal at Eureka 50th World Exhibition of Innovation, Research and New Technology ซึ่งจัดขึ้นที่กรุง Brussel ประเทศเบลเยี่ยม
2. ปี พ.ศ. 2547 รางวัล Global Scientific Award From The Letten Foundation เพื่อเป็นการชื่นชมและยอมรับผลงานด้านวิทยาศาสตร์ดีเด่นในด้านการศึกษาวิจัยและรักษาโรคเอดส์
3. เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2548 ดร.กฤษณาได้รับรางวัล Reminders Day AIDS Award 2005 (ReD Awards) ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี
4. ดร.กฤษณาได้รับคัดเลือกให้เป็น 2007 Speaker for the Chancellor’s Distinguished Lectureship Series จากมหาวิทยาลัย Louisiana State University ประเทศสหรัฐอเมริกา
5. เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 ดร.กฤษณาได้รับคัดเลือกจากนิตยสาร Reader’s Digestให้เป็น Asian of the Year 2007 และนิตยสารฉบับดังกล่าวได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับประวัติชีวิตการทำงานของดร.กฤษณาเป็นหลายภาษาใน 26 ประเทศทั่วโลก
6. คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรีได้คัดเลือกให้ ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ เป็นบุคคลดีเด่นของชาติ สาขาพัฒนาสังคม ประจำปีพุทธศักราช 2551
7. เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 สถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มอบรางวัลพลเมืองคนกล้า (Citizen Hero) ให้แก่ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ เพื่อยกย่องการอุทิศตนทำงานเพื่อสังคมและส่วนรวม
8. เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552 สมาคมเภสัชกรโรงพยาบาล (ประเทศไทย) ได้ยกย่องผลงานความดีและความเสียสละเพื่อมนุษยชนของดร.กฤษณา โดยมอบรางวัลเภสัชกรเกียรติคุณ ซึ่งเป็นรางวัลเกียรติยศ มอบทุก 2 ปี ให้แก่เภสัชกรที่ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคม
9. เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552 คณะกรรมการของมูลนิธิแม็กไซไซได้คัดเลือก ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ เป็นบุคคลผู้ได้รับรางวัลรามอน แม็กไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ประจำปี พ.ศ. 2552 และยกย่องการนำความรู้ความสามารถทางด้านเภสัชกรรมของเธอมาใช้เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย โดยการอุทิศตัวและทุ่มเทชีวิตอย่างกล้าหาญและไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ผลิตยาชื่อสามัญรักษาโรคที่เป็นที่ต้องการอย่างมากในประเทศไทยและในประเทศอื่นทั่วโลก
10. รางวัลสตรีดีเด่นในเวที/เครือข่ายระดับสากล กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เนื่องในวันสตรีสากล ประจำปี 2553
11. ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (The Most Admirable Order of the Direkgunabhorn) ซึ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 เพื่อพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน
6. ประวัติส่วนตัวและประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2530 – พ.ศ. 2545 ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข
พ.ศ. 2545 – ปัจจุบัน 1. คณบดีเกียรติคุณนานาชาติของคณะการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
2. Visiting Professor of Oriental Medicines at Harbin Institute of Technology, China
3. Pharmaceutical Consultant, Action Medeor, Germany
4. Consultant, Pharmakina, Democratic Republic of Congo
5. Chief Consultant, Tanzanian Pharmaceutical Industry, Tanzania
7. ผลงานคุณภาพดีเด่น
ในระดับประเทศ
1. พัฒนาสูตรตำรับและศึกษาเภสัชชีวสมบูรณ์ของยาต้านเอดส์ชนิดต่างๆ อาทิ ยาสามัญเอแซดที (AZT) ป้องกันการติดเชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูก (พ.ศ. 2535) ยาสูตรผสมรวมเม็ดต้านเอดส์หรือจีพีโอเวียร์ GPO – VIR) (พ.ศ. 2545) และยาต้านเอดส์ชนิดอื่นอีก 5 ชนิด ช่วยชีวิตผู้ป่วยเอดส์ของไทยจำนวน 100,000 คน
2. เป็นผู้ที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ โดยประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรกของโลกที่สามารถผลิตยาด้านเอดส์ที่มีคุณภาพ ลดค่าใช้จ่ายยาต้านเอดส์ของผู้ป่วยเอดส์จากเดือนละ 20,000 ถึง 30,000 บาทต่อคนต่อเดือน เหลือเพียง 1,200 บาทต่อคนต่อเดือน และองค์การอนามัยโลกได้ระบุให้ยาสูตรผสมเป็นยาที่อยู่ในคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกในการรักษาโรคเอดส์ (WHO’s treatment guideline for HIV/AIDS patients)
3. ระหว่าง ปี พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2545 พัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยสำหรับใช้เป็นยาอาหารและเครื่องสำอาง จำนวน 64 รายการ
4. ระหว่าง ปี พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2545 พัฒนาและผลิตยาแผนปัจจุบันจำนวนมาก อาทิ ยารักษาโรคเบาหวาน ยาลดความดัน ยาลดโคเลสเตอรอล และยาสำหรับเด็ก ทำให้มียาคุณภาพดีออกสู่ตลาดมากขึ้นและมีราคาถูกลง
5. เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 ถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรของไทยและร่วมมือกับคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ผลิตยาสมุนไพรไทยที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิมจำนวน 4 ตำรับ ทั้งในรูปแบบยาเม็ดและยาหอม เพื่อใช้รักษาโรคและส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในท้องถิ่นและจังหวัดใกล้เคียง
6. สร้างองค์ความรู้และก่อตั้งหน่วยฝึกอบรมที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีให้เป็นสถานที่เรียนรู้และฝึกงานการผลิตยาในขั้นอุสาหกรรมแก่นักศึกษาไทยและชาวแอฟริกา
ในระดับนานาชาติ
1. ระหว่างปี พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2548 ก่อสร้างโรงงานผลิตยาต้านเอดส์ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และฝึกสอนพนักงานของโรงงาน Pharmakina ที่เมือง Bukavu ในการผลิตยาต้านโรคเอดส์และควบคุมคุณภาพในขั้นอุตสาหกรรม สำเร็จเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548 เพื่อใช้รักษาคนงานที่ติดเชื้อเอดส์ของโรงงานและชาวคองโกที่ติดเชื้อเอดส์จำนวน 30,000 คน
2. ระหว่างปี พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2548 ก่อสร้างโรงงานผลิตยาต้านเอดส์และยารักษาโรคมาลาเรียในประเทศสาธารณรัฐแทนซาเนียและฝึกสอนพนักงานของโรงงาน Tanzania Pharmaceutical Industry (TPI) เมือง Arusha ในการผลิตยาต้านโรคเอดส์ ยาเม็ดและยาผงสำหรับรักษาโรคมาลาเรียสำหรับผู้ใหญ่และเด็ก สำเร็จเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2548 ช่วยชีวิตผู้ป่วยเอดส์ 60,000 คน และผู้ป่วยโรคมาลาเรียหลายล้านคน
3. ระหว่างปี พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2550 ถ่ายทอดความรู้และฝึกอบรมบุคลากรชาวแอฟริกาในการผลิตและควบคุมคุณภาพยารักษาโรคมาลาเรีย ชนิดเม็ดยาและยาเหน็บ สำหรับผู้ใหญ่และเด็กในประเทศแอฟริกาตะวันตก ได้แก่ เบนิน เซเนกัล มาลี แกมเบีย และบูร์กินาฟาโซ ในแอฟริกาใต้ อาทิ แซมเบีย
3.1 พัฒนาศักยภาพ ฝึกสอน และอบรมของบุคลากรของโรงงาน I’Usine Malienne de Produits Pharmaceutiques หรือ U.M.P.P. ของมาลี ซึ่งเป็นโรงงานของรัฐบาลมาลี จนมีความสามารถและความเชี่ยวชาญในการผลิตตัวยารักษาโรคมาลาเรีย ชื่อ artesunate and amodiaquine tablets แยกเม็ดในแผงบรรจุเดียวกัน และยาผสมของยาสองชนิดนี้ในเม็ดเดียวกัน ซึ่งเป็นประเทศแอฟริกาในโลกที่สามารถผลิตยาที่มีคุณภาพนี้ได้อย่างประสบความสำเร็จ
3.2 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 ดร.กฤษณาได้เดินทางไปยังโรงพยาบาล Saint Camillus Hospital เมืองกรุงกู ประเทศเคนยา ตามคำเชิญของบาทหลวง Emilio Balliana ผู้อำนวยการของโรงพยาบาล เพื่อฝึกสอนบุคลากรของโรงพยาบาลให้ผลิตยาเหน็บรักษาโรคมาลาเรีย
4. ระหว่างปี พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2552 ก่อสร้างโรงงานยาและถ่ายทอดความรู้ฝึกสอนบุคลากรท้องถิ่นในประเทศสาธารณรัฐบุรุนดี ในการผลิตยา และควบคุมคุณภาพยาเม็ดรักษาโรคมาลาเรียสำหรับผู้ใหญ่และเด็ก
5. ปี พ.ศ. 2552 ก่อสร้างโรงงานผลิตยา และก่อตั้งหน่วยงานวิจัยด้านพืชสมุนไพร รวมทั้งถ่ายทอดความรู้ด้านเภสัชกรรมให้แก่นักศึกษาของมหาวิทยาลัย Harbin Institute of Technologyประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ผลงานวิชาการ
1. เภสัชเคมีควบคุมคุณภาพ
2. บทความทางวิชาการกว่า 100 เรื่อง และงานวิจัยด้านเภสัชกรรมด้วยตนเอง และร่วมในการทำงานวิจัยต่างๆจำนวนมากกว่า 100 เรื่อง