ทำเนียบเกียรติยศ (Hall of Fame)
บุคคลคุณภาพแห่งปี 2010 ด้านสังคม
ดร.จรินทร์ สวนแก้ว (อายุ 69 ปี)
(ประธานมูลนิธิ 5 ธันวามหาราช)
1. หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน
1. ประธานมูลนิธิ 5 ธันวามหาราช
2. ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต
3. กรรมการสภามหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่
4. นายกสมาคมครูผู้ปกครองและนักเรียนเก่าโรงเรียนวัดรางบัว
5. ประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดรางบัว เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
2. ประวัติการศึกษา
พ.ศ. 2510 Dip.in Eng. Language Cambria Adult School U.S.A.
พ.ศ. 2515 B.S. Business Administration Woodbury College U.S.A.
พ.ศ. 2546 ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
พ.ศ. 2547 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
3. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน
ยึดหลักการในการบริหารงานโดยซื่อสัตย์สุจริต อดทน ขยันหมั่นเพียร ทำงานเป็นทีม สร้างสรรค์กิจกรรมให้ทันสมัยอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารและต้องเป็นนักบริหารที่มีความรอบรู้ ริเริ่ม รวดเร็ว งานเป็นงาน เล่นเป็นเล่น เด่นทุกอย่าง
4. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน
ได้รับการไต่เต้ามาตามลำดับตั้งแต่หัวหน้าแผนก หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ของกระทรวงมหาดไทยจนเป็นผู้อำนวยการกอง รองผู้ว่า ผู้ว่าราชการตามลำดับ และเป็นเลขาธิการมูลนิธิ 5 ธันวามหาราช 21 ปี เป็นประธานมูลนิธิ 5 ธันวามหาราช 12 ปี
ตั้งแต่ พ.ศ. 2520 จนถึงปัจจุบัน ได้จัดงานเฉลิมพระเกียรติเรียกว่า งาน 5 ธันวามหาราช และ 12 สิงหาพระบรมราชินีนาถ โดยรวมพลังพสกนิกรทุกหมู่เหล่าได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อองค์พระประมุขทั้งสองอย่างพร้อมเพรียง สมบูรณ์ และสมพระเกียรติยิ่ง
5. รางวัลเกียรติยศหรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์
1. พ.ศ. 2540 ได้รับพระราชทานโล่รางวัล “มงคลวรานุสรณ์” ในวัน มหิดลประจำปี พ.ศ. 2540 ด้วยที่สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ได้รับพระราชทานพระกรุณาสำหรับบุคคลที่มีผลงานดีเด่นด้านสังคมสงเคราะห์ และอยู่ในศีลธรรมอันดี สมควรถือเป็นแบบอย่างได้
2. ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
3. ประถมาภรณ์ช้างเผือก
4. มหาวชิระมงกุฎไทย
6. ประวัติส่วนตัวและประวัติการทำงาน
· เริ่มรับราชการเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2516 ตำแหน่ง วิทยากรตรี กองวิชาการ กรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย
· ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี
· ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย
· ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ข้าราชการบำนาญ ตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
พ.ศ. 2520 - 2522 เป็นคณะกรรมการและเลขานุการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ “5 ธันวามหาราช”
พ.ศ. 2522 - 2545 เป็นเลขาธิการมูลนิธิ 5 ธันวามหาราช และคณะกรรมการและเลขานุการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ “5 ธันวามหาราช” และงานเฉลิมพระเกียรติ “12 สิงหาพระบรมราชินีนาถ”
พ.ศ. 2545 - ปัจจุบัน เป็นประธานคณะกรรมการมูลนิธิ 5 ธันวามหาราช จัดงานเฉลิมพระเกียรติ “5 ธันวามหาราช” และงานเฉลิมพระเกียรติ “12 สิงหาพระบรมราชินีนาถ” จนถึงปัจจุบัน
7. ผลงานคุณภาพดีเด่น
ดร.จรินทร์ สวนแก้ว เป็นผู้มีความจงรักภักดีในสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอย่างยิ่ง โดยได้อุทิศทั้งกายทั้งเวลา และความคิดในการแสดงความจงรักภักดี และเทิดพระเกียรติตลอกมา ตลอดชีวิตราชการ จนปัจจุบันโดยเพราะอย่างยิ่งเป็นผู้ริเริ่มจัดงาน 5 ธันวามหาราช ซึ่งเป็นงานเฉลิมพระเกียติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช โดยร่วมกับองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ข้าราชการพลเรือน ตำรวจ และทหารทุกเหล่าทัพ รวมทั้งประชาชนทุกสาขาอาชีพต่าง และจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน และนอกจากนั้นยังเป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิ 5 ธันวามหาราช ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 เพื่อเป็นองค์กรหลักในการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ 5 ธันวามหาราช และ 12 สิงหาพระบรมราชินีนาถ และงานเฉลิมพระเกียรติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและเลขานุการมูลนิธิ 5 ธันวามหาราช ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการมูลนิธิ 5 ธันวามหาราช ในปี พ.ศ. 2545 จนถึงปัจจุบัน จึงนับได้ว่าเป็นผู้บริหารมูลนิธิ 5 ธันวามหาราช จึงปฏิบัติงานเฉลิมพระเกียรติ สถาบันพระมาหากษัตริย์อย่างต่อเนื่องและสมพระเกียรติ จนเป็นการทำให้มูลนิธิ 5 ธันวามาหาราช มีความมั่นคงและก้าวหน้า เป็นที่ยอมรับของสังคมมาโดยลำดับ จนได้รับมอบหมายจากรัฐบาลตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 ให้เป็นองค์กรหลักในการจัดงานเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวามหาราช และ 12 สิงหาพระบรมราชินีนาถเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
หากกล่าวในส่วนของผลงานที่สำคัญของมูลนิธิ 5 ธันวามหาราช แล้วมีดังนี้
1) เป็นองค์กรหลักในการจัดงาน “5 ธันวามหาราช” และงาน “12 สิงหาพระบรมราชินีนาถ”ร่วมกับองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ข้าราชการพลเรือน ตำรวจทหารทุกเหล่าทัพ รวมทั้งพนักงานองค์กรรัฐวิสาหกิจ และประชาชนทุกสาขาอาชีพ ทั้งในกรุงเทพและจังหวัดต่างๆทั่วราชอาณาจักร เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระพรชัยมงคลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯในวันเฉลิมพระชนพรรษา ซึ่งมีการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองและพิธีการต่างๆเพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นประจำทุกปี
2) เป็นองค์กรหลักร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งข้าราชการฝ่ายต่างๆ และประชาชนทั่วประเทศร่วมกันลงนามถวายพระราชสมัญญา “มหาราช” แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2530 ทรงพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช”
3) สร้าง “หอเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช”บริเวณหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี เป็นเงินค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 32,000,000 บาท (สามสิบสองล้านบาทถ้วน)
4) รายงานจากการจัดงาน “5 ธันวามหาราช” 2527 ทูลเกล้าฯ ถวายสมทบทุนสร้างตึก ภปร. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 27,000,000 บาท (ยี่สิบเจ็ดล้านบาท)
5) นำรายได้จาการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ “5 ธันวามหาราช” และงาน“12 สิงหาพระบรมราชินีนาถ” ทูลเกล้าฯ ถวาย โดยเสด็จพระราชกุศลตามลำดับดังนี้
· ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2520 จำนวน 339,999 บาท
· ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2526 จำนวน 1,000,000 บาท
· ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2526 จำนวน 1,000,000 บาท
· ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2532 จำนวน 27,000,000 บาท (สร้างตึก ภปร)
· ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2545 จำนวน 5,000,000 บาท
· ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2546 จำนวน 9,000,000 บาท
· ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2547 จำนวน 7,000,000 บาท
· ครั้งที่ 9 พ.ศ. 2548 จำนวน 37,386,191 บาท
· ครั้งที่ 10 พ.ศ. 2551 จำนวน 500,000 บาท
· ครั้งที่ 11 พ.ศ. 2551 จำนวน 10,000,000 บาท
6) เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2549 มูลนิธิ 5 ธันวามหาราช ให้มอบเงินจำนวน 1,000,000 บาท แก่ฯพณฯ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (อดีตนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น) เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ประสบอุทกภัย
7) เป็นองค์กรหลักในการจัดงานถวายพระพรและงานฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี ระหว่างวันที่ 5-9 มิถุนายน 2549 ณ มณฑลท้องสนามหลวงและในโอกาสนี้มูลนิธิ 5 ธันวามหาราชได้จัดสร้าง สมเด็จพระนวมินทรศาสดาทองคำ หนัก 800 บาท เพื่อน้อมเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในนามพสกนิกรชาวไทย ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นพ้น