1) บุคคลคุณภาพแห่งปี 2017 ด้านวิทยาศาสตร์

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเสริฐ ทองเจริญ (อายุ 84 ปี)

ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อไวรัสขององค์การอนามัยโลก

 

1. หน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน

1. ที่ปรึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

2. ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

3. ที่ปรึกษากรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

4. ที่ปรึกษาและผู้ก่อตั้ง สมาคมชีวนิรภัย (ประเทศไทย)

5. อุปนายกสมาคมไวรัสวิทยา (ประเทศไทย)

6. นายกสมาคมชีวเคมีคลินิก (ประเทศไทย)

7. ประธานและผู้ก่อตั้งมูลนิธิการศึกษาไข้หวัดใหญ่

8. ราชบัณฑิตสำนักวิทยาศาสตร์ ประเภทวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาแพทยศาสตร์

 

2. ประวัติการศึกษา

        2494-2495      เตรียมแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

        2496-2499      แพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์

        2503-2505      แพทยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยฮัมบวร์ก

        2504              ประกาศนียบัตรเวชศาสตร์เขตร้อน และปรสิตวิทยาทางการแพทย์

สถาบันเวชศาสตร์เขตร้อน Bernhard-Nocht Institute, ฮัมบวร์ก   

        2527              ปริญญาบัตร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

 

3. นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน

นโยบาย คือ ทำงานในหน้าที่ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของงานและช่วยส่งเสริมงานที่มีความรู้ที่จะนำไปประยุกต์ในกิจกรรมนั้นๆ ได้

          อุดมการณ์ คือ ปฏิบัติงานโดยไม่ยึดถือผลตอบแทนด้านการเงิน แต่ยึดถือผลประโยชน์ที่จะมีอำนวยผลต่อชุมชนส่วนรวมและประเทศชาติ

 

4. ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน

·       ด้านงานสอน  ปรับปรุงการสอนด้วยการค้นคว้าวิจัยและนำผลการวิจัยไปใช้ในการสอน ไม่ใช้ตำราเพียงอย่างเดียว จึงได้รับการเลื่อนตำแหน่งในหน้าที่การงานจนถึงระดับสูงสุด ศาสตราจารย์ ระดับ 11 เมื่ออายุเพียง 49 ปี

·       ด้านการวิจัย  ปฏิบัติงานวิจัยที่เป็นปัญหาเร่งด่วนของประเทศชาติด้านโรคติดเชื้อ จนได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2534 จากสภาวิจัยแห่งชาติ

·       ด้านงานส่งเสริม  มีส่วนร่วมในงานส่งเสริมสนับสนุนการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อสำหรับกระทรวงสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อระบาดใหม่ ระบาดซ้ำที่ร้ายแรงของประเทศในหลายๆ โรค อาทิ โรคไข้หวัดนก โรคไข้หวัดใหญ่ 2009 โรคซาร์ส โรคเมอร์ส โรคไข้ซิกา เป็นต้น โดยได้รับความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม ทำให้ได้รับคำชมจากองค์การอนามัยโลก และได้รับเลือกให้เป็นประธานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิโรคติดต่อแห่งชาติเป็นท่านแรก ตาม พรบ. โรคติดต่อแห่งชาติ พ.ศ. 2558 และเป็นประธานคณะกรรมการวิชาการโรคติดต่อแห่งชาติเป็นท่านแรก ภายใต้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิโรคติดต่อแห่งชาติ ตาม พรบ. โรคติดต่อแห่งชาติ พ.ศ. 2558

·       ด้านความร่วมมือกับสมาคมวิชาชีพต่างๆ ซึ่งนับได้ว่ากว้างขวางครอบคลุมหลายสาขา อาทิเช่น

          - นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ปี พ.ศ. 2530 -2531)

         - อุปนายก คนที่สองของแพทยสภา ( ปี พ.ศ. 2530 - 2532)

         - นายกสมาคมเคมีคลินิก (ปี พ.ศ. 2533 – ปัจจุบัน)

         - ประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่

 

5. ทรรศนะต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

           ต้องการให้นักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ได้มีความสนใจ ค้นคว้า วิจัยในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่วงการวิทยาศาสตร์และประเทศชาติในทุกๆ ด้าน ซึ่งประเทศของเรายังต้องการความรู้ในหลายๆ ด้านให้มีความครอบคลุมกว้างขวางยิ่งขึ้น ให้รัฐบาลและหน่วยงานภาคอุตสาหกรรมได้มองเห็นความจำเป็นในการที่จะให้ทุนวิจัยให้มากขึ้น

 

6. กิจการอันเป็นคุณประโยชน์เพื่อสังคม สาธารณกุศล

1. ผู้สร้าง ผู้ริเริ่ม และอุทิศตนเพื่อประโยชน์ต่อวงการวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยมีผลงานที่มีประโยชน์ต่อการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศไทยอันเป็นที่ประจักษ์ และเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นแบบอย่างให้แก่บุคคลในวงการวิทยาศาสตร์การแพทย์และบุคคลทั่วไป

2. เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญเป็นอย่างสูงด้านโรคติดเชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศไทย โดยมีผลการศึกษาวิจัยเป็นจำนวนมาก อาทิ โรคเอดส์ ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ โดยเป็นผู้ริเริ่มและดำเนินการศึกษาวิจัยโรคเอดส์ทางห้องปฏิบัติการกว่า 20 ปี ทำให้เกิดความร่วมมือกับนานาชาติในการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคเอดส์ นำไปสู่การวิจัยทางคลินิกระยะที่ 1 และระยะที่ 2 นับเป็นการพัฒนาการทดสอบวัคซีนป้องกันโรคเอดส์ในประเทศไทยที่ชัดเจน ผลจากการวิจัยยังทำให้ทราบข้อมูลทางระบาดวิทยาซึ่งสามารถนำไปวางแผนป้องกันและควบคุมโรคได้อย่างถูกต้อง

3. เป็นผู้ศึกษาวิจัยโรคหัดเยอรมัน จนทำให้ทราบสาเหตุสำคัญของความพิการแต่กำเนิดของทารกภายหลังแม่ติดเชื้อหัดเยอรมัน การวิจัยยังได้พัฒนาการชันสูตรทางห้องปฏิบัติการและขยายไปทั่วประเทศ  นอกจากนั้นยังได้ทำการทดสอบประสิทธิผลและฤทธิ์ข้างเคียงของวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน และผลักดันให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชน เป็นโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่สามารถลดอัตราการเกิดทารกพิการได้อย่างมาก

4. ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ เป็นนักวิจัยกลุ่มแรกที่ศึกษาวิจัยจนทราบว่าโรคตาแดงชนิดใหม่ เกิดจากเชื้อไวรัสเอ็นเทอโรไวรัส 70 ซึ่งเป็นไวรัสชนิดใหม่ ที่อาจทำให้ผู้ป่วยเป็นอัมพาตเฉพาะที่ และมีการระบาดอย่างรวดเร็วเนื่องจากมีระยะเวลาฟักตัวเพียง 24 ชั่วโมง ผลการศึกษาทำให้ทราบวิธีป้องกัน รักษา และควบคุมโรค

5. ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐได้ร่วมศึกษาวิจัยไวรัสตับอักเสบทางห้องปฏิบัติการ จนส่งผลให้มีวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอและบีใช้ในประเทศไทย และพัฒนาวิธีทดสอบเพื่อวินิจฉัยโรคไวรัสตับอักเสบบีด้วยวิธีการที่ไม่ยุ่งยาก สามารถถ่ายทอดไปสู่ห้องปฏิบัติการทั่วไปได้ และได้เสนอให้รัฐบาล สนับสนุนการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบแบบปูพรม ทำให้สามารถลดอุบัติการณ์การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งตับ

6. เป็นผู้วิจัยโรคพิษสุนัขบ้ามากว่า 40 ปี ทำให้สามารถพัฒนาการชันสูตรโรคได้อย่างแม่นยำ และพัฒนาขีดความสามารถห้องชันสูตรในส่วนภูมิภาค ได้ริเริ่มทดสอบวัคซีนชนิดใหม่ๆ จนค้นพบวัคซีนที่มีคุณภาพสูง มีผลข้างเคียงน้อย จึงส่งเสริมให้ใช้วัคซีนดังกล่าวอย่างแพร่หลายและผลักดันให้มีการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าเป็นแผนระดับชาติ

นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาวิจัยโรคอื่นๆ เช่น ไข้เลือดออก ไข้สมองอักเสบแจแปนีสเอ็นเซฟาไลติส (Japanese encephalitis viral disease) ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ไข้หวัดนกและซาร์ส อีกทั้งได้แต่งหนังสือและตำราจำนวนมาก เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ อันเป็นประโยชน์แก่บุคคลต่างๆทั้งในและนอกวงการวิทยาศาสตร์การแพทย์

 

         

7. รางวัลเกียรติยศหรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์

7.1 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ

·            มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก

·            มหาวชิรมงกุฎ

·            เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา

·            เหรียญจักรพรรดิมาลา

 

7.2 รางวัลเกียรติคุณที่ได้รับ

พ.ศ. 2515 รางวัลเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี มอบแก่ครูแพทย์ดีเด่น

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

พ.ศ. 2518 รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาเฉพาะทาง (การบริการสังคม) มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2520 รางวัลสมเด็จพระวัณรัตปุณณสิริมอบแก่แพทย์ผู้ทำประโยชน์ให้แก่สังคม และประเทศชาติ ซึ่งนำชื่อเสียงมาสู่วงการแพทย์ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

พ.ศ. 2525 รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดลสาขาการแต่งตำรา มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2529 โล่รางวัลบทความวิทยาศาสตร์ดีเด่น มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

พ.ศ. 2534 รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลาเข็มศิลปวิทยา

พ.ศ. 2534 รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์    สภาวิจัยแห่งชาติ

พ.ศ. 2537 รางวัลมหิดลทยากรสำหรับศิษย์เก่าที่มีผลงานดีเด่น สมาคมศิษย์เก่า

มหาวิทยาลัยมหิดล

    พ.ศ. 2539  ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตสำนักวิทยาศาสตร์ ประเภทวิทยาศาสตร์

ประยุกต์สาขาแพทยศาสตร์

    พ.ศ.         2542  ปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (เทคนิคการแพทย์) มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2544 ปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ชีวเวชศาสตร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พ.ศ. 2547 โล่เชิดชูเกียรติผู้พัฒนาและสร้างความรุ่งเรือง แก่ “วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์”               แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระพบรมราชูปถัมภ์

พ.ศ. 2547 ปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2548 รางวัลผู้มีผลงานดีเด่นในการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า กรมควบคุมโรค

กระทรวงสาธารณสุข

พ.ศ. 2549 รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล - บี บราวน์เพื่อการแพทย์และสาธารณสุข                              มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2549 รางวัลเกียรติยศประจำปี 2549 (Public Health Recognition Award) สมาพันธ์การศึกษาด้านสาธารณสุขแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค         

พ.ศ. 2554 การประกาศเป็นผู้มีคุณูปการด้านโรคไข้เลือดออกเด็งกี่ (Dengue Hall of Frame) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

พ.ศ. 2554   โล่รางวัลแก่บุคคลที่มีผลงานในการป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนกในพื้นที่เสี่ยง

               กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

    พ.ศ. 2557 โล่ประกาศเกียรติคุณ  บุคคลที่ทำคุณประโยชน์และให้การสนับสนุนงานป้องกันควบคุม

โรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

พ.ศ. 2559 รางวัลนักวิทยาศาสตร์การแพทย์เกียรติยศ ประจำปี 2559    กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

กระทรวงสาธารณสุข

พ.ศ. 2560 รางวัลเกียรติยศแห่งวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ในวาระ 60 ปี เทคนิคการแพทย์ไทย   สมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ

 

8. ประวัติการทำงาน

2500        แพทย์ประจำบ้าน แผนกอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช

2501        อาจารย์ตรีแผนกพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

2502        อาจารย์โท ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

2509        อาจารย์เอก หัวหน้าสาขาวิชาไวรัสวิทยา ภาควิชาจุลชีววิทยา

2517-2530  คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล (14 ปี)

2518        อาจารย์ชั้นพิเศษ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

มหาวิทยาลัยมหิดล

2519        รองศาสตราจารย์ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

2522        ศาสตราจารย์ ระดับ 9 ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

2523- 2530 หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา ภาควิชาจุลชีววิทยา

2525        ศาสตราจารย์ ระดับ 11 ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

2530-2536 รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (7 ปี)

2537        เกษียณอายุราชการ ปฏิบัติงานคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณ       

2539        ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ที่ปรึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

ตำแหน่งที่เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นพิเศษ นอกเหนือจากงานประจำ

 

2514- 2520   บรรณาธิการคนแรกของแพทยสภาสาร วารสารรายเดือนของแพทยสภา

2515-2530    บรรณาธิการจดหมายเหตุทางแพทย์ของแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย

ในพระบรมราชูปถัมภ์ วารสารรายเดือน ฉบับภาษาอังกฤษ

2515-2531    บรรณาธิการวารสารสุขภาพรายเดือนของแพทยสมาคมและแพทยสภา

2518-2552    Member, WHO Expert Committee Advisory Panel on Virus Diseases

2521-2532    กรรมการแพทยสภา ประเภทเลือกตั้ง

2524-2525    ได้รับเชิญจากกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานคณะกรรมการตรวจหนังสือเรียนและคู่มือครูเอกชน วิชาสุขศึกษา หลักสูตรมัธยมตอนปลาย

2525-2530    คณะบรรณาธิการ Asian Journal of Infectious Diseases สิงคโปร์

2525-ปัจจุบัน อนุกรรมการบัญญัติศัพท์แพทย์ราชบัณฑิตสถาน

2527-2535    คณะบรรณาธิการ Virus Information Exchange Newsletter ออสเตรเลีย

2527-2545    กรรมการในคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

2527-2530    ผู้ทรงคุณวุฒิของ กพ. เพื่อพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ

2527-2550    ผู้ทรงคุณวุฒิของอนุกรรมการวิชาการของทบวงมหาวิทยาลัย (ปัจจุบัน สกอ.) เพื่อพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ

2528-ปัจจุบัน กรรมการประสานงานโครงการสารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สาขาแพทยศาสตร์ เล่มที่ 8-10 และ 19-20

2529-2537    Director, WHO Collaborating Centre on AIDS

2529-2534    กรรมการในคณะกรรมการระบาดวิทยาแห่งชาติ

2530-2531    นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

2530-2532    อุปนายกคนที่สองของแพทยสภา

2530-2537   เลขานุการสภามหาวิทยาลัยมหิดล

2531-ปัจจุบัน อนุกรรมการวิชาการ ทบวงมหาวิทยาลัย (ปัจจุบัน สกอ.)

2531-2534   บรรณาธิการ Asian Pacific Journal of Allergy and Immunology วารสารภาษาอังกฤษราย 6 เดือน หลังจากนั้นเป็นคณะที่ปรึกษาบรรณาธิการ

2531-2538   กรรมการในคณะกรรมการประสานงานป้องกันและควบคุมโรคเอดส์แห่งชาติ และประธานคณะอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการวิชาการโรคเอดส์

2532-ปัจจุบัน บรรณาธิการวารสารโรคเอดส์ (ผู้ก่อตั้ง) ของสำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

2532-2547   กรรมการในคณะกรรมการควบคุมโรคเอดส์แห่งชาติ

(แต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี หรือ รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย)

2533-2538    ประธานคณะทำงานด้านพัฒนาการผลิตชีววัตถุ องค์การเภสัชกรรม

2533-2537   กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการสรรหาและการพัฒนา ทบวงมหาวิทยาลัย

2536-2546   บรรณาธิการจดหมายเหตุทางแพทย์ ของแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วารสารภาษาอังกฤษ ช่วงปีที่ 2 เป็นระยะเวลา 12 ปี)

2537-2539   คณะบรรณาธิการที่ปรึกษาวารสาร Medicine International, Thailand Edition.   สหราชอาณาจักร

2538-2548   บรรณาธิการแพทยสภาสาร (ช่วงที่ 2 เป็นระยะเวลา 10 ปี)

2551            ประธานคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ ฝ่ายไทย ในคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ ในการจัดประชุมวิชาการเรื่องโรคไข้เลือดออกระดับนานาชาติ ปี 2551

2551            ประธานคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ระหว่างชาติ ในคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ ในการจัดประชุมวิชาการเรื่องโรคไข้เลือดออก ระดับนานาชาติ ปี 2551

2555            ประธานคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ ฝ่ายไทย ในคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ ในการจัดประชุมวิชาการเรื่องโรคไข้เลือดออก ระดับนานาชาติ ปี 2556

2555            ประธานคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ระหว่างชาติ ในคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ ในการจัดประชุมวิชาการเรื่องโรคไข้เลือดออกระดับนานาชาติ ปี 2556

 

ตำแหน่งในหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุข

 

    1. กรรมการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า

    2. กรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

    3. กรรมการควบคุมโรคตับอักเสบจากไวรัส

    4. กรรมการควบคุมโรคระบบหายใจเฉียบพลัน

    5. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในการจัดหาวัคซีนโรคตับอักเสบบี

    6. อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการพิจารณาข้อกำหนดชีววัตถุของคณะกรรมการจัดทำตำรับยาไทย

    7. ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาเกี่ยวกับโรคติดเชื้ออุบัติใหม่-อุบัติซ้ำ

    8. ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาเกี่ยวกับอาวุธชีวภาพ

    9. ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาเกี่ยวกับไข้หวัดนก

    10. กรรมการที่ปรึกษาในคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ

    11. ประธานอนุกรรมการวิจัยและพัฒนาวัคซีน กระทรวงสาธารณสุข

    12. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านชีววัตถุ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

    13. กรรมการที่ปรึกษา หลักสูตร International Field Epidemiological Training Program

         สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

    14. ประธานกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิโรคติดต่อแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.

2548

    15. ประธานกรรมการวิชาการโรคติดต่อแห่งชาติ ภายใต้คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ

ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2548

 

ตำแหน่งในมูลนิธิ

·                กรรมการ มูลนิธิคณะเทคนิคการแพทย์ (อดีตประธานกรรมการ)

·                กรรมการ มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล (อดีตกรรมการ)

·                กรรมการ มูลนิธิโรคเอดส์

·                ประธานกรรมการ มูลนิธิสิ่งเสริมการศึกษาโรคไข้หวัดใหญ่

 

************************

 

มูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถานที่ติดต่อ :

288/52 อาคารมูลนิธิ มสวท. ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220

Tel. +66(0) 2552-5200 Fax. +66(0) 2551-4422 Email : thaifstt@gmail.com 

Copyright © 2008-2015 หากมีปัญหาในการรับชมกรุณาติดต่อ Webmaster ที่ admin@thaifstt.org